ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพกลางอากาศ: 2 เคล็ดลับในการเอาชนะแรงลม

2017-12-07
1
2.75 k
ในบทความนี้:

ลมแรงทำให้ยากต่อการถ่ายภาพได้อย่างคมชัดและคงที่ Kenji Kato จะมาเผยวิธีถ่ายภาพธารน้ำแข็งอันเลื่องชื่อที่คาบสมุทรชิเรโทโกะของเกาะฮอกไกโดนี้ให้ดูเฉียบคม (เรื่องโดย: Kenji Kato)

น้ำแข็งที่คาบสมุทรชิเรโทโกะ

EOS 5DS R/ EF28-300mm f/3.5-5.6L IS USM/ FL: 28 มม./ Shutter-priority AE (f/22, 1/1,250 วินาที, EV-1.0)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ

 

จับตาการสั่นไหวของกล้องและปรับความเร็วชัตเตอร์ให้เหมาะสม

การถ่ายภาพฉากทิวทัศน์ที่งดงามตระการตาจากบนท้องฟ้าต้องใช้เฮลิคอปเตอร์หรือเครื่องบินเล็ก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะการถ่ายภาพ ก่อนจะบินขึ้น ต้องตรวจสอบสภาพอากาศและศึกษาการเคลื่อนที่ของลมและก้อนเมฆอย่างรอบคอบ

โดยปกติเครื่องบินจะบินด้วยความเร็วประมาณ 200 กม./ชม. แต่ควรลองลดความเร็วลงประมาณ 100 กม./ชม. ก่อนที่จะพยายามถ่ายภาพ ผมไม่สามารถใช้ขาตั้งกล้องได้ เนื่องจากแรงสั่นสะเทือนจากเครื่องบินจะส่งผ่านไปยังขาตั้งกล้องและทำให้ขาตั้งสั่นไหว เมื่อเราถ่ายภาพโลกอันสวยงามจากมุมสูง ภาพเบลอจากการสั่นไหวของกล้องมักจะเป็นสาเหตุสำคัญที่สุดที่สร้างความกังวลให้คุณ ดังนั้น ลองปรับความเร็วชัตเตอร์ตามสถานการณ์จะอำนวย

 

รูปแบบอันงดงามของมหาสมุทรที่สร้างสรรค์ขึ้นจากธารน้ำแข็ง

ในช่วงฤดูหนาว บริเวณโดยรอบคาบสมุทรชิเรโทโกะจะเต็มไปด้วยธารน้ำแข็ง ภาพอันน่าตื่นเต้นซึ่งไม่สามารถเห็นได้จากระดับพื้นดินนี้ กว้างใหญ่ไพศาลจนยากที่จะเก็บไว้ได้ทั้งหมด ผมตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ไปที่ 1/1,250 วินาที โดยใช้โหมดระบุค่าความเร็วชัตเตอร์ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ภาพออกมาเบลอ

เมื่อเครื่องบินอยู่ตำแหน่งเหนือเทือกเขาชิเรโทโกะ เราก็มุ่งหน้าไปยังคาบสมุทรชิเรโทโกะ ในการกำหนดองค์ประกอบภาพ ผมจัดเฟรมภาพเพื่อให้สามารถมองเห็นเทือกเขาที่อยู่ด้านหลังได้ด้วยเพื่อสร้างมิติความลึกให้กับภาพ ผมคอยระมัดระวังจับภาพในช่วงเวลาที่เหมาะสมขณะที่แสงกำลังตกกระทบเหนือคาบสมุทรและธารน้ำแข็งอย่างสวยงาม อีกทั้งดูให้แน่ใจถึงความสมดุลโดยรวมขององค์ประกอบต่างๆ จากนั้นถ่ายภาพทั้งฉากโดยใช้เลนส์ระยะมุมกว้าง 28 มม.

 

เคล็ดลับที่ 1: ถ่ายภาพในโหมดระบุค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/1,000 วินาทีหรือเร็วกว่านั้น

เมื่อสภาพอากาศและลมที่พัดแรงทำให้เครื่องบินสั่น แรงสั่นสะเทือนนี้จะส่งผ่านไปยังกล้องและร่างกายของคุณด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากถ่ายภาพที่ความละเอียด 50 ล้านพิกเซล เนื่องจากการเบลอที่เกิดจากปัญหากล้องสั่นจะค่อนข้างเห็นได้ชัด แม้จะใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/800 วินาที ในสภาวะเช่นนี้ ปกติเราต้องการความเร็วชัตเตอร์ที่เร็วกว่า 1/1,000 วินาที ดังนั้น ผมจึงตั้งความเร็วชัตเตอร์ที่ 1/1,250 วินาที
 

การเปรียบเทียบความเร็วชัตเตอร์

1/1,000 วินาที

การเปรียบเทียบความเร็วชัตเตอร์

1/500 วินาที

 

เรามาดูภาพตัวอย่างของกระเบื้องหลังคาของปราสาทฮิเมจิทั้งสองภาพนี้ ซึ่งถ่ายกลางอากาศในโอกาสที่แตกต่างกัน หลังจากขยายขนาดภาพทั้งสองแล้ว เราจะเห็นว่าภาพที่ถ่ายที่ 1/500 วินาที เบลอค่อนข้างชัดเจน

 

เคล็ดลับที่ 2: ใช้เชือกยางคล้องกล้องจากเพดานเครื่องบิน

ก่อนหน้านี้ ผมมักใช้ขาตั้งกล้องแบบขาเดียวหรือใช้มือถือกล้องถ่ายภาพ แต่อันที่จริง วิธีที่ดีที่จะช่วยป้องกันไม่ให้กล้องสั่นไหวไม่ใช่การติดกล้องกับเครื่องบิน แต่เป็นการใช้เชือกยางโดยให้ปลายข้างหนึ่งเกี่ยวกับโครงของเครื่องบินและอีกข้างหนึ่งคล้องกล้องไว้ ความยืดหยุ่นของเชือกยางจะช่วยดูดซับแรงสั่นสะเทือนส่วนใหญ่ และป้องกันไม่ให้เกิดภาพเบลอจากกล้องสั่นไหว

กล้องพร้อมเชือกยาง

วิธีแขวนกล้อง
ใช้เชือกยากผูกกับกลางตัวกล้องและเลนส์ ยึดปลายอีกข้างหนึ่งเข้ากับโครงของเครื่องบิน ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณสามารถปรับความยาวของเชือกได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย และมีพื้นที่สำหรับหันกล้องไปทางซ้ายและขวา

 

สถานที่ถ่ายภาพ: ชาริ เมืองชาริ ฮอกไกโด
เวลาถ่ายภาพ:
ปลายเดือนกุมภาพันธ์ เวลา 11.00 น. 

เที่ยวบินตรงไปยังคาบสมุทรชิเรโทโกะ จากท่าอากาศยานเมะมัมเบะสึด้วยเครื่องบิน Cessna ใช้เวลาประมาณ 30 นาที อย่างไรก็ดี เมื่อคุณขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้ว ควรใส่เสื้อหนาวและถุงมือที่เหมาะสม เพราะจำเป็นในการปกป้องตัวคุณจากอากาศที่หนาวจัด นอกจากนี้ การสั่นสะเทือนของเครื่องบินเนื่องจากลมแรงอาจทำให้คุณมีอาการเมาเครื่องบินได้ สุดท้าย ควรเตรียมแบตเตอรี่สำรองไว้ 3 ก้อนก่อนออกเดินทางในกรณีที่แบตเตอรี่หมดในระหว่างอยู่บนเครื่องบินนาน 90 นาที

 

หากต้องการอ่านบทความเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพ โปรดอ่านบทความต่อไปนี้: 
เสน่ห์ของการถ่ายภาพกลางอากาศ: การถ่ายภาพทิวทัศน์ที่ไม่สามารถคาดเดาได้ภายใต้สภาวะที่ท้าทาย
กระชับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศผ่านนิทรรศการภาพถ่ายทางอากาศ - Aspiring New Zealand
การถ่ายภาพจากมุมสูง

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kenji Kato

เกิดที่เมืองโยโกฮาม่า คานากาว่า Kato ศึกษาการถ่ายภาพเชิงพาณิชย์ที่ Kanda Studio ในประเทศญี่ปุ่น ก่อนผันตัวเป็นช่างภาพอิสระในเวลาต่อมา ในปี 1999 เขาเริ่มต้นถ่ายภาพกลางอากาศ นับแต่นั้นเขามีชั่วโมงบินมากกว่า 6,500 ชั่วโมง รวมแล้วอยู่กลางอากาศนานกว่า 200 วัน นอกจากนี้ Kato ยังจัดนิทรรศการถ่ายภาพที่มีชื่อว่า “From the Skies of Japan” ในปี 2006 และ 2009 ปัจจุบันเขายังคงติดตามถ่ายภาพทิวทัศน์หายากในประเทศญี่ปุ่นจากบนท้องฟ้าต่อไป

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา