ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การจัดแสงธรรมชาติ: ชานชาลารถไฟในยามเช้า

2020-04-29
0
981
ในบทความนี้:

การเรียนรู้วิธีอ่านสภาพแสงเป็นทักษะที่จำเป็นมากในการถ่ายภาพ! ในบทความ “การจัดแสงธรรมชาติ” ชุดนี้ เราจะมาดูวิธีที่ช่างภาพวิเคราะห์แสงสว่างโดยรอบเพื่อให้ได้ภาพที่มีแสงสวยงาม ต่อไปนี้เราจะมาเรียนรู้ว่า Kouji Yoneya ทำอย่างไรให้ภาพยังคงประกายสุกใสของแสงที่สะท้อนจากชานชาลารถไฟ พร้อมหลีกเลี่ยงแสงสว่างโพลนในภาพนี้ด้วยความเปรียบต่างสูง ลองดูว่าคุณจะสามารถนำแนวคิดเหล่านี้ไปปรับใช้กับสิ่งรอบตัวคุณได้หรือไม่ แม้ว่าคุณจะ #อยู่บ้าน ก็ตาม! (เรื่องโดย Kouji Yoneya, Digital Camera Magazine)

ผู้ชายที่ปลายชานชาลารถไฟกลางแจ้งในช่วงเวลาที่ท้องฟ้าเป็นสีทอง

EOS 7D Mark II/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 349 มม. (เทียบเท่า 558 มม.)/ Manual exposure (f/8, 1/250 วินาที)/ ISO 400/ WB: แสงแดด

 

เรื่องราวเบื้องหลังภาพนี้

เปล่งประกายใต้แสงอาทิตย์ในช่วงเวลาที่ท้องฟ้าเป็นสีทอง

ขณะนั้นเป็นเวลา 6 โมงเช้า และผมกำลังรอรถไฟอยู่ที่ชานชาลา แสงแดดจากดวงอาทิตย์ที่กำลังขึ้นได้สาดส่องมาและทำให้ทางรถไฟและชานชาลาสว่างไสว ดูเปล่งประกาย

โอกาสที่ไม่คาดคิด + เปลี่ยนโฟกัสอย่างรวดเร็ว = ภาพอันน่าทึ่ง 

รถไฟบรรทุกสินค้ากำลังจะเข้าสถานี และผมจัดองค์ประกอบภาพเพื่อให้ในเฟรมถ่ายติดทั้งรถไฟและทางรถไฟที่กำลังเปล่งแสง แต่ตอนที่ผมกำลังจะลั่นชัตเตอร์ พนักงานสถานีคนหนึ่งที่เพิ่งเลิกงานกะกลางคืน กลับเดินเข้ามาในเฟรม ผมเลยสบโอกาสเปลี่ยนไปจับโฟกัสที่ตัวผู้ชายคนนี้อย่างรวดเร็วแทน

แม้ว่าในตอนนั้นรางรถไฟและรถไฟที่ใกล้เข้ามาจะหลุดโฟกัสไปแล้ว แต่โบเก้เพียงเล็กน้อยที่เกิดจากองค์ประกอบทั้งสองอย่างนี้ทำให้ภาพดูน่าทึ่งยิ่งกว่าเดิม

ลองดูที่เสาทางด้านขวาของภาพ จะเห็นได้ว่าแสงในแนวทแยงทำให้หมุดบนเสาเปล่งประกายและดูเป็นสามมิติมากขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มองค์ประกอบพื้นผิวที่น่าสนใจให้กับภาพ

 

การวิเคราะห์แสงและการเปิดรับแสง

ภาพที่ทำเครื่องหมายไว้ แสดงบริเวณสำคัญที่ควรทราบเมื่อตัดสินใจเลือกค่าการเปิดรับแสง

ทิศทางของแสง
แสงด้านข้าง จากด้านซ้ายของเฟรมที่อยู่ด้านหลังรถไฟที่ใกล้เข้ามา

สิ่งที่ผมต้องการจะทำ:
- ทำให้จุด (A) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชานชาลาที่แสงตกกระทบโดยตรง ส่องประกายเจิดจ้ามากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
- ทำให้รายละเอียดของเงาตรงจุด (B) ซึ่งเป็นพนักงานสถานี ไม่หายไป

การอ่านฮิสโตแกรม

Alt:ฮิสโตแกรมของฉากสถานีรถไฟ

นี่คือตำแหน่งที่จุด (A) และ (B) แสดงบนฮิสโตแกรม สองจุดนี้อยู่ค่อนข้างห่างจากกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นความเปรียบต่างในโทนสีของแต่ละจุด แม้ว่าพนักงานสถานีที่จุด (B) เป็นตัวแบบหลักของภาพ แต่การเปิดรับแสงสำหรับจุด (B) หมายความว่าจุด (A) ซึ่งอยู่ทางด้านขวาสุด จะส่งผลให้ภาพได้รับแสงมากเกินไปและเกิดแสงสว่างโพลน 

ผมตัดสินใจถ่ายภาพโดยตั้งใจที่จะปรับแต่งในขั้นตอนการปรับแต่งภาพ และเปิดรับแสงเพื่อไม่ให้ส่วนที่เป็นประกายของชานชาลาในจุด (A) เกิดแสงสว่างโพลน

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการอ่านฮิสโตแกรมได้ที่:
พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก: ถ่ายภาพสตรีทให้ได้ความเปรียบต่างที่น่าทึ่ง

 

ลงมือปฏิบัติตามที่ตั้งใจ

สำหรับจุด (A): เปิดรับแสงสำหรับชานชาลาเพื่อเลี่ยงการสูญเสียรายละเอียดของชานชาลา

นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อผมเปิดรับแสงสำหรับพนักงานสถานี: 

เปิดรับแสงสำหรับพนักงานสถานี

ฉากสถานีรถไฟที่มีแสงสว่างโพลน

เปิดรับแสงสำหรับชานชาลา
ภาพโคลสอัพของชานชาลาที่มีแสงสว่างโพลน

รายละเอียดของชานชาลายังคงอยู่

เปิดรับแสงสำหรับพนักงานสถานี
ภาพโคลสอัพของชานชาลาที่รายละเอียดสำคัญยังคงอยู่

รายละเอียดของชานชาลาหายไปเนื่องจากเปิดรับแสงมากเกินไป

เนื่องจากส่วนที่สว่างอยู่ห่างออกไปทางด้านขวาของฮิสโตแกรม แม้ว่าคุณจะเปิดรับแสงตามโทนน้ำหนักกลาง แต่จะยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดแสงสว่างโพลน

เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ ให้เปิดรับแสงสำหรับชานชาลา วิธีนี้จะทำให้ภาพทั้งภาพดูมืด แต่จะแก้ไขได้ง่ายขึ้นในขั้นตอนการปรับแต่งภาพ เมื่อปรับแต่งภาพในขั้นตอนการปรับแต่งภาพ ให้เพิ่มความสว่างให้กับภาพโดยรวม แต่คุมส่วนที่สว่างไว้

อ่านเคล็ดลับและเทคนิคเกี่ยวกับการระบุและหลีกเลี่ยงปัญหาแสงสว่างโพลนได้ที่:
ทำความเข้าใจช่วงไดนามิกเรนจ์: วิธีหลีกเลี่ยงปัญหาแสงสว่างโพลนที่ไม่จำเป็น

 

สำหรับจุด (B): ฟื้นฟูรายละเอียดของพนักงานสถานี 

ในซอฟต์แวร์ปรับแต่งภาพ ผมสร้างเลเยอร์ใหม่และเลือกพนักงานสถานีในจุด (B) ด้วยเครื่องมือ Masking จากนั้นเพิ่มค่าพารามิเตอร์ดังต่อไปนี้
- การเปิดรับแสง
- เงา

ภาพโคลสอัพของชายในเงามืดก่อนการปรับแต่ง
ภาพโคลสอัพของชายในเงามืดหลังการปรับแต่ง

ขณะปรับแต่งภาพ ควรตรวจดูให้แน่ใจว่าผลลัพธ์ที่ได้ยังคงดูเป็นธรรมชาติ ในกรณีนี้ ผมได้ภาพที่ดีที่สุดเมื่อใช้การเปิดรับแสง: +0.16, เงา: +15


หากคุณเกิดแรงบันดาลใจขึ้นมา ลองเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวและการตัดสินใจที่อยู่เบื้องหลังการถ่ายภาพอื่นๆ ในช่วงเวลาทองได้ที่:
วิธีการถ่ายภาพนี้: ช่วงเวลาทองบนท้องถนน
วิธีการถ่ายภาพนี้: ต้นบ๊วยและทะเลหมอกในช่วงเวลาทอง
ภาพสะท้อน: ท้องทะเลไกลสุดสายตาในยามอาทิตย์อัสดง

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Koji Yoneya

เกิดเมื่อปี 1968 ที่จังหวัดยามากะตะ Yoneya ออกเดินทางไปทั่วญี่ปุ่นและทั่วทุกมุมโลก เพื่อค้นหาความเชื่อมโยงระหว่างผู้คนกับรถไฟในภาพถ่ายขบวนรถไฟต่างๆ ซึ่งสะท้อนภาพในชีวิตประจำวัน ในเดือนมิถุนายน 2017 เขาจะจัดแสดงนิทรรศการเดี่ยวในธีมทิวทัศน์ ซึ่งเป็นภาพที่เขาถ่ายจากหน้าต่างรถไฟ

http://www.geocities.jp/yoneya231/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา