ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด The Lightest EOS Full-Frame Mirrorless Ever Built- Part

ผู้เชี่ยวชาญขอแชร์: เคล็ดลับและเทคนิคในการถ่ายภาพแมวไม่ซ้ำใคร

2024-01-12
1
358

ใครๆ ก็ชอบรูปแมว และถ้าคุณชื่นชอบทั้งแมวและการถ่ายภาพ ก็คงอดใจไม่ไหวที่จะต้องถ่ายภาพน้องแมวที่ได้พบเจอ ไม่ว่าจะเป็นแมวที่ตัวเองเลี้ยง แมวจากศูนย์พักพิง หรือแมวจรจัดตามท้องถนน! แต่ถึงอย่างนั้น การจับภาพความร่าเริงมีชีวิตชีวาของน้องแมวก็อาจทำได้ยากกว่าที่คิด ช่างภาพแมว Ryosuke Miyoshi (@ryostory1124) จะมาแบ่งปันเคล็ดลับและเทคนิคในการถ่ายภาพวินาทีสำคัญใน 3 สถานการณ์ที่แตกต่างกัน (เรื่องโดย Ryosuke Miyoshi, Digital Camera Magazine)

EOS R8/ RF14-35mm f/4L IS USM/ FL: 14 มม./ Manual exposure (f/8, 1/320 วินาที)/ ISO 100

ในบทความนี้:

 

สถานการณ์ที่ 1: ค่อยเป็นค่อยไปและใช้ความระมัดระวังกับแมวที่ไม่คุ้นเคย

การสร้างความสัมพันธ์กับแมวนั้นสำคัญมากหากคุณต้องการภาพที่แสดงสีหน้าท่าทางและบุคลิกเฉพาะตัว ซึ่งมักจะแสดงออกมาเมื่อน้องแมวรู้สึกผ่อนคลายกับคุณแล้ว

การได้รับความไว้ใจจากแมวอาจต้องใช้เวลาอยู่บ้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมันระแวงมนุษย์ ลองเว้นระยะห่างและอยู่เงียบๆ ไม่รบกวนจนกว่าเจ้าเหมียวจะรู้สึกคุ้นเคยกับคุณมากขึ้น


เทคนิคที่ 1: ใช้เลนส์เทเลโฟโต้หากพบแมวเป็นครั้งแรก

RF135mm f/1.8L IS USM

แนะนำให้ใช้: เลนส์เทเลโฟโต้ความเร็วสูง

เลนส์เทเลโฟโต้ช่วยให้คุณถ่ายภาพแมวได้เต็มเฟรมมากขึ้นโดยที่ยืนอยู่ในระยะห่างที่ไม่เป็นการรบกวน (เพื่อสร้างความสบายใจให้เจ้าเหมียว!)

หากคุณมีเลนส์เทเลโฟโต้ “ความเร็วสูง” กล่าวคือ เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุดที่กว้าง (“สว่าง”) อย่าง RF135mm f/1.8L IS USM คุณยังสามารถสร้างเอฟเฟ็กต์แบ็คกราวด์เบลอ (“โบเก้”) สวยๆ ที่ทำให้แมวดูโดดเด่นออกมาจากแบ็คกราวด์ยุ่งๆ ได้ดีขึ้น

ผมแนะนำให้เปลี่ยนไปใช้เลนส์ที่สั้นกว่านี้ (เลนส์ซูมมาตรฐานหรือเลนส์มุมกว้าง) ก็ต่อเมื่อคุณได้เจอแมวนอกบ้านตัวเดิมสองสามครั้งและมันไม่ขยับหนีเวลาคุณเข้าใกล้


เทคนิคที่ 2: เปิดฟังก์ชั่นชัตเตอร์เงียบ

แมวเป็นสัตว์ที่หูไวมาก จึงอาจเกิดความเครียดเมื่อได้ยินเสียงที่ไม่คุ้นเคยอยู่ใกล้ๆ เช่น เสียงเตือนของ AF หรือชัตเตอร์กล้อง อย่าลืมเปิดฟังก์ชั่นชัตเตอร์เงียบ ซึ่งจะใช้ได้ในกล้องระบบ EOS R รุ่นใหม่ๆ เช่น EOS R8 ฟังก์ชั่นนี้จะปิดใช้งานเสียงเตือนและเสียงชัตเตอร์ทั้งหมด เพื่อให้คุณถ่ายภาพได้อย่างเงียบเชียบและหลีกเลี่ยงการทำให้น้องเหมียวขนปุยตกใจ


เทคนิคที่ 3: เข้าใกล้แมวอย่างช้าๆ และระมัดระวัง ใช้การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงและ Servo AF

เมื่อคุณสร้างความสัมพันธ์กับแมวแล้ว อาจลองใช้เลนส์สั้นๆ ถ่ายภาพ เลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์อาจให้ผลลัพธ์ที่ค่อนข้างมีเอกลักษณ์เฉพาะ อย่างเช่นภาพในตอนต้นของบทความนี้ ซึ่งถ่ายที่ระยะสุดฝั่ง 14 มม. ของเลนส์ RF14-35mm f/4L IS USM

เปิดฟังก์ชั่นต่อไปนี้บนกล้องของคุณ
- ฟังก์ชั่นชัตเตอร์เงียบ 
- การถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง
- Servo AF

จากนั้น ขณะที่ตรวจเช็กองค์ประกอบภาพในช่องมองภาพหรือหน้าจอ LCD ให้ค่อยๆ ขยับเข้าหาแมวอย่างเงียบเชียบและระมัดระวัง จนกว่าคุณจะได้ภาพถ่ายที่สมบูรณ์แบบ

---
อ่านเพิ่มเติมได้ที่
โหมดชัตเตอร์และโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง: ควรใช้แต่ละโหมดเมื่อใด
5 เคล็ดลับเพื่อการตรวจจับและติดตามตัวแบบที่ดียิ่งขึ้น
---


เคล็ดลับระดับมือโปรเพื่อเข้าใกล้แมวที่ไม่คุ้นเคย

- สวมใส่เสื้อผ้าสีอ่อนหรือสีสดใส
แมวมองเห็นโทนสีได้จำกัด และสีที่พวกมันเห็นก็ดูทึบทึมกว่าเมื่อเทียบกับมนุษย์ แต่ผมสังเกตเห็นว่าถ้าผมใส่เสื้อผ้าสีเข้ม น้องแมวจะตื่นกลัวได้ง่ายกว่า ผมจึงมักจะใส่เสื้อผ้าสีอ่อนหรือสีสดใสเวลาออกไปถ่ายภาพแมวข้างนอก

- เคารพพื้นที่ปลอดภัยและขอบเขตของน้องแมว
สิ่งสำคัญไม่ใช่การที่คุณได้ถ่ายภาพแมว แต่เป็นการที่พวกมันยอมให้คุณถ่ายภาพ หากแมวไม่เต็มใจให้ถ่ายภาพ คุณก็ไม่ควรฝืนบังคับ

 

สถานการณ์ที่ 2: เมื่อคุณต้องการทำให้เกิดสมดุลระหว่างระดับแสงกับระยะชัดอย่างเหมาะเจาะ

EOS R8/ RF14-35mm f/4L IS USM/ FL: 14 มม./ Manual exposure (f/7.1, 1/125 วินาที)/ ISO 100

บางครั้ง รายละเอียดของแบ็คกราวด์ก็มีความสำคัญไม่ต่างจากตัวแมว คุณอาจพบเจอบางฉากที่ต้องปรับสมดุลระหว่างระยะชัดและระดับแสงให้พอดีอย่างที่ผมทำในฉากด้านบนนี้


ปัญหาของผม

สี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดง: ผมจับโฟกัสที่แมว

เนื่องจากแสงย้อนจากด้านหลังทำให้ภาพดูมืดลง ผมจึงเปิดรูรับแสงให้กว้างถึง f/4 ในตอนแรกเพื่อเปิดรับแสงเข้ามามากขึ้น แต่ระยะชัดตื้นที่ได้ทำให้ใบไม้ดูเบลอเล็กน้อย แม้ว่าผมจะอยากให้ใบไม้ดูคมชัดและอยู่ในโฟกัสก็ตาม การปรับรูรับแสงให้แคบลงมากเกินไปอาจทำให้ได้รับแสงน้อยเกินไปจนแก้ไขไม่ได้ และผมก็ไม่อยากลดทอนความไวแสง ISO และความเร็วชัตเตอร์เช่นกัน

คำถามคือ คุณจะทำอย่างไรให้มั่นใจได้ว่าได้ภาพที่ต้องการในเมื่อเจ้าเหมียวอาจขยับตัวหนีได้ตลอดเวลา


เทคนิค: เปลี่ยนโหมดการจำลองการแสดงผลเป็น “ระดับแสง + ระยะชัด”

ตามค่าเริ่มต้นของกล้อง ภาพตัวอย่างที่คุณเห็นใน EVF หรือหน้าจอ LCD จะไม่แสดงผลกระทบจากการตั้งค่าของคุณสำหรับระยะชัด แต่จะแสดงเพียงการจำลองระดับแสงเท่านั้น การเปิดใช้งานการตั้งค่า “ระดับแสง + ระยะชัด” ซึ่งมีในเลนส์รุ่นที่เข้ากันได้กับกล้องระบบ EOS R รุ่นใหม่ๆ ส่วนใหญ่ จะช่วยให้คุณเข้าใจมากขึ้นว่าภาพถ่ายในขั้นสุดท้ายจะดูเป็นอย่างไรหากใช้การตั้งค่ารูรับแสงนั้น ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างยิ่งในการถ่ายภาพสวยๆ ในเทคเดียว หรืออย่างน้อยก็ก่อนที่น้องแมวตัวแบบหลักจะตัดสินใจว่าถ่ายแบบพอแล้วและเดินออกจากภาพไป!

ฟังก์ชั่นนี้ช่วยให้ผมตัดสินใจเลือกใช้ f/7.1 ซึ่งเพียงพอแล้วที่จะทำให้ใบไม้ด้านหลังอยู่ในโฟกัสโดยไม่ทำให้ภาพดูมืดเกินไป ในขั้นตอนสุดท้าย ผมได้ปรับมุมกล้องเล็กน้อยเพื่อให้แสงแดดที่เข้ามาทางใบไม้สร้างแฉกแสง การจำลองระยะชัดจะช่วยให้คุณเห็นตัวอย่างรูปร่างของแฉกแสงด้วย!

 

สถานการณ์ที่ 3: ภาพการกระโดดที่ได้จังหวะพอดี

EOS R8/ RF14-35mm f/4L IS USM/ FL: 14 มม./ Manual exposure (f/4.5, 1/250 วินาที)/ ISO 100

การที่จะจับภาพแมวกระโดดกลางอากาศให้ได้จังหวะพอดีไม่ใช่เรื่องง่าย ถ้านิ้วของคุณเลื่อนไปกดชัตเตอร์เพียงแค่ตอนที่แมวเริ่มกระโดด ก็อาจสายเกินไปแล้ว

ฟังก์ชั่นก่อนถ่ายภาพในโหมดถ่ายต่อเนื่องแบบ RAW ช่วยให้จับภาพช่วงเวลาสำคัญอย่างนี้ได้ง่ายขึ้นมาก โดยจะบันทึกภาพล่วงหน้าสูงสุด 0.5 วินาทีตั้งแต่คุณกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งไปจนถึงกดลงจนสุด

ภาพด้านบนนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าฟังก์ชั่นนี้มีประโยชน์มากเพียงใด เจ้าเหมียวเริ่มกระโดดไปแล้วตอนที่ผมกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง ดังนั้น ถ้าไม่ได้ใช้ฟังก์ชั่นถ่ายภาพล่วงหน้า ผมก็คงถ่ายภาพนี้ไม่ทัน


ฟังก์ชั่นการถ่ายภาพล่วงหน้าช่วยให้ถ่ายภาพการกระโดดสุดปังได้อย่างไร

ภาพที่ 1 ถึง 4: เมื่อกดชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง คุณสมบัติการถ่ายภาพล่วงหน้าของกล้องจึงเริ่มบันทึก และถ่ายภาพทั้ง 4 นี้ก่อนที่ชัตเตอร์จะถูกกดลงจนสุด ภาพช่วงเวลาสำคัญที่สุดบังเอิญเป็นภาพแรกที่ถูกบันทึก

ภาพที่ 5: แมวลงสู่พื้นในจังหวะที่ผมกดชัตเตอร์ลงจนสุด

ภาพที่ 5 และ 6: ภาพเหล่านี้ถูกถ่ายหลังจากกดชัตเตอร์ลงจนสุด ซึ่งถ้าไม่ได้ใช้ฟังก์ชั่นการถ่ายภาพล่วงหน้า ก็อาจเป็นภาพเพียงชุดเดียวที่ได้จากการบันทึกภาพการกระโดด


วิธีเปิดใช้งานฟังก์ชั่นการถ่ายภาพล่วงหน้า

ขั้นตอนที่ 1

ค้นหาและเลือก “โหมดถ่ายต่อเนื่องแบบ RAW” ในเมนู SHOOT (สีแดง) หมายเลขแท็บจะขึ้นอยู่กับรุ่นของกล้อง

ขั้นตอนที่ 2

เลือก “เปิดใช้งาน”

ขั้นตอนที่ 3

เมื่อเปิดใช้งานโหมดถ่ายต่อเนื่องแบบ RAW แล้ว จะสามารถใช้ฟังก์ชั่นการถ่ายภาพล่วงหน้าได้  เลือกเพื่อเปิดใช้งาน


อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการทำงานของโหมดถ่ายต่อเนื่องแบบ RAW และการถ่ายภาพล่วงหน้า รวมถึงวิธีใช้ฟังก์ชั่นดังกล่าวได้ใน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง: การถ่ายต่อเนื่องแบบ RAW และการถ่ายภาพล่วงหน้าคืออะไร

 

เคล็ดลับพิเศษ: ช่วงเวลาใดที่เหมาะกับการถ่ายภาพแมวที่สุด

แมวจะตื่นตัวมากที่สุดเมื่อใด

แมวจะตื่นตัวมากที่สุดในเวลาที่อากาศเย็นสบาย ไม่ร้อนและไม่หนาวเกินไป

เวลาอากาศร้อน แมวจะตื่นตัวในตอนเย็นและตอนกลางคืนมากกว่า คุณอาจไม่ค่อยเห็นน้องเหมียวมากนักในตอนกลางวัน เพราะพวกมันมักจะไปหาที่สบายๆ งีบหลับ

ในประเทศที่มีสี่ฤดู แมวจะตื่นตัวตลอดทั้งวันในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงซึ่งอากาศจะอุ่นขึ้น พฤติกรรมของแมวในฤดูหนาวจะตรงข้ามกับในฤดูร้อน พวกมันจะเที่ยวเดินหรือนอนอาบแดดในช่วงบ่าย แต่จะขดตัวหลับในที่อุ่นสบายยามค่ำคืน

คำแนะนำเกี่ยวกับอากัปกิริยาที่น่าถ่ายภาพของน้องเหมียว

แมวส่วนใหญ่จะทำความสะอาดตัวเองทันทีหลังกินอาหาร ก่อนอื่น ให้ลองถ่ายภาพต่อเนื่องเวลาที่พวกมันทำท่าทางแบบนั้น คุณอาจจะได้ภาพที่ดูน่าสนใจหลายช็อต โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ากล้องของคุณมีคุณสมบัติการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูงที่สูงมาก เช่น ความเร็วสูงสุด 40 เฟรมต่อวินาทีของกล้อง EOS R8


ศึกษาเคล็ดลับและไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพแมวได้ใน
การถ่ายภาพแมว: ประกายตาและเคล็ดลับอื่นๆ สำหรับการถ่ายภาพลูกแมวให้ดูน่ารักมีชีวิตชีวา
ไอเดียสำหรับการถ่ายภาพแมวในฉากกลางแจ้ง
3 ไอเดียสำหรับถ่ายภาพแมวแสนน่ารัก
เคล็ดลับ 5 ข้อ สำหรับการถ่ายภาพสัตว์เลี้ยงเพื่อภาพแมวที่ดีขึ้น

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Ryosuke Miyoshi

ช่างภาพแมว Miyoshi ซึ่งได้รับยกย่องให้เป็นหนึ่งใน “10 อันดับช่างภาพไวรัลแห่งปี 2020” ของชมรม Tokyo Camera Club หวังว่าจะใช้งานอดิเรกอย่างการถ่ายภาพของตนเองแสดงให้โลกได้เห็นถึงเสน่ห์ของแมวจากศูนย์พักพิง

อินสตาแกรม: @ryostory1124

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา