ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

หนึ่งสถานที่กับภาพสองแบบ: การถ่ายภาพประภาคารท่ามกลางแสงจันทร์และใต้ดวงดาว

2020-01-06
2
4.46 k
ในบทความนี้:

สิ่งสำคัญที่จะทำให้ภาพถ่ายท้องฟ้ายามค่ำคืนแต่ละภาพของคุณดูมีเอกลักษณ์แปลกตาอยู่ที่ว่าคุณเลือกจัดวางส่วนประกอบใดไว้ที่กึ่งกลางภาพ นอกจากนี้ คุณยังสามารถเพิ่มความหลากหลายให้ภาพโดยการถ่ายภาพในช่วงเวลาต่างๆ ของวันและถ่ายภาพจากมุมที่หลากหลายได้ บทความนี้จะแนะนำเทคนิคในการถ่ายภาพท้องฟ้ายามค่ำคืนทั้งก่อนและหลังพระจันทร์จะลับขอบฟ้า (เรื่องโดย Minefuyu Yamashita, Digital Camera Magazine)

ประภาคารใต้ท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 18 มม./ Manual exposure (f/2.8, 30 วินาที)/ ISO 2500/ WB: หลอดไฟทังสเตน

 

แบบที่ 1: ใต้ท้องฟ้าตระการตาที่เต็มไปด้วยดวงดาว

สถานที่:

- สำหรับการถ่ายภาพท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาวนั้น ผมได้ย้ายจากสถานที่ที่เคยใช้ถ่ายภาพท้องฟ้าทางทิศตะวันตกที่ยังคงมีแสงจันทร์อยู่ไปยังสถานที่ใหม่ที่ผมสามารถถ่ายภาพท้องฟ้าทางทิศเหนือได้
(ภาพนี้ถ่ายก่อนฟ้าสางไม่นาน ในช่วงเวลานี้ ทิศทางเดียวที่ยังคงมืดอยู่คือท้องฟ้าทางทิศเหนือ)

- ผมเลือกถ่ายภาพจากมุมต่ำและแหงนหน้ากล้องขึ้นหาประภาคาร

ภาพรวมของการตั้งค่ากล้อง:

- ทางยาวโฟกัส: 18 มม. ซึ่งสามารถนำท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาวเข้าไปไว้ในภาพได้โดยไม่ทำให้ตัวประภาคารดูเล็กเกินไป
- ความเร็วชัตเตอร์: 30 วินาที เพื่อถ่ายภาพดวงดาวให้เห็นเป็นจุดแสงเด่นชัด
- รูรับแสงและความไวแสง ISO: f/2.8 (กว้างสุด) และ ISO 2500 เพื่อให้ภาพสว่างพอที่จะมองเห็นรูปทรงของประภาคารได้อย่างชัดเจน 

อื่นๆ:
เพื่อสื่ออารมณ์ของดวงดาวที่ส่องสว่างระยิบระยับได้ดียิ่งขึ้น ผมมุ่งเน้นที่การถ่ายทอดรายละเอียดของแสงไฟที่ส่องออกมาจากประภาคารในลักษณะแหล่งกำเนิดแสงที่โดดเด่นเช่นเดียวกับดวงดาว แสงสว่างโพลนในไฟประภาคารยังคงไว้เช่นเดิม 

 

สิ่งที่ทำให้ถ่ายภาพนี้ได้สำเร็จ


จุดที่ 1: เลือกส่วนของท้องฟ้าส่วนที่ไม่มีแหล่งกำเนิดแสงอันไม่พึงประสงค์

ดวงดาวจะดูสว่างที่สุดเมื่อพระจันทร์ลับขอบฟ้าไปแล้วและท้องฟ้ามืดสนิท เมื่อผมพิจารณาถึงผลกระทบจากแหล่งกำเนิดแสงอันไม่พึงประสงค์และตำแหน่งที่พระอาทิตย์จะขึ้นแล้ว ผมจึงเลือกที่จะถ่ายภาพท้องฟ้าทางทิศเหนือ คุณสามารถตรวจสอบช่วงเวลาที่พระจันทร์จะลับขอบฟ้าล่วงหน้าได้ทางออนไลน์หรือแอปในสมาร์ทโฟน เช่น Sun Surveyor (ฉบับภาษาอังกฤษ)


จุดที่ 2: ถ่ายภาพจากมุมต่ำ

เพื่อลดผลกระทบจากแหล่งกำเนิดแสงทุกชนิด ผมเลือกถ่ายภาพจากมุมต่ำและแหงนหน้ากล้องขึ้นหาประภาคารเพื่อให้ท้องฟ้าอันมืดมิดที่เต็มไปด้วยดวงดาวเข้าไปอยู่ในส่วนแบ็คกราวด์ วิธีดังกล่าวยังช่วยสร้างเอฟเฟ็กต์การขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟที่เกินจริงให้กับตัวประภาคารอีกด้วย ซึ่งจะดึงความสนใจของผู้ชมไปยังแหล่งแสงที่อยู่บริเวณกึ่งกลางภาพ


จุดที่ 3: เปิดรับแสงนาน 30 วินาทีหรือน้อยกว่าเพื่อถ่ายภาพดวงดาวเป็นจุดแสงเด่นชัด

เพื่อถ่ายภาพดวงดาวให้ปรากฏเป็นจุดแสงเด่นชัด วิธีที่ดีที่สุดคือใช้เวลาเปิดรับแสงนานประมาณ 30 วินาทีหรือน้อยกว่านั้น เนื่องจากหากเปิดรับแสงนานกว่านี้อาจทำให้ดวงดาวมีลักษณะเป็นเส้นแสงจนมองเห็นได้ชัดเจน และหากต้องการปรับความเร็วชัตเตอร์ ให้เพิ่มความไวแสง ISO ดังเช่นในตัวอย่างนี้ ผมตั้งค่าความไวแสง ISO เป็น 2500

 

ข้อควรรู้: ความเร็วชัตเตอร์มีผลต่อรูปทรงของดวงดาว

แม้ว่าทางยาวโฟกัสมีความสำคัญเช่นกัน ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลงจะทำให้ดวงดาวออกมาดูเบลอยิ่งขึ้น ซึ่งอาจทำให้มองเห็นประกายระยิบระยับได้น้อยลง

ภาพดวงดาวในระยะใกล้ถ่ายที่ 15 วินาที

ความเร็วชัตเตอร์: 15 วินาที

ภาพดวงดาวในระยะใกล้ถ่ายที่ 40 วินาที (เห็นเส้นแสงได้ชัดเจน)

ความเร็วชัตเตอร์: 40 วินาที

หากคุณรู้สึกอยากถ่ายภาพทิวทัศน์ดวงดาว ลองศึกษาเคล็ดลับและบทเรียนต่อไปนี้
ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: การใช้ระเบิดซูมเพื่อเปลี่ยนดวงดาวบนท้องฟ้าให้เป็นฝนดาวตก
ภาพทิวทัศน์ดวงดาวอันน่าทึ่ง: การถ่ายภาพดอกซากุระและทางช้างเผือกยามค่ำคืนให้สวยสดงดงาม
EF8-15mm f/4L Fisheye USM: เลนส์ที่ผมใช้เป็นประจำในการถ่ายภาพดวงดาว
เทคนิคการถ่ายภาพดวงดาวที่ควรลองใช้กับ EOS R

 

แบบที่ 2: แสงจันทร์อันน่าตื่นตาตื่นใจ

ประภาคารบนเนินเขาใต้ท้องฟ้าที่มีแสงจันทร์น่าตื่นตา

EOS 5D Mark III/ EF16-35mm f/2.8L II USM/ FL: 16 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 10 วินาที, EV+0.3)/ ISO 800/ WB: หลอดไฟทังสเตน

อุปกรณ์:

- เลนส์มุมกว้าง เพื่อช่วยขับเน้นภาพทิวทัศน์ที่ดูกว้างใหญ่ไพศาล
- เพื่อป้องกันไม่ให้ประภาคารในภาพดูบิดเบี้ยวไม่เป็นธรรมชาติ ผมจึงตั้งขาตั้งกล้องในจุดที่อยู่ในระดับแนวนอนเช่นเดียวกับประภาคาร 

ภาพรวมของการตั้งค่ากล้อง:

- สมดุลแสงขาว: “หลอดไฟทังสเตน” เพื่อเพิ่มโทนสีเย็นที่จะช่วยดึงเอาบรรยากาศของภาพถ่ายยามค่ำคืนออกมา
- รูรับแสง: ช่างภาพหลายคนอาจใช้รูรับแสงที่แคบลงสำหรับฉากในลักษณะนี้ แต่ผมเลือกที่จะใช้ค่ารูรับแสงกว้างสุดที่ f/2.8 และจับโฟกัสไปที่ประภาคาร ซึ่งทำให้พระจันทร์ดูมืดสลัวลง ภาพจึงให้ความรู้สึกนุ่มนวลมากขึ้น
- ความเร็วชัตเตอร์: 10 วินาที เพื่อป้องกันแสงสว่างโพลนใกล้กับไฟของประภาคาร
- ความไวแสง ISO: ลดให้มากที่สุดโดยไม่ส่งผลกระทบต่อการไล่เฉดสีของท้องฟ้า และผมก็พบว่าค่าสมดุลการเปิดรับแสงที่เหมาะสมคือ ISO 800

การจัดองค์ประกอบภาพ:
ผมต้องการให้เห็นประภาคารได้ชัดเจนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งนอกจากจะเป็นจุดเด่นในองค์ประกอบภาพแล้ว ยังช่วยดึงเอาความสง่างามของประภาคารออกมาด้วยในขณะที่ตั้งตระหง่านอยู่เหนือสิ่งอื่นๆ ภายใต้แสงจันทร์ และเมฆที่กำลังเคลื่อนตัวอยู่บนฟ้ายังช่วยเพิ่มความรู้สึกตื่นตาตื่นใจให้ภาพด้วย

 

สิ่งที่ทำให้ถ่ายภาพนี้ได้สำเร็จ


จุดที่ 1: สร้างความลึกด้วยทางยาวโฟกัสมุมกว้าง

ในการถ่ายภาพแสงจันทร์นี้ ผมไม่เพียงต้องการใช้ความกว้างในแนวตั้งและแนวนอนเพื่อเน้นถึงความรู้สึกที่กว้างใหญ่ไพศาลเท่านั้น แต่ยังต้องการใช้ประโยชน์จากมิติความลึกอันเป็นเอกลักษณ์ที่เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์สร้างได้อีกด้วย ผมถ่ายภาพที่ระยะ 16 มม. และรวมเอาต้นหญ้าที่อยู่ในโฟร์กราวด์และขอบฟ้าในแบ็คกราวด์เข้ามาในเฟรมด้วย ซึ่งเป็นการสร้างเอฟเฟ็กต์การขยายมุมมองเปอร์สเปคทีฟเกินจริงในบริเวณด้านหน้าและหลังประภาคาร


จุดที่ 2: สมดุลแสงขาว – “หลอดไฟทังสเตน” ช่วยเน้นโทนสีน้ำเงินของท้องฟ้า

ดวงจันทร์ที่มีโทนสีเหลืองเริ่มเปลี่ยนเป็นโทนสีแดงเมื่อเคลื่อนเข้าใกล้ขอบฟ้ามากขึ้น คล้ายกับพระอาทิตย์ที่กำลังตกดิน ภาพที่ได้จึงอาจดูเหมือนภาพพระอาทิตย์ตกดินหากผมตั้งค่าสมดุลแสงขาวเป็นอัตโนมัติ ดังนั้น ผมจึงตั้งค่าสมดุลแสงขาวเป็น “หลอดไฟทังสเตน” เพื่อสื่อความรู้สึกที่ผมได้สัมผัสที่สถานที่ถ่ายภาพได้ดีขึ้น


จุดที่ 3: เวลาการเปิดรับแสง 10 วินาทีเพื่อไม่ให้เกิดแสงสว่างโพลน

เนื่องจากประภาคารจะค่อยๆ หมุนตัวไปรอบๆ พร้อมกับส่องไฟสว่างเจิดจ้า ดังนั้น ภาพจึงอาจมีส่วนที่สว่างเกินไปได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าคุณอยู่ ณ จุดใดของประภาคารด้วย ผมประมาณเวลาที่แสงจะหมุนครบหนึ่งรอบ จากนั้นตั้งความเร็วชัตเตอร์ไว้ที่ 10 วินาทีเพื่อไม่ให้ภาพได้รับแสงมากเกินไป

 

ข้อควรรู้: ความสำคัญของแสงจันทร์

ภาพด้านล่างนี้ถ่ายในขณะที่พระจันทร์ซ่อนตัวอยู่หลังก้อนเมฆ เหลือเพียงแสงสว่างจากประภาคารเท่านั้น ดังนั้น สนามหญ้าในส่วนโฟร์กราวด์จึงดูมืดและประภาคารยังขาดความมีมิติอีกด้วย

ประภาคารบนเนินเขาภายใต้ท้องฟ้ายามค่ำคืนที่ไม่มีพระจันทร์

---

อ่านไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการถ่ายภาพจากสถานที่เดียวกันให้แตกต่างกันหลายแบบได้ที่:
หนึ่งสถานที่กับภาพสองแบบ: ภาพยามค่ำคืนแนวแอ็บสแตรกต์ - ความสงบเยือกเย็น กับ ความมีชีวิตชีวา

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Minefuyu Yamashita

เกิดที่จังหวัดไอชิในปี 1979 หลังจากสั่งสมประสบการณ์ในงานด้านต่างๆ เช่น การออกแบบภายในและกราฟิกดีไซน์แล้ว Yamashita ได้ผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระในปี 2011 ผลงานของเขาได้ถูกนำไปพิมพ์ในปฏิทินมากมาย

http://www.minefuyu-yamashita.com

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา