คุณอุตส่าห์ใช้เวลาทั้งวันไปกับการถ่ายภาพคอนทราสต์สูง แต่ภาพถ่ายที่ออกมากลับไม่สวยอย่างที่หวังใช่หรือไม่ แม้จะเปิดรับแสงได้อย่างพอดีแล้ว แต่ภาพถ่ายของคุณกลับเต็มไปด้วยแสงจ้า เงาดำแบน ๆ หรืออะไรที่เลวร้ายกว่า แต่ไม่ต้องกลุ้มใจไป เพราะปัญหานี้แก้ไขได้ด้วย HDR
Canon EOS 6D, เลนส์ EF35 มม. f/1.4L USM, f/5.6, ISO 100 โดย Andreas Samuelsson
คุณอาจจะเคยได้ยินคำว่า HDR แต่คุณรู้หรือเปล่าว่ามันหมายถึงอะไร HDR หมายถึง High Dynamic Range ซึ่งเป็นเทคนิคที่ช่วยให้คุณสามารถสร้างภาพถ่ายสวย ๆ ที่มีรายละเอียดและความคมชัดสูง คำว่า Dynamic Range หมายถึงค่าความแตกต่างระหว่างสีขาวที่สว่างที่สุดกับสีดำที่มืดที่สุดที่คุณสามารถนำมารวมไว้ในภาพถ่ายแต่ละภาพได้
แล้วมันทำงานอย่างไร
ในการถ่ายภาพ HDR คุณจะต้องถ่ายภาพเดียวกันจำนวนสามภาพขึ้นไป โดยใช้เทคนิคการถ่ายภาพคร่อม (bracketed photos) ซึ่่งหมายความว่าภาพแต่ละภาพจะถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์หรือความกว้างของรูรับแสงไม่เท่ากัน ยิ่งภาพมีคอนทราสต์มากเท่าไหร่ คุณก็จะต้องถ่ายภาพมากขึ้นเท่านั้น และสิ่งที่คุณจะได้ก็คือภาพถ่ายที่มีค่าความมืดและความสว่างต่างกัน ขึ้นอยู่กับแสงที่ลอดผ่านเลนส์ จากนั้นจะมีการใช้ซอฟต์แวร์นำภาพเหล่านั้นมารวมกันเพื่อสร้างภาพสุดท้ายที่มีลักษณะเหมือนภาพที่มนุษย์มองเห็นผ่านดวงตา
สิ่งที่คุณต้องใช้
กล้องที่มีฟังก์ชัน Auto Exposure Bracketing (AEB) หากคุณจะถ่ายภาพด้วยเทคนิคนี้ คุณจะต้องปรับการตั้งค่าของกล้องด้วยตัวเองระหว่างถ่ายภาพ ซึ่งนั่นหมายความว่า คุณจะต้องขยับกล้องหลายครั้ง ซึ่งไม่เพียงเสียเวลา แต่วัตถุที่คุณจะถ่ายอาจจะไม่อยู่ในตำแหน่งเดียวกันอย่างที่ควรจะเป็น
ดังนั้น อย่าลืมขาตั้งกล้อง ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่จะช่วยให้ภาพถ่ายของคุณอยู่ในแนวเดียวกันในขั้นตอนการตกแต่ง เพราะเทคนิค HDR ไม่เหมาะกับการถ่ายภาพขณะกล้องขยับ ถึงแม้ว่าซอฟต์แวร์ HDR จะสามารถจัดภาพให้อยู่ในแนวเดียวกันได้ แต่คุณควรถ่ายภาพให้นิ่งก่อนเสมอ
แล้วคุณควรเลือกซอฟต์แวร์ HDR ตัวไหนล่ะ ซอฟต์แวร์ HDR มีให้เลือกมากมาย รวมถึงซอฟต์แวร์ยอดนิยมอย่าง Photomatix Pro, Luminance HDR และ Photoshop ข้อควรจำก็คือซอฟต์แวร์ HDR มีตัวปรับจำนวนมาก ทำให้คุณสามารถปรับเอฟเฟ็กต์ Tone-Mapping ได้ตามต้องการ
ต้องใช้เมื่อไหร่
เมื่อถ่ายภาพฉากและวัตถุที่บริเวณสว่างกับบริเวณที่มืดคอนทราสต์กันมาก ตัวอย่างเช่น ภาพภูมิทัศน์ที่้ท้องฟ้ากับผืนดินมีคอนทราสต์สูง ในตัวอย่างนี้ HDR จะช่วยให้คุณก็บภาพรายละเอียดของท้องฟ้าได้ โดยไม่ทำให้ความสวยงามของส่วนผืนดินด้อยลง
Canon EOS 6D, เลนส์ EF16-35 มม. f/2.8L II USM, f/2.8, 1/125, ISO 800 โดย Ken Thomann
ภาพคนในวันที่มีแดดจัดอาจจะถ่ายยาก เพราะหากมีแสงบนใบหน้าของคนมากเกินไปก็อาจทำให้เกิดเงามืดและแสงจ้า ซึ่ง HDR สามารถแก้ไขปัญหานี้และทำให้คนในภาพดูดีขึ้นได้ และหากแสงจากด้านหลังจ้าเกินไปใช่ไหม คุณก็สามารถใช้ HDR เพิ่มความสว่างให้กับฉากหน้าได้โดยไม่ทำให้ส่วนที่สว่างในภาพหายไป
Canon EOS 5D Mark II, เลนส์ EF17-40 มม. f/4L USM, f/4.0, 1/250, ISO 640 โดย Patrick Criollo
เคล็ดลับในการเริ่มใช้งาน
ถ่ายภาพ RAW ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้เพื่อความยืดหยุ่นในการปรับแต่งภาพและทำให้ระยะคอนทราสต์ของภาพกว้างขึ้น เพราะภาพ JPEG ถูกบีบอัดอย่างมากเพื่อลดขนาดภาพ ทำให้สูญเสียรายละเอียดบางอย่างไป อย่างไรก็ตาม เคล็ดลับนี้เป็นเพียงแนวทางในการเริ่มต้นถ่ายภาพเท่านั้น วิธีที่ดีที่สุดคือศึกษาเทคนิคการถ่ายภาพแบบ HDR เพื่อสนุกกับการถ่ายภาพและการใช้แสงแบบต่าง ๆ การฝึกฝนจะทำให้คุณมีความชำนาญและไปถึงฝั่งฝัน!
At the end of the day, these tips merely offer a rough guideline on how you should start. Your best bet to mastering the art of HDR photography is to play around with different scenes and lighting. Practice definitely helps so go out there and start shooting!
Canon EOS 5D Mark II, เลนส์ EF16-35 มม. f/2.8L II USM, f/16, 1/13, ISO 50 โดย Ken Thomann
Azmin Zainal ประวัติผู้เขียน Azmin Zainal หลงรักการเขียนมาตั้งแต่เริ่มอ่านออกเขียนได้ เธอเป็นมือใหม่หัดใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและเพิ่งหันมาแสดงความหลงใหลของตัวเองผ่านตัวอักษร ปัจจุบัน เธอยังคงตามหาความหมายของชีวิต ไม่ว่าสิ่งนั้นจะคืออะไรก็ตาม เธอชอบดื่มกาแฟ การพูดคุย ไก่ทอด และโรเจอร์ เฟดเดอร์เรอร์ ถ้าหากจะกล่าวถึงโดยไม่เรียงลำดับนะ |