ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ทำไม EF85mm f/1.8 USM จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต

2017-09-28
5
18.43 k
ในบทความนี้:

เลนส์เดี่ยวรุ่นหนึ่งที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตคือเลนส์ EF85mm f/1.8 USM ด้วยทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้ระยะกลาง เลนส์นี้สามารถถ่ายภาพที่มีวงโบเก้ขนาดใหญ่เพื่อให้ตัวแบบหลักเด่นออกมา และในขณะเดียวกันก็สามารถแสดงรูปร่างของตัวแบบได้เหมือนจริงด้วย เราจึงแนะนำเลนส์นี้ให้แก่ช่างภาพที่ถ่ายภาพพอร์ตเทรตโดยเฉพาะ (เรื่องโดย: Teppei Kohno)

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

EOS 5D Mark III/ EF85mm f/1.8 USM/ FL: 85 มม./ Manual exposure (f/1.8, 1/400 วินาที)/ ISO 500/ WB: อัตโนมัติ

 

1. เลนส์ถ่ายทอดรูปร่างของตัวแบบได้อย่างแม่นยำและช่วยให้ควบคุมพื้นหลังได้ง่ายขึ้น

ข้อดีของการใช้เลนส์ EF85mm f/1.8 USM กับกล้องฟูลเฟรมสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรตคือ ความสามารถในการถ่ายภาพโดยไม่ทำให้รูปร่างของใบหน้าหรือร่างกายบิดเบี้ยวไป แม้จะถ่ายในระยะใกล้ เลนส์นี้จะไม่ทำให้ใบหน้าเปลี่ยนผิดรูปและไม่ทำให้เค้าโครงเกิดการเปลี่ยนแปลง และจุดสำคัญอีกข้อหนึ่งคือ สามารถควบคุมพื้นหลังได้ง่าย เนื่องจากมุมรับภาพของเลนส์เทเลโฟโต้ระยะกลางนั้นแคบหากเทียบกับเลนส์มุมกว้าง จึงสามารถกำหนดข้อมูลของพื้นหลังและจัดเฟรมของตัวแบบตามนั้นได้ ดังนั้นจึงง่ายต่อการจัดองค์ประกอบภาพโดยไม่มีวัตถุที่ไม่ต้องการเข้ามาอยู่ในเฟรมในพื้นหลัง

นอกจากนั้นยังง่ายต่อการรักษาระยะจากตัวแบบขณะถ่ายภาพบุคคลแบบครึ่งลำตัวด้วยทางยาวโฟกัส 85 มม. เลนส์นี้ทำให้คุณสามารถถ่ายตัวแบบในระยะที่พอดี คือไม่ไกลและใกล้จนเกินไป ทำให้คุณสามารถบอกกับนางแบบหรือนายแบบได้ว่าจะให้โพสท่าอย่างไรเนื่องจากพวกเขาจะไม่อยู่ไกลเกินไป และไม่ใกล้จนทำให้ตัวแบบรู้สึกอึดอัด ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรต ทางยาวโฟกัส 85 มม. นับว่าเป็นประโยชน์มาก

สำหรับการถ่ายภาพที่มุมรับภาพเทียบเท่า 85 มม. โดยใช้กล้อง APS-C เราขอแนะนำเลนส์เดี่ยว 50 มม. คุณจะได้มุมรับภาพ 80 มม. เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.ซึ่งเป็นสภาพที่ใกล้เคียง 85 มม. เมื่อใช้กับกล้องฟูลเฟรม

 

ถ่ายภาพพื้นหลังที่เรียบง่ายโดยไม่ทำให้ใบหน้าบิดเบี้ยวที่ 85 มม.

ภาพด้านล่างถ่ายโดยใช้เลนส์ EF85mm f/1.8 USM กับกล้องฟูลเฟรม เค้าโครงของใบหน้าถูกแสดงออกมาได้อย่างเหมือนจริงและดูคมชัดโดยไม่มีความบิดเบี้ยว ด้วยมุมรับภาพที่แคบ จึงง่ายต่อการกำหนดพื้นหลัง

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต (ไม่มีความบิดเบี้ยว)

EOS 5D Mark III/ EF85mm f/1.8 USM/ FL: 85 มม./ Manual exposure (f/4, 1/200 วินาที)/ ISO 500/ WB: อัตโนมัติ

 

เกิดการบิดเบี้ยวและควบคุมพื้นหลังได้ยากเมื่อถ่ายภาพพอร์ตเทรตที่ 24 มม.

ภาพด้านล่างถ่ายที่ 24 มม. โดยใช้เลนส์ (EF24-70mm f/2.8L II USM) มุมกว้างกับกล้องฟูลเฟรม เค้าโครงของใบหน้านั้นบิดเบี้ยวไปเนื่องจากความคลาดของเลนส์ ทำให้ส่วนศีรษะดูใหญ่ขึ้น เนื่องจากมุมรับภาพนั้นกว้าง จึงไม่สามารถกำหนดข้อมูลของพื้นหลังได้อย่างเหมาะสม ทำให้ภาพโดยรวมดูรกรุงรัง

คุณสามารถนำคุณสมบัติเฉพาะของเลนส์มุมกว้างนี้มาใช้กับการถ่ายภาพทิวทัศน์และภาพแนวสตรีทได้ โปรดดูบทความต่อไปนี้หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม:
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 1: เอฟเฟ็กต์ภาพที่ได้จากเลนส์มุมกว้าง
สำรวจเลนส์มุมกว้างตอนที่ 2: เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพสำหรับเลนส์มุมกว้าง

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต (มีความบิดเบี้ยวที่ FL: 24 มม.)

EOS 5D Mark III/ EF24-70mm f/2.8L II USM/ FL: 24 มม./ Manual exposure (f/4, 1/160 วินาที)/ ISO 500/ WB: อัตโนมัติ

 

2. เลนส์สามารถสร้างโบเก้ในพื้นหลังได้เด่นชัดและทำให้ตัวแบบหลักโดดเด่น

ข้อดีอีกข้อของเลนส์ EF85mm f/1.8 USM คือทำให้คุณสามารถถ่ายภาพพอร์ตเทรตที่มีโบเก้ในพื้นหลังที่เด่นชัดได้ เพราะรูรับแสงกว้างสุด (ค่า f ต่ำ) ของเลนส์ ในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตนั้น โบเก้ในพื้นหลังถือเป็นปัจจัยที่สำคัญมาก ด้วยการทำให้พื้นหลังเบลอ คุณจะสามารถถ่ายทอดสีหน้าของนายแบบหรือนางแบบได้อย่างโดดเด่น และยังช่วยในการลดผลกระทบจากพื้นหลังที่รกรุงรัง นอกจากนี้เมื่อถ่ายภาพในร่มซึ่งมักจะมีแสงไม่พอ ความสามารถในการถ่ายภาพได้ที่ค่า f ต่ำกว่าจึงเป็นประโยชน์ และเลนส์นี้สามารถถ่ายภาพได้ที่ความเร็วชัตเตอร์สูง จึงทำให้การถ่ายภาพโดยใช้มือถือเป็นเรื่องง่าย การที่สามารถถ่ายภาพได้จากทุกมุมทำให้ถ่ายทอดสีหน้าและอารมณ์ที่หลากหลายได้อย่างง่ายดาย

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต (f/1.8, โบเก้ในพื้นหลังเด่นชัด)

EOS 5D Mark III/ EF85mm f/1.8 USM/ FL: 85 มม./ Manual exposure (f/1.8, 1/1250 วินาที)/ ISO 500/ WB: อัตโนมัติ
ภาพนี้ถ่ายด้วยเลนส์ EF85mm f/1.8 USM บนกล้องฟูลเฟรม ด้วยรูรับแสงกว้างสุดที่ f/1.8 การเบลอพื้นหลังทำให้เห็นสีหน้าของนางแบบได้ชัดเจนขึ้น จึงทำให้เธอยิ่งดูมีเสน่ห์ และยังสามารถถ่ายโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง เนื่องจากตั้งค่ารูรับแสงกว้างได้

 

เลนส์เดี่ยวที่เหมาะสำหรับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต

 

EF85mm f/1.8 USM

เลนส์ EF
EF85mm f/1.8 USM

เลนส์เดี่ยวเทเลโฟโต้ระดับกลางที่ทั้งน้ำหนักเบาและกะทัดรัด แต่ให้ความสว่างด้วยรูรับแสงกว้างสุดและใช้งานง่าย เลนส์นี้เหมาะสำหรับผู้ใช้งานกล้องฟูลเฟรม เมื่อติดตั้งลงบนกล้อง APS-C เลนส์นี้ให้มุมรับภาพ 136 มม. เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม.

 

EF50mm f/1.8 STM

เลนส์ EF
EF50mm f/1.8 STM

ผู้ใช้กล้อง APS-C สามารถลองถ่ายภาพพอร์ตเทรตด้วย EF50mm f/1.8 STM เลนส์เดี่ยวมาตรฐานที่ให้มุมรับภาพ 80 มม. เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. เมื่อติดตั้งลงบนกล้อง APS-C จุดเด่นคือโบเก้ที่มองเห็นเด่นชัดและ AF ความเร็วสูง

 

ผู้ใช้กล้องซีรีย์ EOS M: ใช้ EF50mm f/1.8 STM ร่วมกับเมาท์อะแดปเตอร์

 

เมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS M + EF50mm f/1.8 STM

หากคุณถ่ายภาพพอร์ตเทรตด้วยกล้องในซีรี่ส์ EOS M เราขอแนะนำให้ใช้เลนส์ EF50mm f/1.8 STM ซึ่งให้ความสว่างด้วยรูรับแสงกว้างสุด เมื่อติดตั้งลงบนกล้องในซีรี่ส์ EOS M โดยใช้เมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS M คุณจะได้มุมรับภาพ 80 มม. เทียบเท่าฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. สามารถถ่ายภาพได้แบบไม่มีข้อจำกัดทั้งกับ AF และ AE

 

หากต้องการทราบเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพพอร์ตเทรต โปรดอ่านบทความต่อไปนี้:
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต: การตั้งค่ารูรับแสง 3 รูปแบบที่ช่างภาพมืออาชีพชื่นชอบ
2 เคล็ดลับง่ายๆ สำหรับการถ่ายภาพเด็กๆ ในที่ร่มให้สวยงามและไม่พร่ามัว

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Teppei Kohno

เกิดที่โตเกียวในปี 1976 เขาจบการศึกษาด้านสังคมสงเคราะห์จากคณะสังคมวิทยา มหาวิทยาลัย Meiji Gakuin และฝึกถ่ายภาพกับช่างภาพ Masato Terauchi เขามีส่วนร่วมในการถ่ายภาพให้นิตยสาร PHaT PHOTO ฉบับแรก และผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระหลังจากนั้นในปี 2003 Kohno ถ่ายภาพโฆษณาทุกประเภท นอกจากนั้นเขายังเป็นนักเขียนที่มีผลงานเขียนมากมายในนิตยสารเกี่ยวกับกล้องและนิตยสารอื่นๆ ด้วย

http://fantastic-teppy.chips.jp

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา