ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การจัดแสงธรรมชาติ: เพิ่มความพิเศษให้กับภาพพอร์ตเทรตในสภาพแวดล้อม

2020-06-08
1
464
ในบทความนี้:

การเรียนรู้วิธีการอ่านสภาพแสงเป็นทักษะที่จำเป็นมากสำหรับการถ่ายภาพ! ในบทความต่อเนื่องชุด “การจัดแสงธรรมชาติ” นี้ เราจะมาดูวิธีการที่ช่างภาพใช้ในการวิเคราะห์แสงโดยรอบ ซึ่งทำให้ได้ภาพถ่ายที่งดงามยิ่งขึ้น

ในบางครั้ง หัวใจสำคัญของแสงที่สวยงามไม่ได้อยู่ที่แสง แต่เป็นเงาต่างหาก มาดูกันว่าช่างภาพสารคดีทำให้ภาพพอร์ตเทรตในสภาพแวดล้อมดูโดดเด่นยิ่งขึ้นด้วยการหาตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อจัดวางตัวแบบได้อย่างไร วิธีการนี้อาจเป็นประโยชน์สำหรับคุณในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตท่องเที่ยวหรือวัฒนธรรมครั้งต่อไปด้วยเช่นกัน! (เรื่องโดย: Kentaro Kumon, Digital Camera Magazine)

ชายคนหนึ่งยืนอยู่ข้างกระท่อมไม้

EOS RP/ RF35mm f/1.8 Macro IS STM/ FL: 35 มม./ Manual exposure (f/8, 1/640 วินาที)/ ISO 200/ WB: แสงในร่ม

 

เรื่องราวเบื้องหลังภาพนี้:

ภาพนี้เป็นหนึ่งในชุดภาพถ่ายที่ผมได้บันทึกเรื่องราวของชีวิตในเมืองและหมู่บ้านประมงอันแสนเรียบง่าย ณ คาบสมุทรโนโตะ (ฉบับภาษาอังกฤษ) ในเมืองอิชิกาวะ ประเทศญี่ปุ่น

ผมถ่ายภาพนี้ในยามบ่ายวันหนึ่งของฤดูหนาว เมื่อพระอาทิตย์ที่กำลังเคลื่อนตัวลงส่องแสงที่สวยงามอาบไล้กระท่อมไม้และหัวไชเท้าญี่ปุ่นที่ตากไว้อยู่ตรงประตูกระท่อม ชายในภาพซึ่งเป็นเจ้าของบ้านกำลังจะออกจากบริเวณที่พักพอดีเมื่อผมเห็นเขา ผมรู้สึกว่าเขาดูดีเมื่อสวมเสื้อนอกและยืนอยู่ตรงนั้น ผมจึงส่งเสียงเรียกและขออนุญาตถ่ายภาพ


คอยสังเกตเงาเอาไว้ เพราะเงาสามารถช่วยในการจัดแสงให้น่าประทับใจได้!

ในวันที่มีอากาศแจ่มใส คุณอาจจะอยากมองหาแสงที่สวยงาม แต่อย่าลืมว่าเงานั้นเกิดจากแสง หากคุณหันมาสนใจเงาแทน คุณจะพบกับแสงอันน่าประทับใจซึ่งคุณอาจพลาดไปได้

ในฉากนี้ แหล่งกำเนิดแสงอยู่นอกเฟรมภาพ ซึ่งส่องมาจากระหว่างต้นไม้กับอาคารที่อยู่ฝั่งตรงข้าม ทำให้เกิดเป็นเงาที่เห็นได้ชัดเจน

ผมตั้งใจทำให้ระดับแสงดูมืดลงเล็กน้อยเพื่อให้ได้ความเปรียบต่างที่มากขึ้น และคอยระมัดระวังความเข้มของเงาที่ทาบลงบนตัวแบบผู้ชายด้วยในขณะเดียวกัน ผมปรับโทนสีในกระบวนการปรับแต่งภาพเพื่อขับเน้นบรรยากาศจากพระอาทิตย์ตกในยามเย็น

การหาตำแหน่งที่เหมาะสมในการจัดวางตัวแบบเป็นสิ่งสำคัญหากต้องการความเปรียบต่างที่ดูมีความสมดุล

 

การวิเคราะห์แสงและการเปิดรับแสง

แผนภาพแสดงทิศทางของแสง

ทิศทางของแสง: แสงจากด้านข้างส่องไปที่ตัวแบบในภาพพอร์ตเทรตจากด้านบนขวา
(A) ตัวแบบของภาพพอร์ตเทรต ผมตัดสินใจให้ครึ่งหนึ่งของตัวแบบอยู่ในเงาเพื่อเพิ่มอารมณ์ของภาพ
(B) เงาที่เกิดจากตัวอาคารและต้นไม้ เป็นองค์ประกอบสำคัญของภาพนี้

เพื่อให้ได้การจัดแสงที่มีความสมดุล ควรคงโทนสีเขียวของพื้นหญ้าเอาไว้แม้พื้นที่ส่วนใหญ่จะอยู่ในเงา


การอ่านฮิสโตแกรม: คุณจำเป็นต้องดูให้แน่ใจว่าใบหน้าของตัวแบบโดดเด่นออกมา

ฮิสโตแกรมแสดงให้เห็นว่ามีเงาปริมาณมาก โทนน้ำหนักกลาง และไม่มีพิกเซลแสง

ฮิสโตแกรมแสดงให้เห็นสีดำที่ชัดเจน (B) ในด้านล่างขวาของภาพ และเรายังเห็นด้วยว่านอกจากสีดำแล้ว องค์ประกอบส่วนใหญ่ในภาพคือโทนน้ำหนักกลาง ใบหน้าของตัวแบบ (A) อยู่ในโทนน้ำหนักกลาง
เพื่อให้แน่ใจว่าใบหน้าของเขาโดดเด่นออกมาและไม่กลืนไปกับส่วนอื่นๆ ผมจึงจัดตำแหน่งให้เขายืนในจุดที่แสงส่องลงบนใบหน้าของเขา แต่ลำตัวในส่วนที่เหลือตั้งแต่หน้าอกลงไปถึงเท่านั้นให้อยู่ในส่วนที่เป็นเงา วิธีนี้จะช่วยดึงความสนใจไปยังใบหน้าของเขาได้

 

วิธีจัดการกับ (A) และ (B)

สำหรับจุด (A): ปรับตำแหน่งการยืนของตัวแบบด้วยความระมัดระวัง

ชายคนหนึ่งยืนอยู่ข้างกระท่อม ทำให้เงาสว่างขึ้น ใช้โทนน้ำหนักกลางเป็นส่วนใหญ่

ภาพดูไม่น่าประทับใจเมื่อไม่มีเงาบนตัวแบบ

ผมต้องอาศัยการสื่อสารที่ดีกับตัวแบบในภาพพอร์ตเทรตของผม ผมให้เขายืนในจุดที่ใบหน้าจะได้รับแสงและลำตัวท่อนล่างถูกบดบังอยู่ในเงา ซึ่งทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกได้มากกว่าการที่ทั้งตัวของเขาได้รับแสง

อย่าลืม: สื่อสารด้วยความสุภาพและให้เกียรติกัน คนแปลกหน้าที่คุณเดินเข้าไปหาไม่ได้มีหน้าที่ในการเป็นตัวแบบให้กับภาพถ่ายของคุณ และหากพวกเขายอมให้คุณถ่ายภาพ นั่นเป็นน้ำใจของพวกเขา จะเป็นการดีเช่นกันหากคุณแบ่งปันภาพถ่ายกับพวกเขาหลังจากนั้น

ดูเคล็ดลับในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตท่องเที่ยวและวัฒนธรรมได้ที่นี่:
รีวิวกล้อง EOS M6 Mark II: เดินทางผจญภัยในยอกยาการ์ตา

 

สำหรับจุด B: สร้างบรรยากาศ "พระอาทิตย์ตก" ด้วยการปรับเส้นโค้งโทนสี

ขณะนั้นเป็นเวลาเกือบบ่าย 3 โมง แต่ผมต้องการให้แสงในภาพดูมีความอบอุ่นคล้ายกับแสงในยามเย็น ผมจึงต้องอาศัยการปรับช่องสีแดงและสีน้ำเงินของเส้นโค้งโทนสีในกระบวนการปรับแต่งภาพ

- ช่องสีแดง (R): เพิ่มไฮไลต์จากกึ่งกลางเส้นโค้งเป็นต้นไป
- ช่องสีน้ำเงิน (B): ลดไฮไลต์จากกึ่งกลางเส้นโค้งเป็นต้นไป

วิธีนี้จะช่วยเพิ่มโทนสีแดงอมชมพูให้กับภาพและทำให้ส่วนที่มืดดูมีโทนสีน้ำเงินมากขึ้น จึงเกิดเป็นแสงที่คุณจะได้เมื่อถ่ายภาพในขณะพระอาทิตย์ตก

ภาพพอร์ตเทรตในสภาพแวดล้อมในโทนสีเย็น

ภาพพอร์ตเทรตในสภาพแวดล้อมในโทนอบอุ่นสีแดงอมชมพู

 

ดูวิธีที่ช่างภาพอีกท่านใช้แสงจากด้านข้างและเงาให้เป็นประโยชน์ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิงได้ที่:
การจัดแสงธรรมชาติ: ภาพพอร์ตเทรตแบบไฮคีย์พร้อมเงาที่มีลวดลาย

หากเกิดแรงบันดาลใจในการออกไปสำรวจสถานที่แห่งใหม่และบันทึกภาพทัศนียภาพต่างๆ รวมถึงผู้คนที่คุณได้พบ ลองดูเคล็ดลับและเทคนิคในอีบุ๊กของเราที่จะช่วยให้คุณถ่ายภาพได้ดีขึ้นในขณะเดินทางท่องเที่ยว!
[eBook] เทคนิคเลนส์สำหรับการถ่ายภาพท่องเที่ยว

ดูกรณีศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการที่ช่างภาพใช้แสงธรรมชาติในการถ่ายภาพให้สวยงามได้ที่บทความ:
การจัดแสงธรรมชาติ: ชานชาลารถไฟในยามเช้า
การจัดแสงธรรมชาติ: ภาพดอกไม้แบบมาโครเทเลโฟโต้ในแสงยามเย็น
การจัดแสงธรรมชาติ: ภาพพอร์ตเทรตแบบไฮคีย์พร้อมเงาที่มีลวดลาย

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kentaro Kumon

Kumon เกิดที่โตเกียวเมื่อปี 1981 เขาได้ถ่ายภาพให้กับสื่อสิ่งพิมพ์และโปรเจ็กต์โฆษณามากมายทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ และยังได้ตีพิมพ์คอลเลคชั่นภาพถ่ายอีกหลายชุด เช่น Daichi no Hana (พฤกษาแห่งโลก: วิถีชีวิตและคำสวดภาวนาของชาวเนปาล) (ตีพิมพ์โดย Toho Shuppan), Koyomi Kawa (แม่น้ำปฏิทิน) (ตีพิมพ์โดย Heibonsha) และ BANEPA (ตีพิมพ์โดย Seikyusha) รวมถึงหนังสือเรียงความภาพถ่าย Goma no Youhinten (ร้านสไตล์ตะวันตกของ Goma) (ตีพิมพ์โดย Keiseisha) ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากประสบการณ์ของเขาในเมืองบานีปา ประเทศเนปาล ในปี 2012 เขาได้รับรางวัลช่างภาพหน้าใหม่ดีเด่นจากสมาคมช่างภาพญี่ปุ่น สำหรับโปรเจ็กต์ถ่ายภาพในปัจจุบัน เขาได้เดินทางไปยังเมืองและหมู่บ้านต่างๆ ที่อยู่ริมแม่น้ำและคาบสมุทรเพื่อค้นหาและบันทึกภาพสถานที่และวิถีชีวิตของผู้คนที่นั่นในแง่มุมที่ไม่เหมือนใคร

http://www.k-kumon.net/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา