ผมถ่ายภาพอย่างไรให้เฉียบ (3): เคล็ดลับสำหรับภาพสวยๆ ของเส้นควันจากเครื่องบิน
ไม่ว่าจะเป็นเมฆหางเครื่องบิน ("คอนเทรล") รอยไอน้ำที่เครื่องบินมักทิ้งไว้เบื้องหลัง หรือเส้นควันจากการแสดงบินผาดโผน ร่องรอยจากเครื่องบินเหล่านี้สามารถกลายเป็นภาพอันน่าทึ่งได้ หัวใจสำคัญในการถ่ายภาพร่องรอยเหล่านี้ให้ดูน่าตื่นตาตื่นใจคือ แสงย้อนจากด้านหลังและการตั้งค่าสมดุลแสงขาว ต่อไปนี้คือเคล็ดลับจากช่างภาพการบินมืออาชีพ โดยใช้ตัวอย่างภาพรอยควันจากการแสดงบินผาดโผน (เรื่องโดย: Eisuke Kurosawa)
EOS 5D Mark IV/ EF24-105mm f/4L IS II USM/ FL: 58mm/ โหมด Aperture-priority AE (f/11, 1/2,000 วินาที, EV -1.0)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
การปรับแต่งภาพ: เพิ่ม WB เป็น 5,400K; แก้ความเพี้ยนของสี: +16
ใช้แสงย้อนจากด้านหลังเพื่อให้เส้นควันดูเหมือนมีสามมิติ
วิธีที่ผมใช้ในการถ่ายภาพทางอากาศขณะทีม Blue Impulse (ทีมสาธิตการบินผาดโผนของญี่ปุ่น) ทำการบินนั้นจะแตกต่างกันไปตามฤดูกาล ยกตัวอย่างเช่น ในฤดูหนาว ท้องฟ้าญี่ปุ่นจะใสกระจ่าง ดังนั้น ในช่วงนั้นผมมักจะถ่ายภาพจากจุดที่ไกลออกไปกว่าปกติเล็กน้อย อากาศแจ่มใสทำให้สามารถเก็บภาพทิวทัศน์ในแบ็คกราวด์และเครื่องบินไว้ในเฟรมเดียวกัน
เมื่อถ่ายภาพเช่นนี้ ผมจะตั้งใจถ่ายให้ภาพมีทั้งความงดงามของทิวทัศน์ธรรมชาติและเส้นควันของเครื่องบิน เมื่อมีแสงจ้าส่องมาจากด้านหลัง เส้นควันจะดูเป็นสามมิติมากขึ้น ผมจึงพยายามถ่ายภาพในช่วงเวลาที่แสงกำลังเปลี่ยนสีหลังจากพระอาทิตย์ขึ้น สำหรับภาพนี้ ผมปรับค่า WB เพื่อให้สีส้มจางๆ ของท้องฟ้าเด่นชัดขึ้น ดังนั้น จึงไม่เพียงดึงดูดสายตาของผู้ชมไปที่เส้นควันเท่านั้น แต่รวมถึงทิวทัศน์ด้วย
ผมพบว่า ขณะที่แสงจากด้านหน้าสามารถถ่ายทอดลายเส้นควันได้สวยงาม แสงย้อนจากด้านหลังนั้นทำให้เกิดภาพที่ได้อารมณ์มากกว่า
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมุมการให้แสง โปรดดูที่:
[บทที่ 14] รู้จักทิศทางของแสงในภาพถ่ายของคุณ
คุณอาจสนใจบทความต่อไปนี้เช่นกัน:
การตัดสินใจในการถ่ายภาพทิวทัศน์: แสงด้านหน้าหรือแสงด้านหลัง
ภาพเสีย: ในเวลากลางวัน ลักษณะแบบสามมิติของเส้นควันจะไม่เด่นชัดนัก
EOS-1D Mark II/ FL: 21 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/500 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: Manual
เมื่อถ่ายในเวลากลางวันโดยมีแสงส่องมาจากด้านบน เส้นควันจะดูเป็นสีขาวและสวยงาม อย่างไรก็ตาม เส้นควันในภาพนี้กลับไม่ส่งผลถึงอารมณ์มากเท่าใดนัก หากเทียบกับภาพหลักที่ถ่ายโดยมีแสงย้อนจากด้านหลังและดูมีสามมิติมากกว่า
เพิ่มอุณหภูมิสีเล็กน้อยเพื่อแสดงให้เห็นสีสันของท้องฟ้าในยามเช้า
เพื่อแสดงให้เห็นภาพท้องฟ้าแต้มสีแดงในยามเช้าอันน่าอัศจรรย์ ผมตั้งค่าสมดุลแสงขาวไปที่ ‘แสงแดด’ เพื่อให้กล้องถ่ายทอดสีตามที่ผมมองเห็น ในระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพ RAW ผมแก้ปัญหาสีเพี้ยนโดยเพิ่มอุณหภูมิสีจาก 5000K เป็น 5400K เพื่อแสดงสีอย่างที่คิดไว้ได้ดียิ่งขึ้น
แสงแดด
หลังการปรับสมดุลแสงขาว
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมดุลแสงขาว โปรดอ่านบทความต่อไปนี้
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #6: สมดุลแสงขาว
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสมดุลแสงขาวช่วยสร้างโทนสีได้ดังใจนึก
สร้างโลกแห่งความสงบเยือกเย็นด้วยภาพเงาสะท้อนบนผิวน้ำและค่าสมดุลแสงขาว
เคล็ดลับ: เมื่ออากาศแจ่มใส คุณควรวางแผนถ่ายภาพจากระยะไกล
EOS 7D Mark II/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 286 มม. (เทียบเท่า 458 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 1/4,000 วินาที, EV-1.0)/ ISO 100/ WB: Manual
ภาพนี้ถ่าย ณ ตำแหน่งที่น้ำทะเลส่องประกายเมื่อต้องแสงยามเช้า การอยู่ในระยะห่างพอสมควรทำให้ผมสามารถจับภาพเงาของเส้นควันที่สะท้อนบนผืนทะเลได้ ซึ่งทำให้ภาพน่าประทับใจยิ่งขึ้นไปอีก
ผมเชื่อว่าในการสร้างผลงานที่ดีที่สุดนั้น คุณต้องประเมินสภาพอากาศได้อย่างถูกต้องและวางแผนในการถ่ายภาพให้สอดคล้องกัน ยกตัวอย่างเช่น ที่ญี่ปุ่น อากาศในฤดูหนาวจะแจ่มใส ผมจึงรู้ว่าในช่วงเวลานั้น จะสามารถถ่ายภาพจากระยะที่ไกลกว่าปกติได้และยังสามารถถ่ายภาพมุมกว้างที่ชัดเจนได้ทั้งฉาก ซึ่งผลที่ได้คือภาพทิวทัศน์อันสวยงามดังภาพด้านบน
คุณอาจสนใจ: วิธีถ่ายภาพหมอก ควัน และไอน้ำ
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!
เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดที่เมืองเซนได จังหวัดมิยะงิ เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 1970 Kurosawa เริ่มถ่ายภาพหลังจากได้พบกับทีม T-2 Blue Impulse ตอนอายุยังน้อย ด้วยความมุ่งมั่นอยากเป็นช่างภาพมืออาชีพ เขาเข้าเรียนในวิทยาลัยด้านการถ่ายภาพและทำงานที่สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งหลังเรียนจบ โดยเน้นถ่ายภาพรถยนต์เป็นหลัก รวมถึงรายงานการแข่งขันต่างๆ และถ่ายภาพในสตูดิโอ ในปี 1999 เขาเริ่มทำงานเป็นช่างภาพอิสระในสาขาการบิน เขาได้ถ่ายภาพให้กับแผ่นพับอย่างเป็นทางการของทีม Blue Impulse รวมถึงผลิตนิตยสารเฉพาะทางด้านการบินและปฏิทินสายการบินด้วย