ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด จุดโฟกัส: พื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพด้วยแฟลชเสริม- Part10

แฟลชสโตรโบสโคป (Stroboscopic Flash)

2014-09-18
2
8.26 k
ในบทความนี้:

เซนเซอร์ภาพทำการสร้างภาพโดยการตอบสนองต่อแสง กล้องจึงไม่สามารถถ่ายภาพใดๆ ในสถานที่ที่มืดสนิทได้เลยแม้ว่าชัตเตอร์จะเปิดอยู่ อย่างไรก็ตาม เมื่อนำแฟลชมาใช้ จะสามารถถ่ายภาพได้ทันทีที่ยิงแสงไฟแฟลชออกไป หรือสามารถพูดได้ว่า แฟลชทำหน้าที่เป็นชัตเตอร์ในที่มืดนั่นเอง ในบทความนี้ ผมจะแนะนำเทคนิคการถ่ายภาพโดยใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติต่างๆ ของอุปกรณ์แฟลช (เรื่องโดย: Koji Ueda)

หน้า: 1 2

การจับภาพการเคลื่อนไหวในภาพเดียวด้วยการยิงแฟลชต่อเนื่อง

แฟลชสโตรโบสโคปเป็นคุณสมบัติที่จะให้แสงกับตัวแบบหลายครั้งในหนึ่งภาพโดยการยิงแสงแฟลชต่อเนื่อง ในบรรดาแฟลชเสริมของ Canon แฟลชที่มาพร้อมคุณสมบัตินี้ ได้แก่ Speedlite 600EX-RT และ Speedlite 580EX II ในการถ่ายภาพโดยใช้แฟลชสโตรโบสโคป คุณสามารถระบุจำนวนการยิงแฟลชต่อวินาที หรือจำนวนการยิงแฟลชรวมก็ได้ อย่างไรก็ตาม ให้ระลึกไว้ว่าจำนวนการยิงแฟลชขึ้นอยู่กับแสงแฟลชด้วย ก่อนอื่น สถานที่ถ่ายจะต้องเป็นที่ที่คุณสามารถมองเห็นตัวแบบได้เลือนๆ ซึ่งคุณจำเป็นจะต้องกำหนดจุดโฟกัสล่วงหน้า เพราะอาจไม่สามารถปรับโฟกัสได้เนื่องจากการเคลื่อนไหวของตัวแบบ

EOS 60D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS/ Manual exposure (f/8, 4 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ/ Speedlite 580EX II (Manual, 1/16)/ (แฟลชสโตรโบสโคป) ความถี่การยิงแฟลช: 1Hz; จำนวนแฟลช: 3

เคล็ดลับ

  • ถ่ายทอดการเคลื่อนไหวของตัวแบบโดยควบคุมจำนวนการยิงแฟลชและระยะเวลาที่แฟลชกลับมาพร้อมใช้งาน
  • กำหนดจุดโฟกัสล่วงหน้า

สภาพการถ่าย

ภาพนี้ถ่ายในร่มในเวลากลางคืนและปิดไฟ ภาพซิลูเอตต์ของตัวแบบอาจมองเห็นได้ไม่ชัดเจน ผมติดตั้งกล้องกับขาตั้งกล้อง และหันแฟลช Speedlite ตรงไปที่ตัวแบบ ผมคลุมฉากด้านหลังไว้ด้วยผ้าดำเพื่อไม่ให้สิ่งที่ไม่ต้องการปรากฏในภาพ ผมตั้งค่าจำนวนการยิงแฟลชไปที่ [3] ตามด้วยตั้งค่าความถี่การยิงแฟลชไปที่ [1Hz]

ตำแหน่งของตัวแบบ กล้อง และแฟลช Speedlite

A: ประมาณ 2 เมตร

B: การเคลื่อนไหวหลังจากการยิงแฟลชแต่ละครั้ง

ขั้นตอนการใช้งานแฟลชสโตรโบสโคป

1. เลือกโหมดการถ่ายภาพ

แนะนำให้ใช้โหมดการเปิดรับแสงแบบแมนนวล (Manual Exposure) เนื่องจากกำหนดความเร็วชัตเตอร์ตามจำนวนการยิงแฟลชได้ง่าย

2. จับโฟกัส

เมื่อทำการถ่ายภาพในสภาพแสงน้อยซึ่งแทบจะมืดสนิท ให้กำหนดจุดโฟกัสล่วงหน้าโดยใช้ระบบแมนนวลโฟกัส

3. กำหนดจำนวนการยิงแฟลช

กำหนดจำนวนการยิงแฟลชตามจำนวนครั้งที่คุณต้องการให้ตัวแบบปรากฏอยู่ในภาพ

4. ตั้งค่าความถี่การยิงแฟลชและความเร็วชัตเตอร์

ความถี่การยิงแฟลช (Hz) เป็นตัวกำหนดจำนวนครั้งที่มีการยิงแฟลชต่อวินาที หลังจากทำเช่นนั้น กำหนดความเร็วชัตเตอร์ตามระยะเวลาจนกระทั่งถึงเวลาสิ้นสุดของแฟลชสโตรโบสโคป ต่อไป ลั่นชัตเตอร์ตามการเคลื่อนไหวของตัวแบบ

เคล็ดลับการใช้แฟลชสโตรโบสโคป

1. อย่าวางสิ่งของใดๆ ในบริเวณฉากหลัง

ระหว่างการถ่ายภาพโดยใช้แฟลชสโตรโบสโคป สำคัญว่าคุณต้องไม่วางสิ่งของใดๆ ไว้ด้านหลังตัวแบบ เพราะเมื่อถ่ายภาพซ้อน สิ่งของในฉากหลังจะซ้อนทับกับตัวแบบ ส่งผลให้ภาพดูระเกะระกะ ดังนั้น ฉากหลังควรจะอยู่ในลักษณะเรียบๆ เช่น กำแพง เป็นต้น นอกจากนี้ อย่าลืมว่ากำแพงสีขาวอาจทำให้ตัวแบบดูโปร่งแสง ในกรณีนี้ คุณสามารถคลุมกำแพงด้วยผ้าหรือกระดาษสีดำ

2. ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ตามจำนวนภาพที่ต้องการถ่ายให้อยู่ในหนึ่งภาพ

คุณจำเป็นต้องกำหนดความถี่การยิงแฟลช (Hz) จำนวนการยิงแฟลช และความเร็วชัตเตอร์ ตามจำนวนครั้งที่ต้องการให้ตัวแบบปรากฏอยู่ในภาพ เช่น หากคุณต้องการถ่ายภาพตัวแบบทั้งหมด 3 ครั้งในหนึ่งภาพ แต่ละครั้งที่ถ่ายที่ระยะเวลารอบละ 1 วินาที ให้กำหนดความถี่การยิงแฟลชเป็น 1 Hz และจำนวนการยิงแฟลชเป็น 3 ครั้ง ในกรณีนี้ ให้ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์เป็น 3 วินาที อย่าลืมตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ตามความถี่การยิงแฟลช และจำนวนการยิงแฟลช

3. ให้ตัวแบบเคลื่อนไหวในแนวนอนให้สอดคล้องกับกล้อง

เนื่องจากการถ่ายภาพด้วยแฟลชสโตรโบสโคปมักทำในสถานที่ที่แทบจะมืดสนิท จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะปรับโฟกัสให้เป็นไปตามการเคลื่อนไหวของตัวแบบ จึงจำเป็นต้องกำหนดโฟกัสที่แน่นอนล่วงหน้า จำไว้ว่า เมื่อเลื่อนตัวแบบไปด้านข้างให้สอดคล้องกับกล้องแทนที่จะเลื่อนไปทางด้านหน้าหรือด้านหลัง คุณจะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องโฟกัสที่หลุดออกนอกแนวกล้อง ในกรณีที่ตัวแบบจะเลื่อนไปด้านหน้าหรือด้านหลังเล็กน้อย ให้ลดขนาดรูรับแสงลงให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้เพื่อให้ยังคงรักษาโฟกัสได้

Koji Ueda

เกิดที่ฮิโรชิมาในปี 1982 Ueda เริ่มต้นจากการเป็นผู้ช่วยช่างภาพชื่อ Shinichi Hanawa จากนั้น เขาหันมาทำงานเป็นช่างภาพอิสระ และในปัจจุบันเขามีส่วนในงานถ่ายภาพหลากหลายประเภท ตั้งแต่นิตยสารไปจนถึงงานโฆษณา ในขณะเดียวกัน เขาก็ได้ถ่ายภาพในเมืองต่างๆ และภาพทิวทัศน์ขณะเดินทางไปทั่วโลก นอกจากนั้น เขายังเป็นนักเขียนและผู้บรรยายเรื่องการถ่ายภาพทั้งในห้องบรรยายและในเวิร์คช็อป

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา