คำแนะนำด้านการซ้อนโฟกัสสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ให้คมชัด
EOS R, EF16-35mm f/2.8L III USM, f/11, ISO 100, 1/100s, 16mm
เคยประสบปัญหาในการถ่ายภาพทิวทัศน์โดยที่คุณไม่สามารถโฟกัสทั้งพื้นหน้าและพื้นหลังได้ใชไหม บางทีสภาพแสงอาจไม่ดีนัก และคุณต้องถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงกว้างที่สุด ทำให้เกิดระยะชัดลึกที่แคบซึ่งจำกัดพื้นที่ในโฟกัส หรือบางทีองค์ประกอบพื้นหน้าอาจอยู่ใกล้คุณเกินไปและดูเหมือนไม่อยู่ในโฟกัส
หากคุณเคยเผชิญกับความท้าทายนี้และต้องการแก้ปัญหานี้ บทความนี้เหมาะสำหรับคุณ!
ในการถ่ายภาพดิจิทัลมีวิธีการที่เรียกว่าการซ้อนโฟกัส การซ้อนโฟกัสทำให้คุณสามารถผสมผสานภาพที่ถ่ายจากมุมเดียวกันแต่มีจุดโฟกัสต่างกัน แลh;รวมเข้าเป็นภาพเดียว ทำให้เกิดภาพที่คมกริบตั้งแต่พื้นหน้าถึงพื้นหลัง
ตอนนี้คุณมีความเข้าใจมากขึ้นว่าการซ้อนภาพคืออะไรและโฟกัสสแต็กบรรลุผลได้อย่างไร ต่อไปก็มาดูกระบวนการกัน
ซ้อนโฟกัสกับฉากทิวทัศน์ที่เหมาะสม
EOS 5D Mark III, EF16-35mm f/2.8L II USM, f/16, ISO 100, 1/50s, 16mm
หากคุณออกไปถ่ายภาพภายนอกและมีองค์ประกอบโฟร์กราวด์ที่น่าสนใจซึ่งอยู่ใกล้คุณส่วนแบ็คกราวด์อยู่ห่างออกไปมาก คุณอาจพิจารณาถ่ายภาพซ้อนโฟกัสได้ เมื่อคุณตัดสินใจได้ว่าจะจัดเฟรมภาพอย่างไรแล้ว ให้ตั้งกล้องบนขาตั้งกล้องเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด เนื่องจากรูปภาพที่ซ้อนกันจะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อการจัดเฟรมแต่ละช็อตเหมือนกันทุกประการ.
การตั้งค่ากล้องสำหรับการถ่ายภาพ
เมื่อคุณตั้งค่ากล้องของคุณแล้ว และคุณได้เลือกองค์ประกอบที่ดีที่สุดสำหรับภาพถ่ายนั้นแล้ว ให้เลือกรูรับแสงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับเลนส์ของคุณ โดยทั่วไปจะอยู่ระหว่าง f/5.6 ถึง f/11 ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเลนส์ที่คุณใช้ อย่างไรก็ตาม หากคุณมีข้อจำกัดด้วยสภาพแสง คุณอาจต้องถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงที่กว้างที่สุด เนื่องจากระยะชัดลึกที่แคบ คุณอาจต้องถ่ายภาพจำนวนมากขึ้น
สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้องจำไว้คือการรักษาความเร็วชัตเตอร์ รูรับแสง และ ISO ให้คงทีสำหรับทุกภาพ ทั้งนี้เพื่อป้องกันความแตกต่างในการเปิดรับแสงของแต่ละภาพ ซึ่งอาจส่งผลต่อการผสานภาพในขั้นตอนการประมวลผลภายหลัง
ตั้งค่าเลนส์ของคุณเป็นแบบแมนนวลโฟกัส และใช้ Focus Peaking บนจอ LCD ด้านหลังเพื่อช่วยคุณกำหนดว่าจะให้พื้นที่ใดอยู่ในโฟกัส ถ่ายภาพแรกแล้วปรับโฟกัสเพื่อให้องค์ประกอบถัดไปมีความคมชัดก่อนจะถ่ายภาพถัดไป ทำต่อไปจนกว่าวัตถุที่อยู่ไกลที่สุดจะอยู่ในโฟกัส และนั่นอาจเป็นภาพสุดท้ายที่คุณต้องถ่าย
ด้านล่างนี้คือตัวอย่างภาพที่โฟกัสไปยังจุดต่างๆ ในภาพถ่าย จากซ้ายไปขวา: กล่องโฟกัสสีแดงสำหรับพื้นหน้า พื้นกลาง และพื้นหลัง
เคล็ดลับ: ถ่ายภาพพื้นดินหรือมือของคุณเพื่อให้คุณรู้ว่านั่นคือจุดสิ้นสุดของภาพชุดนั้น
สำหรับช่างภาพที่ใช้ ระบบ R คุณยังสามารถเปิดใช้งานการถ่ายคร่อมโฟกัสได้ เมื่อเปิดใช้งานฟังก์ชันนี้ ให้ตั้งค่าเลนส์เป็นออโต้โฟกัส กล้องจะเพิ่มระยะโฟกัสตามสัดส่วนกับจำนวนช็อตที่คุณตั้งไว้ กล้องจะจับภาพวัตถุที่อยู่ใกล้ที่สุดก่อน จากนั้นจึงถ่ายเป็นชุดที่ระยะโฟกัสต่างกันภายในเฟรม เมื่อถ่ายภาพทั้งหมดแล้ว Focus Bracketing จะปิดโดยอัตโนมัติ
การซ้อนภาพ
หลังจากที่คุณโหลดภาพลงในคอมพิวเตอร์แล้ว คุณสามารถใช้ซอฟต์แวร์แก้ไขภาพ เช่น Canon Digital Photo Professional หรือ Adobe Photoshop เพื่อซ้อนและผสมผสานภาพเหล่านั้น
ขั้นตอนที่ 1: ใน Adobe Photoshop ให้โหลดไฟล์ลงใน stack
เคล็ดลับ: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้จัดแนวภาพให้ตรงกันเพื่อให้การผสมผสานที่แนบเนียนยิ่งขึ้น!
ขั้นตอนที่ 2: ฟังก์ชั่น Auto-Blend Layers
เนื่องจากรูปภาพแต่ละภาพจะปรากฏเป็นเลเยอร์บนรูปภาพ ให้เลือกเลเยอร์รูปภาพทั้งหมดและใช้ฟังก์ชัน Auto-Blend Layers ซอฟต์แวร์จะซ้อนภาพและปิดบังส่วนที่อยู่นอกโฟกัสในแต่ละภาพ
ขั้นตอนที่ 3: ผลลัพธ์สุดท้าย
ผลลัพธ์ที่ได้คือภาพที่คมชัดตั้งแต่พื้นหน้าไปยังพื้นหลัง
ต่อไปนี้คือตัวอย่างเพิ่มเติมของภาพซ้อนโฟกัส:
EOS 5DS, EF16-35mm f/4L IS USM, f/11, ISO 100, 1/20s, 16mm
EOS 5D Mark IV, EF24-70mm f/2.8L II USM, f/11, ISO 200, 1/30s, 31mm
การเห็นผลลัพธ์การเรนเดอร์ครั้งแรกของภาพที่ซ้อนกันบนคอมพิวเตอร์ของคุณอาจเป็นรางวัลอันยิ่งใหญ่สำหรับคุณ แต่เช่นเดียวกับเทคนิคการถ่ายภาพใดๆ ก็ตาม การสร้างภาพซ้อนโฟกัสที่ดีจะต้องมีการฝึกฝนพอสมควร ดังนั้นจึงควรถ่ายภาพไปเรื่อยๆ และทดลองการตั้งค่าต่างๆ เพื่อค้นหาสิ่งที่เหมาะที่สุดสำหรับคุณ!
ขอขอบคุณ Edwin Martinez ผู้สนับสนุนภาพอันสวยงามที่ใช้ในบทความนี้
สำหรับบทความที่เกี่ยวข้อง:
2 เคล็ดลับการถ่ายภาพทิวทัศน์เพื่อพลิกโฉมภาพของคุณได้ทันที
ทำไมกล้อง EOS R5 ถึงเป็นกล้องในอุดมคติสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ของผม
3 คุณสมบัติของกล้องสำหรับการปรับแต่งภาพทิวทัศน์ของคุณให้สวยสมบูรณ์แบบ
เกี่ยวกับผู้เขียน
https://www.facebook.com/EdwinMartinezPhotography
https://500px.com/EdwinMartinez
http://edwinmartinezphoto.com/