ถ่ายภาพสวยดั่งใจ: พระจันทร์และดวงดาวในทางช้างเผือกเหนือท้องทะเล
การถ่ายภาพดวงดาวให้ออกมาดูดีเป็นเรื่องยากเวลาที่มีพระจันทร์ปรากฏอยู่ แต่ก็ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้เลย! มาดูกันว่ามีวิธีอย่างไรที่จะถ่ายภาพเช่นนี้ได้ด้วยการเปิดรับแสงเพียงครั้งเดียว (เรื่องโดย: Minefuyu Yamashita, Digital Camera Magazine)
EOS 5D Mark IV/ EF16-35mm f/2.8L III USM/ FL: 16 มม./ Manual exposure (f/2.8, 30 วินาที)/ ISO 3200/ WB: ทังสเตน
อุปกรณ์อื่นๆ : ขาตั้งกล้อง
ขั้นตอนที่ 1: พระจันทร์ลักษณะใดที่ควรถ่าย—พระจันทร์เสี้ยว
เชื่อหรือไม่ว่าภาพด้านบนอาจดูเหมือนพระจันทร์เต็มดวง แต่อันที่จริงแล้วเป็นพระจันทร์เสี้ยวในคืนเดือนหงาย! หากคุณถ่ายภาพในคืนพระจันทร์เต็มดวงจริงๆ คุณจะมองไม่เห็นดวงดาว เช่นเดียวกับพระจันทร์ลักษณะอื่นๆ ในช่วงข้างขึ้น หากคุณต้องการถ่ายภาพดวงดาวและพระจันทร์ในเฟรมเดียวกัน ให้เลือกถ่ายในคืนจันทร์เสี้ยว
พระจันทร์เต็มดวง: แสงจันทร์กลบดวงดาว
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพดวงจันทร์ได้ที่:
เคล็ดลับการเปิดรับแสงและอุปกรณ์สำหรับการถ่ายภาพดวงจันทร์
ขั้นตอนที่ 2: ช่วงเวลาที่ควรถ่าย—เมื่อพระจันทร์ลอยต่ำ
เพื่อให้เห็นดวงดาวสว่างขึ้น ลองถ่ายภาพในเวลาที่พระจันทร์ลอยต่ำที่สุดในท้องฟ้า วิธีนี้จะช่วยลดผลกระทบจากแสงจันทร์
เพื่อให้ได้โทนสีน้ำเงินที่สวยงามและสงบเยือกเย็นในภาพหลักนี้ ผมเริ่มถ่ายภาพประมาณ 1 ชั่วโมงหลังจากพระอาทิตย์เริ่มตกดิน ผมถ่ายภาพเสร็จก่อนพระจันทร์ตก ขณะที่กำลังตก พระจันทร์จะอยู่ใกล้เส้นขอบฟ้าจนเกินไปและทำให้เส้นท้องฟ้าที่อยู่ใกล้เส้นขอบฟ้าเปลี่ยนเป็นสีแดง
หมายเหตุ: พระจันทร์เสี้ยวในคืนเดือนหงายมักจะขึ้น 2 ถึง 3 ชั่วโมงหลังจากพระอาทิตย์ตกดิน
30 นาทีหลังพระอาทิตย์ตก
ขณะที่ท้องฟ้ายังคงสว่างอยู่ 30 นาทีหลังพระอาทิตย์ตก จะมองไม่เห็นดวงดาว
ขั้นตอนที่ 3: ตัดสินใจเลือกทางยาวโฟกัสที่ให้องค์ประกอบภาพที่สมบูรณ์แบบ—16 มม.
ตอนที่ผมเห็นฉากนี้ ผมจินตนาการว่าจัดเฟรมพระจันทร์กับดวงดาวนับไม่ถ้วนไว้ด้วยกันกับภาพซิลูเอตต์ของต้นไม้บนพื้นดิน การจัดวางภาพซิลูเอตต์ของต้นไม้ไว้รอบพระจันทร์และดวงดาวจะดึงดูดสายตาของผู้ชมไปที่ตัวแบบหลัก ซึ่งก็คือพระจันทร์ ในการจัดองค์ประกอบภาพที่ว่านี้ ผมต้องใช้มุมรับภาพกว้างอัลตร้าไวด์จากการใช้ระยะมุมกว้างของเลนส์ซูมมุมกว้างอัลตร้าไวด์
ผมเดินเข้าไปในดงต้นไม้และพุ่มไม้รกที่ขึ้นตามชายฝั่ง แล้วมองหากิ่งไม้ที่มีรูปร่างที่จะทำให้เกิดภาพซิลูเอตต์สวยงาม
เคล็ดลับ: สายลมที่พัดผ่านต้นไม้อาจทำให้เกิดภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวในภาพซิลูเอตต์ ควรรอให้ลมหยุดพัดก่อนที่จะลั่นชัตเตอร์
ขั้นตอนที่ 4: หาการตั้งค่าการเปิดรับแสงที่เหมาะสม—30 วินาที ซึ่งสว่างขึ้นเล็กน้อย
ผมเลือกที่จะถ่ายภาพแบบเปิดรับแสง 30 วินาทีเพราะค่าอื่นๆ ที่นานกว่านี้จะทำให้เกิดเส้นแสงดาว (วิธีนี้อ้างอิงกฎ 500 (ฉบับภาษาอังกฤษ))
ระดับแสงต้องสว่างขึ้นเล็กน้อยเพื่อป้องกันไม่ให้ภาพซิลูเอตต์ของกิ่งไม้กลืนไปกับความมืด ผมควบคุมระดับแสงด้วยการปรับความไวแสง ISO
ซึ่งทำให้เกิดแสงสว่างโพลนในพระจันทร์เสี้ยว จึงดูคล้ายกับพระจันทร์เต็มดวง แต่วิธีนี้ได้ผลในกรณีนี้เพราะจะขับเน้่นท้องฟ้ายามค่ำคืนให้โดดเด่นและดูน่าประทับใจมากยิ่งขึ้น
เคล็ดลับ:
- หากกล้องของคุณมีฟังก์ชันการตั้งเวลาโหมด Bulb (มีในกล้องในรุ่นระดับกลางหรือสูงส่วนใหญ่) ควรใช้ประโยชน์จากฟังก์ชันนี้
- เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหากล้องสั่น ให้ลั่นชัตเตอร์ด้วยตัวตั้งเวลาหรือฟังก์ชันชัตเตอร์แบบแตะ หรือรีโมทสวิตช์ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ฟังก์ชันการถ่ายภาพ Live View ระยะไกลบนแอป Canon Camera Connect ได้
ฟังก์ชันการถ่ายภาพ Live View ระยะไกลยังมีประโยชน์เมื่อกล้องหรือรีโมทสวิตช์ของคุณไม่มีฟังก์ชันการตั้งเวลาถ่ายภาพ
การใช้ฟังก์ชันการถ่ายภาพ Live View ระยะไกลบน Camera Connect
ในโหมด Bulb ให้กดปุ่มลั่นชัตเตอร์ (บริเวณวงสีแดง) เพื่อเริ่มเปิดรับแสง
จอแสดงผลจะเปลี่ยนมาแสดงคำว่า “Shooting” และเวลาที่ผ่านไปจะแสดงใน “A” ถ้าคุณใช้ฟังก์ชันการตั้งเวลาโหมด Bulb การเปิดรับแสงจะสิ้นสุดโดยอัตโนมัติหลังจากเวลาที่กำหนดไว้ หากยังไม่หยุด ให้กดปุ่มหยุด (‘B’) เพื่อสิ้นสุดการเปิดรับแสง
หากต้องการเคล็ดลับและแรงบันดาลใจเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพดวงดาวและเทห์วัตถุบนท้องฟ้าประเภทอื่นๆ โปรดอ่านบทความต่อไปนี้:
การถ่ายภาพดวงดาว: สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงเมื่อถ่ายภาพดวงดาว
เทคนิคการถ่ายภาพดวงดาวที่ควรลองใช้กับ EOS R
หนึ่งสถานที่กับภาพสองแบบ: การถ่ายภาพประภาคารท่ามกลางแสงจันทร์และใต้ดวงดาว
เทคนิคการจัดองค์ประกอบภาพ: การสร้างภาพลวงตาให้พระจันทร์ดูใหญ่ขึ้น
ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: การใช้ระเบิดซูมเพื่อเปลี่ยนดวงดาวบนท้องฟ้าให้เป็นฝนดาวตก
หากคุณจริงจังกับการถ่ายภาพดวงดาวและคิดจะเพิ่มอุปกรณ์ถ่ายภาพส่วนตัว ลองพิจารณาอุปกรณ์ต่อไปนี้
กล้องสำหรับการถ่ายภาพดวงดาวโดยเฉพาะ:
Canon EOS Ra: ค้นฟ้าคว้าดาว
เลนส์มุมกว้างความเร็วสูงสำหรับถ่ายภาพที่สว่างและคมชัดยิ่งขึ้น
การถ่ายภาพดาราศาสตร์: การถ่ายภาพท้องฟ้าที่ดารดาษไปด้วยแสงดาวด้วยเลนส์ f/1.4
EF35mm f/1.4L II USM: เลนส์เดี่ยวสเปคสูงจะพลิกโฉมการถ่ายภาพดาราศาสตร์
เลนส์ฟิชอายสำหรับถ่ายภาพท้องฟ้าได้มากขึ้น:
EF8-15mm f/4L Fisheye USM: เลนส์ที่ผมใช้เป็นประจำในการถ่ายภาพดวงดาว
(โปรดติดตามเลนส์เหล่านี้ในเวอร์ชันเมาท์ RF!)
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
เกิดที่จังหวัดไอชิในปี 1979 หลังจากสั่งสมประสบการณ์ในงานด้านต่างๆ เช่น การออกแบบภายในและกราฟิกดีไซน์แล้ว Yamashita ได้ผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระในปี 2011 ผลงานของเขาได้ถูกนำไปพิมพ์ในปฏิทินมากมาย