ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

6 สิ่งเกี่ยวกับกล้องถ่ายภาพยนตร์ที่นักสร้างวิดีโอมืออาชีพควรทราบ

2021-12-17
112
137.32 k
ในบทความนี้:

หากคุณเป็นช่างภาพนิ่งและวิดีโอหรือชื่นชอบการถ่ายวิดีโอด้วยกล้อง DSLR หรือกล้องมิเรอร์เลส กล้องซีรีย์ Cinema EOS จาก Canon อาจดูเหมือนกล้องอีกระดับที่เทียบกันไม่ได้โดยสิ้นเชิง นี่คือซีรีย์กล้องที่ออกแบบมาเพื่อการผลิตวิดีโอระดับมืออาชีพ เช่น ภาพยนตร์ มิวสิควิดีโอ และรายการโทรทัศน์ ซึ่งคุณอาจจะไม่พบเห็นในร้านจำหน่ายกล้องทั่วไป แต่กล้องรุ่นใหม่รุ่นหนึ่งจะช่วยลดช่องว่างนี้ได้ นั่นคือ EOS C70 ที่มีขนาดค่อนข้างกะทัดรัดและราคาย่อมเยา อีกทั้งยังเป็นกล้อง Cinema EOS รุ่นแรกที่มีเมาท์ RF อีกด้วย

หากอยากทราบว่ากล้องถ่ายภาพยนตร์อย่าง EOS C70 แตกต่างจากกล้อง DSLR หรือกล้องมิเรอร์เลสอย่างไร และทำไมคุณจึงควรลองหามาใช้หากคุณวางแผนที่จะยกระดับการผลิตวิดีโอขึ้นไปอีกขั้น มาหาคำตอบได้จากบทความนี้

- ข้อมูลเบื้องต้น: Cinema EOS ระบบกล้องที่ปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์
- Super 35 มม. คืออะไร
- Canon Log คืออะไรและส่งผลต่อคุณภาพของภาพอย่างไร
- ปัจจัยที่มีผลต่อเวลาในการบันทึกวิดีโอจริง
- ความสามารถในการโฟกัสอัตโนมัติที่ “สร้างมาเพื่อวิดีโอ”
- ความสำคัญของฟิลเตอร์ ND
- เลนส์ที่รองรับ
- สรุป: คุณควรซื้อกล้องถ่ายภาพยนตร์หรือไม่

 

Download Brochure

 

ข้อมูลเบื้องต้น: Cinema EOS ถือได้ว่าเป็นระบบกล้องที่ปฏิวัติวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์

เมื่อครั้งที่ EOS 5D Mark II เปิดตัวไปในปี 2008 กล้องรุ่นนี้รองรับการบันทึกวิดีโอแบบ Full HD พร้อมทั้งประสิทธิภาพด้านความไวแสง ISO สูงและความสามารถในการแสดงภาพที่มีระยะชัดตื้นอันน่าจดจำด้วยเซนเซอร์ภาพขนาดฟูลเฟรม 35 มม. คุณสมบัติเหล่านี้ทำให้กล้องเป็นที่นิยมอย่างมากและโด่งดังถึงระดับแถวหน้าของวงการฮอลลีวู้ด แต่กล้องนี้ยังคงถือเป็นรุ่นที่สร้างขึ้นมาเพื่อถ่ายภาพนิ่งเป็นหลัก และไม่สามารถตอบโจทย์ข้อกำหนดอันเข้มงวดในการผลิตภาพยนตร์ระดับมืออาชีพได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านี้ ทาง Canon จึงได้พัฒนาระบบกล้อง Cinema EOS ขึ้นมาซึ่งได้เปิดตัวไปในปี 2012 ด้วยรุ่น EOS C300 กล้องซีรีย์ใหม่นี้ใช้ประโยชน์จากจุดเด่นของเซนเซอร์ภาพที่ค่อนข้างใหญ่ (เมื่อครั้งที่เซนเซอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในกล้องถ่ายทอดสดและกล้องถ่ายวิดีโอส่วนใหญ่เป็นเซนเซอร์ 2/3 นิ้ว) โดยนำมาใช้สำหรับการผลิตภาพยนตร์เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ระดับมืออาชีพ

ในช่วงเวลานั้น กล้องถ่ายภาพยนตร์แบบดิจิตอลและเลนส์มีราคาแพงมาก และเป็นเรื่องปกติที่จะเช่าอุปกรณ์เหล่านี้แทนที่จะซื้อเป็นเจ้าของ กล้องระบบ Cinema EOS ได้ปฏิวัติวงการถ่ายภายด้วยการเป็นผลิตภัณฑ์ประสิทธิภาพสูงในราคาที่ค่อนข้างต่ำลง ตลอดจนสามารถรองรับเลนส์ EF ซึ่งมีราคาย่อมเยากว่าเลนส์ถ่ายภาพยนตร์ในท้องตลาดอยู่มาก ด้วยเหตุนี้ กล้องถ่ายภาพยนตร์แบบดิจิตอลที่มีเซนเซอร์ขนาดใหญ่ยิ่งกว่าที่เคยจึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง

ในปัจจุบัน กล้องระบบ Cinema EOS ประกอบด้วยกล้องหลากหลายรุ่นเพื่อตอบโจทย์การผลิตระดับต่างๆ ตั้งแต่รุ่นกะทัดรัดที่สร้างขึ้นเพื่อการสร้างภาพยนตร์คนเดียวและต้องใช้ความเร็ว ไปจนถึงรุ่นขั้นสูงที่ออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการในการผลิตที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น นอกจากการสร้างภาพยนตร์และการถ่ายวิดีโอแล้ว ขณะนี้กล้อง Cinema EOS ยังถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับถ่ายวิดีโอภาพเคลื่อนไหวรูปแบบอื่นๆ เช่น คอนเทนต์ในโซเชียลมีเดียและการไลฟ์สด

 

กลุ่มผลิตภัณฑ์ Cinema EOS ประกอบด้วยกล้องถ่ายภาพยนตร์หลายรูปแบบ ตั้งแต่ EOS C300 Mark III ที่มีเซนเซอร์ภาพ DGO แบบ Super 35 มม. ไปจนถึง EOS C700 FF รุ่นเรือธงที่มีเซนเซอร์ภาพแบบฟูลเฟรม

EOS C70 ที่เปิดตัวไปในปี 2020 เป็นกล้อง Cinema EOS รุ่นแรกที่มีเมาท์ RF อีกทั้งมีขนาดกะทัดรัดและราคาค่อนข้างย่อมเยาสำหรับกล้องถ่ายภาพยนตร์ด้วยราคาราวๆ กับกล้อง DSLR รุ่นเรือธงจาก Canon ทำให้กล้องรุ่นนี้เป็นกล้องถ่ายภาพยนตร์แบบดิจิตอลรุ่นแรกในอุดมคติ

 

1. Super 35 มม. คืออะไร

กล้อง EOS C70 มาพร้อมเซนเซอร์ภาพ DGO แบบ Super 35 มม. ความละเอียด 4K คุณอาจเคยเห็นคำนี้ใช้อธิบายขนาดเซนเซอร์ของกล้องถ่ายภาพยนตร์แบบดิจิตอลอยู่บ่อยครั้ง แต่จริงๆ แล้ว Super 35 มม. คืออะไรกันแน่

Super 35 มม. คือขนาดเซนเซอร์มาตรฐานในกล้องถ่ายภาพยนตร์ เช่นเดียวกับที่ฟูลเฟรมเป็นขนาดเซนเซอร์มาตรฐานในการถ่ายภาพนิ่ง ที่จริงแล้ว รูปแบบฟูลเฟรมนั้นเกิดขึ้นจากการนำม้วนฟิล์ม 35 มม. มาใช้ เหล่าวิศวกรต้องการสื่อบันทึกที่เหมาะสมเพื่อสร้างกล้องถ่ายภาพนิ่งที่ใช้งานง่ายและมีราคาย่อมเยา พวกเขาค้นพบคำตอบจากการตัดฟิล์มภาพยนตร์ 35 มม. ซึ่งขณะนั้นอยู่ในระหว่างการผลิตปริมาณมากอยู่แล้ว จากนั้นนำมาใส่ในรูปแบบคาร์ทริดจ์กะทัดรัด


ฟูลเฟรมกับ Super 35 มม.: ความแตกต่างที่สำคัญ

ทั้ง Super 35 มม. และแบบฟูลเฟรมใช้ฟิล์มที่มีความกว้าง 35 มม. แต่ความแตกต่างอยู่ที่การวางแนวในการบันทึก ซึ่งสะท้อนถึงวิธีที่ฟิล์มถูกป้อนผ่านกล้อง


Super 35 มม.

แต่ละภาพถูกบันทึกในแนวตั้งเหนือภาพก่อนหน้าเพื่อให้ปลายฝั่งยาวของแต่ละภาพขนานกับขอบ 35 มม. ของฟิล์ม ปลายฝั่งยาวนี้วัดได้ประมาณ 24 มม. หลังจากคำนวณรอยปรุด้านข้างแล้ว ภาพแต่ละภาพมีอัตราส่วน 16:9 หรือ 1.9:1 ดังนั้นภาพที่ได้จึงคล้ายกับที่บันทึกจากเซนเซอร์ APS-C ในโหมด 16:9


ฟูลเฟรม 35 มม.

แต่ละภาพถูกบันทึกในแนวนอนข้างภาพก่อนหน้าเพื่อให้ขอบด้านสั้นของภาพขนานกับด้านกว้าง 35 มม. ของฟิล์ม ขนาดของภาพที่ได้คือสิ่งที่ปัจจุบันนี้เราเรียกกันว่า แบบฟูลเฟรม 35 มม.


พิกเซลของเซนเซอร์ภาพ: ตัวเลขบอกเล่าเรื่องราวเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้น

EOS C70 มีเซนเซอร์ภาพแบบ Super 35 มม. พร้อมความละเอียดประมาณ 8.85 ล้านพิกเซล ขณะที่ EOS R5 มีเซนเซอร์ภาพแบบฟูลเฟรม พร้อมความละเอียดประมาณ 45 ล้านพิกเซล เนื่องจากกล้องทั้งสองรุ่นมีเมาท์แบบเดียวกัน จึงเห็นความแตกต่างด้านขนาดได้อย่างชัดเจนในภาพด้านบน


ข้อพิจารณาที่ 1: การถ่ายภาพแบบ 8K

หากพิจารณาขนาดภาพเพียงอย่างเดียว EOS R5 ถือเป็นตัวเลือกที่ชัดเจนหากคุณต้องการบันทึกวิดีโอระดับ 8K ซึ่งต้องใช้เซนเซอร์ที่บันทึกภาพด้วยความกว้างประมาณ 8,000 พิกเซล แต่อาจต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งก่อนที่ความละเอียดระดับ 8K และเทคโนโลยีที่รองรับจะมีการพัฒนาเต็มที่และสามารถเข้าถึงได้มากพอที่จะทำให้ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จนกว่าจะถึงตอนนั้น แม้คุณจะถ่ายภาพแบบ 8K แต่ก็ยังอาจต้องแปลงภาพให้เป็น 4K อยู่ เซนเซอร์ภาพของ EOS C70 รองรับการบันทึก 4K DCI (4096 × 2160 หรือ 8,847,360 พิกเซล) ซึ่งยังคงถือเป็นเรื่องปกติและจะเป็นเช่นนี้ไปอีกระยะหนึ่ง


ข้อพิจารณาที่ 2: วิธีการสร้างไฟล์วิดีโอ 4K คุณภาพสูง

เมื่อใช้กล้อง EOS R5 คุณสามารถสุ่มวิดีโอ 8.2K ด้วยความถี่สูงเพื่อสร้างวิดีโอ 4K ที่มีคุณภาพสูงขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนนี้ส่งผลให้ระบบประมวลผลภาพอาจเกิดความร้อนสูงเกินไปและสูญเสียคุณภาพของภาพเมื่อผ่านไปเป็นระยะเวลานานๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจาก EOS R5 ไม่มีระบบทำความเย็นเหมือน EOS C70 ในขณะเดียวกัน เมื่อบันทึกไฟล์วิดีโอ 4K 8.85 ล้านพิกเซล EOS C70 มีการอ่านพิกเซลเต็มรูปแบบซึ่งจะอ่านผลลัพธ์จากแต่ละพิกเซลทีละจุดโดยไม่มีการรวมพิกเซลเข้าด้วยกัน ทำให้ได้ภาพ 4K คุณภาพสูงแม้จะไม่ได้ทำการสุ่มด้วยความถี่สูง


เซนเซอร์ DGO คืออะไร

EOS C70 มาพร้อมเทคโนโลยีเซนเซอร์ Dual Gain Output (DGO) ที่พลิกโฉมวงการ ซึ่งถูกนำมาใช้เป็นครั้งแรกใน EOS C300 Mark III เซนเซอร์นี้ใช้การอ่านผลที่แตกต่างกันสองแบบจากพิกเซลภาพหนึ่งจุดในแบบเรียลไทม์ การอ่านผลแต่ละแบบจะขยายส่วนภาพด้านหนึ่ง จึงเป็นที่มาของคำว่า “dual gain” โดยที่การอ่านผลแบบหนึ่งขยายความอิ่มตัวของสี (saturation-prioritising gain) ซึ่งจะรักษาความอิ่มตัวของสีและรายละเอียดในส่วนที่สว่าง ขณะที่การอ่านผลอีกแบบจะเน้นจุดรบกวนที่น้อยลง (noise-prioritising gain) ซึ่งจะรักษารายละเอียดในส่วนเงาและส่วนที่มืด การรวมการอ่านผลทั้งสองแบบจะสร้างฟุตเทจ HDR สีสันสดใสซึ่งมีจุดรบกวนที่สังเกตเห็นได้อยู่น้อย

ต่อไปนี้เป็นคำอธิบายเชิงเทคนิคโดยละเอียดเกี่ยวกับวิธีการทำงานของเซนเซอร์ DGO (ฉบับภาษาอังกฤษ)

 

2. Canon Log คืออะไรและส่งผลต่อคุณภาพของภาพอย่างไร

สำหรับการถ่ายวิดีโอ การเก็บรายละเอียดในส่วนที่สว่างและส่วนเงาจะขึ้นอยู่กับช่วงไดนามิกเรนจ์เช่นเดียวกับการถ่ายภาพนิ่ง

ในการถ่ายภาพนิ่ง วิธีการสร้างภาพ High Dynamic Range (HDR) แบบดั้งเดิมจะเป็นการรวมภาพซ้อนที่ถ่ายคร่อมอย่างน้อย 3 ภาพเข้าด้วยกัน ภาพที่ถ่ายคร่อมจะได้รับแสงสำหรับส่วนที่สว่าง โทนน้ำหนักกลาง และเงาตามลำดับ และเมื่อรวมทั้งสามอย่างเข้าด้วยกันจะเพิ่มช่วงไดนามิกเรนจ์ของภาพที่ได้

แต่เมื่อบันทึกวิดีโอ จะไม่สามารถถ่ายคร่อมทุกเฟรมได้ (ถึงแม้เซนเซอร์ DGO จะทำงานในลักษณะที่คล้ายกัน) เฟรมที่บันทึกแต่ละเฟรมต้องมีช่วงไดนามิกเรนจ์ที่กว้างอยู่แล้ว ซึ่งวิธีการหนึ่งที่ทำได้คือผ่านการบันทึก Log


การบันทึก Log ทำงานอย่างไร

ปริมาณแสงที่เข้าสู่พิกเซลภาพแต่ละจุด (Photosite) จะสร้างสัญญาณอะนาล็อกที่ต้องแปลงเป็นสัญญาณดิจิตอล ในระหว่างการแปลง กล้องจำเป็นต้องกำหนดวิธีบันทึกการแมปโทนสี (ความสว่าง) ที่จะบันทึกตามความเข้มของแสงที่ตรวจจับได้ “แมป” นี้คือโหมดแกมมา

กล้องวิดีโอส่วนใหญ่ใช้แกมมาที่เรียกว่า Rec.709 ซึ่งแมปแสงบนเส้นโค้งที่ค่อนข้างเป็นแนวตรง Rec.709 ถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในโทรทัศน์และจอแสดงผล อีกทั้งช่วยให้สามารถดูภาพได้อย่างน่าพึงพอใจ แม้จะเปิดดูฟุตเทจที่บันทึกโดยไม่ผ่านการปรับแต่งภาพ อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก Rec.709 ไม่มีช่วงไดนามิกเรนจ์ที่กว้างมาก จึงแสดงรายละเอียดในส่วนที่สว่างและส่วนเงาได้ไม่ดีมากนัก

แต่ฟิล์มแบบเงินเฮไลด์ที่ใช้ในทั้งการถ่ายภาพนิ่งและการถ่ายทำภาพยนตร์นั้นขึ้นชื่อเรื่องคุณสมบัติภาวะไวแสงอันเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งสามารถแสดงโทนสีช่วงต่างๆ (ช่วงไดนามิกเรนจ์กว้าง) ตั้งแต่ส่วนที่สว่างไปยังส่วนเงา ซึ่งให้ละติจูด (ปริมาณการรับแสงมากเกินไปหรือน้อยเกินไปที่สามารถฟื้นฟูรายละเอียดได้) ที่มากขึ้น และจะมีการสร้างแกมมา Log เพื่อถ่ายทอดลักษณะความไวแสงของฟิล์มในแบบดิจิตอล


“แต่ฟุตเทจ Canon Log ดูราบเรียบไร้มิติเกินไป…”

ฟุตเทจที่บันทึกในแกมมา Log อย่าง Canon Log มีช่วงไดนามิกเรนจ์ที่กว้าง แต่คุณอาจสังเกตเห็นว่าค่อนข้างมีความอิ่มตัวต่ำและความเปรียบต่างต่ำ สภาพที่เป็นกลางเช่นนี้ทำให้ฟุตเทจสามารถรักษาข้อมูลโทนสีได้มากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนเงาและส่วนที่สว่างมาก ด้วยเหตุนี้ คุณจึงมีละติจูดมากขึ้นเมื่อปรับแก้สีในขั้นตอนการปรับแต่งภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการที่จำเป็นสำหรับการทำให้ผลงานของคุณมีลุคและบรรยากาศที่โดดเด่น

 

Rec.709

ฟุตเทจที่ถ่ายด้วยแกมมา Rec.709 แบบดั้งเดิม การเปิดรับแสงสำหรับตัวม้าและคนทำให้ภูเขาและท้องฟ้าในแบ็คกราวด์ดูสว่างโพลน

 

Canon Log

เมื่อใช้ Canon Log โทนสีภูเขาและท้องฟ้าในแบ็คกราวด์ถูกถ่ายทอดออกมา ซึ่งแสดงให้เห็นข้อมูลโทนสีมากมายที่บันทึกไว้

 

Canon Log (แบบปรับแก้สีแล้ว)

การปรับแก้สีจะปรับสีและโทนสีในฟุตเทจให้ถ่ายทอดความสวยงามของภาพตามที่ต้องการ ข้อมูลโทนสีมากมายที่ถูกบันทึกไว้ยังช่วยให้ถ่ายทอดภาพได้อย่างอิสระมากขึ้น


Canon Log, Canon Log 2 และ Canon Log 3: แตกต่างกันอย่างไร

ในกล้องซีรีย์ Cinema EOS นั้น มีแกมมา Canon Log ที่แตกต่างกันอยู่สามแบบ กล้อง EOS C70 มี Canon Log 2 และ Canon Log 3 ขณะที่กล้อง EOS R5 และ EOS R6 มาพร้อมกับ Canon Log และ Canon Log 3 จากทั้งสามแบบ Canon Log 2 จะได้ช่วงไดนามิกเรนจ์ที่กว้างที่สุด

 
Canon Log
ช่วงไดนามิกเรนจ์ ประมาณ 12 สต็อป
800%
คุณสมบัติเด่น ปรับแก้สีได้ง่ายขึ้นเนื่องจากคุณภาพของภาพใกล้เคียงกับ ITU-R BT.709
Canon Log 2
ช่วงไดนามิกเรนจ์ ประมาณ 15 สต็อป
(สำหรับเซนเซอร์ DGO ระดับ 4K ของกล้อง EOS C70: เทียบเท่าสูงสุด 16 สต็อปขึ้นไป)
1600%
คุณสมบัติเด่น มีลักษณะเฉพาะใกล้เคียงกับฟิล์ม ให้โทนสีที่สูงขึ้นในส่วนที่สว่างปานกลางถึงมืด
Canon Log 3
ช่วงไดนามิกเรนจ์ ประมาณ 13.3 สต็อป 
(สำหรับเซนเซอร์ DGO ระดับ 4K ของกล้อง EOS C70: เทียบเท่าสูงสุด 14 สต็อป)
1600%
คุณสมบัติเด่น รักษาข้อดีของ Canon Log ไว้ ทว่ามีช่วงไดนามิกเรนจ์ที่มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่สว่าง

เซนเซอร์ DGO แบบ Super 35 มม. ความละเอียด 4K ของกล้อง EOS C70 เพิ่มช่วงไดนามิกเรนจ์ขึ้นมากกว่าเดิม ซึ่งช่วยให้ได้ค่าเทียบเท่าสูงสุด 16 สต็อปขึ้นไปใน Canon Log 2 และเทียบเท่าสูงสุด 14 สต็อปใน Canon Log 3 ในแง่นี้เอง กล้อง EOS C70 จะเปิดโอกาสให้ปรับแต่งภาพมากขึ้นและถ่ายภาพเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างอิสระยิ่งขึ้น


สิ่งที่ควรรู้: สามารถรองรับแกมมา HDR อื่นๆ

กล้อง EOS C70 รองรับแกมมาอื่นๆ เช่น HDR PQ และ HLG ซึ่งกลายเป็นมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปในการผลิตวิดีโอ HDR แม้ว่ากล้อง EOS DSLR และกล้องระบบ EOS R บางรุ่นจะรองรับการบันทึกภาพแบบ HDR PQ แต่ขณะนี้ยังไม่มีรุ่นที่รองรับ HLG ขณะที่ Canon Log รองรับกระบวนการปรับแต่งภาพที่จำเป็นต้องปรับแก้สีสำหรับผลงานสร้างสรรค์ที่ต้องการ แต่ HLG และ HDR PQ จะรองรับกระบวนการที่ไม่จำเป็นต้องปรับแก้สีสำหรับภาพผลงานในขั้นสุดท้าย

 

3. ปัจจัยที่มีผลต่อเวลาในการบันทึกวิดีโอจริง

เพราะเหตุใดกล้อง DSLR และกล้องมิเรอร์เลสจึงมีขีดจำกัดในการบันทึกวิดีโอ


1) ภาษีนำเข้า

บางภูมิภาคมีกฎหมายที่กำหนดให้ภาษีนำเข้ากล้องวิดีโอมีมูลค่าสูงกว่า (ฉบับภาษาอังกฤษ) กล้องถ่ายภาพ โดยที่ “กล้องวิดีโอ” ถูกกำหนดให้เป็นกล้องที่มีความสามารถในการบันทึกได้นานกว่า 30 นาที (ข้อบังคับนี้ถูกยกเลิก (ฉบับภาษาอังกฤษ) แล้ว) เพื่อหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีเพิ่มเติมและช่วยให้ราคาขายปลีกต่ำลง เวลาในการบันทึกในกล้อง DSLR และกล้องมิเรอร์เลสจึงถูกจำกัดไว้ไม่เกิน 30 นาที


2) ความร้อนสูงเกินไป

การบันทึกไฟล์วิดีโอความละเอียดสูงสร้างภาระในการประมวลผลปริมาณมาก ซึ่งทำให้ระบบประมวลผลภาพร้อนขึ้น กล้องถ่ายภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้องระดับสูงๆ นั้นจะมีซีลป้องกันสภาพอากาศเพื่อป้องกันฝุ่นและละอองน้ำ แต่จะทำให้ระบายความร้อนออกได้ยากเช่นกัน

 

ในทางตรงกันข้าม EOS C70 มีระบบระบายความร้อนแบบแอคทีฟ ซึ่งสังเกตได้ง่ายๆ จากช่องระบายอากาศขนาดใหญ่ที่อยู่บนตัวกล้อง ระบบนี้ประกอบด้วยพัดลมและระบบระบายความร้อนในตัวที่จะช่วยทำความเย็นและขจัดความร้อนที่สะสมอยู่ภายในกล้อง ทำให้สามารถบันทึกได้อย่างต่อเนื่องตราบเท่าที่แบตเตอรี่และพื้นที่หน่วยความจำของคุณเหลืออยู่ ระบบนี้จะแยกออกจากชิ้นส่วนที่ได้รับการซีลป้องกันสภาพอากาศของกล้องเพื่อป้องกันไม่ให้ฝุ่นและความชื้นเข้าไปภายในเซนเซอร์และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์


ข้อควรรู้: ถ่ายภาพที่มีอัตราเฟรมสูงขึ้น

รูปแบบการบันทึกหลักของกล้อง EOS C70 มีดังนี้

4K DCI/UHD (XF-AVC/MP4) YCC 4:2:2
10 บิต
59.94p/50.00p/
29.07p/25.00p/24.00p/23.98p
2K DCI/FHD (XF-AVC/MP4)
4K DCI/UHD (MP4) YCC 4:2:0
10 บิต หรือ 8 บิต
2K DCI/FHD (MP4)

นอกจากนี้ กล้อง EOS C70 ยังรองรับการถ่ายภาพที่มีอัตราเฟรมสูงสุด 4K 120p พร้อมการติดตาม AF และการบันทึกเสียงอีกด้วย แทร็กเสียงจะถูกบันทึกลงในช่องใส่การ์ด SD อื่นไว้เป็นไฟล์แยกต่างหาก คุณจึงสามารถมีเสียงต้นฉบับได้แม้ว่าจะตัดต่อฟุตเทจเป็นคลิปแบบสโลโมชั่นก็ตาม และด้วยโหมดครอป 2K จึงทำให้อัตราเฟรมสูงถึง 180p


เคล็ดลับ: สัมผัสประสบการณ์การถ่ายภาพที่มีอัตราเฟรมสูงที่ดีที่สุด

EOS C70 มีช่องใส่การ์ด SD แบบคู่ คุณจึงสามารถใช้การ์ด SD ที่คุณมีอยู่แล้วได้ แต่เพื่อให้ได้รับประสบการณ์การบันทึกที่ดีที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อบันทึกด้วยอัตราเฟรมที่สูงขึ้น ขอแนะนำให้ใช้การ์ด SD ที่มีความเร็วระดับ V90 

 

4. ความสามารถในการโฟกัสอัตโนมัติที่ “สร้างมาเพื่อวิดีโอ”

คุณเคยได้ยินเรื่องคนหมุนโฟกัส (Focus Puller) ไหม

ในการผลิตภาพยนตร์และวิดีโอ นี่คือสมาชิกทีมงานคนสำคัญมากซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องเดียวเท่านั้น นั่นคือ การควบคุมโฟกัสแบบออพติคอลของกล้องด้วยตนเอง อาจถือได้ว่าพวกเขาทำงานที่ยากที่สุดในกองถ่าย เนื่องจากปัญหาโฟกัสมักจะไม่สามารถแก้ไขได้ในขั้นตอนหลังการถ่ายทำ ด้วยความละเอียดสูงพิเศษอย่าง 4K ทำให้แม้แต่ความเบลอที่เกิดขึ้นเพียงเล็กน้อยในโฟกัสก็ยังสามารถมองเห็นได้ชัดเจน ความช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ จากเทคโนโลยีนั้นมีประโยชน์มากทีเดียว แม้กระทั่งกับคนหมุนโฟกัสมือฉมัง! ดังนั้น ความสามารถในการโฟกัสอัตโนมัติ (AF) จึงมีความสำคัญอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน


AF สำหรับวิดีโอ กับ AF สำหรับการถ่ายภาพ

ในการถ่ายภาพ ยิ่งจับโฟกัสที่ตัวแบบได้เร็วเท่าไรก็ยิ่งดีเท่านั้น แต่ในวิดีโอนั้น การเปลี่ยนจุดโฟกัสจะถูกบันทึกไว้และอาจแม้กระทั่งมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดอารมณ์ภาพด้วย การสลับโฟกัสแบบฉับพลันทันทีอาจดูไม่ดีนัก คุณจึงมักต้องการให้การเปลี่ยนโฟกัสนั้นเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุด

เช่นเดียวกับกล้อง EOS DSLR และกล้องมิเรอร์เลสรุ่นล่าสุด EOS C70 มีระบบ Dual Pixel CMOS AF ซึ่งใช้พิกเซลทั้งหมดบนเซนเซอร์ภาพ CMOS เพื่อทำหน้าที่ตรวจจับระยะ ความครอบคลุมของ AF นั้นกว้าง 80% × 80% ของเฟรมภาพ แต่ไม่เพียงเท่านั้น ระบบโฟกัสของกล้องยังได้รับการออกแบบโดยอ้างอิงการทำงานของคนหมุนโฟกัส นั่นคือ คุณสามารถปรับความเร็วในการโฟกัสได้ตั้งแต่เวลาที่ AF เริ่มทำงานไปจนถึงเมื่อจับโฟกัสไปที่ตัวแบบ จึงมั่นใจได้ว่าการเปลี่ยนจุดโฟกัสจะเป็นไปอย่างราบรื่น

ในทำนองเดียวกัน ระบบตรวจจับและติดตามตัวแบบด้วย EOS iTR AF X ซึ่งติดตั้งมาใน EOS C70 ด้วยนั้น ยังมีประโยชน์สำหรับการผลิตวิดีโอเช่นกัน ลองมาดูตัวอย่างฉากที่ตัวแบบหมุนตัวออกไปจากกล้องแล้วเริ่มวิ่ง อัลกอริทึมการตรวจจับศีรษะในกล้อง EOS C70 ซึ่งใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการเรียนรู้เชิงลึก ช่วยให้มั่นใจได้ว่าโฟกัสจะอยู่กับที่แม้แต่ในขณะที่เปลี่ยนจากการตรวจจับใบหน้าเป็นการตรวจจับศีรษะ

 


 

5. ความสำคัญของฟิลเตอร์ ND

ขณะถ่ายวิดีโอ ความเร็วชัตเตอร์จะเป็นตัวกำหนดระยะเวลาที่แต่ละเฟรมจะเปิดรับแสง ความเร็วชัตเตอร์ที่ทำได้จะมีข้อจำกัดมากกว่าเมื่อเทียบกับการถ่ายภาพนิ่ง

ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งคืออัตราเฟรม คุณไม่สามารถตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ที่ช้ากว่าอัตราเฟรมได้ แต่คุณก็ไม่สามารถตั้งค่าให้เร็วเกินไปได้เช่นกัน เนื่องจากการเคลื่อนไหวจะดูกระตุกเวลาเปิดดูภาพ ความเร็วชัตเตอร์ที่แนะนำให้ใช้คือ 1/(อัตราเฟรมหลายเฟรม) หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งคือ หากอัตราเฟรมของคุณคือ 60 fps ความเร็วชัตเตอร์ควรอยู่ที่ 1/60 วินาทีหรือ 1/120 วินาทีเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

ด้วยขีดจำกัดเหล่านี้ การตั้งค่ารูรับแสงและความไวแสง ISO เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะควบคุมระดับแสงเมื่อถ่ายภาพกลางแจ้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้แสงอาทิตย์ที่สว่างจ้า ในสถานการณ์แบบนี้เองที่จำเป็นต้องมีฟิลเตอร์ ND นอกจากนี้ฟิลเตอร์ยังช่วยให้คุณสามารถเปิดรูรับแสงเพื่อให้ได้ระยะชัดที่ตื้นขึ้นโดยไม่ต้องกังวลกับการเปิดรับแสงมากเกินไป

 

กล้อง EOS C70 มีชุดฟิลเตอร์ ND แบบกลไกในตัวพร้อมฟิลเตอร์ ND สามชนิด (เทียบเท่า 2, 4 และ 6 สต็อป) คุณยังสามารถใช้ฟิลเตอร์ต่างๆ ร่วมกันได้ในโหมดการขยาย โดยจะมีโหมดการปรับการเปิดรับแสงที่แตกต่างกัน 5 โหมดที่เทียบเท่าสูงสุด 10 สต็อป ได้แก่ 2, 4, 6, 8 (2+6) และ 10 (4+6) สต็อป

 

6. เลนส์ที่คุณใช้กับกล้อง EOS C70 ได้


เลนส์ RF รวมถึงเลนส์สำหรับกล้องฟูลเฟรม

เนื่องจากกล้อง EOS C70 ใช้เมาท์ RF คุณจึงมีกลุ่มเลนส์ RF ทั้งหมดให้เลือกใช้ ซึ่งรวมถึงเลนส์ RF ฟูลเฟรมแบบเดียวกับที่คุณใช้สำหรับการถ่ายภาพด้วยกล้องซีรีย์ EOS R ของคุณ อย่างไรก็ตาม ขนาดวงภาพที่ต่างกันของเซนเซอร์ Super 35 มม. และเซนเซอร์ฟูลเฟรมในกล้อง EOS C70 นั้นหมายความว่าจะมีคุณสมบัติการครอป 1.45 เท่า ซึ่งจะช่วยให้ได้มุมรับภาพที่ค่อนข้างใกล้เคียงกับมุมที่คุณจะได้จากเซนเซอร์ขนาด APS-C ในการถ่ายภาพนิ่ง

 

คุณสมบัติการครอปถือเป็นข้อได้เปรียบสำหรับฉากที่คุณต้องการเข้าใกล้ตัวแบบมากขึ้น แต่ก็เป็นข้อเสียเช่นกันเมื่อถ่ายภาพในมุมกว้าง ผู้สร้างภาพยนตร์จะคุ้นเคยกับคุณสมบัตินี้อยู่แล้วเนื่องจาก Super 35 มม. คือสิ่งที่พวกเขาใช้เป็นมาตรฐาน ที่จริงแล้ว ความคุ้นเคยก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์บางคนอาจชอบกล้อง APS-C มากกว่ากล้องฟูลเฟรมเมื่อใช้กล้องถ่ายภาพนิ่งในการถ่ายภาพยนตร์!


ติดตั้งกลุ่มเลนส์ EF รุ่นใดก็ได้ผ่านเมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R 0.71x

เมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R 0.71x (ฉบับภาษาอังกฤษ) ประกอบด้วยชิ้นเลนส์ออพติคอลที่จะลดขนาดของภาพที่ได้จากเลนส์ฟูลเฟรมให้พอดีกับขนาด Super 35 มม. การใช้เมาท์อะแดปเตอร์นี้เพื่อติดตั้งเลนส์ EF เข้ากับกล้อง EOS C70 จะช่วยให้คุณได้ภาพที่มีมุมรับภาพใกล้เคียงกับมุมที่คุณจะได้จากกล้องฟูลเฟรม ซึ่งยังแม้แต่เพิ่มการส่งผ่านแสงและทำให้ได้เอฟเฟกต์เพิ่มความเร็วที่ภาพจะสว่างกว่าในกล้องฟูลเฟรม 1 f-stop

 

ตามข้อมูลในเดือนพฤศจิกายน 2021 เมาท์อะแดปเตอร์ EF-EOS R 0.71x จะสามารถใช้ AF, AE และเอฟเฟกต์การแก้ไขความคลาดของแสงคล้ายกับเลนส์ RF ได้กับเลนส์ EF สามตัวต่อไปนี้
- EF16-35mm f/2.8L III USM
- EF24-70mm f/2.8L II USM
- EF24-105mm f/4L IS II USM
สำหรับเลนส์รุ่นอื่นๆ อาจใช้งานได้จำกัด แม้ว่าคุณยังคงใช้งานส์เหล่านี้ได้ แต่ต้องเตรียมพร้อมที่จะเปิดรับแสงและโฟกัสแบบแมนนวล

 

สรุป: หากคุณต้องการถ่ายวิดีโอระดับมืออาชีพอยู่บ่อยๆ ควรเลือกใช้ EOS C70

กล้อง EOS C70 ได้รับการออกแบบมาโดยคำนึงถึงความสะดวกในการใช้งานสำหรับผู้สร้างภาพยนตร์มืออาชีพที่ผลิตวิดีโอ 4K ในฐานะที่เป็นกล้องถ่ายทำภาพยนตร์โดยเฉพาะ จึงได้รับการออกแบบมาโดยคำนึงถึงการถ่ายวิดีโอเป็นหลัก แต่ไม่ได้ลดทอนคุณสมบัติและฟังก์ชั่นการถ่ายภาพนิ่งแต่อย่างใด ด้วยการออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ที่เน้นการถ่ายวิดีโอเป็นหลักและคุณสมบัติที่ทำให้สามารถควบคุมการถ่ายฟุตเทจที่ดียิ่งขึ้น คุณอาจพบว่าตัวเองสามารถสร้างวิดีโอได้เร็วกว่าและง่ายกว่าเวลาที่ใช้กล้อง DSLR หรือกล้องมิเรอร์เลสที่มีอยู่เดิม

หากคุณจริงจังกับการสร้างวิดีโอและรู้สึกถึงขีดจำกัดของกล้องถ่ายภาพนิ่งที่คุณมีอยู่ กล้อง EOS C70 คือตัวเลือกที่คุณควรพิจารณา เนื่องจากกล้องรุ่นนี้ใช้เลนส์ RF คุณจึงสามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์ระบบ EOS R ที่มีอยู่เดิมได้! อันที่จริง กล้องระดับสูงในระบบ EOS R อย่าง EOS R3 หรือ EOS R5 ใช้ถ่ายภาพนิ่งและถ่ายวิดีโอร่วมกับ EOS C70 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นกล้องถ่ายวิดีโอสำรองที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย

 

Download Brochure

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา