ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เคล็ดลับที่มืออาชีพใช้ในการถ่ายภาพด้วยขาตั้งกล้อง

2017-05-25
0
5.05 k
ในบทความนี้:

แม้ว่าการใช้ขาตั้งกล้องเป็นมาตรฐานในการถ่ายภาพทิวทัศน์ ช่างภาพมืออาชีพต่างค้นหาวิธีใหม่ๆ ในการใช้ขาตั้งกล้องอยู่เสมอ เพื่อให้ได้ภาพที่สวยงามยิ่งขึ้น เรามาเรียนรู้วิธีการถ่ายภาพด้วยขาตั้งกล้องของช่างภาพที่มีแนวคิดสร้างสรรค์จากตัวอย่างทั้งสองนี้กัน (เรื่องโดย:  Takehito Miyatake, Hirokazu Nagane)

ถ่ายภาพแบบแพนกล้องด้วย EOS 5D Mark IV

 

ไอเดียที่ 1: ใช้มุมต่ำเพื่อสำรวจโลกใบจิ๋วใกล้พื้นดิน

ในผืนป่าของประเทศญี่ปุ่นมีเห็ดราว 10 สายพันธุ์ที่เรืองแสงในช่วงเวลากลางคืน ซึ่งเป็นปริมาณที่มากพอๆ กับหิ่งห้อยในช่วงฤดูร้อนเลยทีเดียว หากต้องการเก็บภาพเหล่านี้ในสถานที่ที่มืด คุณต้องตั้งกล้องไว้บนขาตั้งและถ่ายภาพจากมุมต่ำ

ด้วยเหตุที่ผมอยากเก็บภาพแสงเรืองรองของเห็ดเหล่านี้ซึ่งซุกซ่อนตัวอยู่ในป่าลึก ผมจึงวางตำแหน่งเห็ดที่อยู่สูงประมาณ 3 ซม. ไว้ในเฟรมภาพ จากนั้นเล็งมุมกล้องแหงนขึ้นไป เห็ดเหล่านี้โผล่ขึ้นมาจากที่ต่างๆ อาทิ ต้นไม้ที่หักโค่น ผุพัง และมักขึ้นเรียงรายเป็นแถว ดังนั้น ผมจึงใช้เลนส์ทิลต์-ชิฟต์ถ่ายภาพนี้ โดยโฟกัสไปที่เห็ดซึ่งขึ้นเรียงรายกันอยู่ และตั้งค่ารูรับแสงของเลนส์ไว้เกือบกว้างสุดเพื่อเบลอต้นไม้ในส่วนแบ็คกราวด์

ถ่ายภาพมุมต่ำที่ถ่ายด้วยกล้อง EOS 5D Mark III

EOS 5D Mark III/ TS-E24mm f/3.5L II/ FL: 24 มม./ Manual exposure (f/4.5, 30 วินาที, EV±0)/ ISO 1600/ WB: 4,000K
ภาพโดย Takehito Miyatake

 

เทคนิคที่เป็นประโยชน์: ใช้ขาตั้งกล้องและโบเก้ในส่วนโฟร์กราวด์เพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์ภาพจากมุมสูงแบบเบิร์ดอายวิว

หากคุณสามารถพลิกแกนกลางของขาตั้งกล้องและห้อยกล้องไว้ในตำแหน่งนั้น (มุมขวาล่าง ซึ่งผมใช้ Gitzo) คุณจะสามารถถ่ายภาพมุมต่ำพิเศษได้ดังเห็นได้จากภาพตัวอย่าง นอกจากนี้ เมื่อคุณใช้ขาตั้งกล้องซีรีย์ 5 ร่วมกับแกนกลางซีรีย์ 3 และหัวขาตั้ง คุณก็จะได้ขาตั้งกล้องที่แสดงในด้านซ้ายของภาพ โดยที่ตัวกล้องยื่นออกมาห่างจากขาตั้งกล้อง

ขาตั้งกล้องที่ผมใช้สำหรับถ่ายภาพมุมต่ำ

 

ไอเดียที่ 2: ใช้หัวขาตั้งกล้องวิดีโอและถ่ายภาพแบบแพนกล้องในแนวนอน

ผมใช้ขาตั้งกล้องเมื่อถ่ายภาพแบบแพนกล้องในแนวนอน เพราะผมจะได้ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการสั่นในแนวดิ่งและช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในการถ่ายภาพได้ เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาในการถ่ายภาพรถไฟ เนื่องจากสิ่งเดียวที่คุณต้องทำคือ ให้ความสำคัญกับการซิงค์การแพนกล้องให้เข้ากับการเคลื่อนที่ของรถไฟ อย่างไรก็ดี หากคุณกำลังใช้งานหัวขาตั้ง การแพนกล้องจะทำให้เกิดแรงต้านเล็กน้อยจนอาจรักษาความเร็วคงที่ในการแพนกล้องได้ยากมาก

การตัดสินใจว่าควรเลือกใช้ขาตั้งกล้องประเภทใดนั้นขึ้นอยู่รูปแบบการถ่ายภาพ รวมทั้งประเภทของตัวแบบที่คุณถ่าย (นี่คือวิธีการเลือกขาตั้งกล้องที่เหมาะสมกับการถ่ายภาพของคุณ) เมื่อแพนกล้องในแนวนอน ผมจะใช้หัวขาตั้งกล้องวิดีโอเพื่อช่วยควบคุมแรงบิดในการแพน หัวขาตั้งตัวโปรดของผมคือ Libec RH45D เนื่องจากมีความมั่นคงแข็งแรงเป็นพิเศษ แม้ต้องใช้กับเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้น้ำหนักมากอย่าง EF500mm f/4L IS II USM และผมพบว่าหัวขาตั้งรุ่นนี้ช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จของภาพถ่ายได้มากขึ้น

ถ่ายภาพแบบแพนกล้องด้วย EOS 5D Mark IV

EOS 5D Mark IV/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 41 มม./ Manual exposure (f/4, 1/8 วินาที, EV±0)/ ISO 2500/ WB: แสงแดด
ภาพโดย Hirokazu Nagane

 

ภาพรถไฟหัวกระสุนแล่นผ่านแสงอาทิตย์ยามเย็น ซึ่งถ่ายโดยการแพนกล้องและใช้ความเร็วชัตเตอร์ 1/8 วินาที

ผมแพนกล้องเพื่อถ่ายภาพรถไฟหัวกระสุนที่แล่นผ่านชิกุสะกะวะ จุดถ่ายภาพที่มีชื่อเสียงในเส้นทางรถไฟสายซันโย ชินกันเซ็น ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างเมืองไอโออิกับโอกะยะมะ ภาพนี้ดูสว่างด้วยแสงอ่อนๆ จากดวงอาทิตย์ที่กำลังลับขอบฟ้า ขณะที่ท้องฟ้าค่อยๆ มืดลงในเวลาพลบค่ำ ดังนั้น แม้ว่าใช้ค่ารูรับแสงที่ f/4 และความเร็วชัตเตอร์ 1/8 วินาที ผมยังจำเป็นต้องใช้ความไวแสง ISO ที่ 2500 ผมเล็งกล้องไปที่รถไฟหัวกระสุนที่กำลังแล่นด้วยความเร็วเกือบ 300 กม./ชม. ในอีกฟากหนึ่งของแม่น้ำ

การถ่ายภาพแบบแพนกล้องสำหรับรถไฟหัวกระสุน

 

เทคนิคที่เป็นประโยชน์: ใช้หัวขาตั้งกล้องวิดีโอและเส้นตารางในช่องมองภาพเพื่อให้ได้ภาพแบบแพนกล้องที่เชื่อถือได้

ตั้งแรงบิดของหัวขาตั้งให้เหมาะกับการเคลื่อนที่ของรถไฟหัวกระสุน จากนั้น จับหัวขาตั้งด้วยมือซ้าย แล้วถ่ายภาพอย่างต่อเนื่อง พร้อมกับซิงค์กับการเคลื่อนที่ของรถไฟ อย่าลืมแสดงเส้นตารางในช่องมองภาพและแพนกล้องไปเรื่อยๆ โดยให้ด้านหน้าของขบวนรถไฟอยู่ในแนวเดียวกับเส้นแนวตั้งทางด้านซ้ายหรือด้านขวาของเฟรมภาพ

การใช้ขาตั้งกล้องกับหัวขาตั้งกล้องวิดีโอ

ผมติดตั้งหัวขาตั้ง Libec RH45D ไว้บนขาตั้งแบบ 4-stage ของ HUSKY เพื่อถ่ายภาพ หัวขาตั้งกล้องวิดีโอรุ่นนี้มั่นคงแข็งแรงเป็นพิเศษ และไม่เพียงเหมาะสำหรับการถ่ายภาพแบบแพนกล้องเท่านั้น แต่ยังเหมาะกับการถ่ายภาพด้วยเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ที่มีน้ำหนักมากอีกด้วย จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่าทำไมผมจึงชอบใช้หัวขาตั้งนี้ในการถ่ายภาพเครื่องบินและนกป่า

 

การใช้การแสดงตารางเพื่อถ่ายภาพรถไฟหัวกระสุน

ผมแพนกล้องถ่ายภาพไปเรื่อยๆ โดยให้ส่วนหัวของขบวนรถไฟอยู่ในแนวเดียวกับเส้นแนวตั้งทางด้านขวาของเส้นตาราง การถ่ายภาพแบบแพนกล้องโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง เช่น 1/60 วินาที จะช่วยเพิ่มอัตราความสำเร็จในการถ่ายภาพได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี ควรจำไว้ว่าการใช้วิธีดังกล่าวจะทำให้ความรู้สึกถึงความเร็วในภาพนั้นลดลง

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Takehito Miyatake

เกิดเมื่อปี 1966 ที่จังหวัดโอซาก้า Miyatake ทำงานกับผู้ผลิตอุปกรณ์ถ่ายภาพในฐานะช่างภาพประจำสตูดิโอหลังจบการศึกษาจากสาขาเทคโนโลยีภาพถ่าย คณะวิศวกรรมศาสตร์ Tokyo Polytechnic University ในปี 1995 เขาได้ก่อตั้งสตูดิโอเป็นของตนเองที่มีชื่อว่า Miyatake Photo Factory ในจังหวัดโทคุชิมะ ซึ่งเป็นที่ที่เขาเติบโตขึ้น

http://miyatake-p.com/

Hirokazu Nagane

เกิดในโยโกฮาม่าในปี 1974 หลังจบการศึกษาจาก Musashi Institute of Technology (ปัจจุบันเรียกกันว่า "Tokyo City University") เขาได้เรียนถ่ายภาพจากช่างภาพทางรถไฟ Mitsuhide Mashima ซึ่งเป็นซีอีโอของ Mashima Railway Pictures ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาเคยมีส่วนร่วมในการอธิบายเทคนิคการถ่ายภาพทางรถไฟให้กับนิตยสารถ่ายภาพ และเขียนคู่มือการถ่ายภาพทางรถไฟ เขาเดินทางไปทั่วประเทศญี่ปุ่นเพื่อถ่ายภาพรถไฟพร้อมกับยึดคติประจำใจที่ว่า "ถ่ายภาพให้ดูสมจริงจนคุณได้ยินเสียงของรถไฟแม้เพียงแค่มองดูภาพถ่าย"

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา