ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ใช้เลนส์ซูม f/2.8 อย่างมืออาชีพ (1): การทำให้ตัวแบบของคุณโดดเด่น

2025-04-30
4
44

เลนส์ซูม f/2.8 คือเลนส์ที่คุณสามารถใช้ค่ารูรับแสง f/2.8 ได้แม้ในขณะซูมจนสุด ซึ่งช่วยให้การถ่ายภาพของคุณมีความยืดหยุ่นมาก คุณจะมีอิสระมากขึ้นในการควบคุมการตั้งค่าเมื่อมีแสงน้อย ถ่ายภาพที่มีโบเก้สวยงามได้ง่ายขึ้น และยังสามารถเปลี่ยนเฟรมภาพได้อย่างรวดเร็วเพียงหมุนวงแหวนซูมเท่านั้น คุณสมบัติเหล่านี้มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ที่ช่างภาพมักจะประสบปัญหาข้อจำกัดในด้านตำแหน่งการถ่ายภาพ

ในซีรีย์บทความที่มี 4 ตอนนี้ เราจะมาแบ่งปันไอเดียในการนำความสามารถของเลนส์ซูมรูรับแสงคงที่ f/2.8 มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงเคล็ดลับในการตั้งค่าอย่างละเอียดเพื่อให้ได้ภาพที่ดียิ่งขึ้น เพราะเราจะทำสิ่งที่เลนส์ซูมแบบปรับรูรับแสงได้ทั่วไปทำได้ไปทำไม หากเลนส์ซูม f/2.8 สามารถทำได้มากกว่านั้น (เรื่องโดย: Chikako Yagi, Digital Camera Magazine)

บทความนี้คือตอนที่ 1 จากซีรีย์ที่มีทั้งหมด 4 ตอน คลิกที่ลิงก์เพื่ออ่านตอนอื่นๆ! 
(โปรดรอก่อนหากลิงก์ยังไม่สามารถใช้งานได้ บทความจะพร้อมให้คุณอ่านในเร็วๆ นี้!)

 

ในบทความนี้:

ทำให้ตัวแบบของคุณโดดเด่น: หลักการของโบเก้

สิ่งหนึ่งที่เลนส์ซูมรูรับแสงคงที่ f/2.8 อย่าง RF24-70mm f/2.8L IS USM และ RF28-70mm f/2.8 IS STM ทำได้ดีคือการสร้างโบเก้ที่มักจะปรากฏเป็นภาพเบลอสวยนวลตาในแบ็คกราวด์ ยิ่งแบ็คกราวด์เบลอเท่าใด ตัวแบบก็จะดูโดดเด่นในสายตาผู้ชมมากขึ้นเท่านั้นราวกับมีไฟสปอตไลต์ส่อง! เอฟเฟ็กต์นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การแยกตัวแบบออกจากแบ็คกราวด์” (subject-background separation)

ภาพใบไม้แบบโคลสอัพที่มีโบเก้นุ่มนวล

EOS R5/ RF24-70mm f/2.8L IS USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/100 วินาที, EV-1.0)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

การจัดองค์ประกอบภาพที่ดีจำเป็นต้องมีตัวแบบที่ชัดเจนและโดดเด่นเป็นส่วนประกอบพื้นฐาน ข้อดีของเลนส์ซูม f/2.8 คือสามารถทำให้แบ็คกราวด์เบลอได้มากไม่ว่าคุณจะใช้ทางยาวโฟกัสเท่าใด การเบลอแบ็คกราวด์จะลดความโดดเด่นของรายละเอียดที่เราไม่ต้องการและดึงความสนใจของผู้ชมออกไปจากตัวแบบ (“สิ่งรบกวนสายตา”) ซึ่งข้อนี้อาจเป็นกระทั่งเหตุผลหลักที่ทำให้คุณตัดสินใจซื้อเลนส์ซูม f/2.8 มาตั้งแต่แรก!

เคล็ดลับระดับมือโปร: ซูมให้สุดและเข้าใกล้ตัวแบบให้มากขึ้น

หากแบ็คกราวด์ยังเบลอไม่พอ ให้ซูมจนสุดและนำเลนส์เข้าใกล้ตัวแบบให้มากที่สุดเท่าที่คุณสามารถทำได้ วิธีนี้จะช่วยให้คุณได้โบเก้ที่เด่นชัดที่สุด!

 

แนวคิดสำคัญ: ปัจจัย 4 ข้อที่ช่วยให้โบเก้สวยงามขึ้น


ปัจจัยที่ 1: ใช้รูรับแสงกว้างสุด

ใยแมงมุมที่มีโบเก้ดอกไม้ในแบ็คกราวด์

EOS R5 Mark II/ RF24-70mm f/2.8L IS USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/1600 วินาที, EV+0.7)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

ภาพใยแมงมุมที่มีโบเก้ f/2.8

f/2.8

ภาพใยแมงมุมที่มีโบเก้ f/4

f/4

ภาพใยแมงมุมที่มีโบเก้ f/5.6

f/5.6

การถ่ายภาพโดยใช้รูรับแสงกว้างสุดของเลนส์ (ค่า f ต่ำสุด) จะได้ระยะชัดที่ตื้นขึ้น ซึ่งมีส่วนทำให้แบ็คกราวด์เบลอมากขึ้น เนื่องจากคุณสามารถใช้ค่า f/2.8 ได้กับทางยาวโฟกัสระยะใดก็ได้ของเลนส์ซูม f/2.8 คุณจึงควรลองถ่ายภาพให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้แล้วดูว่าผลลัพธ์ที่ได้เป็นอย่างไร!

 

เคล็ดลับระดับมือโปร: รู้วิธีควบคุมสิ่งที่อยู่ในโฟกัส

บางครั้ง ระยะชัดที่ตื้นทำให้ตัวแบบของคุณอยู่ในโฟกัสมากขึ้นได้ยาก การใช้ค่า f-stop สูงๆ มักจะแก้ปัญหานี้ได้ แต่หากจำเป็นต้องรักษาระดับการเบลอให้คงเดิม ให้ลองปรับมุมกล้องของคุณเพื่อให้ฉากมีความลึกน้อยลง คุณอาจเพียงแค่ขยับหรือเอียงกล้องนิดเดียวเท่านั้น!

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
พื้นฐานเกี่ยวกับเลนส์ #4: โฟกัสชัดลึก (ข้อ 3)

 

ปัจจัยที่ 2: ใช้ทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้น

ภาพโคลสอัพของต้นอ่อน

ถ่ายที่ 200 มม.
EOS R5/ RF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 200 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/320 วินาที, EV-1.3)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

เฟรมภาพไม่ใช่สิ่งเดียวที่จะเปลี่ยนไปเมื่อคุณหมุนวงแหวนซูม! ทางยาวโฟกัสที่ยาวขึ้นจะทำให้โบเก้ในแบ็คกราวด์ดูใหญ่ขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งเกิดจากการดึงแบ็คกราวด์ให้เข้ามาใกล้ขึ้น (“การบีบอัดฉาก”) ข้อดีอย่างหนึ่งของเลนส์ซูม f/2.8 คือ เพียงหมุนวงแหวนซูม คุณก็สามารถซูมเข้าออกได้ ทำให้เป็นเรื่องง่ายขึ้นที่จะทดลองถ่ายภาพและดูว่าทางยาวโฟกัสที่แตกต่างกันทำให้ภาพที่ออกมาเปลี่ยนไปอย่างไร

 

ปัจจัยที่ 3: เข้าใกล้ตัวแบบให้มากขึ้น

ภาพดอกไม้แบบโคลสอัพที่มีโบเก้อันน่าทึ่ง

ระยะห่างประมาณ 10 ซม.

ภาพดอกไม้แบบโคลสอัพจากระยะไกลกว่ามีโบเก้น้อยกว่า

ระยะห่างประมาณ 20 ซม.

ยิ่งแบ็คกราวด์อยู่ห่างจากตัวแบบมาก ก็จะยิ่งดูเบลอมาก เมื่อคุณเข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้น แบ็คกราวด์จะห่างตามไปด้วย (เมื่อเทียบกับระยะห่างระหว่างคุณกับตัวแบบ) หากไม่สามารถเขยิบเข้าไปใกล้ตัวแบบจริงๆ ได้ การซูมเข้าก็ให้ผลลัพธ์เช่นเดียวกัน!

 

ปัจจัยที่ 4: ใช้ประโยชน์จากระยะห่างระหว่างตัวแบบกับโฟร์กราวด์

ต้นซากุระที่มีโบเก้ของดอกไม้ในโฟร์กราวด์

EOS R5/ RF70-200mm f/2.8L IS USM/ FL: 100 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/640 วินาที, EV-0.7)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

โบเก้สามารถอยู่หน้าตัวแบบได้ด้วย! แต่ไม่ว่าจะอยู่ในโฟร์กราวด์หรือแบ็คกราวด์ หากวัตถุอยู่ไกลจากตัวแบบที่อยู่ในโฟกัสมากเท่าใด ก็จะยิ่งดูเบลอมากขึ้นเท่านั้น

ระยะห่างที่เหมาะสมระหว่างกล้อง ตัวแบบ และวัตถุที่เป็นโบเก้ในโฟร์กราวด์

 

สรุป: วิธีถ่ายภาพให้โบเก้เบลอมากขึ้น

- ใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุด f/2.8!
- ซูมเข้าให้มากที่สุด
- เข้าใกล้ตัวแบบให้มากขึ้น

เลนส์ซูม f/2.8 ช่วยให้คุณใช้ค่า f/2.8 ได้ไม่ว่าจะซูมมากแค่ไหน คุณจึงจัดองค์ประกอบภาพได้ตามต้องการโดยที่โบเก้ยังคงเด่นชัดอยู่!

 

 

เลนส์ซูม f/2.8 ที่แนะนำ

สามเลนส์ f/2.8L สุดเทพ

Rf15-35mm f/2.8L IS USM, RF24-70mm f/2.8L IS USM และ RF70-200mm f/2.8L IS USM

หากคุณวางแผนที่จะลงทุนไปกับเลนส์ซูม f/2.8 ที่ดีที่สุดที่มีจำหน่าย เลนส์ซีรีย์ L ระดับมืออาชีพเหล่านี้มีโครงสร้างที่แข็งแกร่งพร้อมด้วยคุณภาพด้านออพติคอลสูงสุด เลนส์เหล่านี้เป็นเลนส์ที่ช่างภาพมากมายเลือกใช้ในการทำงาน
- RF15-35mm f/2.8L IS USM
- RF24-70mm f/2.8L IS USM
- RF70-200mm f/2.8L IS USM


RF16-28mm f/2.8 IS STM และ RF28-70mm f/2.8 IS STM

เลนส์เหล่านี้มีขนาดเล็กกว่า เบากว่า และออกแบบมาให้ผู้ใช้เข้าถึงได้มากขึ้นด้วยราคาที่จับต้องได้ และยังมีความสามารถในการป้องกันฝุ่นละอองและหยดน้ำ แม้จะเป็นการป้องกันคนละระดับเมื่อเทียบกับเลนส์ L
- RF16-28mm f/2.8 IS STM
- RF28-70mm f/2.8 IS STM

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Chikako Yagi

Chikako Yagi มีอายุเพียง 20 ปีตอนที่เธอเริ่มเรียนรู้การถ่ายภาพด้วยตัวเองโดยใช้กล้องฟิล์ม SLR เธอออกจากงานประจำมาเป็นช่างภาพทิวทัศน์เต็มตัวในปี 2016 เธอเคยฝึกงานกับช่างภาพชื่อดังหลายราย เช่น Kiyoshi Tatsuno และ Tomotaro Ema และยังเป็นสมาชิกของชมรม Shizensou Club ซึ่งก่อตั้งโดย Kiyoshi Tatsuno และเป็นหนึ่งในชมรมช่างถ่ายภาพทิวทัศน์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ในปี 2013 เธอได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 10 อันดับช่างภาพฝีมือดีของชมรม Tokyo Camera Club

www.chikakoyagi.com
Instagram: @chikako_yagi

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา