ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

เทคนิคการถ่ายภาพทิวทัศน์: เทือกเขาหิมะใต้แสงจันทร์

2022-11-25
1
198

เทือกเขามักดูงดงามน่าทึ่งเสมอ แต่เมื่อใดที่มีหิมะหนาปกคลุมล้อมรอบ เทือกเขาก็จะสื่อถึงความอัศจรรย์และความเงียบสงบไม่เหมือนใครอีกด้วย มีหลายวิธีที่คุณสามารถถ่ายภาพเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกที่คุณมีต่อฉากนั้นๆ ได้ ในบทความนี้ ช่างภาพทิวทัศน์ Takashi Karaki จะมาบอกเล่าถึงสิ่งที่เขาใส่ใจเวลาถ่ายภาพภูเขาไดเซนที่เต็มไปด้วยดวงดาวและหุบเขาโมโตะดานิในภาคตะวันตกของญี่ปุ่น (เรื่องโดย: Takashi Karaki, Digital Camera Magazine)

EOS R5/ RF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 35mm/ Manual exposure (f/4, 30 วินาที)/ ISO 4000/ WB: 3,500K
ดวงจันทร์: 6.9 วัน

ในบทความนี้:

 

สถานที่และแรงบันดาลใจเบื้องหลังภาพนี้

เวลามีคนถามผมว่าสถานที่ใดเหมาะกับการดูดาวมากที่สุดบนภูเขาไดเซน ผมจะนึกถึงหุบเขาเกนดานิทันที หุบเขาแห่งนี้อยู่ใกล้กับสถานีที่ 3 บนเส้นทางสู่ยอดเขาไดเซนและจะเห็นวิวดวงดาวบนท้องฟ้าทางทิศใต้


พื้นที่สูงช่วยให้สามารถมองเห็นดวงดาวได้ชัดเจน แม้ว่าจะอยู่ภายใต้แสงจันทร์

ที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลเกือบ 1,000 เมตร อากาศรอบหุบเขามักจะแจ่มใสในช่วงฤดูหนาว ดังที่ภาพหลักแสดงให้เห็น คุณสามารถเห็นดวงดาวมากมายแม้ในคืนที่มีแสงจันทร์อยู่ก็ตาม! และพื้นผิวทางตอนเหนือของเทือกเขาที่มีหิมะสีขาวปกคลุมก็ดูน่าสนใจ ตัดกับความมืดท่ามกลางแสงจันทร์ที่ส่องสว่าง

สำหรับภาพนี้ นอกจากดวงดาวและความเงียบสงบของฉากแล้ว ผมยังต้องการภาพที่มีความเปรียบต่างสูงซึ่งแสดงให้เห็นความมีมิติของเทือกเขาด้วยเช่นกัน ถึงแม้การจัดองค์ประกอบและการตั้งค่ากล้องจะสำคัญสำหรับเป้าหมายที่ผมตั้งไว้ แต่ขั้นตอนสำคัญที่สุดคือการวางแผนการถ่ายภาพเพื่อให้ผมอยู่ในสถานที่ถ่ายภาพในเวลาที่เหมาะสมที่สุด

 

ขั้นตอนที่ 1: เงาและความมีมิติกับเวลาและแสงจันทร์ที่เหมาะสม


ช่วงที่มีดวงจันทร์ครึ่งเสี้ยวหรือใหญ่กว่า

เราจะต้องอาศัยแสงจันทร์เพื่อสร้างเงาและความมีมิติที่เน้นรายละเอียดต่างๆ บนภูเขา และควรถ่ายช่วงที่มีดวงจันทร์ครึ่งเสี้ยว (ช่วงที่พื้นผิวดวงจันทร์สว่างครึ่งหนึ่ง) เป็นอย่างน้อย ไม่อย่างนั้นภาพจะดูมืดเกินไป ภาพหลักถ่ายในช่วงที่มีดวงจันทร์ครึ่งเสี้ยวครั้งแรก ซึ่งเกิดขึ้นหลังจาก 6.5 วันในวงจรการเกิดข้างขึ้นข้างแรม


1-2 ชั่วโมงก่อนดวงจันทร์จะลับขอบฟ้า เมื่อดวงจันทร์ส่องแสงจากมุมหนึ่ง

ในตำแหน่งนี้ ประมาณ 1-2 ชั่วโมงก่อนดวงจันทร์จะลับขอบฟ้า ดวงจันทร์จะส่องแสงที่มุมหนึ่งจากฝั่งตะวันตก ทำให้ภูเขาส่วนหนึ่งมีเงาปกคลุม ซึ่งความเปรียบต่างนี้ทำให้ฉากดูมีมิติมากขึ้น

ภาพด้านบนถ่ายในช่วงที่มีแสงมากกว่า ภาพยังคงดูสวยงามอยู่ถึงแม้ว่าจะไม่มีเงา แต่ผมรู้สึกว่าภูเขาดูน่าสนใจน้อยลงเนื่องจากไม่ค่อยมีมิติมากนัก

อ่านเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพภูเขาได้ที่
6 คุณสมบัติของกล้อง EOS R ที่เป็นประโยชน์ต่อการถ่ายภาพภูเขาและก้อนเมฆ

อ่านไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพทิวทัศน์ภายใต้แสงจันทร์ได้ที่
ลวดลายบนพื้นทรายใต้แสงจันทร์: ผมทำให้กลางคืนดูเหมือนกลางวันได้อย่างไร
ถ่ายภาพสวยดั่งใจ: พระจันทร์และดวงดาวในทางช้างเผือกเหนือท้องทะเล
หนึ่งสถานที่กับภาพสองแบบ: การถ่ายภาพประภาคารท่ามกลางแสงจันทร์และใต้ดวงดาว

 

ขั้นตอนที่ 2: การจัดองค์ประกอบแบบไดนามิกที่เน้นภูเขา

ประโยชน์อีกข้อหนึ่งของการถ่ายภาพภายใต้แสงจันทร์คือพื้นผิวทางตอนเหนือของเทือกเขาที่มีหิมะปกคลุมจะดูสว่างและคมชัด ภาพนี้ผมเลือกถ่ายที่ระยะ 35 มม. ซึ่งใกล้พอสำหรับภาพถ่ายภูเขาที่มีรายละเอียดและมีชีวิตชีวา


จะเกิดอะไรขึ้นหากถ่ายภาพที่มุมกว้างกว่า

ภาพนี้ถ่ายที่ระยะ 24 มม. เมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ตัดกับท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว คุณคงอยากใช้ทางยาวโฟกัสกว้างๆ เพื่อถ่ายฉากให้ได้มากขึ้น แต่วิธีนี้จะลดความน่าสนใจของภูเขา

 

ขั้นตอนที่ 3: สมดุลแสงขาวและการเปิดรับแสง

ผมเปิดรับแสงสำหรับทางไหล่เขาเพื่อเน้นความเปรียบต่าง วิธีนี้จะรักษารายละเอียดบนไหล่เขา และยังเพิ่มความลึกของเงาในหุบเขาและต้นไม้ที่มีหิมะปกคลุมอีกด้วย

สมดุลแสงขาวอัตโนมัติอาจช่วยเพิ่มโทนอุ่นให้กับฉากที่ถ่ายภายใต้แสงจันทร์ ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกล้อง ในภาพนี้ ผมตั้งค่าสมดุลแสงขาวเองที่ 3,500K ซึ่งช่วยให้ภาพมีโทนเย็นขึ้น และทำให้บรรยากาศยามค่ำคืนดูโดดเด่นยิ่งขึ้น

 

อุปกรณ์ที่เป็นประโยชน์: กระเป๋าใส่หินถ่วงน้ำหนักขาตั้ง

หุบเขาบางแห่งอย่างหุบเขาโมโตะดานินี้มักมีลมกำลังแรงพัดลงมาจากเทือกเขาโดยรอบ ขาตั้งน้ำหนักเบาเพียงอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ แต่คุณสามารถเสริมด้วยกระเป๋าใส่หินถ่วงน้ำหนักขาตั้งได้ โดยอุปกรณ์นี้เป็นกระเป๋าแบบเก็บพับได้ซึ่งทำมาจากวัสดุที่ทนทาน และใช้พื้นที่ไม่มาก แต่สามารถรับน้ำหนักก้อนหินและวัตถุหนักๆ ได้เพื่อป้องกันขาตั้งสั่นไหว

กระเป๋าใส่หินถ่วงน้ำหนักขาตั้งที่ผมใช้


อ่านเคล็ดลับอื่นๆ เกี่ยวกับการถ่ายภาพฉากหิมะได้ที่
3 วิธีในการถ่ายภาพฉากฤดูหนาวสีเดียวให้ดูน่าสนใจ
2 ภาพฤดูหนาวอันงดงามในบิเอะ ฮอกไกโด (พร้อมเคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพ)

หากกำลังวางแผนไปเที่ยวประเทศญี่ปุ่นในฤดูหนาวและไม่แน่ใจว่าควรถ่ายภาพอะไร อ่านได้ที่
2 จุดถ่ายภาพฤดูหนาวอันงดงามในฮอกไกโด
ทิวทัศน์ฤดูหนาวแสนมหัศจรรย์: เมื่อเกล็ดหิมะระยิบระยับราวอัญมณีกลายเป็นเสาแสงอาทิตย์

คุณอาจสนใจบทความต่อไปนี้
วิธีการป้องกันกล้องของคุณสำหรับการถ่ายภาพในสภาพอากาศหนาวเย็น

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Takashi Karaki

หลังจากผ่านประสบการณ์การเป็นโค้ชกีฬา ต่อด้วยการทำงานในแวดวงการผลิตนิตยสารและบรรณาธิการมาเป็นเวลา 10 ปี Karaki ก็ย้ายไปยังเมืองโยนาโงะในจังหวัดท็อตโตริ ซึ่งเขาได้กลายเป็นที่รู้จักจากผลงานการถ่ายภาพทิวทัศน์ในภูมิภาคซันอินของญี่ปุ่น ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์ใน จุลสาร Amazing Village ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับหมู่บ้านสวยๆ ในญี่ปุ่นที่จัดทำขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือ CANON × Discover Japan ในปี 2017 และภาพทะเลหมอกที่ช่องเขาอาเคชิในจังหวัดท็อตโตริก็เป็นหนึ่งใน 12 ภาพที่ได้รับคัดเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (JNTO) ให้เป็นตัวแทนของญี่ปุ่น

Instagram: @karakky0918

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา