ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

3 คุณสมบัติของกล้องสำหรับการปรับแต่งภาพทิวทัศน์ของคุณให้สวยสมบูรณ์แบบ

2020-07-28
4
6.5 k
ในบทความนี้:

หากคุณถ่ายภาพทิวทัศน์ที่สวยงามไปภาพหนึ่ง แต่รู้สึกว่ามีอะไรบางอย่างที่ยังไม่ถูกใจ การปรับอุณหภูมิสี โฟกัส และระดับแสงสักเล็กน้อยอาจเป็นสิ่งที่คุณต้องการ ใช้คุณสมบัติของกล้องเหล่านี้เพื่อช่วยในการปรับแต่งภาพของคุณได้ทันที (เรื่องโดย Shirou Hagihara, Digital Camera Magazine)

 

คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ข้อที่ 1: สมดุลแสงขาว - อุณหภูมิสี

ควบคุมโทนสีและสีสันต่างๆ ได้อย่างละเอียดในทันที

สมดุลแสงขาวอัตโนมัติ (AWB) จะช่วยแก้ไขความเพี้ยนของสี ซึ่งมีประโยชน์หากคุณต้องการสีสันที่สมจริงเมื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ในเวลากลางวัน อย่างไรก็ตาม คุณสมบัตินี้จะ “แก้ไข” โทนสีแดงและส้มสดที่เจิดจ้าของพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกด้วย จึงทำให้ได้สีที่ดูไม่สดใสเท่าใดนัก

การใช้ค่าสมดุลแสงขาวอื่นๆ ที่ตั้งไว้ล่วงหน้า เช่น “เมฆครึ้ม แสงยามเย็น พระอาทิตย์ตกดิน” หรือ “แสงในร่ม” จะช่วยทำให้โทนสีอุ่นเด่นชัดขึ้น แต่ถ้าหากคุณต้องการการควบคุมที่มากขึ้น ให้เลือกใช้โหมด “อุณหภูมิสี” ซึ่งจะช่วยให้คุณปรับอุณหภูมิสีได้อย่างละเอียดภายในช่วง 100 เคลวิน (100K) เพื่อให้คุณสามารถถ่ายทอดโทนสีได้อย่างละเอียดอ่อนดังที่จินตนาการไว้

EOS 80D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 35 มม. (เทียบเท่า 56 มม.)/ Aperture-Priority AE (f/11, 1/60 วินาที, EV ±0)/ ISO 200/ WB: 7,000K

เมื่อถูกอาบไล้ด้วยแสงจากพระอาทิตย์ที่กำลังตก โขดหินที่มีรูปร่างแปลกตาเหล่านี้จึงมีแสงสีทองเรืองรองที่ดูอบอุ่น ผมตั้งค่าอุณหภูมิสีไปที่ “7000K” เพื่อให้โทนสีแดงเด่นชัดขึ้น 

 

เมื่อคุณตั้งค่าอุณหภูมิสี คุณกำลังบอกกล้องว่า “โปรดสมมติว่านี่คืออุณหภูมิสีในฉากและชดเชยให้สอดคล้องกัน” ค่า 7000K หมายถึงอุณหภูมิสีที่เย็น กล้องจึงทำให้ฉากดูอุ่นขึ้นเพื่อสร้างความสมดุล หมุนวงแหวนควบคุมหลักเพื่อปรับค่าภายในช่วง 100K

นี่คืออีกฟังก์ชั่นหนึ่งสำหรับการปรับสีสันในภาพของคุณ:
วิธีการแสดงสีด้วยฟังก์ชั่นการแก้ไขสมดุลแสงขาว

 

คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ข้อที่ 2: ฟังก์ชั่นขยายใหญ่

โฟกัสบนรายละเอียดเล็กๆ ได้อย่างแม่นยำ

โฟกัสเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการถ่ายภาพทิวทัศน์ จึงเป็นการดีหากจะใส่ใจกับมันให้มากขึ้น

อาจมีฉากหรือตัวแบบบางประเภทที่ทำให้คุณต้องทำการโฟกัสแบบแมนนวลเพื่อให้ได้ภาพที่ต้องการ หากตัวแบบที่คุณต้องการจับโฟกัสมีขนาดเล็กมาก เช่น เกสรดอกไม้ การขยายภาพใน Live View หรือ EVF ให้ใหญ่ขึ้นจะช่วยให้คุณมองเห็นได้ชัดเจนและโฟกัสได้แม่นยำมากขึ้น

เคล็ดลับ: ใช้ฟังก์ชั่นนี้กับโฟกัสพีคหรือ Focus Guide (หากกล้องของคุณมี) เพื่อผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น!

 

การโฟกัสโดยใช้ฟังก์ชั่นขยายใหญ่

1. ขยับจุดโฟกัสไปยังตำแหน่งที่คุณต้องการจับโฟกัส ดูให้แน่ใจว่าตัวแบบอยู่ในตำแหน่งกึ่งกลางของจุดโฟกัส

 

2. ปรับสวิตช์โหมดการโฟกัสของเลนส์ไปที่ MF และกดปุ่มขยายใหญ่ หลังจากขยายใหญ่ขึ้น 5 หรือ 10 เท่า ให้หมุนวงแหวนโฟกัสเพื่อจับโฟกัส

 

EOS 80D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 71 มม. (เทียบเท่า 114 มม.)/ Aperture Priority AE (f/5, 1/160 วินาที, EV ±0)/ ISO 200/ WB: แสงแดด
ผมใช้ต้น Amur Adonis ต้นหนึ่งซึ่งกำลังบานอยู่บนเนินเขาเป็นตัวแบบหลัก และสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้สำหรับต้น Amur Adonis และต้นพลัมที่อยู่ในแบ็คกราวด์เพื่อสื่อถึงฉากในฤดูใบไม้ร่วงทั่วๆ ไป การใช้โฟกัสแบบแมนนวลและจอภาพแบบขยายใหญ่ช่วยให้ผมโฟกัสที่เกสรได้แม่นยำขึ้น

 

เคล็ดลับ: ก้าวผ่านข้อจำกัดด้านพื้นที่ด้วยหน้าจอ LCD แบบปรับหมุนได้ !

เพื่อให้ตัวแบบหลักซ้อนอยู่บนแบ็คกราวด์ ผมจึงตั้งกล้องไว้ในตำแหน่งต่ำ หน้าจอ LCD แบบปรับหมุนได้ช่วยให้คุณถ่ายภาพได้อย่างง่ายดายแม้ในมุมต่ำเช่นนี้

 

คุณสมบัติที่เป็นประโยชน์ข้อที่ 3: ระบบถ่ายภาพคร่อมอัตโนมัติ (AEB)

ถึงมีปัญหาสภาพแสง ก็ไม่ใช่ปัญหา!

เมื่อถ่ายภาพในรูปแบบ JPEG คุณจะต้องตั้งค่าการเปิดรับแสงให้ถูกต้องสำหรับฉากนั้น อย่างไรก็ตาม ในสถานการณ์ที่มีความเปรียบต่างสูง การตัดสินใจเลือกค่าการเปิดรับแสงในการถ่ายครั้งแรกอาจเป็นเรื่องยาก

คุณมีตัวเลือกสองข้อคือ

- ตั้งค่าการชดเชยแสงแบบแมนนวลในแต่ละภาพ
- ใช้ระบบถ่ายภาพคร่อมอัตโนมัติ (AEB)

เมื่อคุณใช้ระบบ AEB กล้องจะปรับความเร็วชัตเตอร์ การตั้งค่ารูรับแสง และความไวแสง ISO อัตโนมัติเพื่อถ่ายภาพต่อเนื่องโดยใช้ระดับแสงที่แตกต่างกัน

ในการตั้งค่าเริ่มต้น จะถ่ายภาพคร่อมทั้งหมดสามภาพ คือ ภาพ “อ้างอิง” หนึ่งภาพ ภาพหนึ่งมีระดับแสงมืดกว่า และอีกภาพหนึ่งมีระดับแสงสว่างกว่า คุณสามารถเลือกระดับแสงของภาพอ้างอิงและความแตกต่างของระดับแสงของแต่ละภาพได้

EOS 80D/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 165 มม. (เทียบเท่า 264 มม.)/ Aperture-Priority AE (f/8, 1/320 วินาที, EV +0.3)/ ISO 250/ WB: แสงแดด
ในภาพนี้ ผมต้องการถ่ายทอดสีชมพูเข้มของของต้นซากุระให้ออกมาดูมีสีสันสดใส ผมจึงเลือกส่วนที่มีดอกไม้บานรวมตัวกันหนาแน่นที่สุดและถ่ายภาพโดยใช้ AEB ผมรู้สึกว่าภาพนี้ให้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดเมื่อถ่ายที่ EV+0.3 เนื่องจากตัวแบบอาจไม่อยู่นิ่งตลอดเวลาเพราะปัจจัยบางอย่าง เช่น ลม ผมจึงขอแนะนำให้คุณถ่ายภาพให้เร็วที่สุดเท่าที่ทำได้ เพื่อให้ไม่ต้องเปลี่ยนการจัดองค์ประกอบภาพ ผมจึงถ่ายภาพด้วยโหมดขับเคลื่อนการถ่ายภาพต่อเนื่องความเร็วสูง

 

ในกล้องบางรุ่น คุณจะสามารถเปลี่ยนจำนวนภาพที่ถ่ายคร่อมได้

สำหรับกล้องในรุ่นระดับกลางหรือสูง เช่น EOS 80D/90D หรือ EOS RP คุณสามารถเปลี่ยนจำนวนภาพที่ถ่ายคร่อมได้ (3/2/5/7 ภาพ) ในเมนูการตั้งค่าระบบส่วนตัว คุณสามารถลองตั้งค่าที่ 5 หรือ 7 ภาพได้ ขึ้นอยู่กับตัวแบบของคุณ

 

ต้นซากุระถ่ายด้วยระดับแสงแตกต่างกัน

เคล็ดลับที่ 1: การเลือกระดับแสงอ้างอิง
หากตัวแบบของคุณเป็นสิ่งของที่มีความสว่าง เช่น ต้นซากุระ หรือหากฉากที่คุณถ่ายมีแบ็คกราวด์ที่ว่างเปล่า ให้ลองตั้งค่าระดับแสงอ้างอิงเป็นบวก และสำหรับตัวแบบที่มืด ให้ใช้ค่าเป็นลบ

เคล็ดลับที่ 2: ใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่องหรือถ่ายแบบตั้งเวลา
ในโหมดถ่ายภาพเดี่ยว คุณจะต้องกดปุ่มชัตเตอร์เพื่อถ่ายภาพโดยใช้ระดับแสงที่แตกต่างกันในแต่ละภาพ วิธีที่เร็วขึ้นคือ ใช้โหมดถ่ายภาพต่อเนื่องหรือตั้งเวลา เมื่อคุณกดปุ่มชัตเตอร์ลงจนสุด ภาพแบบคร่อมจะถูกถ่ายตามลำดับโดยอัตโนมัติ

 

ดูเคล็ดลับและเทคนิคในการปรับระดับแสงในกล้องให้สวยดังใจได้ที่:
ทำความเข้าใจช่วงไดนามิกเรนจ์: วิธีหลีกเลี่ยงแสงสว่างโพลนที่ไม่จำเป็น
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #7: การวัดแสง

 

ฟังก์ชั่นกล้องที่คุณโปรดปรานในการถ่ายภาพทิวทัศน์คืออะไร บอกเล่ากันได้ในช่องความคิดเห็นด้านล่าง!

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Shirou Hagihara

เกิดในปี 1959 ที่เมืองยามานาชิ หลังจากจบการศึกษาจาก Nihon University, Hagihara มีส่วนร่วมในการเริ่มต้นนิตยสารถ่ายภาพ Fukei Shashin ที่เขาทำงานเป็นบรรณาธิการและผู้ตีพิมพ์ ต่อมาเขาลาออกและผันตัวมาเป็นช่างภาพอิสระ ปัจจุบัน Hagihara ทำงานอยู่ในวงการถ่ายภาพและเขียนผลงานที่เน้นการถ่ายภาพทิวทัศน์ธรรมชาติ เขาเป็นสมาชิกของ Society of Scientific Photography (SSP)

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา