คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #10: ค่าความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะกับการถ่ายภาพยามค่ำคืนที่สุดคือเท่าใด?
การเลือกความเร็วชัตเตอร์เป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการบันทึกภาพความงดงามของทิวทัศน์ยามค่ำคืน ในบทความนี้ ผมจะอธิบายถึงวิธีการกำหนดความเร็วชัตเตอร์ที่เหมาะสมที่สุด การใช้ภาพถ่ายทิวทัศน์ในเมืองยามค่ำคืน เส้นแสงจากรถ และประกายแสงที่สะท้อนอยู่เหนือผิวน้ำ เป็นต้น (ภาพและเรื่องโดย: Kazuo Nakahara)
ประเด็นที่ 1: เมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ในเมืองยามค่ำคืน ควรให้ความสำคัญกับค่า f มากกว่าความเร็วชัตเตอร์
ประเด็นที่ 2: เปิดรับแสงเป็นเวลานานเพื่อเก็บภาพความงดงามของเส้นแสงและแสงสะท้อน
ในปัจจุบัน แม้ว่ากล้องจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมากจนสามารถถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนแบบถือกล้องถ่ายได้ แต่คุณควรใช้วิธีการที่ทำให้ได้รับภาพถ่ายระดับมืออาชีพมากขึ้นด้วยการใช้ขาตั้งกล้อง
ในการถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนจะมีแหล่งกำเนิดแสงเป็นจุดอยู่เป็นจำนวนมาก การเลือกความเร็วชัตเตอร์จึงมีความสำคัญอย่างมาก หากถ่ายภาพทิวทัศน์ในเมืองยามค่ำคืนบ่อยครั้ง คุณควรใช้ตัวแบบที่อยู่ค่อนข้างนิ่ง เช่น อาคาร ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถมุ่งเน้นไปที่การค้นหาค่า f ที่เหมาะสมมากกว่าการปรับเปลี่ยนความเร็วชัตเตอร์เพื่อขับเน้นแฉกแสงพุ่งกระจายที่จะปรากฏในภาพถ่าย โดยไม่จำเป็นต้องตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ต่ำจนเกินไปเพราะอาจทำให้ภาพเบลอได้ ให้ตั้งค่าความไวแสง ISO ที่จะทำให้ภาพถ่ายมีคุณภาพเพียงพอกับสิ่งที่คุณต้องการจะถ่ายทอด โดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ประมาณ 1 ถึง 5 เป็นแนวทาง
สำหรับการถ่ายภาพแสงจากรถให้เป็นเส้นแสง โดยทั่วไปแล้วความเร็วชัตเตอร์ 10 ถึง 20 วินาทีอาจจะเพียงพอหากการจราจรค่อนข้างติดขัด แต่ในการถ่ายภาพในขณะที่ถนนค่อนข้างโล่งอย่างเช่นในช่วงกลางคืน คุณอาจต้องใช้ฟิลเตอร์ ND หรือฟิลเตอร์อื่นที่ใกล้เคียงกัน จากนั้นตั้งเวลาเปิดรับแสงไว้ที่ 60 วินาทีหรือนานกว่านั้น
นอกจากนี้ หากต้องการแสดงเอ็ฟเฟ็กต์ให้ผิวน้ำดูนุ่มนวลงดงาม การใช้ความไวแสงน้อยจะทำให้พื้นผิวน้ำดูไม่สม่ำเสมอ ควรทดลองใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้นที่ 30 วินาที ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถขับเน้นสีสันของแสงที่สะท้อนบนผิวน้ำได้เป็นอย่างดี
ฉากที่ 1: ทิวทัศน์เมืองยามค่ำคืน - 1 วินาที
EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 50 มม./ Aperture Priority AE (f/8, 1 วินาที, 1 วินาที, EV-0.7)/ ISO 200/ WB: 4,500K
เนื่องจากผมเปิดรับแสงเป็นเวลานาน ซึ่งมีโอกาสที่ภาพจะเบลอได้เนื่องจากชิงช้าสวรรค์มีการเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นสาเหตุให้ผมตัดสินใจถ่ายภาพโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำที่สุด เลนส์นี้จะทำให้ภาพมีความคมชัดสูงสุด ผมปรับความไวแสง ISO โดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำอยู่ที่ 1 วินาทีหลังจากตั้งค่ารูรับแสงไว้ที่ f/8 เพื่อให้สามารถถ่ายภาพแฉกแสงได้
ฉากที่ 2: เส้นแสงจากรถ - 15 วินาที
EOS 5D Mark III/ EF11-24mm f/4L USM/ FL: 14 มม./ Aperture Priority AE (f/11, 15 วินาที, EV ±0)/ ISO 100/ WB: 5,600K
ผมเฝ้าดูการเปลี่ยนสัญญาณไฟและตั้งใจจะถ่ายภาพในจังหวะที่มีรถผ่าน ผมตัดสินใจว่าความเร็วชัตเตอร์ที่ดีที่สุดคือ 15 วินาที ผมถ่ายภาพเส้นแสงโดยที่ทุกการเคลื่อนไหวถูกตรึงให้หยุดนิ่ง ผมติดตั้งฟิลเตอร์ ND และคงค่ารูรับแสงไว้ที่ f/11 เพื่อป้องกันไม่ให้ภาพเบลอซึ่งอาจเกิดขึ้นจากการกระจายแสงของรูรับแสงที่มีขนาดเล็ก ในขณะเดียวกัน ผมตั้งค่าความไวแสงไว้ที่ ISO 100 เพื่อให้ฉากหลังมีแสงสว่างเพียงพอ
ฉากที่ 3: แสงสะท้อนบนผิวน้ำ - 60 วินาที
EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 24 มม./ Aperture Priority AE (f/22, 60 วินาที, EV±0)/ ISO 50/ WB: 3,500K
เมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์มาตรฐาน พื้นผิวน้ำมักจะกระเพื่อมเป็นระลอกคลื่น ซึ่งอาจทำให้คุณไม่สามารถถ่ายทอดความงดงามของแสงสะท้อนในทิวทัศน์ยามค่ำคืนได้ แต่การเปิดรับแสงเป็นเวลานานที่ 60 วินาทีหรือนานกว่านั้นในโหมด Bulb จะช่วยปรับพื้นผิวน้ำให้ดูนิ่งสงบในระหว่างการเปิดรับแสงได้ ผมจึงสามารถถ่ายภาพพื้นผิวน้ำที่ดูนุ่มนวลงดงามได้
Kazuo Nakahara
เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย
Digital Camera Magazine
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation