พัฒนาทักษะการถ่ายภาพท่องเที่ยวของคุณด้วย EOS M10 ตอนที่ #1: การใช้โบเก้เพื่อทำให้ตัวแบบดูโดดเด่น
โดยปกติแล้ว คุณมักต้องการถ่ายภาพให้ดูสวยงาม เพื่อเก็บบันทึกความทรงจำที่ชื่นชอบเกี่ยวกับฉาก ประสบการณ์ และอาหารที่คุณได้พบในระหว่างท่องเที่ยว ด้วยขนาดที่กะทัดรัด น้ำหนักเบา และใช้งานง่าย EOS M10 จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพท่องเที่ยว ในบทความนี้ เราจะแนะนำวิธีใช้ประโยชน์จากโบเก้ (แบ็คกราวด์อยู่นอกโฟกัส) เพื่อให้ภาพถ่ายท่องเที่ยวของคุณดูน่าประทับใจมากยิ่งขึ้น (ภาพโดย: Takeshi Akaogi, บรรณาธิการโดย: Etica)
EOS M10/ EF-M22mm f/2.0 STM/ FL: 22 มม. (เทียบเท่า 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/2, 1/500 วินาที)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
การทำให้แบ็คกราวด์เบลอมากขึ้นสามารถเน้นวัตถุที่คุณต้องการถ่ายภาพได้
ใช้ค่ารูรับแสงที่ต่ำลงเพื่อเพิ่มพื้นที่ที่อยู่นอกโฟกัสทั้งด้านหน้าและด้านหลังตัวแบบ
เทคนิคหนึ่งที่ช่วยให้ภาพของคุณดูน่าประทับใจมากขึ้นในสายตาของผู้ชมคือ การสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ให้อยู่นอกโฟกัสอย่างสวยงาม คำว่า "โบเก้" หมายถึง ส่วนที่อยู่นอกโฟกัสของภาพถ่ายที่สวยงามน่ามอง ซึ่งอยู่ภายนอกตัวแบบที่อยู่ในโฟกัส และยังมักเรียกว่า "แบ็คกราวด์เบลอ" หรือ "ภาพเบลอในระยะโฟร์กราวด์" อีกด้วย พื้นที่ที่อยู่นอกโฟกัสนี้สามารถสร้างบรรยากาศที่นุ่มนวลและผ่อนคลายให้กับภาพถ่ายได้ อีกทั้งยังช่วยให้ช่างภาพสามารถนำสายตาของผู้ชมไปยังพื้นที่ที่อยู่ในโฟกัส และสื่อความมุ่งหมายของช่างภาพไปถึงผู้ที่กำลังมองภาพถ่ายนั้นๆ ได้ง่าย
f/2
f/8
ซ้าย: EOS M10/ EF-M22mm f/2.0 STM/ FL: 22 มม. (เทียบเท่า 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/2, 1/125 วินาที, EV+0.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
ขวา: EOS M10/ EF-M22mm f/2.0 STM/ FL: 22 มม. (เทียบเท่า 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 1/60 วินาที, EV+0.3)/ ISO 1600/ WB: อัตโนมัติ
การใช้ค่า f/2 ทำให้แบ็คกราวด์และโฟร์กราวด์อยู่นอกโฟกัส จึงเกิดเอฟเฟ็กต์โบเก้ ซึ่งช่วยให้เกาลัดดูโดดเด่นกว่าการใช้ค่า f/8 (ขวา) ที่ส่งผลให้แทบทุกสิ่งในภาพอยู่ในโฟกัส
หากต้องการสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่อยู่นอกโฟกัสอย่างสวยงาม ให้ใช้ค่ารูรับแสงต่ำและขยับเข้าใกล้ตัวแบบ
หากต้องการให้ภาพถ่ายมีเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่มีพื้นที่นอกโฟกัสขนาดใหญ่ จนทำให้พื้นทั้งหมดที่อยู่นอกจุดโฟกัสเบลออย่างจงใจ ให้ใช้โหมดการถ่ายภาพในโหมดระบุค่ารูรับแสง (Av) แล้วปรับค่า f ให้ต่ำลง ในกรณีที่เป็นเลนส์ EF-M22mm f/2.0 STM ค่ารูรับแสงกว้างสุดที่มีให้ใช้งานคือค่า f/2 ยิ่งคุณเข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้นเท่าใด คุณจะได้เอฟเฟ็กต์นอกโฟกัสที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเท่านั้น
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ: ความสัมพันธ์ระหว่างรูรับแสงของเลนส์และโบเก้
EOS M10/ EF-M22mm f/2.0 STM/ FL: 22 มม. (เทียบเท่า 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/2, 1/500 วินาที, EV+1.0)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
ในภาพนี้ ผมจับโฟกัสที่ด้านหน้าของกระจกสีซึ่งมีสีสันสวยงาม วิธีหนึ่งที่ช่วยสร้างความลึกและมิติในภาพถ่ายคือ การวางตำแหน่งกล้องที่มุมซึ่งอยู่ในแนวทแยงจากวัตถุที่แบน ดังเช่นในภาพนี้
EOS M10/ EF-M22mm f/2.0 STM/ FL: 22 มม. (เทียบเท่า 35 มม.)/ Aperture-priority AE (f/2, 1/25 วินาที, EV±0)/ ISO 6400/ WB: อัตโนมัติ
ภาพนี้เป็นภาพของบ้านตุ๊กตา ผมวางจุดโฟกัสไว้ที่หนังสือที่อยู่ด้านหน้า และสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ด้านหลังภาพ เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่นุ่มนวลและผ่อนคลาย
คำถามที่พบบ่อย: โหมดระบุค่ารูรับแสง (Av) คืออะไร
ในโหมดระบุค่ารูรับแสง (Av) ผู้ถ่ายจะเป็นผู้กำหนดค่ารูรับแสง (ค่า f) เอง จึงสามารถควบคุมปริมาณและขนาดของโบเก้ในภาพถ่ายได้ เมื่อกำหนดค่ารูรับแสงที่ต้องการแล้ว กล้องจะกำหนดการตั้งค่าที่เหมาะสมให้เองโดยอัตโนมัติเพื่อเปิดรับแสงอย่างเหมาะสม ซึ่งก็คือความเร็วชัตเตอร์ รวมทั้งความไวแสง ISO (หากเปิดใช้งานฟังก์ชั่น ISO อัตโนมัติ)
การปรับแต่งการเบลอพื้นหลังในโหมด ‘Creative assist’ ที่ใช้งานง่าย จะสร้างเอฟเฟ็กต์ที่เหมือนกันกับการกำหนดค่ารูรับแสงให้ต่ำลง ความสามารถในการกำหนดค่ารูรับแสงได้ตามที่ต้องการนี้ทำให้เราสามารถปรับระดับความเบลอของโบเก้ในส่วนแบ็คกราวด์ได้ ดังนั้น คุณจะค่อยๆ คุ้นเคยกับศัพท์เชิงเทคนิคที่ใช้ในการถ่ายภาพและสามารถฝึกฝนการใช้ฟังก์ชั่นของกล้องจนคล่องมือ และถ่ายภาพได้ตามต้องการ อย่าลืมลองถ่ายภาพในโหมดระบุค่ารูรับแสง (Av) กันดูนะครับ!
หากต้องการเปลี่ยนโหมดการถ่ายภาพเป็นโหมดระบุค่ารูรับแสง (Av) ให้เลือกไอคอนสวิตช์โหมดซึ่งมีรูปร่างเหมือนกล้อง (A) จากนั้น หลังจากเลือกไอคอนกล้องที่มีสัญลักษณ์ ★(B) แล้ว ให้หมุนวงแหวนอิเล็กทรอนิกส์หรือแตะหน้าจอเพื่อเลือก "โหมดระบุค่ารูรับแสง (Av)"
สำหรับเคล็ดลับและบทช่วยสอนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ EOS M10 โปรดไปที่:
จุดโฟกัส: เทคนิคและรีวิว M3 และ M10
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!
เกี่ยวกับผู้เขียน
บริษัท Etica จำกัด เปิดสอนการถ่ายภาพในนามของโรงเรียน “Tanoshii Camera School" ตลอดจนให้บริการตรวจแก้ไขสื่อสิ่งพิมพ์ และวางแผนสื่อและกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกล้องและการถ่ายภาพ โดยเน้นหัวข้อด้านการดูแลเด็ก สัตว์ และอาหาร บริษัทยึดคติ “ภาพถ่ายทำให้ทุกๆ คนมีความสุข!” จึงมุ่งมั่นที่จะถ่ายทอดเสน่ห์ของกล้องถ่ายรูปและการถ่ายภาพออกไปในวงกว้าง
ในฐานะช่างภาพ Akaogi ทำงานให้กับนิตยสารต่างๆ เป็นหลัก และเขียนหนังสือแนะนำการถ่ายภาพและเคล็ดลับที่ใช้งานได้จริง นอกจากนี้ Akaogi ยังเป็นผู้ฝึกสอนในเวิร์กช็อปการถ่ายภาพอีกด้วย