ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

[เทคนิคการใช้ไฟ 2 ดวง] วิธีง่ายๆ ในการจัดแสงให้วัตถุที่โค้งมนและสะท้อนแสง

2021-10-25
1
1.77 k
ในบทความนี้:

พลาสติกที่เงาวับและวัตถุสะท้อนแสงอื่นๆ อาจเป็นความท้าทายในการถ่ายภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณพยายามควบคุมวิธีการรับแสงของวัตถุเหล่านั้น อ่านต่อเพื่อหาคำตอบเกี่ยวกับวิธีการจัดแสงให้วัตถุโดยใช้แฟลชนอกตัวกล้อง (บทช่วยสอนและภาพโดย: Chee Boon Pin)

EOS R/ EF50mm f/1.2L USM ที่ f/4, 1/60 วินาที, ISO 100
แฟลช: 2 x Speedlite EL-1 (นอกตัวกล้อง) ที่ 1/64

1) ประเมินตัวแบบ
2) การจัดแสง
3) ขั้นตอน (ขั้นที่ 1-3)
4) รู้จักกับอุปกรณ์ของคุณ

 

ก่อนการถ่ายภาพ: ประเมินตัวแบบ

ตัวแบบต่างๆ มีคุณสมบัติที่แตกต่างกันซึ่งจะส่งผลต่อวิธีการถ่ายภาพของคุณ ต่อไปนี้คือสิ่งที่ผมพิจารณา:
- ผิวของตัวแบบโปร่งใส โปร่งแสง ด้าน หรือสะท้อนแสงได้เช่นเดียวกับกระจกหรือไม่
- รูปทรงของตัวแบบเป็นอย่างไร แบน กลม เว้า หรือนูน
- คุณต้องการใช้มุมแบบใด หรือต้องการเน้นส่วน/รายละเอียดใดของตัวแบบ
- ขนาดของตัวแบบเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับพื้นที่ที่คุณใช้ในการถ่ายภาพ
- คุณต้องการใช้แบ็คกราวด์แบบใดสำหรับตัวแบบ


นี่คือตัวแบบของเราในบทความนี้ ซึ่งถ่ายด้วยแฟลชจากด้านหน้าโดยตรง

ตัวแบบมีพื้นผิวที่เป็นเงาและโค้งมน พื้นผิวเช่นนี้ยากต่อการถ่ายภาพเนื่องจากสะท้อนสิ่งที่อยู่โดยรอบได้ง่ายและยังทำให้แสงหักเหอีกด้วย ซึ่งอันที่จริง คุณจะเห็นว่าการใช้แฟลชติดกล้องโดยตรงไม่ทำให้ตัวแบบดูดีเท่าใดนัก เนื่องจากแฟลชถูกสะท้อนให้เห็นเป็นจุดแสงอย่างชัดเจนบนตัวแบบ

 

การจัดแสง

สิ่งที่คุณต้องใช้

แฟลชนอกตัวกล้อง 2 ดวง (หรือแฟลช 1 ดวง, ไฟ LED 1 ดวง)
A: ไฟสำหรับแบ็คกราวด์
B: ไฟสำคัญ (ไฟหลัก)

C: ตัวส่งสัญญาณแฟลช Speedlite ST-E3-RT เพื่อให้คุณสามารถยิงแฟลชนอกตัวกล้องได้
(หรือ: แฟลชที่รองรับฟังก์ชันตัวส่งสัญญาณ*)
D: แบ็คกราวด์สีขาว
E: ผ้ากระจายแสงสำหรับกระจายแสงด้านบน ในตำแหน่งเหนือตัวแบบโดยตรง
- อาจใช้ผ้าสีขาวล้วนแทนได้ ผ้านี้จะช่วยให้แสงกระจายออกไปได้กว้างขึ้น และยังช่วยป้องกันไม่ให้รายละเอียดบนเพดานสะท้อนลงมาบนตัวแบบ

*ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟังก์ชันตัวส่ง/รับสัญญาณได้ที่ “รู้จักกับอุปกรณ์ของคุณ

 

ขั้นตอนที่ 1: จัดแสงสำหรับแบ็คกราวด์

หลังติดตั้งผ้ากระจายแสงเหนือตัวแบบเรียบร้อยแล้ว สิ่งแรกที่ผมเตรียมคือจัดไฟสำหรับแบ็คกราวด์ ไฟดวงนี้ควรส่องไปที่แบ็คกราวด์ด้านหลังตัวแบบ

เนื่องจากรูปร่างของตัวแบบ (กลม/โค้งมน) จึงสะท้อนแสง/พื้นที่ที่อยู่โดยรอบได้ง่าย แสงจากแบ็คกราวด์จะ “ล้น” ลงไปบนตัวแบบ ทำให้กลายเป็นแสงตรงส่วนขอบ ผมรู้สึกว่าแสงเช่นนี้ช่วยเสริมให้ตัวแบบดูดีขึ้นเนื่องจากทำให้มีปริมาตร

 

ขั้นตอนที่ 2: เพิ่มไฟหลัก

ขั้นต่อไป ผมเพิ่มไฟด้านบนซึ่งทำหน้าที่เป็นไฟดวงหลัก ผ้ากระจายแสงทำให้แสงจากไฟหลักนุ่มนวลขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผมไม่ได้ใช้อุปกรณ์ปรับแสงใดๆ กับแฟลชเปล่า เงาใต้ตัวแบบมีขอบที่นุ่มนวลและไม่เกิดเป็นเงาที่สะดุดตาจนเกินไป

ผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย:

เอฟเฟ็กต์นี้เกิดขึ้นได้ด้วยแฟลชทั้งสองดวงที่ค่าประมาณ 1/64 ของแฟลช Speedlite EL-1


ปรับมุมรับแสง

พยายามทำความเข้าใจว่าแสงตกกระทบลงบนตัวแบบและสะท้อนเข้ามายังกล้องของคุณในจุดใดหรืออย่างไร หากคุณต้องการให้แสงจากไฟหลักนุ่มนวลขึ้น ให้เลื่อนไฟออกมาจากเงาสะท้อน หรือคุณอาจลองใช้วิธีการสะท้อนแสงแฟลชจากเพดาน หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงแสงสะท้อนได้ ให้เรียนรู้วิธีการใช้แสงสะท้อนเพื่อช่วยในการขับเน้นรูปร่างของตัวแบบ


หรือ: หากคุณมีแฟลชนอกตัวกล้องเพียงดวงเดียวและอีกดวงหนึ่งเป็นไฟแบบต่อเนื่อง…

ให้ใช้แฟลชเป็นไฟดวงหลัก และใช้ไฟต่อเนื่องเป็นไฟสำหรับแบ็คกราวด์ เนื่องจากไฟหลักของคุณจำเป็นต้องมีกำลังมากกว่า และช่วยให้สามารถปรับหัวแฟลชได้ตามต้องการ หากแหล่งกำเนิดแสงจากไฟต่อเนื่องไม่สว่างพอ ให้ใช้ชัตเตอร์ความเร็วต่ำเพื่อให้แบ็คกราวด์สว่างขึ้น

 

ขั้นตอนที่ 3: ปิดไฟที่อยู่โดยรอบ

ไฟที่อยู่รอบๆ อาจทำให้เกิดเงาสะท้อนหรือแสงที่มีสี/อุณหภูมิแตกต่างกันซึ่งคุณไม่ต้องการบนตัวแบบหรือแบ็คกราวด์ เมื่อคุณจัดแสงเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ปิดไฟทุกดวงในห้อง หรือให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ ซึ่งรวมถึงแสงจากหน้าต่างด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงต้องปิดผ้าม่านด้วย!

หากไม่สามารถลดแสงโดยรอบลงได้เท่าที่ต้องการ คุณอาจเพิ่มความมืดได้โดยการเพิ่มความเร็วชัตเตอร์


เคล็ดลับ:


1. ใช้ไฟส่องแบบช่วย
แฟลช Speedlite ของ Canon มีไฟส่องแบบที่ช่วยให้คุณมองเห็นตัวแบบและเข้าใจเอฟเฟ็กต์หรือทิศทางของแสงบนตัวแบบหรือแบ็คกราวด์ ใช้ฟังก์ชันนี้เพื่อช่วยในการถ่ายภาพ!

เกร็ดน่ารู้: สำหรับแฟลชระดับสูงอย่าง Speedlite EL-1 คุณสามารถปรับได้แม้กระทั่งอุณหภูมิสีและความเข้มของแสงไฟส่องแบบ


2. หากคุณใช้แฟลช Speedlite บนฐานเสียบแฟลชเป็นตัวส่งสัญญาณ อย่าลืมปิดการยิงแฟลชของตัวส่งสัญญาณ
โดยค่าเริ่มต้น การยิงแฟลชของตัวส่งสัญญาณมักจะเปิดอยู่และตัวส่งสัญญาณจะยิงแฟลชในกลุ่ม A แต่ในที่นี้ เราไม่ต้องการให้แฟลช Speedlite บนฐานเสียบยิงแฟลช จึงต้องตั้งค่าการยิงแฟลชของตัวส่งสัญญาณไว้ที่ “ปิด” โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมในคู่มือการใช้งานแฟลช Speedlite ของคุณ

 

อุปกรณ์ที่ใช้: รู้จักกับอุปกรณ์ของคุณ


ต้องใช้อุปกรณ์ใดบ้างในการยิงแฟลชนอกตัวกล้อง

นอกจากแฟลช Speedlite ที่คุณต้องการให้ยิงแฟลชนอกตัวกล้องแล้ว (เรียกว่าตัวรับสัญญาณหรือแฟลชสเลฟ) คุณยังต้องใช้แฟลชที่เป็นตัวส่งสัญญาณด้วย (เรียกอีกอย่างว่าแฟลชสั่งงานหรือแฟลชมาสเตอร์/แฟลชควบคุม) แฟลชส่งสัญญาณคือแฟลชหรือตัวส่งสัญญาณที่ติดอยู่บนตัวกล้องซึ่งสามารถสั่งให้แฟลชนอกตัวกล้องยิงแฟลชได้

ตัวส่งสัญญาณแฟลช Speedlite ST-E3-RT มีแผงหน้าจอ LCD ที่ช่วยให้คุณสามารถกำหนดค่าและควบคุมแฟลชนอกตัวกล้องได้จากระยะไกล ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกเมื่อแฟลชรับสัญญาณไม่อยู่ในระยะใกล้ เช่นเดียวกับไฟดวงหลักที่ใช้ในการถ่ายภาพครั้งนี้


โหมดการส่งสัญญาณแบบไร้สาย: วิทยุและแบบออพติคอล

มีสองวิธีหลักๆ ที่แฟลชรับส่งสัญญาณของ Canon ใช้ในการสื่อสารแบบไร้สาย นั่นคือการส่งสัญญาณแบบออพติคอลและสัญญาณวิทยุ

การส่งสัญญาณแบบออพติคอล คือวิธีการส่งสัญญาณไร้สายแบบดั้งเดิม วิธีนี้จำเป็นต้องมีการเชื่อมต่อในแนวสายตาระหว่างตัวส่งและตัวรับ ซึ่งหมายความว่าเซนเซอร์แบบออพติคอลของแฟลชจำเป็นต้องหันหน้าเข้าหากัน และสิ่งกีดขวาง (รวมถึงแหล่งกำเนิดแสงที่สว่างจ้า) อาจส่งผลต่อการสื่อสารได้ 

การส่งสัญญาณวิทยุ เป็นวิธีการสื่อสารที่ใหม่กว่าและน่าเชื่อถือกว่า เนื่องจากทำให้ตัวส่งและตัวรับสามารถสื่อสารกันได้แม้จะไม่มีแนวสายตา และยังให้ช่วงการสื่อสารที่กว้างกว่าด้วย (ประมาณ 30 ม.) เมื่อเทียบกับการส่งสัญญาณแบบออพติคอล


ฟังก์ชันที่แฟลช Speedlite รุ่นใหม่รองรับ

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
คู่มือผู้ซื้อฉบับย่อ: Speedlite 600EX II-RT
คู่มือผู้ซื้อฉบับย่อ: Speedlite 430EX III-RT

 

การตั้งค่าใดที่ควรระมัดระวังขณะติดตั้งอุปกรณ์เพื่อยิงแฟลชแบบไร้สาย


- ช่องและ ID ของวิทยุไร้สาย
ช่องและ ID ของวิทยุไร้สายช่วยให้คุณแน่ใจว่าช่างภาพสองคนที่ยิงแฟลชในสถานที่เดียวกันจะไม่ยิงแฟลชใส่อุปกรณ์ของช่างภาพอีกคนโดยไม่ได้ตั้งใจ ตรวจดูให้แน่ใจว่าตัวรับและส่งสัญญาณของคุณถูกตั้งค่าไว้ที่ช่องเดียวกันและใช้ ID ตรงกัน หากไม่เป็นเช่นนั้น อุปกรณ์จะไม่สามารถสื่อสารกันได้


- ดูให้แน่ใจว่าไฟ LINK เป็นสีเขียว 
ไฟนี้เป็นตัวแสดงว่าตัวรับส่งสัญญาณของคุณกำลังสื่อสารกันอยู่ หากไฟเป็นสีแดง อาจเป็นเพราะช่อง/ID ของวิทยุไร้สายไม่ถูกต้อง

- การตั้งค่าระดับสูงอื่นๆ: ปรับการควบคุมกลุ่มการยิงแฟลชและดูว่าผลเป็นอย่างไร
โปรเจกต์นี้ใช้การยิงแฟลชรับสัญญาณทั้งสองตัวด้วยโหมดและกำลังแฟลชเดียวกัน อย่างไรก็ตาม คุณสามารถแยกแฟลชรับและส่งสัญญาณให้อยู่คนละกลุ่มการยิงแฟลชโดยใช้โหมดและการตั้งค่ากำลังแสงที่แตกต่างกันได้ในโหมด “Gr” เมื่อคุณมีความคุ้นเคยกับการถ่ายภาพด้วยแฟลชนอกตัวกล้องมากขึ้นแล้ว คุณอาจอยากลองใช้การตั้งค่าเหล่านี้และดูว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นอย่างไร

 

อ่านบทช่วยสอนเกี่ยวกับการถ่ายภาพด้วยแฟลชนอกตัวกล้องเพิ่มเติมได้ที่:
วิธีถ่ายภาพหยดฝนเพื่อสร้างสรรค์พอร์ตเทรตที่เหนือจริง
2 เทคนิคจัดแสงด้วยไฟดวงเดียวง่ายๆ สำหรับภาพพอร์ตเทรตงานแต่งงานกลางวัน/กลางคืนที่สวยงาม

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับแฟลช Speedlite และพื้นฐานการถ่ายภาพโดยใช้แฟลชได้ที่:
เริ่มถ่ายภาพโดยใช้แฟลชได้ใน 9 ขั้นตอน!
3 คุณสมบัติของแฟลช Speedlite ที่คุณอาจไม่ทราบ
การวัดแสงแฟลช E-TTL II คืออะไร

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Chee Boon Pin

Boon Pin เริ่มถ่ายภาพเป็นครั้งแรกเพื่อบันทึกงานอดิเรกและการท่องเที่ยวของเขา เขามักออกเดินทางอยู่เสมอเพื่อสร้างสรรค์ภาพถ่ายให้ดียิ่งขึ้น เขาต้องการถ่ายภาพที่สามารถสื่อถึงความรู้สึกและพลังในช่วงเวลานั้นให้ผู้ชมรับรู้ผ่านภาพถ่ายของเขาได้ นอกจากจะถ่ายภาพตัวแบบด้านการท่องเที่ยวให้กับนิตยสารบนเที่ยวบินแล้ว เขายังถ่ายภาพในการแข่งขันกีฬาและงานอีเวนต์ทางวัฒนธรรมด้วย ซึ่งพลังและความตื่นเต้นที่สามารถส่งต่อถึงกันคือสิ่งที่เขาหลงใหล นอกเวลางาน เขาช่วยจัดทำเนื้อหาให้กับทีมปั่นจักรยานในท้องถิ่นและถ่ายภาพในการแข่งขันเมื่อมีเวลาว่าง เขาบันทึกการผจญภัยในการถ่ายภาพ/ปั่นจักรยานของเขาภายใต้โปรเจกต์ “Be Ride Back” และในปัจจุบัน เขากำลังรอให้สามารถเดินทางไปท่องเที่ยวที่ต่างประเทศได้อีกครั้งเพื่อออกผจญภัยในต่างแดนต่อไป

เว็บไซต์: http://www.cheebp.com/
Instagram: http://www.instagram.com/cheebp/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา