การถ่ายภาพยามค่ำคืน: การปรับค่าความเปรียบต่างเพื่อสร้างภาพที่งดงามและให้ความรู้สึกเหนือจริง
คุณเคยรู้สึกอยากถ่ายภาพกลางคืนสวยๆ ให้ดูมีสีสันสะดุดตาและมีเสน่ห์หรือไม่ กุญแจสำคัญในการสื่อความรู้สึกเหนือจริงอยู่ที่การตั้งค่าความเปรียบต่างและความเร็วชัตเตอร์ (เรื่องโดย: Kazuo Nakahara)
EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L III USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/13, 30 วินาที, EV+1.0)/ ISO 250/ WB: อัตโนมัติ
ความเปรียบต่างต่ำ (ปรับการตั้งค่าความเปรียบต่างของรูปแบบภาพให้มีค่าต่ำลง)
หากต้องการปรับค่าความเปรียบต่างให้ต่ำลงอีกและสื่อถึงความรู้สึกเหนือจริง ผมแนะนำให้เปิดรับแสงโอเวอร์ร่วมด้วย โดยตั้งค่าไว้ที่ประมาณ EV+1.0 นอกจากนี้ ท้องฟ้าจะดูสว่างยิ่งขึ้นในตอนกลางคืนหากมีดวงจันทร์ ซึ่งช่วยให้สภาพการถ่ายดียิ่งขึ้น
ลดความเปรียบต่างเพื่อสร้างภาพที่ดูสมจริงน้อยลง
ฉากที่ปรากฏตรงหน้าคุณในความเป็นจริงมักมีความเปรียบต่างสูงกว่าความเปรียบต่างในภาพทิวทัศน์แนวศิลป์ที่คุณเห็นตามโปสการ์ดและหนังสือภาพถ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฉากตอนกลางคืน ซึ่งมักดูเหมือนมีความเปรียบต่างด้านความสว่างสูงมากบนหน้าจอกล้องของคุณ ด้วยเหตุนี้ การถ่ายภาพยามค่ำคืนด้วยวิธีที่ใช้กับภาพถ่ายประเภทอื่นๆ อาจทำให้ได้ภาพที่ดูสมจริงมาก
หากคุณต้องการให้ภาพที่ออกมาดูเหนือจริงมากขึ้น ผมแนะนำให้ตั้งค่าความเปรียบต่างของ รูปแบบภาพ ในกล้องให้ต่ำที่สุด นอกจากนี้ เนื่องจากการปรับพื้นที่ในร่มให้สว่างขึ้นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง คุณสามารถถ่ายภาพในรูปแบบ RAW และปรับแต่งพื้นที่ที่อยู่ในร่มและไฮไลท์ต่างๆ ระหว่างกระบวนการปรับแต่งภาพถ่ายได้
หากต้องการอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปรับการตั้งค่ารูปแบบภาพเพื่อสร้างภาพที่สมบูรณ์แบบ โปรดดูที่:
3 ขั้นตอนในการสร้างภาพถ่ายที่ปรับแต่งได้ตามใจคุณด้วยฟังก์ชั่นรูปแบบภาพ
EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L III USM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/13, 30 วินาที, EV±0)/ ISO 250/ WB: อัตโนมัติ
ความเปรียบต่างปกติ (ไม่ได้ปรับเปลี่ยนการตั้งค่าความเปรียบต่างของรูปแบบภาพ)
เมื่อผมถ่ายภาพโดยไม่ปรับความเปรียบต่าง บริเวณที่สว่างและมืดจะเห็นได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ในร่มจะดูมืดและจมหายไป แม้ว่าภาพนี้ดูสวยงามน่าดึงดูดใจ แต่ขาดความมีชีวิตชีวาดูน่ามหัศจรรย์อย่างที่เราตั้งใจไว้
คุณมีกล้องซีรีย์ EOS M แล้วหรือยัง ใช้ Creative Assist เพื่อควบคุมความเปรียบต่างได้อย่างง่ายดาย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่:
EOS M10 บทที่ 2: การควบคุมความเปรียบต่างและความอิ่มตัวของสีเพื่อให้ภาพของคุณสวยสดงดงามยิ่งขึ้น
เคล็ดลับพิเศษ: ตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ 30 วินาที เพื่อเกลี่ยรูปร่างของเมฆและคลื่น
การถ่ายภาพโดยใช้การเปิดรับแสงนานหรือความเร็วชัตเตอร์ต่ำยังมีประสิทธิภาพในการขจัดความรู้สึกสมจริงจากภาพถ่ายได้เช่นเดียวกัน จึงเปลี่ยนโลกที่คุณคุ้นเคยให้เป็นโลกที่ดูแปลกตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนรายละเอียดของท้องฟ้า ซึ่งสามารถดูแตกต่างไปมากเมื่อคุณใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ นี่เป็นเหตุผลที่ผมแนะนำให้ถ่ายภาพแบบนี้ในวันที่อย่างน้อยมีเมฆจำนวนหนึ่งบนท้องฟ้า สำหรับภาพทั้งสองในบทความนี้ ผมใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่ 30 วินาที ซึ่งช่วยเกลี่ยผิวของผืนน้ำและก้อนเมฆให้ดูเรียบเนียนและทำให้ฉากดูเหนือจริง
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพแบบเปิดรับแสงนานได้ที่:
การถ่ายภาพเมฆหมอกด้วยการเปิดรับแสง 60 วินาที
หากต้องการทราบไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพทิวทัศน์ยามค่ำคืนที่แปลกใหม่ไม่เหมือนใคร โปรดดูที่:
หนึ่งสถานที่กับภาพสองแบบ: ภาพยามค่ำคืนแนวแอ็บสแตรกต์ - ความสงบเยือกเย็น กับ ความมีชีวิตชีวา
หากต้องการทราบเคล็ดลับ เทคนิค และไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพยามค่ำคืน โปรดไปที่:
จุดโฟกัส: การถ่ายภาพยามค่ำคืน (ฉบับภาษาอังกฤษ)
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!
เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย