ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

Inspirations >> พื้นที่แสดงผลงานของช่างภาพ

ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้างในการจัดแสดงผลงานภาพถ่าย

2017-04-06
0
2.65 k
ในบทความนี้:

GOTO AKI ช่างภาพมืออาชีพจะมาเล่าเพิ่มเติมถึงเส้นทางสู่การเป็นช่างภาพทิวทัศน์ รวมทั้งประสบการณ์การตีพิมพ์ผลงานภาพถ่ายทิวทัศน์ในตอนที่ห้าของบทความต่อเนื่องชุดนี้ มาทำความรู้จักแนวคิดและความเห็นของช่างภาพมืออาชีพ ผ่านการสนทนาถึงมุมมองที่มีต่อผลงานของตนเองอย่างตรงไปตรงมา และการให้ความสำคัญกับรายละเอียดของการจัดแสดงผลงานในนิทรรศการเดี่ยว (เรื่องโดย: GOTO AKI)

EOS-1Ds Mark III/ EF17-40mm f/4L USM/ FL: 17 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/400 วินาที, EV±0)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
สถานที่: ธารน้ำแข็งแอทธาบาสก้า แคนาดา
น้ำแข็งที่ละลายเป็นน้ำและไหลลงมาตามธารน้ำแข็งอันเนื่องมาจากสภาวะโลกร้อน ภาพนี้ถ่ายบนก้อนน้ำแข็งที่หนาถึง 300 เมตร

 

“ภาพทิวทัศน์”— ค้นพบตัวแบบจากภาพถ่าย "การเดินทาง" ของผม

ในช่วงประมาณปี 2007 แม้ว่าผมจะโชคดีที่มีโอกาสเดินทางไปรอบโลกเพื่อถ่ายภาพ แต่ในใจผมยังนึกอยู่เสมอว่าผมต้องการค้นหาธีมที่สามารถทุ่มเทชีวิตให้ได้ในฐานะช่างภาพ และเป็นธีมที่สามารถนำมาจัดนิทรรศการเดี่ยวของตนเอง ผมถามตัวเองว่า:

"ธีมของผมควรเป็นอย่างไร ภาพถ่ายแบบไหนที่ทำให้ผมรู้สึกประทับใจ"

ผมทราบดีว่าหากตัวผมเองไม่รู้สึกประทับใจในภาพถ่าย การจะทำให้ผู้ชมรู้สึกประทับใจด้วยเช่นเดียวกันคงเป็นไปได้ยาก ต่อมาวันหนึ่ง ผมย้อนกลับไปดูภาพท่องเที่ยวที่เคยถ่ายไว้ในอดีต และผมก็ค้นพบตัวแบบที่ผมสนใจ ในภาพท่องเที่ยวเก่าๆ เหล่านี้มีภาพทิวทัศน์มากมายที่ผมไม่ทันสังเกตว่าได้เคยบันทึกเอาไว้ ภาพเก่าๆ เหล่านี้เผยให้เห็นทิวทัศน์ที่ผมพบเจอในช่วงเวลาอันแสนพิเศษที่ออกเดินทางไปทั่วโลก ซึ่งทำให้ผมประทับใจมาก และผมตระหนักได้ทันทีว่าตัวแบบที่ตัวเองต้องการถ่ายในฐานะช่างภาพก็คือภาพทิวทัศน์นั่นเอง

นับแต่วันนั้น ผมตัดสินใจบันทึกภาพวิวทิวทัศน์ต่างๆ บนโลกใบนี้ และหวนกลับไปให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์ผลงานภาพถ่าย

แล้วคุณผู้อ่านล่ะครับ ภาพถ่ายแบบไหนที่ทำให้คุณรู้สึกประทับใจ

สำหรับคนที่ยังไม่พบตัวแบบที่ตนสนใจ ผมแนะนำให้ลองกลับไปดูรูปถ่ายในอดีต คุณอาจพบว่าคุณค้นหาตัวแบบที่คุณชื่นชอบพบแล้ว

EOS-1Ds Mark III/ EF24-70mm f/2.8L USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/14, 1/125 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
สถานที่: แอลเบอร์ตา แคนาดา
ผมพบน้ำที่มาจากแหล่งน้ำใต้ดินตามธรรมชาติใกล้กับถนนไฮเวย์ ผมรู้สึกทึ่งกับสีสันที่งดงามของแหล่งน้ำซึ่งปกคลุมไปด้วยตะไคร่น้ำ

 

EOS-1Ds Mark III/ EF24-70mm f/2.8L USM/ FL: 66 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/125 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
สถานที่: เกาะอีสเตอร์ ชิลี
ผมกำลังยืนอยู่บนหน้าผาสูงชันบนเกาะ ขณะที่พายุทอร์นาโดกำลังใกล้เข้ามา ผมไม่รู้จะหนีไปทางไหน จึงได้แต่กดชัตเตอร์ไปเรื่อยๆ พร้อมกับภาวนาให้ทอร์นาโดไม่เคลื่อนตรงเข้าหาผม

 

EOS-1Ds Mark II/ EF17-40mm f/4L/ FL: 22 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/200 วินาที, EV+0.3)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
สถานที่: ภูเขาไฟ Kīlauea เกาะฮาวาย
ขณะถ่ายภาพพื้นผิวของปล่องภูเขาไฟที่ปะทะฝนตกหนักและลมกรรโชกแรง ผมสัมผัสได้ถึงประวัติศาสตร์ของโลกมนุษย์

 

ตีพิมพ์ผลงานในนิตยสารภาพถ่าย - ผมอยากให้คนอื่นเห็นผลงานของผมมากขึ้น

ผมยังคงเดินหน้าถ่ายภาพทิวทัศน์ต่อไปเรื่อยๆ และผมไม่เพียงตรวจภาพถ่ายจากบนหน้าจอเท่านั้น แต่ยังพิมพ์ภาพออกมาเพื่อตรวจสอบอย่างไม่มีอคติอีกครั้ง ในปี 2009 ผมนำผลงานภาพถ่ายที่คัดเลือกแล้วจำนวน 30 ภาพไปให้บรรณาธิการนิตยสารภาพถ่ายแห่งหนึ่งชม นิตยสารฉบับนี้มีผลงานตีพิมพ์ภาพถ่ายชิ้นเอกมากมาย

แม้ว่าผมจะกลัวคนอื่นๆ ปฏิเสธผลงาน แต่ผมมีความต้องการอย่างแรงกล้าที่จะให้คนอื่นได้เห็นและชื่นชมภายถ่ายของผมมากกว่า และนั่นคือแรงผลักดันที่ทำให้ผมต้องการตีพิมพ์ผลงานลงในนิตยสาร นอกจากนี้ นิตยสารต่างจากเว็บเพจตรงที่มีข้อจำกัดในเรื่องจำนวนหน้าที่จะตีพิมพ์ผลงาน ดังนั้น ผมจึงคิดว่าหากผลงานของผมได้ตีพิมพ์ ไม่เพียงคนอื่นๆ จะได้รู้จักชื่อผมเท่านั้น แต่พวกเขาจะรู้สึกว่าผมเป็นหนึ่งบุคคลที่ "ผ่านการคัดเลือก" มาแล้ว ซึ่งได้รับเลือกให้ตีพิมพ์ผลงานลงในนิตยสาร

การพิมพ์ภาพถ่ายเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจสอบผลงานของคุณอย่างไม่มีอคติ ขณะนี้ผมเป็นช่างภาพมืออาชีพแล้วก็จริง แต่หากเวลาอำนวยผมจะพิมพ์ภาพถ่ายออกมาเพื่อตรวจสอบอีกครั้ง

 

แม้ว่าผมจะรู้สึกประหม่าเมื่อต้องพบกับคนที่ผมไม่รู้จัก แต่บรรณาธิการบอกผมว่าภาพถ่ายสวยงาม และให้พื้นที่สำหรับลงภาพจำนวน 8 หน้าในหน้าแรกๆ ของนิตยสารทันที ทันใดนั้นเองผมรู้สึกมั่นใจว่าผมสามารถสื่อความคิดของตนเองให้คนอื่นๆ ที่ไม่เคยเจอกันมาก่อนได้ หากผลงานของผมเกี่ยวข้องกับตัวแบบสักอย่างที่ผมตั้งใจนำเสนออย่างเต็มที่

ยิ่งไปกว่านั้น นิตยสารยังให้ผมทำงานถ่ายภาพชุดทิวทัศน์ในประเทศญี่ปุ่นในช่วงเวลาหนึ่งปี ดังนั้น ผมจึงเริ่มถ่ายภาพทิวทัศน์อย่างเต็มที่ทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ

งานที่ทำให้ผมออกเดินทางนำไปสู่ผลงานภาพถ่ายที่มากขึ้น และเมื่อผลงานได้รับการยอมรับก็ทำให้ผมมีงานมากขึ้นจนต้องออกเดินทาง เมื่อเป็นเช่นนี้ ผลงานที่ผ่านการกลั่นกรองมาอย่างดีจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต ซึ่งสร้างวงจรที่เหมาะสมจนนำไปสู่ทิศทางใหม่ๆ และทำให้ความแตกต่างระหว่างภาพที่ผมถ่ายเพื่อการทำงานกับภาพที่ถ่ายเพื่องานศิลปะนั้นหมดไป

EOS 5D Mark III/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 106 มม./ Aperture-priority AE (f/7.1, 1/320 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: 6500K
สถานที่: จังหวัดชิซุโอกะ ประเทศญี่ปุ่น
หนึ่งในสามเนินทรายที่มีชื่อเสียงในญี่ปุ่น - เนินทรายนะคะตะจิมะ เมืองฮะมะมัตสึ จังหวัดชิซุโอกะ ภาพนี้ถ่ายในตอนรุ่งเช้า ยามที่แสงมุมเฉียงสาดส่องเพิ่มความโดดเด่นให้แก่คลื่นบนเนินทราย เมื่อผมปรับแต่งภาพ RAW ผมได้เปลี่ยนอุณหภูมิสีเพื่อให้ภาพมีโทนสีแดงมากขึ้น

 

ปัจจุบัน เมื่อมีคนนิยมดูภาพถ่ายจากสมาร์ทโฟนหรือคอมพิวเตอร์มากขึ้น ภาพจึงถูกนำมาปรับแต่งให้ดูสวยงามบนหน้าจอมากกว่าภาพจริง เนื่องจากสภาวะย้อนแสงของจอภาพ ดังนั้น เพื่อตัดสินผลงานอย่างตรงไปตรงมา การดูภาพถ่ายที่พิมพ์ออกมาจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก แม้กระทั่งปัจจุบัน ผมยังคงพิมพ์ภาพถ่ายที่ผมอยากดูชัดๆ ออกมาเป็นขนาด A4 เพื่อตรวจสอบรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ (ผมใช้เครื่องพิมพ์ PIXMA PRO-100 และ PIXMA PRO-1)

EOS-1Ds Mark II/ EF24-70 f/2.8L USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/5, 1/200 วินาที, EV±0)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
สถานที่: ยอดเขามัวนาเคีย ฮาวาย
ภาพทิวทัศน์ที่ถ่ายที่ความสูงประมาณ 3,400 เมตร เรายังคงเห็นร่องรอยที่เกิดจากการปะทุของภูเขาไฟได้ชัดเจน

 

EOS-1Ds Mark III/ EF24-70mm f/2.8L USM/ FL: 55 มม./ Aperture-priority AE (f/22, 1/400 วินาที, EV+0.3)/ ISO 400/ WB: แสงแดด
สถานที่: อุทยานซากไดโนเสาร์ แอลเบอร์ตา แคนาดา
ในภาพก้อนเมฆหนาทึบที่ลอยเด่นเหนือผืนดินนี้ คุณจะได้เห็นปรากฏการณ์ของสภาพอากาศที่แตกต่างกันสามแบบในเฟรมภาพเดียวคือ ฝนตก ก้อนเมฆ และท้องฟ้าโปร่ง

 

หวนคืนสู่นิทรรศการเดี่ยว - การจัดเรียงผลงานเพื่อเล่าเรื่องราวใหม่ๆ

ในช่วงเวลาเดียวกันกับที่ผมนำแฟ้มผลงานไปเสนอที่นิตยสาร ผมเกิดความคิดที่จะจัดนิทรรศการเดี่ยวเพื่อนำเสนอผลงานของผม และคงเป็นความโชคดีที่ Canon Gallery ในประเทศญี่ปุ่นเปิดรับสมัครบุคคลทั่วไปที่สนใจจัดนิทรรศการภาพถ่ายที่จัดขึ้นสองครั้งต่อปีพอดี หลังจากผมสมัครและผ่านการตรวจสอบ ผมจึงได้มีโอกาสจัดนิทรรศการเดี่ยวครั้งแรกในรอบ 8 ปี ในปี 2010 โดยใช้ชื่อว่า "LAND ESCAPES" หลังจากนั้น ผมจัดนิทรรศการเดี่ยวเพื่อนำเสนอผลงานภาพถ่ายของตัวเองเกือบทุกปี ตั้งแต่ปี 2013 จนกระทั่งถึงปี 2016

นิทรรศการเดี่ยวมีความสำคัญต่อช่างภาพ เหมือนกับที่การแสดงคอนเสิร์ตมีต่อนักดนตรี เมื่อผม "ออกแสดง" ในนิทรรศการเดี่ยว ผมได้เข้าใจโดยตรงถึงความแตกต่างระหว่างผลงานที่ผมคิดว่าดีกับผลงานที่ผู้มาเยี่ยมชมรู้สึกชื่นชอบ ยิ่งไปกว่านั้น แกลเลอรี่ยังมีความน่าสนใจต่างจากนิตยสารและเว็บไซต์ เนื่องจากผมสามารถจัดแสดงผลงานในพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ผมถ่ายทอดโลกทัศน์ ซึ่งสร้างสรรค์ขึ้นจากความรู้สึกในเชิงสุนทรียศาสตร์ของตัวเอง

EOS 5D Mark III/ TS-E17mm f/4L/ FL: 17 มม./ Shutter-priority AE (f/4.5, 1/3200 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
สถานที่: น้ำตกฮะระจิริ จังหวะโออิตะ ประเทศญี่ปุ่น
ภาพถ่ายจากมุมด้านบนเหนือน้ำตกโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้อง ผมถ่ายรูปนี้โดยการเอียงกล้อง และโฟกัสไปที่น้ำตกและแอ่งน้ำใต้น้ำตกไปพร้อมกัน เพื่อเก็บภาพกระแสน้ำที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

 

เมื่อจัดนิทรรศการในแกลเลอรี่ จะไม่มีความหมายอะไรเลยหากเรียงภาพถ่ายต่อกันไปเรื่อยๆ เท่านั้น ดังนั้น ผมจึงพยายามจัดเรียงผลงานขึ้นใหม่ เพื่อให้ผู้เยี่ยมชมงานสามารถเพลิดเพลินกับพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการได้ ผมจะเตรียมฉากจำลองแกลเลอรี่ขึ้นเสมอเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น ผมจะพิมพ์ภาพถ่ายเดียวกันออกมาเป็น 4 ขนาด เพื่อตรวจสอบภาพถ่ายอย่างตรงไปตรงมา และสับเปลี่ยนขนาดและวิธีจัดวางในพื้นที่นิทรรศการ

ผมพิมพ์ภาพถ่ายเดียวกันออกมาหลากหลายขนาดสำหรับเลย์เอาต์ของนิทรรศการเดี่ยว

 

แกลเลอรี่ย่อส่วนขนาดเล็กที่จำลองจาก Canon Gallery ในกินซ่า ซึ่งผมใช้เพื่อตรวจสอบขนาดของผลงานและความรู้สึกถึงระยะห่างระหว่างภาพแต่ละภาพ

 

พื้นที่จัดนิทรรศการจริงของ Canon Gallery ในกินซ่า

 

กล้องที่ผมใช้มีตั้งแต่ EOS-1Ds Mark III และ EOS 5D Mark II ไปจนถึง EOS 5D Mark III, EOS 5DS R และ EOS 5D Mark IV และผมจะเปลี่ยนใหม่ทุกครั้งเมื่อมีกล้องรุ่นใหม่ออกวางจำหน่าย เพราะกล้องรุ่นใหม่ล่าสุดจะสามารถถ่ายทอดภาพออกมาได้อย่างสวยงาม แม้ว่าเราจะขยายภาพให้มีความยาวถึง 2 เมตร เพื่อจัดแสดงในนิทรรศการก็ตาม ดังนั้น ภาพถ่ายของผมจึงถูกถ่ายทอดออกมาได้อย่างงดงามด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกล้องดิจิตอลนั่นเอง

 

EOS 5D Mark III
เปิดตัวในเดือนมีนาคม 2012
ติดตั้งเซนเซอร์ CMOS แบบฟูลเฟรม ความละเอียด 22.3 ล้านพิกเซลที่พัฒนาขึ้นใหม่ และระบบประมวลผลภาพ DIGIC 5+
แม้กระทั่งในปัจจุบัน กล้องรุ่นนี้ยังคงเป็นตัวเลือกสำหรับผู้ใช้งานมากมาย

 

EOS 5DS R
เปิดตัวในเดือนมิถุนายน 2015
ติดตั้งเซนเซอร์ CMOS แบบฟูลเฟรมที่เป็นกรรมสิทธิ์เฉพาะของ Canon มีจำนวนพิกเซลที่ใช้จริงสูงถึง 50.6 ล้านพิกเซล และมีระบบการประมวลผลภาพแบบ Dual DIGIC 6
รุ่นที่มีความละเอียดสูงนี้มีฟังก์ชั่นที่ยกเลิกเอฟเฟ็กต์ฟิลเตอร์ Low-pass ในกล้อง EOS 5DS

 

EOS 5D Mark IV
เปิดตัวในเดือนกันยายน 2016
ติดตั้งเซนเซอร์ CMOS แบบฟูลเฟรม มีจำนวนพิกเซลที่ใช้จริงสูงถึง 30.4 ล้านพิกเซล และมีระบบการประมวลผลภาพแบบ DIGIC 6+
นี่คือกล้องรุ่นใหม่ล่าสุดในซีรีย์ 5D เมื่อเดือนมีนาคม 2017

 

อ่านบทความอื่นๆ ที่เขียนโดย GOTO AKI:
เหตุผล 5 ข้อว่าทำไม EOS 5D Mark IV คือกล้องที่ดีที่สุดสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์
หลักสำคัญ 4 ข้อในการถ่ายภาพทิวทัศน์ก่อนฟ้าสาง
EF16-35mm f/4L IS USM: ถ่ายภาพทิวทัศน์ได้อย่างน่าทึ่งแม้ถ่ายแบบถือกล้องด้วยมือ

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

เกี่ยวกับผู้เขียน

GOTO AKI

เกิดเมื่อปี 1972 ที่จังหวัดคานากาวะ จบการศึกษาจาก Sophia University และ Tokyo College of Photography Goto เผยแพร่ผลงานคอลเลคชั่นภาพถ่ายที่มีชื่อว่า "LAND ESCAPES" และยังมีส่วนร่วมในผลงานอื่นๆ อีก อาทิ "water silence" การแสดงผลงานศิลปะที่ผสานภาพถ่ายกับวิดีโอเข้าไว้ด้วยกัน

http://gotoaki.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา