ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด คุณสมบัติที่สำคัญของเลนส์ RF- Part

5 องค์ประกอบหลักในการพัฒนาเลนส์ RF10-20mm f/4L IS STM

2023-10-18
1
165

RF10-20mm f/4L IS STM เป็นเลนส์ที่น่าทึ่งอย่างยิ่งในหลายๆ ด้าน เนื่องจากไม่ได้เป็นเพียงเลนส์ซูมที่กว้างที่สุดของ Canon ในปัจจุบันเท่านั้น แต่ยังเป็นเลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์ที่มีรูรับแสงคงที่ที่กว้างที่สุดในโลกสำหรับกล้องฟูลเฟรมอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ด้วยน้ำหนักเพียง 570 กรัม จึงเบากว่าเลนส์ EF11-24mm f/4L USM ซึ่งเป็นเวอร์ชันเมาท์ EF ของเลนส์นี้ถึงครึ่งหนึ่ง จากการสัมภาษณ์นักพัฒนาเลนส์ เราจึงสรุปเรื่องราวการพัฒนาเลนส์นี้ออกมาใน 5 ประเด็นหลัก

นักพัฒนาเลนส์ RF10-20mm f/4L IS STM ได้แก่ (จากซ้าย):
- Akihiko Masuki หัวหน้าฝ่ายการพัฒนา/การออกแบบเชิงกลไก
- Masato Shiono ฝ่ายการออกแบบเชิงกลไก
- Fuya Mizuochi ฝ่ายการออกแบบระบบไฟฟ้า
- Makoto Nakahara ฝ่ายการออกแบบออพติคอล

ในบทความนี้:

1. EF11-24mm f/4L USM

1. EF11-24mm f/4L USM

แบบอย่างของมาตรฐานระดับสูง

เลนส์ EF11-24mm f/4L USM นั้นเป็นที่ยอมรับว่ามีเปอร์สเปคทีฟอันเป็นเอกลักษณ์และให้คุณภาพของภาพในระดับยอดเยี่ยม จึงเป็นมาตรฐานที่นักพัฒนาต้องการจะทำให้ดียิ่งขึ้น แนวคิดในการพัฒนา RF10-20mm f/4L IS STM คือการจินตนาการถึงเลนส์ที่:

- มีความกว้างเท่ากันเป็นอย่างน้อย
- มีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบาเพื่อให้ถ่ายภาพแบบถือกล้องด้วยมือได้อย่างสะดวกสบาย
- ให้คุณภาพของภาพเทียบเท่าหรือดียิ่งกว่าเลนส์ EF11-24mm f/4L USM

การให้ความสำคัญกับขนาดที่กะทัดรัดและความสะดวกในการพกพาที่มากยิ่งขึ้นเป็นการปรับปรุงที่เกิดจากเสียงตอบรับของผู้ใช้ EF11-24mm f/4L USM จำนวนมากเกี่ยวกับน้ำหนักของเลนส์ ซึ่งหนักประมาณ 1,180 กรัม

“ผมคิดว่าภารกิจของเราในฐานะที่เป็นนักพัฒนาคือการลดภาระนั้น [จากน้ำหนักของเลนส์]”

- Akihiko Masuki หัวหน้าฝ่ายการพัฒนา/การออกแบบเชิงกลไก

และเหล่านักพัฒนาก็ปฏิบัติภารกิจนี้ได้สำเร็จ ดังจะเห็นได้จากข้อมูลจำเพาะของเลนส์ RF10-20mm f/4L IS STM 

 

2. เลนส์แก้ความคลาดทรงกลมด้านหน้า

2. เลนส์แก้ความคลาดทรงกลมด้านหน้า

หัวใจสำคัญของคุณภาพของภาพที่สูงในระยะ 10 มม.

“ทีมจากฝ่ายพัฒนาและฝ่ายผลิตทำงานร่วมกันเพื่อสร้างการจำลองในรูปแบบต่างๆ จึงทำให้ชิ้นเลนส์ด้านหน้ามีรูปร่างอย่างที่ต้องการและมีประสิทธิภาพในระดับสูง ทั้งยังสามารถผลิตในปริมาณมากได้อย่างแม่นยำ”

- Makoto Nakahara ฝ่ายการออกแบบออพติคอล

ระยะ 10 มม. ให้การครอบคลุมและเปอร์สเปคทีฟที่หลากหลายซึ่งระยะ 14 มม. หรือ 15 มม. ไม่สามารถทำได้ และช่วยให้ผู้ใช้ถ่ายภาพตัวแบบทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ได้ในเฟรมเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ยิ่งเลนส์ครอบคลุมมุมกว้างได้มากเท่าใด การแก้ไขความคลาดของเลนส์และทำให้มีคุณภาพของภาพที่โดดเด่นก็จะยิ่งยากขึ้นเท่านั้น

หัวใจสำคัญของการบรรลุเป้าหมายทั้งในด้านคุณภาพของภาพและการลดขนาดของ RF10-20mm f/4L IS STM อยู่ที่ชิ้นเลนส์ด้านหน้า ซึ่งจำเป็นต้องใช้วัสดุและรูปทรงที่มีความพิเศษมาก:

- เส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่
- มีความโค้งสูง
- ชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมสองด้าน

เลนส์แก้ความคลาดที่มีขนาดใหญ่จะทำให้ผลิตด้วยความแม่นยำสูงได้ยาก และความโค้งสูงยังทำให้ยากต่อการเคลือบเลนส์แบบพิเศษด้วย เช่น SWC (การเคลือบแบบ Subwavelength Structure Coating) (ฉบับภาษาอังกฤษ) ซึ่งช่วยลดแสงหลอกและแสงแฟลร์ได้อย่างสม่ำเสมอ แต่นักพัฒนาก็สามารถเอาชนะอุปสรรคเหล่านี้ได้โดยอาศัยเทคโนโลยีการจำลอง

A: ชิ้นเลนส์ UD (Ultra-low dispersion)
B: ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมขึ้นรูปด้วยแก้ว
C: เลนส์แก้ความคลาดทรงกลม UD

ชิ้นเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมด้านหน้าขึ้นรูปด้วยแก้วที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาดใหญ่และความโค้งสูงคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เลนส์มีระยะมุมกว้าง 10 มม. คุณภาพของภาพสูง รวมถึงมีขนาดกะทัดรัดและน้ำหนักเบา

ข้อควรรู้: การเพิ่มคุณภาพของภาพตลอดช่วงการซูมก็เป็นความท้าทายอีกอย่างหนึ่งเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเลนส์ EF11-24mm f/4L USM เป็นแบบอย่างที่มีมาตรฐานสูงมาก แต่ปัญหานี้ก็สามารถแก้ไขได้ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการจำลองการออกแบบออพติคอลที่ Canon ได้พัฒนาขึ้น

 

3. น้ำหนักเบาและแข็งแรงทนทาน

3. น้ำหนักเบาและแข็งแรงทนทาน

การทำงานเป็นทีมและเทคโนโลยีการจำลอง

“โดยการตรวจสอบรายละเอียดในการจำลองขณะดำเนินการออกแบบ เราจึงสามารถคงความแข็งแรงทนทานไว้ในระดับเดียวกับเลนส์ L แบบดั้งเดิมพร้อมทั้งลดจำนวนชิ้นส่วนที่เป็นโลหะลงได้”

- Masato Shiono ฝ่ายการออกแบบเชิงกลไก

เลนส์ RF10-20mm f/4L IS STM ได้รับการออกแบบมาให้มีขนาดเท่ากับ EF14-35mm f/4L IS USM ซึ่งเกิดขึ้นได้โดยอาศัยความพยายามจากหลายๆ ฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายการออกแบบออพติคอล กลไก และฝ่ายผลิตในการเพิ่มประสิทธิภาพของวัสดุ ชิ้นส่วนที่ใช้ รวมถึงการจัดวางตำแหน่งและโครงสร้างของเลนส์ ในส่วนของการออกแบบออพติคอลนั้น เทคโนโลยีการจำลองมีส่วนช่วยให้วิศวกรฝ่ายกลไกสามารถใช้วิธีการอันล้ำสมัยในการคงความแข็งแรงทนทานเอาไว้ได้

ร่องในกระบอกลูกเบี้ยวที่ทำหน้าที่รองรับเลนส์สองกลุ่มจะช่วยกระจายแรงกระแทกและทำให้เลนส์มีความทนทานและน่าเชื่อถือในระดับเดียวกับเลนส์ L

 

4. การประสานการควบคุมที่ขอบภาพ

4. การประสานการควบคุมที่ขอบภาพ

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการทำงานของระบบ

EOS R5 + RF10-20mm f/4L IS STM ที่ 10 มม., f/11, 0.5 วินาที, ISO 100

เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์สามารถใช้ประโยชน์จากระบบป้องกันภาพสั่นไหวได้ ซึ่งขัดกับความเชื่อโดยทั่วไป เลนส์เหล่านี้ทำให้เกิดการเบลอที่ขอบภาพได้ง่ายเนื่องจากมีเปอร์สเปคทีฟแบบอัลตร้าไวด์ แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้อย่างง่ายดายโดยการย้ายตำแหน่งของชุดทำงานระบบ IS ในเลนส์ และการประสานการควบคุมกับระบบ IS ในตัวกล้องก็ช่วยแก้ไขการเบลอนี้ได้มากยิ่งขึ้น

 

“แม้จะสามารถออกแบบระบบ IS ในเลนส์เพื่อชดเชยการสั่นของกล้องให้ทั่วถึงทั้งเฟรมภาพที่ทางยาวโฟกัสหรือระยะโฟกัสหนึ่งได้ แต่หากจะทำการชดเชยเช่นนี้ให้ถึงสุดขอบภาพโดยครอบคลุมช่วงทางยาวโฟกัสหรือระยะห่างจากตัวแบบที่หลากหลายนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก การประสานการควบคุมที่ขอบภาพใช้ประโยชน์จากการประสานงานกันระหว่างระบบ IS แบบออพติคอลและระบบ IS ในตัวกล้องเพื่อให้สามารถแก้ไขการเบลอที่ขอบภาพได้ดียิ่งขึ้น”

- Fuya Mizuochi ฝ่ายการออกแบบระบบไฟฟ้า

 

5. STM

5. STM

เพราะเหตุใด STM จึงทำงานได้ดีที่สุดในเลนส์รุ่นนี้

ซ้าย: STM ของเลนส์ RF10-20mm f/4L IS STM
ขวา: ชิ้นเลนส์โฟกัสที่มี STM

RF10-20mm f/4L IS STM เป็นเลนส์ L รุ่นแรกที่ใช้ STM (Stepping Motor) ในการขับเคลื่อน AF เนื่องจากชิ้นเลนส์โฟกัสมีขนาดเล็กและได้รับการออกแบบมาให้มีช่วงการเลื่อนที่สั้น นักพัฒนาเลนส์จึงตัดสินใจว่า STM น่าจะทำงานได้ดีเช่นเดียวกับ USM (มอเตอร์อัลตร้าโซนิค) ซึ่งให้ประโยชน์มากกว่าในเลนส์ที่มีช่วงการเลื่อนยาว STM ที่เล็กลงช่วยเพิ่มอิสระในการจัดเรียงกลุ่มเลนส์ IS จึงทำให้สามารถวางเลนส์ไว้ในตำแหน่งที่ใกล้กับเซนเซอร์ภาพมากขึ้นซึ่งจะช่วยลดการเบลอที่ขอบภาพได้ง่าย

STM ในเลนส์ RF10-20mm f/4L IS STM มีเซนเซอร์ตรวจจับตำแหน่งที่ช่วยลดระยะเวลาในการเริ่มทำงานของมอเตอร์ จึงช่วยให้โฟกัสได้เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพโดยรวมเทียบเท่ากับ USM

 

บทสรุป: เปิดโลกใหม่ให้เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์

บทสรุป: เปิดโลกใหม่ให้เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์

เลนส์ RF ทุกรุ่นได้รับการพัฒนาขึ้นมาด้วยเจตนาที่มอบคุณประโยชน์ที่เลนส์ EF ไม่สามารถให้ได้ ระยะมุมกว้าง 10 มม. ของเลนส์ RF10-20mm f/4L IS STM สามารถถ่ายภาพด้วยมุมมองอันโดดเด่นที่ให้เปอร์สเปคทีฟแตกต่างไปจากทิวทัศน์ที่อยู่เบื้องหน้าเราได้อย่างมาก และขนาดที่กะทัดรัดรวมถึงความสะดวกในการพกพายังช่วยเพิ่มประโยชน์ใช้สอยของเลนส์นี้ให้มากขึ้น นักพัฒนาเลนส์ต่างก็หวังว่าผู้ใช้จะได้เห็นมุมมองที่สวยงามจนน่าทึ่งของเลนส์นี้ด้วยตาตนเองและค้นพบว่าเลนส์นี้มีสมรรถนะที่ยอดเยี่ยมเพียงใดในฐานะที่เป็นเครื่องมือสำหรับการถ่ายทอดอารมณ์

จากซ้าย:
- Makoto Nakahara ฝ่ายการออกแบบออพติคอล
- Masato Shiono ฝ่ายการออกแบบเชิงกลไก
- Akihiko Masuki หัวหน้าฝ่ายการพัฒนา/การออกแบบเชิงกลไก
- Fuya Mizuochi ฝ่ายการออกแบบระบบไฟฟ้า

ดูเรื่องราวที่อยู่เบื้องหลังการพัฒนาเลนส์ EF11-24mm f/4L USM ได้ที่:
[ตอนที่ 1] โลกของเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ที่ไม่เคยมีมาก่อนกับเลนส์ 11 มม.

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา