ข้อแตกต่างระหว่างการถ่ายภาพด้วยโหมดโปรแกรมกับโหมดแมนวล
ถ้าคุณเป็นเจ้าของกล้องมิเรอร์เลสหรือกล้อง DLSR สักตัวหนึ่ง คุณคงจะสังเกตเห็นว่าบนตัวกล้องมีแป้นเลือกโหมดอยู่ด้วย ซึ่งจะมีโหมดถ่ายภาพให้เลือกหลายโหมดด้วยกัน เช่น โหมดอัตโนมัติ โหมดโปรแกรม โหมดกำหนดความไวชัตเตอร์เอง โหมดกำหนดรูรับแสงเอง และโหมดแมนวล โหมดอัตโนมัติเหมาะกับช่างภาพมือใหม่ที่ยังไม่คุ้นเคยกับการใช้กล้องมิเรอร์เลส เมื่อคุณพร้อมสำหรับโหมดการทำงานที่ซับซ้อนขึ้นของกล้อง เราแนะนำว่าคุณควรอัปเกรดมาใช้โหมดโปรแกรม แล้วค่อยพัฒนามาใช้โหมดกำหนดชัตเตอร์เอง โหมดกำหนดรูรับแสงเอง แล้วจึงค่อยเปลี่ยนมาใช้โหมดแมนวล แล้วข้อแตกต่างระหว่างโหมดโปรแกรมซึ่งเป็นก้าวแรกของการถ่ายภาพ กับโหมดแมนวลซึ่งเปิดโอกาสให้คุณควบคุมองค์ประกอบภาพทุกอย่างด้วยตัวเอง คืออะไร
EOS M6, เลนส์ EF-M15-45 มม. f/3.5-6.3 IS STM, f/3.5, 17 มม., 1/40 วินาที, ISO100
พาสต้ากุ้งถ่ายโดยใช้โหมดโปรแกรม
โหมดโปรแกรม ก้าวแรกสู่การควบคุมการถ่ายภาพ
ในการทำความเข้าในโหมดโปรแกรมนั้น อันดับแรก คุณจะต้องเข้าใจองค์ประกอบหลักสามอย่างของการถ่ายภาพก่อน นั่นคือ ISO ISO คือระดับความไวต่อแสงของกล้อง คุณสามารถปรับให้แสงเข้ามาที่เซ็นเซอร์ในปริมาณที่ต้องการ ยิ่งแสงจ้าเท่าไหร่ ค่า ISO จะต้องน้อยลงเท่านั้น และหากรอบตัวของคุณมืด คุณก็จะต้องเพิ่มค่า ISO สูง ๆ การควบคุมค่า ISO นั่นสำคัญมาก เพราะการใช้ ISO ต่ำ ๆ (เช่น ISO100, 200 หรือ 400) ในการถ่ายภาพที่แสงสว่างเพียงพอ ภาพถ่ายที่ได้จะดูคมชัด แต่หากใช้ค่า ISO สูง ๆ (เช่น ISO800, 1600 ขึ้นไป) คุณจำเป็นต้องป้องกันไม่ให้ภาพถ่ายเบลอหากมีแสงน้อย จำไว้ว่า ยิ่งใช้ค่า ISO สูงขึ้นเท่าไหร่ เกรนในภาพถ่ายของคุณจะมองเห็นชัดขึ้นตามไปด้วย (ศัพท์ถ่ายภาพเรียกว่านอยซ์) ซึ่งนี่แหละคือสาเหตุว่าทำไมการปรับ ISO จึงสำคัญ)
EOS M6, เลนส์ EF-M15-45 มม. f/3.5-6.3 IS STM, f/4.5, 15 มม., 1/6 วินาที, ISO800
ถ่ายภาพกลางคืนในโหมดโปรแกรม โดยตั้งค่า ISO สูง ๆ
เมื่อเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับ ISO แล้ว คุณจะสามารถเปลี่ยนมาใช้โหมดโปรแกรมได้ ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าโหมดกำหนด ISO เอง โหมดโปรแกรมจะอนุญาตให้คุณปรับค่า ISO ได้ตามใจ โดยกล้องจะปรับขนาดรูรับแสงและความไวชัตเตอร์ให้คุณโดยอัตโนมัติ ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งหากคุณยังไม่คุ้นเคยกับรูรับแสงและความไวชัตเตอร์ (องค์ประกอบหลักอีกสองอย่างของการถ่ายภาพ) หลังจากประเมินสิ่งแวดล้อมรอบตัว คุณจะทราบว่าต้องการแสงแค่ไหน แล้วปรับ ISO ให้เหมาะสม การปรับค่า ISO อย่างเหมาะสมจะทำให้ภาพถ่ายที่ออกมาคมชัด ไม่มีนอยซ์ แม้จะถ่ายในสภาพแสงน้อยก็ตาม
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ISO ได้ใน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกล้อง #5:ความไว ISO
โหมดแมนวล โหมดที่คุณควบคุมทุกอย่างได้
เมื่อคุณเข้าใจแนวคิดเกี่ยวกับโหมดโปรแกรม โหมดกำหนดค่ารูรับแสงเอง และโหมดกำหนดความไวชัตเตอร์เอง การเปลี่ยนมาใช้โหมดแมนวลจะไม่ใช่เรื่องยากเหมือนอย่างในตอนแรก การได้เรียนรู้วิธีใช้โหมดแมนวลเป็นอะไรที่สนุกมาก เพราะคุณจะสามารถควบคุมองค์ประกอบสร้างสรรค์ทั้งหมดของภาพ โดยสามารถปรับทุกอย่างได้ ไม่ว่าจะเป็นค่า ISO, รูรับแสง ไปจนถึงความไวชัตเตอร์ ด้วยโหมดแมนวล คุณจะสามารถปรับขนาดรูรับแสงได้ตามใจเพื่อสร้างระยะชัดลึก (หลังเบลอ) ที่ต้องการในภาพถ่าย โดยปรับขนาดรูรับแสงให้กว้างขึ้นเพื่อให้ฉากหลังละลาย หรือจะปรับให้เล็กลง เพื่อให้ทุกอย่างในภาพรวมถึงตัวแบบและฉากหลังอยู่ในโฟกัส
ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโหมดกำหนดค่ารูรับแสงเองได้ใน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกล้อง #16:AE กำหนดรูรับแสงเอ
สัมผัสความงดงามของโหมดกำหนดความไวชัตเตอร์เองได้ใน ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกล้อง #17:AE กำหนดความไวชัตเตอร์เอง
EOS M6, เลนส์ EF-M15-45 มม. f/3.5-6.3 IS STM, f/6.3, 45 มม., 1/320 วินาที, ISO100
ควบคุมระยะชัดลึกโดยใช้โหมดแมนวลของกล้อง
เมื่อเป็นเรื่องของความไวแล้ว คุณสามารถใช้โหมดแมนวลเพื่อปรับความไวชัตเตอร์ได้อย่างแม่นยำและกำหนดสไตล์ของภาพถ่ายได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการถ่ายภาพเคลื่อนไหว (เช่น รถแข่ง นักกีฬาในสนาม หรือสัตว์เลี้ยงที่กำลังเคลื่อนที่) คุณสามารถเลือกความไวชัตเตอร์มากขึ้น ในทางตรงกันข้าม คุณสามารถทำให้ความเคลื่อนไหวในภาพถ่ายดูพร่ามัวได้โดยใช้ความไวชัตเตอร์ต่ำ (นึกถึงเส้นโคจรของดวงดาว เส้นแสง หรือน้ำตกที่ดูนุ่มนวล)
EOS M6, เลนส์ EF-M15-45 มม. f/3.5-6.3 IS STM, f/29, 23 มม., 4secs, ISO800
การถ่ายภาพรถยนต์ที่กำลังเคลื่อนผ่านอย่างรวดเร็ว โดยเปิดรับแสงเป็นเวลานานในโหมดแมนวล
ดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณตั้งค่าความไวชัตเตอร์ได้เหมาะสมขณะกำลังถ่ายภาพดอกไม้ไฟ เคล็ดลับเกี่ยวกับความไวชัตเตอร์: วิธีถ่ายภาพดอกไม้ไฟทั้งหมดรวมไว้ในภาพเดียว
พัฒนาไปทีละโหมด
เมื่อใช้โหมดอัตโนมัติจนคล่องแล้ว ให้เริ่มใช้โหมดโปรแกรม เมื่อฝึกฝนอย่างเพียงพอ คุณจะเข้าใจการทำงานของกล้องในโหมดนี้ ซึ่งจะนำคุณเข้าสู่โหมดกำหนดรูรับแสงเองหรือโหมดกำหนดความไวชัตเตอร์เอง (ไม่ต้องเรียงตามลำดับ) ต่อไป เมื่อคุณมีทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการใช้กล้องแล้ว โหมดแมนวลคือด่านสุดท้าย ซึ่งคุณจะสามารถควบคุมการถ่ายภาพทุกช็อตได้ทั้งหมด และนั่นแหละคือจุดเริ่มต้นของความสนุก
เข้าใจโหมดแมนวลมากขึ้นด้วยความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกล้อง #18: การถ่ายภาพในโหมดแมนวล
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!