[ตอนที่ 2] การถ่ายภาพดอกไม้และบุคคลตัวแบบให้สว่างและน่าประทับใจด้วย Daytime sync
ใน [ตอนที่ 2] ผมจะอธิบายวิธีการในการถ่ายภาพดอกไม้และพอร์ตเทรตโดยใช้ Daytime sync หลังจากที่คุณฝึกฝนวิธีการใช้ Daytime sync ไปแล้วในบทความ [ตอนที่ 1] อันดับต่อไป เราจะมาเรียนรู้วิธีการใช้แฟลชเพื่อถ่ายภาพในสถานที่ที่มีแสงไม่เพียงพอ เช่น ในที่ร่ม หรือเวลาพลบค่ำ (เรื่องโดย: Koji Ueda)
หน้า: 1 2
การถ่ายภาพดอกไม้สีสันสดใสในที่ร่ม
แม้จะถ่ายภาพในตอนกลางวัน สีสันของภาพก็อาจดูทึมทึบไม่สดใส เช่น การถ่ายในที่ร่ม แฟลชก็มีประโยชน์ในการแก้ไขกรณีอย่างนี้ด้วยเช่นกัน เนื่องจากแสงแฟลชมีสีใกล้เคียงกับแสงอาทิตย์ในเวลากลางวัน คุณจึงสามารถถ่ายภาพให้มีสีสันสดใสเต็มไปด้วยชีวิตชีวาราวกับใช้แสงส่องโดยตรง อย่างไรก็ตาม พึงระลึกว่า อาจเกิดเงามืดทึบที่ด้านหลังดอกไม้ได้ หากแสงแฟลชแรงเกินไป ในภาพตัวอย่างด้านบน ผมแก้ไขปริมาณแสงแฟลชให้เป็น -1EV เพื่อเนรมิตบรรยากาศแสงอันเป็นธรรมชาติ
EOS 60D/ EF35mm f/2/ Aperture-priority AE (f/2.5, 1/250 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ/ แฟลช: SPEEDLITE 430EX II (E-TTL, การชดเชยปริมาณแสงแฟลช: -1EV)
เคล็ดลับ
- ใช้แฟลชสร้างโทนสีที่สดใส
- ปรับแสงแฟลชโดยใช้ฟังก์ชั่นการชดเชยปริมาณแสงแฟลช
สภาพการถ่าย
ภาพดอกไม้แย้มบานกลางสวน ดอกไม้เหล่านี้ให้สีสันที่ดูไม่สดใสเนื่องมาจากแสงเงาในที่ร่ม ผมจึงใช้แฟลชแทนแสงจากดวงอาทิตย์
ตำแหน่งของตัวแบบ กล้อง และแฟลช Speedlite
A: ประมาณ 1.0 เมตร
การถ่ายภาพพอร์ตเทรตพร้อมเก็บเอาสีสันยามอาทิตย์ตกดิน
เมื่อถ่ายภาพพอร์ตเทรตโดยมีดวงอาทิตย์เป็นฉากหลัง การปรับปริมาณการเปิดรับแสงตามตัวแบบอาจทำให้แบ็คกราวด์สว่างจ้าเกินไป ทำให้บรรยากาศในภาพถูกกลืนหายไป เมื่อพิจารณาถึงสิ่งเหล่านี้ ผมจึงเลือกค่าการเปิดรับแสงที่ต่ำลงมา เมื่อมีแหล่งแสงแรงกล้าอย่างดวงอาทิตย์อยู่ในภาพ ก็ยากที่จะได้ซึ่งความสว่างตามต้องการจากโหมดการเปิดรับแสงอัตโนมัติ ในภาพนี้ ผมปรับค่าการเปิดรับแสงตามความสว่างของแบ็คกราวด์ในโหมดการเปิดรับแสงแบบแมนนวล แล้วจึงยิงแฟลชเพื่อเพิ่มความสว่างให้นางแบบซึ่งอาจออกมามืดเกินไปได้หากไม่ใช้แสงแฟลชช่วย
EOS 7D/ EF70-200mm f/4L IS USM/ Manual exposure (f/10, 1/250 วินาที)/ ISO 100/ WB: ใช้งานแฟลช/ แฟลช: SPEEDLITE 430EX II (กำหนดเอง, 1/2)
เคล็ดลับ
- ตั้งค่าการเปิดรับแสงในโหมดการเปิดรับแสงแบบแมนนวลให้ต่ำลง
- เพิ่มความสว่างให้ตัวแบบโดยใช้แสงแฟลชแบบกำหนดเอง
สภาพการถ่าย
ภาพนี้ถ่ายบนเนินเขาที่มีดวงอาทิตย์เป็นแบ็คกราวด์ด้านหลังตัวแบบพอร์ตเทรต ผมเลือกใช้ขาตั้งกล้องเพื่อให้องค์ประกอบภาพคงที่ และเพื่อป้องกันการสั่นไหวของกล้อง
ตำแหน่งของตัวแบบ กล้อง และแฟลช Speedlite
A: ประมาณ 5.0 เมตร
การถ่ายภาพสีหน้าท่าทางให้มีชีวิตชีวาด้วยดวงตาที่เปล่งประกาย
เมื่อยิงแฟลชเพิ่มความสว่างที่นัยน์ตาของนางแบบ คุณจะได้ภาพถ่ายที่ถ่ายทอดสีหน้าการแสดงออกที่เต็มไปด้วยชีวิตชีวามากกว่าเดิม แสงสะท้อนจากดวงตา หรือที่เรียกว่า “ประกายตา” นั้นจะใหญ่ขึ้นตามขนาดของแหล่งแสง สำหรับภาพตัวอย่างด้านล่างนี้ ใช้การยิงแฟลชโดยหันหัวแฟลชเข้าหารีเฟลกเตอร์ด้านหลังช่างภาพ วัตถุประสงค์ของรีเฟลกเตอร์ก็เพื่อสะท้อนและกระจายแสง แต่ปริมาณแสงที่สะท้อนและกระจายในคราวแรกนั้นไม่เพียงพอ ผมจึงชดเชยปริมาณแสงแฟลชให้เป็น +1.3EV ด้วย
EOS 600D/ EF50mm f/1.4 USM/ Aperture-priority AE (f/2.8, 1/200 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ/ แฟลช: SPEEDLITE 580EX II (E-TTL, การชดเชยปริมาณแสงแฟลช: +1.3EV)
เคล็ดลับ
- ใช้แฟลชเพื่อสร้างประกายตา
- ใช้รีเฟลกเตอร์เพื่อสะท้อนแสงแฟลช
สภาพการถ่าย
ในภาพนี้ ตัวนางแบบยืนอยู่ในที่ร่ม ในสภาวะปกติ ภาพที่ได้อาจมืดไม่สดใส อาจมองไม่เห็นโทนสีผิวสวยของนางแบบคนนี้ อีกทั้งสีหน้าของเธออาจดูหม่นหมองลง สิ่งที่ผมทำในกรณีนี้ก็คือ ผมวางรีเฟลกเตอร์ด้านหลังกล้องเพื่อสะท้อนแสงแฟลช และใช้การกระจายแสงอ่อนๆ เพื่อช่วยให้ตัวแบบสว่างสดใส
ตำแหน่งของตัวแบบ กล้อง และแฟลช Speedlite
A: ประมาณ 0.2 เมตร
B: ประมาณ 1.5 เมตร
ขั้นตอนการชดเชยแสง
สำหรับรุ่นที่มีวงแหวน Quick Control
ตรวจดูสถานะของสวิตช์ล็อคมัลติฟังก์ชั่น และเปิดใช้งานวงแหวน Quick Control จากนั้น หมุนวงแหวน Quick Control* พร้อมกับกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง หรือหมุนหลังจากกดปุ่มชัตเตอร์ภายใน 4 วินาที (สำหรับกล้องซีรีย์ EOS-1D เป็น 6 วินาที) หมุนวงแหวนนี้ตามเข็มนาฬิกาเพื่อเพิ่มการเปิดรับแสง (สว่างขึ้น) หรือจะหมุนในทางตรงกันข้ามเพื่อลดการเปิดรับแสง (มืดลง)
* สำหรับรุ่นที่ไม่มีฟังก์ชั่นต่างๆ ตามภาพ A ในตัวกล้อง ให้กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง แล้วจึงหมุนวงแหวน Quick Control
สำหรับรุ่นที่มีปุ่มชดเชยแสง
หมุนล้อควมคุมหลักพร้อมกับกดปุ่มชดเชยแสง หากต้องการเพิ่มปริมาณแสง (สว่างขึ้น) ให้หมุนล้อตามเข็มนาฬิกา และหากต้องการลดปริมาณแสงลง ให้หมุนไปในทิศทางตรงกันข้าม
เคล็ดลับ ขนาดของประกายตาจะเปลี่ยนไปตามขนาดของรีเฟลกเตอร์
ขนาดของประกายตานั้นเป็นไปตามขนาดของแหล่งแสงที่สะท้อนไปยังดวงตา หรือจะบอกว่า คุณควรใช้รีเฟลกเตอร์ขนาดใหญ่หากต้องการสร้างประกายตาที่กลมโตขึ้น นอกจากนี้ ยิ่งรีเฟลกเตอร์อยู่ใกล้ดวงตามากเท่าไหร่ ประกายตาก็จะยิ่งโตขึ้นเท่านั้น ดังนั้น ให้คุณลองหาตำแหน่งที่เหมาะที่สุดสำหรับรีเฟลกเตอร์ กล้อง และตัวแบบ หากไม่มีรีเฟลกเตอร์ล่ะก็ คุณยังสามารถใช้ผนังสีขาวหรือกระดาษขาวแทนได้เช่นกัน
ขนาดประกายตาเปลี่ยนตามขนาดรีเฟลกเตอร์
รีเฟลกเตอร์ขนาดเล็ก
รีเฟลกเตอร์ขนาดใหญ่
เกิดที่ฮิโรชิมาในปี 1982 Ueda เริ่มต้นจากการเป็นผู้ช่วยช่างภาพชื่อ Shinichi Hanawa จากนั้น เขาหันมาทำงานเป็นช่างภาพอิสระ และในปัจจุบันเขามีส่วนในงานถ่ายภาพหลากหลายประเภท ตั้งแต่นิตยสารไปจนถึงงานโฆษณา ในขณะเดียวกัน เขาก็ได้ถ่ายภาพในเมืองต่างๆ และภาพทิวทัศน์ขณะเดินทางไปทั่วโลก นอกจากนั้น เขายังเป็นนักเขียนและผู้บรรยายเรื่องการถ่ายภาพทั้งในห้องบรรยายและในเวิร์คช็อป