ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพ: เพิ่มชีวิตชีวาให้กับภาพถ่ายอาคารและโรงงาน

2017-05-25
2
2.29 k
ในบทความนี้:

เมื่อไปถ่ายภาพในโรงงานต่างๆ ผมแทบไม่พบผู้คนเท่าใดนัก หากผมถ่ายภาพโดยไม่คำนึงถึงผลลัพธ์ที่ออกมา ภาพที่ได้จะมีแต่เครื่องจักรเท่านั้น ซึ่งดูไม่ค่อยมีชีวิตชีวา ในส่วนถัดไป ผมขอแนะนำเคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพที่คุณสามารถใช้ได้ในสถานการณ์นี้ ซึ่งสามารถดึงความสนใจของผู้ชมไปยังโลกในภาพถ่ายได้ (เรื่องโดย: Joe Nishizawa)

ภาพโรงงาน ซึ่งถ่ายด้วยกล้อง EOS-1Ds Mark III

EOS-1Ds Mark III/ EF24-70mm f/4L IS USM/ FL: 39 มม./ Manual exposure (f/6.7, 1/90 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
สถานที่: บริษัท JFE Steel Corporation (จากหนังสือภาพ “Steelwork Manufacturing Zones”)

 

ในการถ่ายภาพอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่ภาพจะขาดความมีชีวิตชีวา ดังนั้น เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชม ผมจึงพยายามใส่คนไว้ในภาพเพื่อช่วยนำผู้ชมเข้ามาสู่โลกของภาพถ่าย แม้ว่าตัวคนจะดูมีขนาดเล็กก็ตาม

ตัวแบบหลักของภาพนี้คือ "โรงงานเหล็ก" แต่ผมเห็นใครบางคนกำลังเดินอยู่ในบริเวณใกล้เคียง ผมจึงรีบหยิบกล้องออกมาและถือกล้องในตำแหน่งถ่ายภาพ จากนั้นรอให้คนๆ นั้นเคลื่อนตัวไปยังตำแหน่งที่เหมาะสมในเฟรม แล้วจึงลงมือถ่ายภาพ

 

เคล็ดลับ: กำหนดตำแหน่งของคนในเฟรมภาพตามต้องการ แล้วรอคอยช่วงเวลาที่เหมาะสม

คนในภาพถ่ายของผมมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับภาพส่วนที่เหลือ เพื่อดึงความสนใจของผู้ชมไปที่คนในภาพ ผมจึงตรวจเช็คให้แน่ใจว่าองค์ประกอบภาพแสดงเส้นนำสายตาในแนวตั้งและแนวนอนอย่างชัดเจน และไม่มีการเคลื่อนไหวอื่นในเฟรมที่อาจดึงความสนใจของผู้ชมไป ผมรู้สึกโชคดีที่คนในภาพสวมชุดสีขาว แต่ผมก็พยายามลดความเปรียบต่างในส่วนแบ็คกราวด์เช่นกันโดยใช้กระบวนการปรับแต่งภาพ RAW

 

วางคนไว้ในที่มีแสงสว่าง

ภาพ (ด้านใน) โรงงาน ซึ่งถ่ายด้วยกล้อง EOS-1Ds Mark III

EOS-1Ds Mark III/ EF50mm f/1.8 STM/ FL: 50 มม./ Manual exposure (f/2.8, 1/30 วินาที, EV±0)/ ISO 800/ WB: Manual

นี่เป็นภาพที่มีคนอยู่ในเฟรม ซึ่งคล้ายกับตัวอย่างแรก ในกรณีนี้ ผมรอให้คนๆ นี้เคลื่อนที่เข้ามาในบริเวณเฟรมซึ่งมีแสงสว่างส่องลงมา

 

ดูบทความต่อไปนี้เพื่ออ่านไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีเพิ่มชีวิตชีวาให้กับอาคารด้วยการจัดองค์ประกอบภาพ: 
การถ่ายภาพสถาปัตยกรรม #3: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพที่มีประสิทธิภาพ

หากคุณสนใจการถ่ายภาพอุตสาหกรรมและอาคาร ลองอ่านบทความนี้เพื่อทราบเคล็ดลับและไอเดียเพิ่มเติม:
เทคนิคเกี่ยวกับการตั้งค่าตามขนาดรูรับแสง #7: การตั้งค่ารูรับแสงเพื่อถ่ายทอดภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนที่คมชัด

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Joe Nishizawa

Nishizawa ถ่ายภาพที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และการผลิตตามแนวคิด "การส่งเสริมประเทศญี่ปุ่นผ่านภาพถ่าย” และตีพิมพ์ผลงานและนิตยสารที่เขียนขึ้นเอง ในประเทศญี่ปุ่น เขาคือช่างภาพชั้นแนวหน้าในการถ่ายภาพอุตสาหกรรม ก่อนหน้านี้เขาเคยทำงานเกี่ยวกับการออกแบบเพื่อการผลิตรถยนต์และการผลิตงานถ่ายภาพ และผันตัวสู่อาชีพอิสระมาตั้งแต่ปี 2000

http://joe-nishizawa.jp/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา