ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ถ่ายภาพสนุกๆ ในราคาประหยัด: สร้างฟิลเตอร์แฉกแสงด้วยตนเอง

2024-04-09
0
16

ฟิลเตอร์แฉกแสงช่วยให้คุณสร้างเอฟเฟ็กต์แฉกแสงที่สวยงามได้แม้จะใช้รูรับแสงกว้าง (ค่า f ต่ำ) และต่อไปนี้คือวิธีทำฟิลเตอร์ของคุณเองโดยอาศัยเพียงวัสดุอุปกรณ์จากร้านเครื่องเขียน! (เรื่องโดย Kazuo Nakahara, Digital Camera Magazine)

EOS R7/ RF50mm f/1.8 STM/ 50 มม. (เทียบเท่า 80 มม.)/ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/30 วินาที, EV -0.7)/ ISO: 400/ WB: อัตโนมัติ

ในบทความนี้:


ฟิลเตอร์แฉกแสงแบบทำเองนี้มีร่องมากมายที่ทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์แฉกแสงเส้นยาวอันสวยงามจากไฟประดับแต่ละดวง

 

สร้างแฉกแสงให้สวยงามได้แม้ใช้รูรับแสงกว้าง!

คุณอาจคุ้นเคยกับการใช้รูรับแสงแคบๆ เช่น f/11 หรือ f/16 เพื่อสร้างแฉกแสงจากแหล่งกำเนิดแสงที่เป็นจุด (ดูบทความ: คำแนะนำในการสร้างเอฟเฟ็กต์แฉกแสงด้วยดวงอาทิตย์ และคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับเลนส์: ม่านรูรับแสงคืออะไร ม่านรูรับแสงส่งผลต่อภาพถ่ายอย่างไร) ฟิลเตอร์แฉกแสงก็ช่วยให้คุณสร้างเอฟเฟ็กต์แบบเดียวกันได้แม้ใช้รูรับแสงที่กว้างกว่ามาก เช่น f/4 หรือแม้แต่ f/2.8 และคุณยังสามารถเปลี่ยนแนวทิศทางของแฉกแสงได้โดยการหมุนฟิลเตอร์

ไม่ใช้ฟิลเตอร์, f/2.8

 

วิธีทำฟิลเตอร์แฉกแสง

การจัดเตรียม: สิ่งที่คุณต้องใช้

ผมสร้างฟิลเตอร์แฉกแสงที่ใช้ในภาพหลักนี้ด้วยอุปกรณ์ที่คุณหาซื้อได้จากร้านเครื่องเขียนหรืออาจจะมีที่บ้านอยู่แล้ว ผมซื้ออุปกรณ์ข้อที่ 1-4 ดังนี้

1. แผ่นพลาสติกใส (ขนาด A4)
แผ่นพลาสติกนี้จะกลายเป็นฟิลเตอร์ของคุณ ผมขอแนะนำให้ใช้พลาสติกที่มีความแข็ง เช่น กรอบใส่บัตรแบบแข็งหรือแผ่นรองโต๊ะแบบใส

2. กระดาษที่มีเส้นกราฟ/ช่องสี่เหลี่ยม
กระดาษเช่นนี้จะช่วยในการวาดร่องลงไปบนฟิลเตอร์ ช่องตารางควรมีขนาดไม่เกิน 5 มม. เพราะหากใหญ่เกินไป แฉกแสงจะดูไม่สวยงาม หรือคุณอาจจะหาเทมเพลตจากอินเทอร์เน็ตแล้วพิมพ์ออกมาก็ได้

3. มีดคัตเตอร์/มีดสำหรับงานฝีมือ
ใช้สำหรับกรีดร่องลงไปบนแผ่นพลาสติก ในภาพคือมีดสำหรับงานฝีมือที่ผมเจอในร้านเครื่องเขียน มีดนี้จับได้ถนัดมือเหมือนปากกาและช่วยให้กรีดร่องได้ง่ายขึ้น หากคุณหาซื้อไม่ได้ มีดคัตเตอร์/มีดพับธรรมดาก็ใช้ได้เช่นกัน

4. วงเวียน
สำหรับวาดวงกลม

นอกจากนี้ คุณจะต้องใช้อุปกรณ์ 2 ชิ้นนี้ด้วย ซึ่งคุณน่าจะมีที่บ้านอยู่แล้ว

5. ไม้บรรทัด

6. เทปกาว

ผมเจอไม้บรรทัดชนิดไม่ลื่นอันนี้ในร้านเครื่องเขียนซึ่งมีประโยชน์มากสำหรับงานนี้


ขั้นตอนที่ 1: วาดแบบของคุณลงบนกระดาษกราฟ

1) ใช้วงเวียน (A) วาดวงกลมลงไปบนกระดาษกราฟ (B) โดยให้มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าสลักเกลียวบนฟิลเตอร์เลนส์ของคุณ 10 มม. ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการทำฟิลเตอร์สำหรับเลนส์ RF50mm f/1.8 STM ซึ่งมีฟิลเตอร์ขนาด 43 มม. วงกลมของคุณควรมีขนาดอย่างน้อย 53 มม.


เคล็ดลับ:
- วาดวงกลมให้ใหญ่พอสำหรับเลนส์ที่ใหญ่ที่สุดของคุณ
- ใช้ช่องสี่เหลี่ยมบนกระดาษกราฟเพื่อช่วยในการวัด คุณจะสามารถใช้ประโยชน์จากช่องตารางเหล่านี้ได้ในภายหลัง

2) วาดสี่เหลี่ยมล้อมรอบรูปวงกลมลงไปบนกระดาษกราฟแผ่นเดิม ผมเพิ่มแถบอีกอันหนึ่งลงไปในแบบด้วยเพื่อให้ใช้จับฟิลเตอร์ได้ง่ายขึ้น


ขั้นตอนที่ 2: ทาบแบบลงไปบนแผ่นพลาสติกแล้วตัดออกมา

A: กระดาษกราฟ
B: แผ่นพลาสติก


1) วางแผ่นพลาสติกลงไปบนกระดาษกราฟ แล้วใช้ปากกาลากไปตามแบบของฟิลเตอร์


2) ใช้มีดคัตเตอร์หรือมีดสำหรับงานฝีมือตัดแบบฟิลเตอร์ออกมา ระวังอย่าให้มีดบาดมือ! แผ่นพลาสติกที่ตัดออกมานี้จะกลายเป็นฟิลเตอร์แฉกแสงของคุณ จากนี้ก็แค่ต้องกรีดร่องลงไปบนแผ่นพลาสติกเท่านั้น


ขั้นตอนที่ 3: กรีดร่องลงไปบนฟิลเตอร์

C: แผ่นพลาสติกที่ตัดออกมา
D: วงกลมที่คุณวาดไว้ในขั้นตอนที่ 1
E: เทปกาว
F (ดังรูปด้านล่าง): มีดคัตเตอร์หรือมีดสำหรับงานฝีมือ


1) วางแผ่นพลาสติกฟิลเตอร์แฉกแสงที่ตัดออกมาลงไปบนกระดาษกราฟให้ทับวงกลมที่คุณวาดไว้ก่อนหน้า ใช้เทปกาวแปะแผ่นพลาสติกให้ติดกับกระดาษกราฟเพื่อให้ไม่เลื่อนไปมา


2) จากนั้น ให้ใช้ช่องตารางบนกระดาษกราฟเป็นแบบ ใช้มีดคัตเตอร์หรือมีดสำหรับงานฝีมือ (F) ค่อยๆ กรีดเส้นในแนวนอนและแนวตั้งลงไปบนกระดาษกราฟเพื่อให้เกิดเป็นลายกากบาท ใช้ไม้บรรทัดเพื่อให้เส้นเป็นแนวตรง

ฟิลเตอร์ที่เสร็จแล้วยังคงติดอยู่กับกระดาษกราฟด้วยเทปกาว


เคล็ดลับระดับมือโปร: เส้นที่เว้นระยะเท่ากันจะทำให้เกิดแฉกแสงที่สวยกว่า

การลากไปตามแนวเส้นตารางบนกระดาษกราฟจะช่วยให้เส้นแต่ละเส้นมีระยะห่างเท่ากัน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญหากคุณต้องการให้แฉกแสงแต่ละแฉกมีความยาวเท่ากัน!


ขั้นตอนที่ 4: นำฟิลเตอร์ไปใช้!

วางฟิลเตอร์แฉกแสงที่คุณเพิ่งทำเสร็จไว้ข้างหน้าเลนส์ เพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์แฉกแสง 4 แฉกที่สวยงามจากไฟประดับและแหล่งกำเนิดแสงอื่นๆ ที่เป็นจุด

ใช้ฟิลเตอร์แฉกแสง

ไม่ใช้ฟิลเตอร์แฉกแสง

เคล็ดลับ: การเปิดรับแสงน้อยลงเล็กน้อยจะช่วยให้เอฟเฟ็กต์แฉกแสงโดดเด่นขึ้น ซึ่งคุณจะทำได้เมื่อใช้โหมดเปิดรับแสงอัตโนมัติ เช่น โหมด Av โดยใช้การชดเชยแสงเป็นลบ


เคล็ดลับพิเศษ: สร้างเอฟเฟ็กต์แฉกแสงแบบ 6 แฉก

จำนวนของแฉกแสงจะขึ้นอยู่กับจำนวนทิศทางของร่องบนแผ่นพลาสติก หากคุณต้องการเอฟเฟ็กต์แสง 6 แฉกที่สวยงาม ให้สร้างร่องเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่าดังที่เห็นในภาพด้านบน แทนที่จะเป็นรูปทรง “+” เหมือนตอนสร้างแฉกแสง 4 แฉก เส้นแนวทแยงจะทำมุม 60 องศา

EOS R7/ RF50mm f/1.8 STM/ 50 มม. (เทียบเท่า 80 มม.)/ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/30 วินาที, EV -0.7)/ ISO: 400/ WB: อัตโนมัติ

แฉกแสงในภาพนี้จะมี 6 แฉก

 

ข้อควรรู้: ค่ารูรับแสงที่เหมาะสมคือ f/2.8 ถึง f/4

ภาพครอปแบบโคลสอัพ

ในภาพที่ถ่ายโดยไม่ใช้ฟิลเตอร์แฉกแสง ยังพอมองเห็นแฉกแสงอยู่บ้างเมื่อใช้ f/2.8 แต่จะเลือนรางมาก การใช้ฟิลเตอร์แฉกแสงจะทำให้ได้เอฟเฟ็กต์ที่มีลำแสงยาว เมื่อถ่ายด้วย f/11 ลำแสงของแฉกแสงในบางจุดจะสั้นมาก ควรถ่ายโดยใช้ f/2.8 ถึง f/4 เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด


สำรวจสิ่งประดิษฐ์ทำเองแบบ DIY สำหรับช่างภาพผู้ชื่นชอบงานฝีมือได้เพิ่มเติมใน
วิธีการทำกล่องไฟราคาประหยัดตั้งแต่ขั้นตอนแรก
3 อุปกรณ์จำเป็นสำหรับการถ่ายภาพผลิตภัณฑ์ที่คุณสามารถ DIY ได้
วิธีสร้างแบ็คกราวด์ภาพฟรุ้งฟริ้งด้วยวงกลมโบเก้สำหรับภาพถ่ายของตกแต่งชิ้นเล็กน่ารัก
อุปกรณ์กระจายแสงแบบโฮมเมด: วัสดุต่างกัน ผลลัพธ์ที่ได้ต่างกัน

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kazuo Nakahara

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา