ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

เลนส์ RF-S กับ RF แตกต่างกันอย่างไร

2023-09-07
6
21.42 k

Canon ผลิตเลนส์สองประเภทสำหรับกล้องมิเรอร์เลสซีรีย์ EOS R ได้แก่ เลนส์ RF และเลนส์ RF-S หากเลนส์ทั้งสองใช้ได้กับกล้องมิเรอร์เลสซีรีย์ EOS R ทุกรุ่น แล้วอะไรทำให้เลนส์เหล่านี้แตกต่างกัน มาหาคำตอบได้จากบทความนี้

ในบทความนี้:

คำตอบสั้นๆ คือ ออกแบบมาเพื่อเซนเซอร์ภาพที่แตกต่างกัน

คำตอบสั้นๆ คือ เลนส์ทั้งสองได้รับการออกแบบมาเพื่อเซนเซอร์ภาพที่มีขนาดแตกต่างกัน

เลนส์ RF เลนส์ RF-S
- ออกแบบมาสำหรับกล้องที่มีเซนเซอร์ภาพแบบฟูลเฟรม
- มีวงภาพขนาดใหญ่กว่า
- ออกแบบมาสำหรับกล้องที่มีเซนเซอร์ภาพ APS-C
- มีวงภาพขนาดเล็กกว่า

เลนส์ RF ออกแบบมาสำหรับกล้องฟูลเฟรม เช่น EOS R8, R6 Mark II, R5 และ R3
ในขณะที่เลนส์ RF-S ออกแบบมาสำหรับกล้อง APS-C (เซนเซอร์แบบครอป) เช่น EOS R100, R50, R10 และ R7

ให้คิดว่า “S” ใน RF-S หมายถึง “small image circle” (วงภาพขนาดเล็ก) ก็ได้


เพราะเหตุใดจึงสำคัญ

เลนส์ RF และ RF-S สามารถต่อเข้ากับกล้องซีรีย์ EOS R ได้ทุกรุ่นไม่ว่าเซนเซอร์ภาพจะมีขนาดเท่าใด แต่ระยะชัดลึกและความละเอียดของภาพที่บันทึกของภาพถ่ายขั้นสุดท้ายจะแตกต่างกัน ซึ่งจะต่างกันอย่างไรนั้นก็ขึ้นอยู่กับการใช้งานเลนส์และกล้องร่วมกัน เราจะมาอธิบายเพิ่มเติมต่อไปในบทความ

เนื่องจากเลนส์ RF-S ได้รับการออกแบบมาให้สร้างวงภาพที่มีขนาดเล็กกว่า จึงทำให้ตัวเลนส์มีขนาดเล็กกว่าและน้ำหนักเบากว่าเลนส์ RF

ข้อควรระวัง: สามารถใช้ได้กับกล้องซีรีย์ EOS R เท่านั้น
เลนส์ RF/RF-S จะไม่สามารถติดตั้งบนกล้อง EOS DSLR หรือกล้องมิเรอร์เลสซีรีย์ EOS M ได้ เนื่องจากมีเมาท์เลนส์ที่ต่างกัน กล้อง EOS DSLR ใช้เมาท์ EF ส่วนกล้องซีรีย์ EOS M ใช้เมาท์ EF-M

คำตอบเต็มๆ คือ ประเด็นอยู่ที่ขนาดของเซนเซอร์ภาพ

คำตอบเต็มๆ ตั้งแต่ต้น


เซนเซอร์ภาพคืออะไร

เซนเซอร์ภาพคือชิ้นส่วนของกล้องที่ทำหน้าที่รับแสงเพื่อสร้างภาพ ในกล้องมิเรอร์เลส Canon เซนเซอร์นี้จะมีสองขนาด (ฟอร์แมต) คือ ฟอร์แมตฟูลเฟรมหรือ APS-C


ความแตกต่างของขนาดระหว่างเซนเซอร์ภาพ APS-C และเซนเซอร์ภาพแบบฟูลเฟรม

เซนเซอร์แบบฟูลเฟรม: ประมาณ 36 x 24 มม.
เซนเซอร์ APS-C: ประมาณ 22.3 x 14.9 มม.

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่ฟอร์แมตเซนเซอร์ภาพส่งผลต่อภาพถ่ายของคุณได้ที่กล้องฟูลเฟรมและกล้อง APS-C: ควรเลือกรุ่นไหนดี


ส่งผลต่อเลนส์อย่างไร

แสงที่ผ่านเข้ามาในเลนส์จะฉายภาพแบบวงกลมลงไปบนเซนเซอร์ภาพ ซึ่งเรียกว่า “วงภาพ” เนื่องจากเซนเซอร์ APS-C มีขนาดเล็กกว่าเซนเซอร์แบบฟูลเฟรม วงภาพที่ฉายด้วยเลนส์ RF-S จึงไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่พอที่จะครอบคลุมเซนเซอร์ทั้งหมดเมื่อเทียบกับเลนส์ RF

ซึ่งหมายความว่าสามารถใช้กระจกที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กๆ ในการสร้างเลนส์ เพื่อให้ตัวเลนส์มีขนาดเล็กลงและน้ำหนักเบาขึ้น

 

จะส่งผลต่อภาพถ่ายอย่างไร

คุณสมบัติการครอป 1.6 เท่า

ไม่ว่าจะใช้ทางยาวโฟกัสใดๆ ของเลนส์ เซนเซอร์ภาพ APS-C ที่มีขนาดเล็กกว่าจะบันทึกส่วนที่แคบกว่าของฉากได้มากกว่าเซนเซอร์ภาพแบบฟูลเฟรม ทำให้ภาพที่ได้ดูเหมือนถูก “ซูมเข้า” หรือ “ครอป” ออก

ในกล้อง Canon APS-C มุมรับภาพของภาพที่ถูกซูมเข้านี้จะเหมือนกับภาพที่ถ่ายด้วยระยะ 1.6 เท่าของทางยาวโฟกัสในกล้องฟูลเฟรม คุณสมบัตินี้เรียกว่า “คุณสมบัติการครอป 1.6 เท่า” และยังสามารถใช้กับภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์ RF-S บนกล้องฟูลเฟรม เช่น EOS R8 ได้อีกด้วย

มาดูกันว่าการใช้งานกล้องและเลนส์ร่วมกันในแบบต่างๆ จะมีผลอย่างไร
- กล้อง APS-C ในซีรีย์ EOS R (EOS R100, R50, R10, R7 ฯลฯ)
- กล้องฟูลเฟรมในซีรีย์ EOS R (EOS R8, RP, R6 Mark II, R5, R3 ฯลฯ)

ผลที่ได้: เลนส์ RF/RF-S บนกล้อง APS-C

เลนส์ RF/RF-S บนกล้อง APS-C


กล้อง APS-C เลนส์ RF-S

เลนส์ RF-S ฉายวงภาพที่มีขนาดใหญ่พอที่จะครอบคลุมเซนเซอร์ภาพ APS-C

มุมรับภาพของภาพ: คุณสมบัติการครอป 1.6 เท่า
ความละเอียดสูงสุดของภาพที่บันทึก: เท่ากับเซนเซอร์ภาพ


กล้อง APS-C เลนส์ RF

เลนส์ RF ฉายวงภาพที่มีขนาดใหญ่กว่าเลนส์ RF-S มาก คุณจะยังคงได้ภาพแบบเดียวกับที่ใช้เลนส์ RF-S กล่าวคือ เมื่อถ่ายด้วยคุณสมบัติการครอป 1.6 เท่า แต่ข้อมูลภาพจากส่วน “พิเศษ” ของวงภาพ (ส่วนสีแดงอ่อนในภาพด้านบน) จะไม่ถูกนำมาใช้งาน

มุมรับภาพของภาพ: คุณสมบัติการครอป 1.6 เท่า
ความละเอียดสูงสุดของภาพที่บันทึก: เท่ากับเซนเซอร์ภาพ

ผลที่ได้: เลนส์ RF/RF-S บนกล้องฟูลเฟรม

เลนส์ RF/RF-S บนกล้องฟูลเฟรม


กล้องฟูลเฟรม เลนส์ RF

เลนส์ RF ฉายวงภาพที่ครอบคลุมเซนเซอร์ภาพแบบฟูลเฟรมได้ทั้งหมด

มุมรับภาพของภาพ: เท่ากับทางยาวโฟกัส
ความละเอียดของภาพที่บันทึกได้สูงสุด: เท่ากับเซนเซอร์ภาพ


กล้องฟูลเฟรม เลนส์ RF-S

เลนส์ RF-S ฉายวงภาพที่มีขนาดเล็กเกินกว่าจะครอบคลุมเซนเซอร์ภาพแบบฟูลเฟรมได้

เนื่องจากส่วนต่างๆ ของเซนเซอร์ที่วงภาพไม่ครอบคลุมนั้นไม่ได้รับข้อมูลแสงใดๆ เลย มุมของภาพจึงมักจะดูเป็นสีดำ แต่กล้องฟูลเฟรมในซีรีย์ EOS R จะเปลี่ยนไปใช้โหมดครอป 1.6 เท่าโดยอัตโนมัติเมื่อตรวจพบว่าติดตั้งเลนส์ RF-S อยู่ พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ คุณสามารถถ่ายภาพได้ไกลขึ้นโดยอัตโนมัติ!

 

A: วงภาพของเลนส์ RF-S
B: พื้นที่การบันทึกของโหมดครอป 1.6 เท่า
C: เซนเซอร์ภาพแบบฟูลเฟรม

โหมดครอป 1.6 เท่า

ในโหมดนี้ พื้นที่เล็กๆ ของเซนเซอร์ภาพ (B) จะใช้ในการบันทึกภาพ

มุมรับภาพของภาพ: คุณสมบัติการครอป 1.6 เท่า
ความละเอียดสูงสุดของภาพที่บันทึก: น้อยกว่าเซนเซอร์ภาพ (สอดคล้องกับ B)

ความละเอียดของภาพที่ถ่ายได้ในพื้นที่ B จะขึ้นอยู่กับกล้องที่ใช้ หากกล้องของคุณมีจำนวนพิกเซลมากกว่า พื้นที่ B จะบันทึกภาพที่มีความละเอียดสูงๆ ได้  ตัวอย่างเช่น

ความละเอียดของภาพนิ่งสูงสุด EOS R5 EOS R6 Mark II
โหมดฟูลเฟรม (3:2)
(พื้นที่การบันทึก: เซนเซอร์ภาพทั้งหมด)
8192 x 5464
(ประมาณ 44.8MP)
6000 x 4000
(24MP)
โหมดครอป 1.6 เท่า
(พื้นที่การบันทึก: B)
5088 x 3392
(ประมาณ 17.3MP)
3744 x 2496
(ประมาณ 9.3MP)

ตาราง: ข้อดีและข้อเสียของการใช้งานร่วมกันในแต่ละแบบ

ข้อดีและข้อเสียของการใช้งานกล้อง/เลนส์ร่วมกันในแต่ละแบบ

 
กล้องฟูลเฟรม
กล้อง APS-C
RF ✓ มุมรับภาพ = ทางยาวโฟกัสของเลนส์
(ใช้งานเลนส์มุมกว้างได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ!)
✓ ถ่ายภาพได้ไกลขึ้น 1.6 เท่า
(เหมาะสำหรับการถ่ายภาพแบบเทเลโฟโต้)
✓ คุณสามารถใช้เลนส์เดิมได้แม้จะเปลี่ยนไปใช้กล้องฟูลเฟรม

× ไม่สามารถใช้งานเลนส์ได้อย่างเต็มศักยภาพ
RF-S ✓ ถ่ายภาพได้ไกลขึ้น 1.6 เท่า
(เหมาะสำหรับการถ่ายภาพแบบเทเลโฟโต้)
✓ พกพาสะดวก

× ภาพที่บันทึกจะมีความละเอียดน้อยลง
✓ เป็นชุดอุปกรณ์ที่พกพาสะดวกและคุ้มค่ามากที่สุด

เลนส์ที่แนะนำ

เลนส์ที่แนะนำ


เลนส์ RF ที่มีน้ำหนักเบาและขนาดกะทัดรัด

เลนส์เหล่านี้จะใช้งานร่วมกับกล้อง APS-C ได้ดีเช่นกัน!

RF28mm f/2.8 STM
(สำหรับ APS-C: เทียบเท่า 44.8 มม.)

RF16mm f/2.8 STM
(สำหรับ APS-C: เทียบเท่า 25.6 มม.)

RF24-50mm f/4.5-6.3 IS STM
(สำหรับ APS-C: เทียบเท่า 38.4 มม. ถึง 80 มม.)

RF50mm f/1.8 STM
(สำหรับ APS-C: เทียบเท่า 80 มม.)


เลนส์ RF-S ที่เหมาะสำหรับการเดินทาง

เลนส์เหล่านี้จะทำให้ได้ชุดอุปกรณ์ที่มีน้ำหนักเบาเมื่อใช้ร่วมกับกล้องฟูลเฟรมในซีรีย์ EOS R เช่นกัน

RF-S55-210mm f/5-7.1 IS STM
(เทียบเท่า 88 มม. ถึง 336 มม.)

RF-S18-150mm f/3.5-6.3 IS STM
(เทียบเท่า 28 มม. ถึง 240 มม.)


คุณอาจสนใจบทความต่อไปนี้
เลนส์เดี่ยว RF 4 รุ่นที่ควรใช้กับกล้อง APS-C
10 แนวคิดที่คุณควรทราบก่อนซื้อเลนส์ตัวที่สอง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา