ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

รีวิวภาพถ่ายจากกล้อง PowerShot G7 X Mark II: ถ่ายทอดรายละเอียดไร้ที่ติ ชั้นเยี่ยม

2016-08-04
2
17.07 k
ในบทความนี้:

กล้อง PowerShot G7 X Mark II มีเซนเซอร์ภาพ CMOS 1.0 นิ้วแบบรับแสงด้านหลังและ ระบบประมวลผลภาพ DIGIC 7 ล่าสุด นอกเหนือไปจากนี้ กล้องดิจิตอลคอมแพครุ่นนี้ยังมาพร้อมกับฟังก์ชั่นรูปแบบภาพที่มีในกล้อง EOS ให้คุณสามารถแต่งบรรยากาศภาพให้สม่ำเสมอกัน อ่านต่อเพื่อเรียนรู้ถึงความสามารถในการถ่ายทอดรายละเอียดไร้ที่ติของกล้องในรีวิวภาพถ่ายนี้ (เรื่องโดย: Takeshi Ohura)

 

จุดตรวจสอบ: ความละเอียดและคุณภาพบริเวณขอบภาพ

ผมถ่ายภาพระยะไกลโดยใช้ระยะมุมกว้าง 8.8 มม. (เทียบเท่า 24 มม.) ระยะเทเลโฟโต้ 36.8 มม. (เทียบเท่า 100 มม.) และระยะกลาง (เทียบเท่า 50 มม.) เพื่อทำการเปรียบเทียบ ผมใช้ AF และค่ารูรับแสง f/5.6 เท่ากันสำหรับมุมรับภาพแต่ละแบบ โดยภาพรวม ผมไม่เห็นข้อบกพร่องใดๆ เกี่ยวกับลักษณะของภาพที่ได้ในบริเวณกึ่งกลางภาพ อีกทั้งยังไม่มีปัญหาเรื่องความคมชัดบริเวณขอบภาพ ภาพมีระดับความคมชัดสูง และถ่ายทอดลายเส้นได้ละเอียด

ที่ทางยาวโฟกัสเทียบเท่า 100 มม. และ 50 มม. รายละเอียดบริเวณขอบภาพดีเยี่ยม แม้ความละเอียดของภาพที่มองเห็นอาจลดลงเล็กน้อย แต่ผมต้องบอกว่าสีที่จางลงหรือความผิดเพี้ยนของสีนั้นแทบจะมองไม่เห็นเลย 

ขอบมืดได้รับการแก้ไขอย่างดีด้วยค่ารูรับแสงสูงสุด และปัญหาแสงลดลงหายไปอย่างเห็นได้ชัดเมื่อลดรูรับแสงลงมา 2 สต็อปจากค่าที่ตั้งไว้ บรรยากาศภาพ ในแง่ของการถ่ายทอดโทนสีและการเกลี่ยแสงดีกว่าที่คิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงความจริงที่ว่านี่เป็นกล้องคอมแพคที่การออกแบบทุกอย่างต้องมีความกะทัดรัดรวมถึงการออกแบบระบบเลนส์ของกล้องด้วย 

 

ระยะมุมกว้าง (เทียบเท่า 24 มม.)

f/1.8

f/2

f/2.8

f/4

f/5.6

f/8

 

ระยะกลาง (เทียบเท่า 50 มม.)

f/2.5

f/2.8

f/4

f/5.6

f/8

 

ระยะเทเลโฟโต้ (เทียบเท่า 100 มม.)

f/2.8

f/4

f/5.6

f/8

 

จุดตรวจสอบ: ความไวแสง ISO

ความไวแสง ISO ของกล้อง PowerShot G7 Mark II สามารถตั้งค่าได้ตั้งแต่ ISO 125 ถึง ISO 12800 ในตัวอย่าง ผมถ่ายภาพโดยตั้งค่าลดจุดรบกวนความไวแสง ISO สูงไปที่การตั้งค่าเริ่มต้น เท่าที่เห็นในภาพด้านล่าง มีจุดรบกวนหรือความละเอียดที่มองเห็นได้ลดลงเพียงเล็กน้อยที่ค่า ISO 800 และยังไม่มีปัญหาสีจางด้วย

ที่ค่า ISO 1600 และ ISO 3200 มีเม็ดเกรนเล็กน้อย และความคมชัดบริเวณขอบภาพลดลงเมื่อเทียบกับภาพที่ถ่ายด้วย ISO 800 อย่างไรก็ตาม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงที่เด่นชัดในการถ่ายทอดโทนสี และหากผู้ใช้ไม่พิถีพิถันในเรื่องของคุณภาพของภาพถ่าย ก็ไม่มีข้อกังวลใดๆ หากจะใช้กล้องนี้ถ่ายภาพสตรีททั่วไป

ที่ค่า ISO 6400 จุดรบกวนแสงและจุดรบกวนสีเริ่มเห็นชัด ที่ความไวแสง ISO สูงสุดที่ ISO 12800 จำนวนจุดรบกวนเห็นชัดขึ้น ที่ค่านี้ ความละเอียดที่มองเห็นได้ลดลง และโทนสีในบรรยากาศภาพยังดูเหมือนเข้มขึ้นเล็กน้อย ถึงอย่างนั้น ในฐานะกล้องดิจิตอลคอมแพค จุดรบกวนนี้ก็ได้รับการจัดการอย่างดีเยี่ยมแล้ว เมื่อคุณดูกล้องนี้ในภาพรวม คงไม่เกินจริงที่จะบอกว่ากล้องนี้มีความไวแสง ISO สูงเป็นพิเศษ

ISO 125

 

ISO 800

 

ISO 6400

 

ISO 12800

 

จุดตรวจสอบ: โหมดมาโคร

ระยะโฟกัสใกล้สุดจากระยะสุดของเลนส์คือ 5 ซม. ในฝั่งมุมกว้างและ 40 ซม. ในฝั่งเทเลโฟโต้ เมื่อถ่ายภาพโคลสอัพ กล้องจะโฟกัสที่ตัวแบบอย่างรวดเร็วตรงที่มีการเลือกจุดโฟกัสซ้ำเช่นเดียวกับในการถ่ายภาพปกติ ความรวดเร็วในการโฟกัสค่อนข้างเร็วด้วย และมีความหน่วงเวลาต่ำ

สำหรับการถ่ายทอดภาพ อาจเกิดแฟลร์เล็กน้อย ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม เมื่อใช้รูรับแสงกว้างสุด แม้จะแก้ปัญหาได้ด้วยการลดรูรับแสง คุณอาจต้องการทำอะไรสนุกๆ บ้างด้วยการถ่ายทอดภาพที่มีรายละเอียดลดลง เนื่องจากเอฟเฟ็กต์ภาพจะคล้ายกับภาพที่ถ่ายด้วยเลนส์วินเทจ ขณะเดียวกัน เอฟเฟ็กต์โบเก้ให้ความเป็นธรรมชาติเมื่อถ่ายด้วยเลนส์ซูม โดยมีจุดรบกวนที่ไม่เป็นธรรมชาติน้อยกว่า

PowerShot G7 X Mark II/ FL: 8.8 มม./ f/5.6/ 1/1,000 วินาที/ ISO 125

 

PowerShot G7 X Mark II/ FL: 31 มม./ f/2.8/ 1/1,250 วินาที/ ISO 125

 

PowerShot G7 X Mark II/ FL: 17.9 มม./ f/2.5/ 1/400 วินาที/ ISO 125

 

โดยสรุป: ตัวแทนกล้องจากซีรีส์ G

ด้วยเซนเซอร์ CMOS ขนาด 1 นิ้วซึ่งอยู่ใกล้พื้นที่รับแสงมากกว่าถึง 3 เท่าเหมือนเซนเซอร์ขนาด 1/1.7 นิ้วในรุ่นก่อนหน้า ที่เป็นกล้องดิจิตอลคอมแพคคุณภาพภาพถ่ายสูงเช่นกัน เลนส์ซูมออพติคอล 4.2 เท่าที่มีรูรับแสงกว้างสุด f/1.8-2.8 และระบบประมวลผลภาพ DIGIC 7 ล่าสุด กล้องรุ่นนี้จึงสุดยอดมากทั้งๆ ที่เป็นเพียงกล้องดิจิตอลคอมแพคเล็กๆ เท่านั้น ประสิทธิภาพของความไวแสง ISO สูงใกล้เคียงกับกล้อง DSLR ที่ใช้เซนเซอร์ขนาด APS-C และดูไม่ขาดตกบกพร่องในเรื่องของการถ่ายทอดโทนสี และความละเอียดของภาพ กล้อง PowerShot G7 X Mark II ครอบคลุมการใช้งานที่หลากหลาย ตั้งแต่การบันทึกภาพเล็กๆ น้อยๆ ในแต่ละวันไปวันถึงการถ่ายภาพสินค้าที่ต้องการคุณภาพเต็มพิกัด

คุณอาจคิดว่าการที่กล้องไม่มีช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์ (EVF) เป็นข้อเสียของกล้องดิจิตอล สำหรับกล้องนี้ เป็นเรื่องปกติที่จะใช้หน้าจอ LCD ในการถ่ายภาพ และเพราะมีคุณสมบัติ อาทิ โฟกัสอัตโนมัติที่แม่นยำและไวต่อการตอบสนอง ระบบป้องกันภาพสั่นไหวอันทรงพลัง ซึ่งก็ไม่ทำให้ผมผิดหวังเลยแม้จะต้องพึ่งพากล้องในการถ่ายภาพ กล้อง PowerShot ซีรีส์ G รุ่นใหม่ทุกตัวประกอบด้วยเซนเซอร์ที่มีขนาดอย่างน้อย 1.0 นิ้ว จึงสามารถสร้างภาพถ่ายคุณภาพสูงได้ทั้งหมด และถึงแม้จะเป็นหนึ่งในกล้องซีรีส์นี้ PowerShot G7 X Mark II ในความคิดของผมก็เป็นกล้องที่มีคุณภาพเหมาะสมกับมาตรฐานของซีรีส์ G เมื่อตัดสินจากระดับความสมบูรณ์แบบที่กล้องถ่ายได้

คลิกที่นี่เพื่ออ่านข้อเปรียบเทียบของ PowerShot G7 X Mark II กับ PowerShot G7 X รุ่นก่อนหน้า

 

แกลเลอรี่ภาพถ่าย

PowerShot G7 X Mark II/ FL: 23.7 มม./ f/5.6/ 1/800 วินาที/ EV +0.3/ ISO 125
สามารถเลือกจุด AF ด้วยระบบสัมผัสบนหน้าจอ LCD นอกจากนี้ กล้องยังมีคุณสมบัติชัตเตอร์แบบแตะด้วย ตอนที่ถ่ายภาพด้านบน ผมแตะที่ภาพคอนเทนเนอร์ในระยะโฟร์กราวด์เพื่อจับโฟกัสและลั่นชัตเตอร์ ผมถือกล้องด้วยมือซ้าย แต่เพราะความสามารถของระบบป้องกันการสั่นไหว ผมจึงได้ภาพถ่ายที่คมชัด

 

PowerShot G7 X Mark II/ FL: 12.8 มม./ f/8/ 1/160 วินาที/ EV ±0/ ISO 125
ทางยาวโฟกัสตามจริงคือ 12.8 มม. และค่า f อยู่ที่ f/8 ขอบภาพอาจชัดเกินไปเล็กน้อย แต่ไม่ถึงกับดูผิดปกติ ผมกังวลนิดๆ ว่าคนดูภาพอาจสังเกตเห็นว่าความละเอียดลดลงบริเวณด้านล่างซ้ายของภาพ

 

PowerShot G7 X Mark II/ FL: 36.8 มม./ f/2.8/ 1/500 วินาที/ EV±0/ ISO 125
ภาพถ่ายด้วยระยะสุดฝั่งเทเลโฟโต้และขนาดรูรับแสงกว้างสุด มุมรับภาพเทียบเท่า 100 มม. ด้วยขนาดโบเก้ที่เห็นนี้ เมื่อเทียบกับกล้องที่มีเซนเซอร์ขนาด 1/1.7 นิ้ว จึงแน่ใจได้เลยว่าโบเก้ของกล้องรุ่นนี้จะใหญ่กว่า

 

PowerShot G7 X Mark II/ FL: 36.8 มม./ f/4/ 1/400 วินาที/ EV ±0/ ISO 125
เมื่อถ่ายภาพที่สุดฝั่งเทเลโฟโต้อย่างในภาพด้านบน อันที่จริงผมก็ยังอยากได้ EVF อยู่

 

PowerShot G7 X Mark II/ FL: 36.8 มม./ f/2.8/ 1/250 วินาที/ EV+1/ ISO 125
แม้แบ็คกราวด์ภาพจะสว่าง แต่มีความเปรียบต่างตรงส่วนของตัวแบบดี (จักรยาน) และเส้นขอบต่างๆ ก็คมชัดด้วย ระบบโฟกัสอัตโนมัติยังทำงานแม่นยำเมื่อถ่ายภาพที่สุดฝั่งระยะเทเลโฟโต้ด้วยรูรับแสงกว้างสุด ผมกังวลเล็กน้อยว่าความพร่ามัวที่แบ็คกราวด์จะดูรกไปสักหน่อย

 

PowerShot G7 X Mark II/ FL: 10.2 มม./ f/5.6/ 1/250 วินาที/ EV+0.3/ ISO 125
ผมปรับปริมาณการเปิดรับแสงให้เหมาะกับเรือสีขาว แต่ส่วนสว่างและเงาก็ยังคงปรากฏในภาพ เพราะผมถ่ายภาพโดยใช้แสงส่องตรง ให้แสงแดดกระทบจอ LCD โดยตรง ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ความสามารถในการมองเห็นลดลงมากนัก

 

PowerShot G7 X Mark II/ FL: 8.8 มม./ f/5.6/ 1/1,000 วินาที/ EV -0.3/ ISO 125
อีกหนึ่งคุณสมบัติใหม่ของกล้องนี้คือรูปแบบภาพ ผู้ใช้กล้อง EOS จะสนุกกับบรรยากาศภาพด้วยคุณสมบัติที่เหมือนกัน และยิ่งกว่านั้น ยังสามารถปรับสีที่ไม่สมบูรณ์แบบได้อย่างที่ทำบนกล้อง EOS คุณสามารถปรับพารามิเตอร์ของรูปแบบภาพได้อีกด้วย

 

 

สำหรับเรื่องราวเบื้องหลังการพัฒนากล้อง PowerShot G7 X Mark II สามารถอ่านได้ที่ บทสัมภาษณ์นักพัฒนากล้อง: PowerShot G7 X Mark II (ตอนที่ 1)

 

Takeshi Ohura

 

เกิดเมื่อปี 1965 ที่จังหวัดมิยะซะกิ Ohura จบการศึกษาจากแผนกการถ่ายภาพจากวิทยาลัยศิลปะ มหาวิทยาลัยนิฮอง หลังจากทำงานในแผนกตัดต่อกับบริษัทการวางแผนการออกแบบและนิตยสารรถมอเตอร์ไซค์ เขาผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ เขาเขียนบทความให้กับนิตยสารด้านการถ่ายภาพจากประสบการณ์ในการใช้กล้องดิจิตอลสำหรับการถ่ายภาพโฆษณา นอกเหนือจากการทำงาน เขาชอบดูภาพถ่ายและหาเวลาเยี่ยมชมแกลเลอรี่อยู่เสมอ Ohura ยังเป็นสมาชิก Camera Grand Prix Selection Committee อีกด้วย

 

Digital Camera Watch

 

ส่งข่าวสารรายวันเกี่ยวกับเรื่องราวของกล้องดิจิตอลและอุปกรณ์เสริมต่างๆ รวมถึงซอฟต์แวร์ตกแต่งภาพ นอกจากนี้ยังเผยแพร่บทความต่างๆ เช่น รีวิวการใช้กล้องดิจิตอลจริงพร้อมตัวอย่างภาพถ่ายจากกล้องรุ่นใหม่ๆ

http://dc.watch.impress.co.jp/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา