วิธีในการสร้างแสงที่เหมาะสมสำหรับภาพถ่ายใต้น้ำของคุณ
ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการถ่ายภาพใต้น้ำนั้นจะหมายถึงการรู้วิธีในการทำงานของแสงเพื่อให้แน่ใจว่าจะได้ภาพที่ออกมาสวยงามและใช้งานได้โดยเราได้พูดคุยกับช่างภาพที่ถ่ายภาพใต้น้ำระดับมืออาชีพอย่างคุณวิลเลียมตัน(William Tan) เพื่อที่จะเรียนรู้วิธีในการใช้แสงเพื่อการถ่ายภาพใต้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและวิธีในการถ่ายภาพให้ออกมาดูสมบูรณ์แบบที่สุด
EOS-1D X Mark II, เลนส์EF8-15mm f / 4 FISHEYE USM, f / 10, 8 มม., 1 / 320 วินาที, ISO250
เราต้องจัดเตรียมอะไรบ้าง(การถ่ายภาพด้วยแสงแฟลช) ก่อนที่จะดำน้ำลงไปถ่ายภาพ
ให้คุณลองถ่ายรูปดูสักสองสามรูปก่อนทุกครั้งหลังจากที่คุณนั้นได้ตั้งค่ากล้องแล้วเพื่อให้แน่ใจว่าไฟแฟลชนั้น(แสงไฟใต้น้ำซึ่งไม่ใช่แสงธรรมชาติที่ส่องไปยังสิ่งที่คุณต้องการจะถ่าย) ทำงานได้อย่างเหมาะสม ให้คุณตรวจสอบความแตกต่างที่สามารถสังเกตเห็นได้เมื่อส่องลำแสงด้วยกำลังที่ต่ำสุดและสูงที่สุดเพื่อให้แน่ใจว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นสามารถทำงานได้ดี ตรวจหาปัญหาและแก้ไขปัญหานั้นก่อนการดำน้ำลงไปจะดีที่สุด
อ่านเพิ่มเติม: เรียนรู้วิธีในการจัดเตรียมกล้องและอุปกรณ์เสริมสำหรับการดำน้ำครั้งแรกของคุณเช่นการใช้กล่องกันน้ำCanon WP-DC55 เป็นต้น
คุณช่วยแบ่งปันกฎพื้นฐานของแสงบางประการสำหรับการถ่ายภาพใต้น้ำให้กับเราได้หรือไม่
ในการถ่ายภาพขนาดใหญ่นั้นให้ใช้ไฟแฟลชส่องไปยังส่วนที่น่าสนใจที่สุดของสัตว์หรือส่องทั้งลำตัวของสัตว์เลยก็ได้ ซึ่งคุณสามารถเพิ่มแสงสีเพื่อเติมเต็มภาพถ่ายโดยที่ไม่ทำให้ภาพดูเด่นน้อยลงได้ด้วย ผมรู้สึกชื่นชอบไฟแฟลชที่ไม่มีตัวนำกระจายแสงแฟลชที่ทำให้ดวงตาของปลาแลดูใสดุจคริสตัลแต่ว่าบางคนอาจชื่นชอบใส่ตัวนำกระจายแสงเพื่อให้ความรู้สึกนุ่มนวลเหมือนดั่งภาพในฝัน
ถ้าหากว่าคุณจะถ่ายภาพแบบมุมกว้างนั้นให้ใช้แสงแฟลชเป็นตัวช่วยในการนำสีของภาพนั้นกลับคืนมา ซึ่งแสงไฟธรรมชาตินั้นควรเป็นแหล่งกำเนิดแสงหลักของคุณ ให้ใช้ตัวนำกระจายแสงเพื่อให้ได้ลำแสงที่กว้างมากยิ่งขึ้น
สิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำสำหรับการถ่ายภาพใต้น้ำ
ให้คุณตรวจดูโครงสร้างของปะการังที่ยื่นออกมาซึ่งอาจจะอยู่ระหว่างลำแสงและสิ่งที่คุณต้องการจะถ่ายก็เป็นได้ แล้วให้ปรับตำแหน่งของลำแสงให้ดูเหมาะสมเพื่อให้แสงนั้นส่องไปยังสิ่งที่คุณต้องการจะถ่ายไม่ใช่ส่องไปที่แนวปะการัง
ให้คุณกำหนดระยะห่างให้ใกล้ที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ในการถ่ายภาพและตั้งค่าแสงแฟลชของคุณให้เหมาะสม ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้แสงแฟลชไม่ส่องสว่างไปยังด้านหลังสัตว์ที่คุณจะถ่ายเมื่อคุณนั้นเคลื่อนที่เข้ามาใกล้
อย่านำสัตว์ที่ไวต่อแสงมาถ่ายภาพโดยที่ใช้แสงเยอะและเป็นเวลานาน
EOS-1D X Mark II, เลนส์ EF100มมf / 2.8 Macro USM, f / 9.0, 100 มม., 1/250 วินาที, ISO100
ซึ่งถือว่าเป็นการดีที่จะใช้แสงแฟลชเบาๆกับปลากบ(Histiophryne psychedelica) ที่มีความรู้สึกไวต่อแสง
สิ่งที่น่าสนใจคือ... แล้วเราจะป้องกันไม่ให้แสงแฟลชของเราทำให้สิ่งมีชีวิตใต้น้ำเหล่านี้ตกใจได้อย่างไรกัน
ซึ่งโดยปกติแล้วนั้นลำแสงที่กระจายออกจากแสงแฟลชเพียงเสี้ยววินาทีจะไม่ทำให้สัตว์ใต้น้ำส่วนใหญ่เกิดอาการตกใจได้แต่อย่างไรก็ตามแสงไฟที่แรงอย่างต่อเนื่องรวมถึงอุปกรณ์ปรับแสงนั้น(Light Shaping Device (LSD)) นั้นจะรบกวนสัตว์ใต้นำเหล่านั้น ซึ่งถ้าหากคุณพบว่าสัตว์ที่คุณจะถ่ายภาพนั้นกำลังเคลื่อนที่หนีไปคุณควรที่จะปิดการใช้งานอุปกรณ์หรือปิดแสงไฟเหล่านั้นไปเลยจะดีที่สุด
ปลาฉลามนั้นเป็นสัตว์น้ำลึก– เราไม่ควรใช้แสงแฟลชหรือไฟวิดีโอส่องไปที่ตัวของมันจะดีที่สุดปลากบ(psychedelic frogfish) และปลาหมึกวงแหวนสีน้ำเงินนั้นมีความไวต่อแสงดังนั้นให้ใช้ISO ของคุณและตั้งค่าแสงไฟอ่อนๆเมื่อคุณถ่ายภาพสัตว์เหล่านี้โดยฉลามเสือนั้นจะตื่นตัวมากกว่าปกติเมื่อพวกมันสัมผัสถึงสัญญาณไฟจากแสงแฟลชที่ต่อเนื่อง – ซึ่งคุณจะต้องตัดสินใจว่ามันจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องเปิดไฟในระหว่างที่เผชิญหน้ากับสถานการณ์เช่นนั้น
EOS-1D X Mark II, เลนส์EF16-35 มม. f / 2.8L III USM, f / 10, 16 มม., 1 / 320 วินาที, ISO200
เราสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนว่าภาพของฉลามเสือ(Galeocerdo cuvier) นี้ถูกถ่ายโดยที่ไม่ใช้ไฟแฟลชเลย
ซึ่งนอกจากการควบคุมแสงแฟลชแล้วนั้นเราจะสามารถหามุมที่ดูดีสำหรับแสงได้อย่างไรกัน
ไม่มีมุมแสงแฟลชที่สมบูรณ์แบบจริงๆและสามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อใช้เครื่องส่องแสงเพียงอันเดียวแล้วนั้นให้พยายามวางมันไว้เหนือกล้องโดยให้หันชี้ลงที่45 องศา ให้คุณทดลองถ่ายรูปแล้วทำการปรับตำแหน่งของแสงแฟลชจนกว่าคุณจะได้รับแสงสว่างที่ต้องการอย่างเหมาะสม
เมื่อทำการถ่ายภาพโดยใช้เครื่องส่องแสงสองตัวที่มุมกว้างให้ตั้งระยะลำแสงห่างจากทั้งสองข้างและห่างจากด้านหลังพอร์ตเลนส์ของคุณเล็กน้อย(ไม่ให้ไกลเกินตัวกล้อง) ถ้าหากว่ามองเห็นน้ำได้ชัดเจนให้หันเครื่องส่องแสงไปข้างหน้าหรือหันออกเล็กน้อยถ้ามองเห็นสีน้ำไม่ชัดเจน
เมื่อทำการถ่ายภาพด้วยเครื่องส่องแสงสองชุดที่ระดับใหญ่นั้นให้ตั้งค่าลำแสงทั้งสองด้านของพอร์ตเลนส์จากนั้นให้เล็งเข้าด้านในเล็กน้อยซึ่งแสงควรจะครอบคลุมมุมที่เป็นไปได้ทั้งหมดบนสิ่งที่คุณต้องการถ่ายภาพให้คุณขยับลำแสงออกห่างกันถ้าหากว่าสิ่งที่คุณต้องการถ่ายนั้นอยู่ไกล
สุดท้ายแต่ไม่ท้ายสุดนั้นเราจะใช้ชนิดของแสงที่แตกต่างกันตามคุณสมบัติของน้ำหรือไม่
โดยแสงจะอ่อนลงในขณะที่มันเดินทางผ่านน้ำ โดยตามปกติแล้วนั้นไฟแฟลชจะ“ ค่อนข้างไร้ประโยชน์” เมื่อสิ่งที่คุณต้องการจะถ่ายนั้นอยู่ห่างออกไปมากกว่าสองเมตรซึ่งจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของน้ำด้วย เมื่อคุณสมบัติของน้ำนั้นไม่ดีการที่ขยับเข้าไปใกล้สิ่งที่คุณต้องการจะถ่ายมากขึ้นนั้นจะช่วยลดแสงสะท้อนกลับได้ แต่เมื่อคุณสมบัติของน้ำนั้นดีคุณจะประหลาดใจกับรายละเอียดของไฟแฟลชที่เต็มกำลังและการตั้งค่ารูรับแสงที่เหมาะสมที่จะส่งผลต่อสิ่งที่คุณต้องการจะถ่ายถึงแม้ว่าจะอยู่ไกลก็ตาม
คุณต้องการที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพใต้น้ำหรือไม่ ค้นหาวิธีการแก้ไขการสูญเสียสีใต้น้ำหรือการตั้งค่ากล้องที่สำคัญ5 ตำแหน่งเพื่อให้แน่ใจว่าได้ภาพถ่ายใต้น้ำที่คมชัด .. 10 สิ่งที่ควรมีในการดำน้ำครั้งแรกของคุณ ถ้าหากว่าคุณกำลังมองหากล้องดิจิตอลไร้กระจกตัวแรกสำหรับการดำน้ำของคุณอยู่นั้นเราขอแนะนำCanon EOS M5ซึ่งเป็นกล้องดิจิตอลไร้กระจกที่ยอดเยี่ยมที่สุดที่มีประสิทธิภาพอย่างมากและมีน้ำหนักเบาอีกด้วย
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!