เคล็ดลับการถ่ายภาพสตรีท: การจัดเฟรมภาพเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัวแบบ
การจับภาพผู้คนในการถ่ายภาพสตรีทจะค่อนข้างแตกต่างจากการถ่ายภาพพอร์ตเทรต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณชอบวิธีที่ไม่เป็นจุดสนใจมากกว่า อาจจะมีองค์ประกอบโดยรอบที่ดึงความสนใจของผู้ชมออกไป คุณจะต้องถ่ายภาพแคนดิดในจังหวะที่เกิดขึ้นทันที และคุณจัดท่าทางตัวแบบไม่ได้อย่างแน่นอน คุณจะจัดการกับเรื่องทั้งหมดนี้ได้อย่างไรเพื่อสร้างสรรค์ภาพที่ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัวแบบ ช่างภาพสตรีทคนหนึ่งจะมาแบ่งปันเคล็ดลับหนึ่งข้อให้เราได้ลองกัน (เรื่องโดย: Ikuko Tsurumaki, Digital Camera Magazine)
EOS R/ RF35mm f/1.8 Macro IS STM/ Aperture-priority AE (f/2.2, 1/2000 วินาที, EV -0.3)
เด็กน้อยนั่งอยู่บนถนน รอบๆ ตัวมีผู้ใหญ่ยืนตัวสูงตระหง่าน เด็กน้อยคงรู้สึกกังวลใจอยู่แน่ๆ ฉันต้องการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกเหล่านั้น และในบทความนี้ฉันจะมาแบ่งปันเทคนิคที่เคยใช้
หัวใจสำคัญของภาพถ่ายสตรีทคือการจัดการกับฝูงชน ถนนที่พลุกพล่าน และสิ่งระเกะระกะอื่นๆ
เวลาถ่ายภาพสตรีทในสถานที่พลุกพล่าน คุณอาจพบว่าผู้คนโดยรอบเป็นอุปสรรคขัดขวางความพยายามในการถ่ายภาพตัวแบบของคุณให้ออกมาดูดีและไร้สิ่งกีดขวาง อย่างไรก็ดี ทั้งฝูงชน สิ่งระเกะระกะ และธรรมชาติของชีวิตในเมืองอัน “วุ่นวาย” มีส่วนช่วยสร้างลักษณะเฉพาะอันโดดเด่นในการถ่ายภาพสตรีท ดังนั้นอาจพูดได้ว่าจิตวิญญาณที่แท้จริงของการถ่ายภาพสตรีทอยู่ที่วิธีการนำสิ่งเหล่านี้มาใช้ประโยชน์ในภาพของคุณ
คุณสามารถเลือกที่จะลดความซับซ้อนของ “สิ่งรบกวนความสนใจ”…หรือใช้ประโยชน์จากพวกมันได้
วางตำแหน่งตัวแบบที่ช่องว่างระหว่างผู้คน
วิธีหนึ่งในการใช้ประโยชน์จากความรู้สึกที่ “แออัดยัดเยียด” คือการรวมผู้คนไว้ในส่วนโฟร์กราวด์เบื้องหน้าตัวแบบ และจัดเฟรมภาพให้ดูเหมือนว่าคุณเป็นผู้เห็นเหตุการณ์ที่พยายามมองผ่านช่องว่างระหว่างผู้คน นอกจากจะทำให้รู้สึกถึงความแออัดเพิ่มขึ้นแล้ว วิธีนี้ยังทำให้เกิดความคิดที่ว่า “นี่ๆ มีบางอย่างกำลังเกิดขึ้นและดึงดูดคนจำนวนมาก!” ซึ่งจะทำให้ผู้ชมรู้สึกสนใจและทำให้ภาพดูมีมิติในด้านการถ่ายทอดเรื่องราว
ซึ่งนี่คือสิ่งที่ฉันทำสำหรับภาพด้านบน มุมสูงทำให้เอฟเฟ็กต์มุมมองของผู้เห็นเหตุการณ์สำหรับสถานการณ์นี้มีความสมบูรณ์
ลองใช้วิธีนี้ในครั้งต่อไปที่คุณพบกับสถานการณ์คล้ายๆ กัน สำหรับเทคนิคหรือมุมกล้องอื่นๆ ที่คุณจะใช้ร่วมกับวิธีนี้เพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกได้มากขึ้นนั้น
อ่านเทคนิคมุมมองที่คล้ายกันได้ในบทความนี้:
เทคนิคการถ่ายภาพด้วยเลนส์มาตรฐาน: การใช้มุมมองเพื่อดึงให้คนดูเข้าไปอยู่ในภาพ
คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์: Eye Detection AF
ถึงแม้จะใช้วิธีแตกต่างกัน แต่สำหรับการถ่ายภาพหลายๆ แนว เช่น การถ่ายภาพสตรีท คุณมักจำเป็นจะต้องถ่ายภาพอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่เพราะเป็นช่วงเวลาเสี้ยววินาทีเท่านั้น แต่การเดินเตร่ไปมาพร้อมกล้องอาจดึงดูดความสนใจมากเกินควร และในขณะเดียวกัน ยังต้องให้ดวงตาของตัวแบบหลักอยู่ในระยะโฟกัสที่คมชัด เช่นเดียวกันกับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต การเปิด Eye Detection AF จะช่วยได้
Eye Detection AF ช่วยให้ฉันจับโฟกัสที่เด็กชายตัวน้อยคนนี้ได้อย่างง่ายดาย ไม่อย่างนั้น AF อาจ “หลุด” ไปได้เพราะผู้คนรอบตัวเด็ก สถานการณ์อื่นๆ ที่ฉันพบว่าคุณสมบัตินี้มีประโยชน์ ได้แก่
- สำหรับการจับโฟกัสบนใบหน้าอย่างรวดเร็วเวลาฉันใช้ค่ารูรับแสงกว้างและมีระยะชัดตื้น
- เวลาฉันถ่ายภาพมุมสูงอย่างรวดเร็วโดยถือกล้องอยู่เหนือหัว
หากต้องการหยุดตัวแบบที่เคลื่อนที่อยู่ ต่อไปนี้คือการตั้งค่ากล้องที่มีประโยชน์ซึ่งจะป้องกันไม่ให้ความเร็วชัตเตอร์ของคุณช้าเกินไปในโหมดการรับแสงกึ่งอัตโนมัติ:
เคล็ดลับการใช้ ISO อัตโนมัติ: ป้องกันตัวแบบเบลอด้วยการตั้งค่าที่ต้องรู้!
ศึกษาเคล็ดลับและเทคนิคการถ่ายภาพสตรีทที่มีประโยชน์เพิ่มเติมได้ที่:
วิธีการถ่ายภาพภาพสิ่งของธรรมดาให้ดูน่าทึ่ง
ควรใช้สีสันอย่างไรเพื่อดึงความสนใจไปที่ตัวแบบ
ทฤษฎีเกสตัลท์ในการถ่ายภาพสตรีท
การจัดองค์ประกอบเฟรมภาพซิลูเอตต์: วิธีสร้างความโดดเด่นให้กับแสง เงา ความเปรียบต่าง ความลึก และเฟรมธรรมดาๆ
หากอยากเปลี่ยนวิธีที่คุณมองเห็นสิ่งต่างๆ มาลองทำ 2 แบบฝึกหัดต่อไปนี้กัน:
ทำความรู้จักการจัดองค์ประกอบภาพแบบกึ่งกลางอีกครั้ง: 2 แบบฝึกหัดสำหรับการเดินถ่ายภาพครั้งต่อไปของคุณ
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดที่โตเกียวในปี 1972 Tsurumaki เริ่มเรียนรู้การถ่ายภาพในระหว่างที่ทำงานในบริษัทโฆษณา และผันตัวมาเป็นช่างภาพหลังจากผ่านการเป็นผู้ช่วยช่างภาพระยะหนึ่ง ปัจจุบัน เธอมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การถ่ายภาพนิตยสาร การเขียนบทความ และกำกับการถ่ายภาพการบรรยายและสัมมนาต่างๆ