ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การถ่ายภาพยามค่ำคืน: การปรับค่าความเปรียบต่างเพื่อสร้างภาพที่งดงามและให้ความรู้สึกเหนือจริง

2017-06-01
3
3.93 k
ในบทความนี้:

คุณเคยรู้สึกอยากถ่ายภาพกลางคืนสวยๆ ให้ดูมีสีสันสะดุดตาและมีเสน่ห์หรือไม่ กุญแจสำคัญในการสื่อความรู้สึกเหนือจริงอยู่ที่การตั้งค่าความเปรียบต่างและความเร็วชัตเตอร์ (เรื่องโดย: Kazuo Nakahara)

ภาพถ่ายยามค่ำคืนที่ให้ความรู้สึกเหนือจริง ถ่ายด้วย EOS 5D Mark III (ใช้ค่าชดเชยแสง)

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L III USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/13, 30 วินาที, EV+1.0)/ ISO 250/ WB: อัตโนมัติ

ความเปรียบต่างต่ำ (ปรับการตั้งค่าความเปรียบต่างของรูปแบบภาพให้มีค่าต่ำลง)
หากต้องการปรับค่าความเปรียบต่างให้ต่ำลงอีกและสื่อถึงความรู้สึกเหนือจริง ผมแนะนำให้เปิดรับแสงโอเวอร์ร่วมด้วย โดยตั้งค่าไว้ที่ประมาณ EV+1.0 นอกจากนี้ ท้องฟ้าจะดูสว่างยิ่งขึ้นในตอนกลางคืนหากมีดวงจันทร์ ซึ่งช่วยให้สภาพการถ่ายดียิ่งขึ้น

 

ลดความเปรียบต่างเพื่อสร้างภาพที่ดูสมจริงน้อยลง

ฉากที่ปรากฏตรงหน้าคุณในความเป็นจริงมักมีความเปรียบต่างสูงกว่าความเปรียบต่างในภาพทิวทัศน์แนวศิลป์ที่คุณเห็นตามโปสการ์ดและหนังสือภาพถ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฉากตอนกลางคืน ซึ่งมักดูเหมือนมีความเปรียบต่างด้านความสว่างสูงมากบนหน้าจอกล้องของคุณ ด้วยเหตุนี้ การถ่ายภาพยามค่ำคืนด้วยวิธีที่ใช้กับภาพถ่ายประเภทอื่นๆ อาจทำให้ได้ภาพที่ดูสมจริงมาก

หากคุณต้องการให้ภาพที่ออกมาดูเหนือจริงมากขึ้น ผมแนะนำให้ตั้งค่าความเปรียบต่างของ รูปแบบภาพ ในกล้องให้ต่ำที่สุด นอกจากนี้ เนื่องจากการปรับพื้นที่ในร่มให้สว่างขึ้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง คุณสามารถถ่ายภาพในรูปแบบ RAW และปรับแต่งพื้นที่ที่อยู่ในร่มและไฮไลท์ต่างๆ ระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพถ่ายได้

หากต้องการอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับการตั้งค่ารูปแบบภาพเพื่อสร้างภาพที่สมบูรณ์แบบ โปรดดูที่:
3 ขั้นตอนในการสร้างภาพถ่ายที่ปรับแต่งได้ตามใจคุณด้วยฟังก์ชั่นรูปแบบภาพ

ความเปรียบต่างปกติ ถ่ายด้วย EOS 5D Mark III

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L III USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/13, 30 วินาที, EV±0)/ ISO 250/ WB: อัตโนมัติ

ความเปรียบต่างปกติ (ไม่ได้ปรับเปลี่ยนการตั้งค่าความเปรียบต่างของรูปแบบภาพ)
เมื่อผมถ่ายภาพโดยไม่ปรับความเปรียบต่าง บริเวณที่สว่างและมืดจะเห็นได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ในร่มจะดูมืดและจมหายไป แม้ว่าภาพนี้ดูสวยงามน่าดึงดูดใจ แต่ขาดความมีชีวิตชีวาดูน่ามหัศจรรย์อย่างที่เราตั้งใจไว้

คุณมีกล้องซีรีย์ EOS M แล้วหรือยัง ใช้ Creative Assist เพื่อควบคุมความเปรียบต่างได้อย่างง่ายดาย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่:
EOS M10 บทที่ 2: การควบคุมความเปรียบต่างและความอิ่มตัวของสีเพื่อให้ภาพของคุณสวยสดงดงามยิ่งขึ้น

 

เคล็ดลับพิเศษ: ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ 30 วินาที เพื่อเกลี่ยรูปร่างของเมฆและคลื่น

การถ่ายภาพโดยใช้การเปิดรับแสงนานหรือความเร็วชัตเตอร์ต่ำยังมีประสิทธิภาพในการขจัดความรู้สึกสมจริงจากภาพถ่ายได้เช่นเดียวกัน จึงเปลี่ยนโลกที่คุณคุ้นเคยให้เป็นโลกที่ดูแปลกตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนรายละเอียดของท้องฟ้า ซึ่งสามารถดูแตกต่างไปมากเมื่อคุณใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ นี่เป็นเหตุผลที่ผมแนะนำให้ถ่ายภาพแบบนี้ในวันที่อย่างน้อยมีเมฆจำนวนหนึ่งบนท้องฟ้า สำหรับภาพทั้งสองในบทความนี้ ผมใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 30 วินาที ซึ่งช่วยเกลี่ยผิวของผืนน้ำและก้อนเมฆให้ดูเรียบเนียนและทำให้ฉากดูเหนือจริง

 

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงนานได้ที่: 
การถ่ายภาพเมฆหมอกด้วยการเปิดรับแสง 60 วินาที

หากต้องการทราบไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร โปรดดูที่:
หนึ่งสถานที่กับภาพสองแบบ: ภาพยามค่ำคืนแนวแอ็บสแตรกต์ - ความสงบเยือกเย็น กับ ความมีชีวิตชีวา

หากต้องการทราบเคล็ดลับ เทคนิค และไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพยามค่ำคืน โปรดไปที่: 
จุดโฟกัส: การถ่ายภาพยามค่ำคืน (ฉบับภาษาอังกฤษ)


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kazuo Nakahara

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา