ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การจัดองค์ประกอบภาพให้แสดงการเคลื่อนไหว

2015-06-25
1
3.6 k
ในบทความนี้:

การถ่ายภาพคือการจับภาพนิ่ง แต่สำหรับบางภาพ กลับดูเหมือนว่าวัตถุในภาพพร้อมจะเคลื่อนไหวได้ในทุกวินาที คุณจะสามารถถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวให้ดูเหมือนกำลังเคลื่อนไหวได้อย่างไร เรามาเรียนรู้เคล็ดลับกันสักสองสามข้อ (เรื่องโดย: Tatsuya Tanaka)

 

การจัดองค์ประกอบภาพตามแนวเส้นทแยงมุมและการใช้เส้นนำสายตาคือวิธีที่มีประสิทธิภาพ

ใช้ประโยชน์จากภาพเบลอของตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหวเพื่อแสดงถึงการเคลื่อนที่ของวัตถุ ถึงแม้ว่าปริมาณความเบลอจะขึ้นอยู่กับความเร็วชัตเตอร์และความเร็วของวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหว การถ่ายภาพก็ยังคงต้องทำด้วยความระมัดระวังเนื่องจากรูปร่างของวัตถุอาจไม่ชัดเจนหากภาพเบลอมากเกินไป คุณสามารถเลือกแพนกล้องตามการเคลื่อนไหวของวัตถุ หรือซูมเข้าออกได้ขณะเปิดรับแสง แม้การนำเสนอภาพแบบนี้จะตรงข้ามกับการจับภาพวัตถุที่อยู่นิ่งและจัดวางลงในภาพ (เช่นการถ่ายภาพทิวทัศน์) แต่ก็ควรคำนึงถึงการจัดองค์ประกอบภาพอยู่เสมอเมื่อสร้างเอฟเฟ็กต์ภาพเบลอโดยใช้เทคนิคดังกล่าว เนื่องจากการเคลื่อนไหวของภาพนั้นสามารถเปลี่ยนแปลงได้มากขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่วางวัตถุที่เบลอในภาพ และทิศทางที่วัตถุหันเข้าหา ในการใช้เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพ เช่นการจัดองค์ประกอบภาพตามแนวทแยงและการใช้เส้นนำสายตา คุณจะสามารถแสดงออกถึงการเคลื่อนที่และทิศทางการเคลื่อนไหวของวัตถุได้

องค์ประกอบสำคัญ

  • เราสามารถเน้นความรู้สึกว่าภาพกำลังเคลื่อนไหวได้อย่างง่ายดายโดยใช้การจัดองค์ประกอบภาพตามแนวทแยง
  • เส้นนำสายตา ซึ่งในนั้นจะมีพื้นที่ว่างเพื่อนำทางสายตาของผู้ใช้ไปยังทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน
  • เอฟเฟ็กต์เบลอจะมีประสิทธิภาพสูงเมื่อการเคลื่อนไหวของวัตถุถูกทำให้เบลอด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ
  • สร้างการเคลื่อนไหวด้วยเส้นแสงโดยการเปิดรูรับแสงเป็นเวลานานเพื่อถ่ายภาพไฟรถและดวงดาว
  • สร้างการเคลื่อนไหวอย่างจงใจด้วยการแพนกล้องหรือเลื่อนซูมขณะเปิดรับแสง
 

EOS 5D Mark II/ EF24-70มม. f/2.8L USM/ FL: 64มม./ Manual exposure (f/8, 0.4 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

แสดงออกถึงการเคลื่อนที่โดยการถ่ายภาพการเคลื่อนไหวของเต่าทะเลด้วยการจัดองค์ประกอบภาพแบบแนวทแยง

 
 

ภาพแพนช็อตเต่าทะเลที่กำลังว่ายน้ำด้วยการแพนกล้องจากด้านบนลงมายังด้านล่างซ้ายถูกถ่ายโดยใช้องค์ประกอบภาพแบบแนวทแยง ตัวเต่านั้นถูกวางให้อยู่ทางด้านขวาในองค์ประกอบของภาพ เหลือที่ว่างทางด้านซ้ายเอาไว้ ด้วยการทำเช่นนั้น ผมพยายามนำเส้นสายตาโดยการใช้ลวดลายบนผิวน้ำเพื่อสื่อว่าเต่านั้นกำลังว่ายอยู่ในน้ำ นอกจากนี้ผมยังต้องการถ่ายทอดถึงการเคลื่อนที่ด้วย จึงใช้วิธีสร้างภาพเบลอที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของทั้งผิวน้ำและเต่า

เทคนิคในการถ่ายภาพให้แสดงถึงการเคลื่อนที่และพลัง

 

[1] สร้างผลที่กระทบอารมณ์ด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ

 

ผมถ่ายภาพเต็มตัวของนกนางนวลที่กำลังบินอยู่กลางอากาศด้วยการแพนกล้อง ผมใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเพื่อทำให้ตรงส่วนปลายของปีกเบลอ ภาพที่ออกมาจึงสามารถสื่อถึงพลังของปีกที่กำลังกระพือ

[2] ถ่ายภาพการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนผ่านช่วงเวลาด้วยการเปิดรูรับแสงเป็นเวลานาน

 

เมื่อคุณถ่ายภาพท้องฟ้าทางเหนือที่เต็มไปด้วยดวงดาวด้วยการเปิดรับแสงเป็นเวลานาน แสงดาวจะกลายเป็นเส้นโค้ง การเคลื่อนไหวทีละน้อยของดวงดาวตามเวลาให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนที่ การวางภาพซิลูเอตต์ของต้นไม้ไว้ตรงกลางทำให้เกิดองค์ประกอบภาพที่แสดงให้เห็นถึงความเป็นธรรมชาติของทิวทัศน์

Tatsuya Tanaka

 

เกิดเมื่อปี 1956 Tanaka เป็นหนึ่งในช่างภาพที่หาตัวจับยาก ซึ่งได้สร้างผลงานไว้หลากหลายแนวจากมุมมองที่เป็นแบบฉบับของตัวเอง เขาถ่ายภาพในรูปแบบต่างๆ มากมายตั้งแต่สิ่งที่มองเห็นในชีวิตประจำวัน เช่น แมลงและดอกไม้ ไปจนถึงภาพทิวทัศน์ ตึกสูง และดวงดาวบนท้องฟ้าเลยทีเดียว นอกเหนือจากการถ่ายภาพแล้ว Tanaka ยังพัฒนาวิธีการของตัวเองในกระบวนการปรับแต่งภาพรวมทั้งการรีทัชและการพิมพ์ขึ้นมาอีกด้วย

 
Digital Camera Magazine

 

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย

จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

 
 
 
แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา