ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

วิธีการถ่ายภาพนี้: ต้นบ๊วยและทะเลหมอกในช่วงเวลาทอง

2020-03-02
0
491
ในบทความนี้:

ฤดูใบไม้ผลิในญี่ปุ่นไม่ได้มีแค่ต้นซากุระเท่านั้น! เนื่องจากเป็นดอกไม้ชนิดแรกๆ ที่บานสะพรั่งในช่วงเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ ดอกบ๊วยจึงมีความสำคัญมากต่อวัฒนธรรมญี่ปุ่นเช่นกัน และเป็นสัญลักษณ์ของความมีชีวิตชีวา ความหวัง และการเริ่มต้นใหม่ ช่างภาพทิวทัศน์จะมาแบ่งปันวิธีการถ่ายภาพต้นบ๊วยอันงดงามที่อาบไล้ด้วยแสงสีทองยามเช้าท่ามกลางทะเลหมอกภาพนี้ (เรื่องโดย Katsuhiro Yamanashi, Digital Camera Magazine)

ต้นบ๊วยในช่วงเวลาทอง

EOS 5D Mark III/ EF28-300mm f/3.5-5.6L IS USM/ FL: 40 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1/125 วินาที)/ ISO 400/ WB: อัตโนมัติ
สถานที่/เวลาถ่ายภาพ: สวนต้นบ๊วยโฮอุระ หมู่บ้านทสึกิงะเสะ จังหวัดนาระ เวลา 6.30 น.
ช่วงเวลาของปี: ต้นเดือนมีนาคม

 

สภาพการถ่าย

ระเบียงหอชมวิวที่สวนต้นบ๊วยโฮอุระเป็นหนึ่งในจุดชมวิวที่มีชื่อเสียงไม่กี่แห่งในสวนต้นบ๊วยทสึกิงะเสะ (ฉบับภาษาอังกฤษ) หรือที่รู้จักกันในชื่อหุบเขาต้นบ๊วยทสึกิงะเสะ ซึ่งมีต้นบ๊วยกว่า 10,000 ต้นบานสะพรั่งตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงเดือนมีนาคม ในยามเช้าตรู่ หากสภาวะต่างๆ เป็นใจ คุณจะสามารถมองเห็นแม่น้ำนาบาริเบื้องล่างที่ห้อมล้อมด้วยทะเลหมอก นั่นคือสิ่งที่ผมเห็นตอนถ่ายภาพในช่วงเวลาประมาณ 6 โมงเช้า

ผมรอให้ดวงอาทิตย์ขึ้นสูงกว่านี้ พอถึงเวลาประมาณ 6.30 น. ในที่สุดแสงแดดก็ส่องมาจากทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ดอกบ๊วยสีแดงเปล่งประกายระยิบระยับและแต้มสีทะเลหมอกให้เป็นสีส้มทอง ภาพชวนฝันอันน่าตื่นตาตื่นใจที่ปรากฏนั้นดูแตกต่างมากจากสิ่งที่ผมเห็นเมื่อบ่ายวันก่อนหน้านั้นตอนที่ผมสำรวจจุดเดียวกัน ผมรู้ว่านี่เป็นช่วงเวลาที่ผมจะต้องเก็บภาพไว้

 

การตัดสินใจในการถ่ายภาพของผม


การจัดเฟรมภาพแนวตั้ง

ต้นบ๊วยในส่วนโฟร์กราวด์เป็นตัวแบบหลักของผม แต่ดวงอาทิตย์และแสงอาทิตย์ยามเช้าก็เป็นองค์ประกอบที่สำคัญมากเช่นกัน การถ่ายภาพแนวตั้งทำให้ผมสามารถรวมองค์ประกอบทั้งสามไว้ในเฟรมเพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพได้ที่:
พื้นฐานการจัดองค์ประกอบภาพ: การจัดเฟรมภาพ ระดับแนวนอน และระดับแนวตั้ง
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพอย่างมืออาชีพ (1): เส้นนำสายตา จังหวะที่ไม่คาดคิด และการตัดส่วนเกิน


รูรับแสงแคบ

ดอกบ๊วยอยู่ตรงหน้าผม ขณะที่แบ็คกราวด์ค่อนข้างไกลออกไป ผมลดค่ารูรับแสงลงเหลือ f/16 เพื่อให้ได้ระยะชัดที่มากขึ้นซึ่งทำให้ได้ภาพถ่ายที่คมชัดยิ่งขึ้น

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับเอฟเฟ็กต์ต่างๆ ที่คุณสามารถสร้างจากค่ารูรับแสงที่แตกต่างกันได้ที่:
จุดโฟกัส: การตั้งค่ารูรับแสงสำหรับฉากต่างๆ


ตำแหน่งกล้องและความไวแสง ISO

เพื่อเลี่ยงไม่ให้ถ่ายติดราวระเบียงหอชมวิวในเฟรม ผมจึงปรับขาตั้งกล้องให้สูงขึ้นและจัดตำแหน่งกล้องเพื่อให้กล้องเอียงลง ตำแหน่งนี้จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดปัญหากล้องสั่น ดังนั้น ผมจึงเพิ่มค่า ISO เป็น 400 ซึ่งช่วยให้ผมถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/125 วินาทีได้

 

เทคนิคที่สำคัญ: ใช้ประโยชน์จากแสงด้านข้าง

ดอกบ๊วยสีขาว

หากคุณจะถ่ายภาพในตอนเช้า โดยเฉพาะเวลาที่ดวงอาทิตย์ส่องแสงจากมุมทแยง ให้ลองถ่ายภาพในสภาพแสงด้านหลังหรือแสงเฉียงหลัง แสงแดดที่ลอดผ่านกลีบดอกไม้ไม่เพียงแต่จะทำให้กลีบดอกเปล่งประกายโปร่งแสง แต่ยังเพิ่มมิติให้กับกิ่งไม้แต่ละกิ่งอีกด้วย

เคล็ดลับ: เมื่อถ่ายภาพดอกไม้สีขาว (เช่น ดอกบ๊วยสีขาวในภาพด้านบน) ให้ลองถ่ายตัดกับแบ็คกราวด์ที่มืด คุณอาจจะต้องเปิดรับแสงน้อยกว่าปกติเล็กน้อยด้วย วิธีเช่นนี้จะทำให้ดอกไม้สีขาวดูโดดเด่นยิ่งขึ้น

 

การเดินทางไปจุดถ่ายภาพ: สวนต้นบ๊วยโฮอุระ เมืองนาระ จังหวัดนาระ


โดยรถยนต์: ประมาณ 60 นาทีจากเมืองนาระ 90 นาทีจากเมืองโอซาก้า

1. จาก Shirakashi IC บนถนนไฮเวย์ Meihan National Highway ผ่านทางหลวงจังหวัดหมายเลข 82 สู่ทสึกิงะเสะ
2. ที่ทางแยกก่อนถึงที่ทำการไปรษณีย์ทสึกิงะเสะ เลี้ยวขวาเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 753
3. เลี้ยวซ้ายไปยังสวนโรมันโทเปีย ทสึกิงะเสะ และมุ่งหน้าไปยังวัดชินปุคุจิ รวมแล้วใช้เวลาขับรถประมาณ 15 นาทีจาก Shirakashi IC
4. มีลานจอดรถแบบชำระเงิน ใช้เวลาเดินไปสวนต้นบ๊วยโฮอุระประมาณ 5 นาที

รถบัส: ประมาณ 1 ชั่วโมง 10 นาทีจากสถานี JR/Kintetsu Nara ลงรถที่เมืองโอยามะ

เว็บไซต์: https://narashikanko.or.jp/spot/nature/meisho-tsukigasebairin/ (ภาษาญี่ปุ่น)


หากต้องการเคล็ดลับการถ่ายภาพท่องเที่ยว คลิกที่นี่เพื่อดูอีบุ๊กเล่มใหม่ของเรา:
เทคนิคเลนส์สำหรับการถ่ายภาพท่องเที่ยว

เรียนรู้เพิ่มเติมว่าการตัดสินใจในการถ่ายภาพสามารถเปลี่ยนภาพถ่ายของคุณได้อย่างไรที่:
ควรใส่ดวงอาทิตย์ไว้ในเฟรมภาพดีหรือไม่
แสงด้านหน้าหรือแสงด้านหลัง
ถ่ายภาพก่อนหรือหลังพระอาทิตย์ตกดินดี?

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Katsuhiro Yamanashi

เกิดที่กรุงโตเกียวในปี 1945 Yamanashi ทำงานที่สำนักพิมพ์แห่งหนึ่งหลังจบการศึกษาจาก Tokyo College of Photography (ปัจจุบันมีชื่อว่า Tokyo Polytechnic University) และเดินทางไปทั่วญี่ปุ่นเพื่อเยี่ยมชมและถ่ายภาพสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงนานถึงเวลา 4 ปี หลังลาออกจากบริษัท เขาผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ และท้ายที่สุดได้ก่อตั้งบริษัทของตัวเองที่มีชื่อว่า Yamanashi Photo ในปี 1989 นอกจากงานภาพถ่ายสต็อกแล้ว เขายังถ่ายภาพให้ปฏิทินบริษัท นิตยสารกล้องและการท่องเที่ยว และโปสเตอร์สำหรับการรถไฟญี่ปุ่นอีกด้วย

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา