ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด พื้นฐานของการถ่ายภาพ- Part7

พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #7: การวัดแสง

2017-02-16
8
35.32 k
ในบทความนี้:

ฟังก์ชั่นการวัดแสงเป็นฟังก์ชั่นที่ใช้วัดความสว่างของตัวแบบ และนำมากำหนดค่าการเปิดรับแสงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับภาพถ่าย เราลองมาทำความรู้จักเกี่ยวกับโหมดการวัดแสงแต่ละโหมด และไอเดียดีๆ เกี่ยวกับวิธีใช้งานที่เหมาะที่สุดสำหรับสภาวะ/ฉากต่างๆ กัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

 

ฟังก์ชั่นการวัดแสงทำหน้าที่วัดความสว่างของตัวแบบ

สิ่งที่ควรจดจำ

- การวัดแสงประเมินทั้งภาพสามารถนำมาใช้ได้กับภาพแทบทุกประเภท
- การวัดแสงแบบจุดจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดในกรณีที่คุณต้องการให้ส่วนใดส่วนหนึ่งของตัวแบบได้รับแสงที่เหมาะสม
- โหมดการวัดแสงแต่ละแบบจะมีชุดฉาก/สภาวะการถ่ายภาพที่โหมดนั้นๆ สามารถทำงานได้ดีที่สุด ดังนั้น ควรพิจารณาถึงเรื่องกล่าวเมื่อต้องเลือกโหมดเพื่อใช้งาน
 

กล้องดิจิตอลมีคุณสมบัติการเปิดรับแสงอัตโนมัติ (AE) ที่ทำหน้าที่กำหนดปริมาณการเปิดรับแสงสำหรับภาพถ่ายโดยอัตโนมัติ (เช่น ภาพควรมีความสว่างมากน้อยเพียงใด)

โดยในโหมด AE เมื่อคุณกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง กล้องจะกำหนดค่ารูรับแสงและ/หรือค่าความเร็วชัตเตอร์โดยอัตโนมัติ เพื่อให้ได้ระดับแสงที่เหมาะสม (ตามที่กล้องกำหนด) ซึ่งคุณสมบัติที่ช่วยให้กล้องสามารถกำหนดค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์โดยการวัดความสว่างของตัวแบบนี้เราเรียกว่า "การวัดแสง" โดยปกติ โหมดการวัดแสงภายในกล้องมีด้วยกัน 3 แบบ ได้แก่ การวัดแสงประเมินทั้งภาพ การวัดแสงแบบจุด และการวัดแสงแบบหนักกลางภาพ

กล้องส่วนใหญ่จะมีโหมดเริ่มต้นเป็นการวัดแสงประเมินทั้งภาพ เนื่องจากโหมดดังกล่าวจะทำหน้าที่วัดแสงทั่วทั้งภาพ จึงเหมาะสำหรับฉากและสภาพของตัวแบบทุกประเภท ในทางตรงกันข้าม การวัดแสงแบบจุดจะมีประสิทธิภาพในกรณีที่คุณต้องการให้แน่ใจว่าพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในภาพได้รับแสงอย่างเหมาะสม ในขณะที่การวัดแสงแบบหนักกลางภาพจะทำหน้าที่วัดแสงตรงบริเวณกึ่งกลางกรอบภาพ ดังนั้น การวัดแสงประเภทนี้จะทำงานได้ดีที่สุดเมื่อตัวแบบหรือจุดสนใจหลักของคุณอยู่ตรงกลางภาพ

เราลองมาทำความรู้จักโหมดการวัดแสงแต่ละชนิดกัน

 

การวัดแสงประเมินทั้งภาพ

ข้อดี: ใช้งานได้หลากหลาย ยากที่จะเปิดรับแสงผิดพลาด
ข้อเสีย: ไม่เหมาะสำหรับฉากที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งมีระดับความสว่างแตกต่างจากบริเวณอื่นๆ มาก

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 88 มม./ Shutter-priority AE (f/11, 1/4 วินาที, EV+0.3)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ

 

ในการวัดแสงประเมินทั้งภาพ กล้องจะแบ่งกรอบภาพออกเป็นโซนต่างๆ ทำการวัดปริมาณแสงในแต่ละโซน และนำผลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อกำหนดการเปิดแสงที่เหมาะสม

 

การวัดแสงแบบจุด

ข้อดี: จัดการฉากที่มีระดับความสว่างแตกต่างกันอย่างมากได้เป็นอย่างดี
ข้อเสีย: การวัดแสงจะดำเนินการในพื้นที่ขนาดเล็กมากดังนั้นข้อผิดพลาดใด ๆ ในการเลือกพื้นที่นี้อาจส่งผลให้ภาพที่ไม่ถูกต้องทั้งหมด

EOS 60D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS/ FL: 135 มม. (เทียบเท่า 216 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/250 วินาที, EV-0.3)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

 

การวัดแสงแบบจุดสามารถวัดปริมาณแสงในพื้นที่ที่จำกัดมากๆ ที่บริเวณกึ่งกลางกรอบภาพเท่านั้น อย่างไรก็ตาม โหมดนี้ใช้ได้ดีที่สุดสำหรับฉากที่บริเวณต่างๆ มีระดับความสว่างแตกต่างกันมาก เช่น ในฉากที่มีแสงย้อนจากด้านหลัง

 

การวัดแสงแบบหนักกลางภาพ

ข้อดี: ให้ความสำคัญกับการวัดแสงที่บริเวณกึ่งกลางภาพก่อนเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงวัดแสงในพื้นที่ส่วนที่เหลือให้มีปริมาณแสงที่พอเหมาะ
ข้อเสีย: ไม่มีผลสำหรับตัวแบบที่มีขนาดเล็ก

EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/2, 1/60 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

 

การวัดแสงแบบหนักกลางภาพทำหน้าที่วัดแสงทั่วทั้งภาพ แต่จะให้ความสำคัญกับบริเวณกึ่งกลางภาพเป็นหลัก โดยปริมาณแสงของภาพทั้งหมดจะขึ้นอยู่กับตัวแบบที่อยู่ตรงกลางหรือรอบๆ ใจกลางเฟรมภาพ

 

เชื่อมโยงคำสำคัญเหล่านี้กับแนวคิด "การวัดแสง"

คำสำคัญ: ล็อค AE

เมื่อคุณกดปุ่มล็อค AE จะเป็นการ "ล็อค" การตั้งค่าการเปิดรับแสง เพื่อไม่ให้การตั้งค่ารูรับแสงและ/หรือความเร็วชัตเตอร์เปลี่ยนแปลงไป แม้ว่าคุณจะเปลี่ยนหรือปรับองค์ประกอบภาพ ปรับโฟกัสใหม่ และถ่ายภาพก็ตาม นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้ได้ในกรณีที่องค์ประกอบหลักต่างๆ ในภาพมีระดับความสว่างที่แตกต่างกันมาก หรือในกรณีที่คุณไม่อาจได้รับปริมาณแสงตามที่ต้องการได้

ล็อค AE เป็นฟังก์ชั่นที่ช่วยเพิ่มความสะดวกในการใช้งานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อใช้ร่วมกับการวัดแสงแบบจุด และสำหรับฉากที่มีแสงย้อนจากด้านหลัง ตัวอย่างเช่น หากคุณมีฉากที่มีแสงย้อนและตัวแบบหลักดูมืด คุณเพียงแค่ปรับแนวกรอบ AF กึ่งกลางให้ตรงกับตัวแบบ กดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง จากนั้นกดปุ่มล็อค AF เพียงเท่านี้การตั้งค่าการเปิดรับแสงจะถูกล็อคให้มีระดับแสงที่เหมาะกับพื้นที่ที่คุณต้องการจะถ่ายภาพอย่างเหมาะสม

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 32 มม./ Aperture-priority AE (f/6.3, 1/40 วินาที, EV+0.3)/ ISO 160/ WB: Manual
ฉากที่มีทั้งส่วนที่สว่างมากและส่วนที่มืดมาก ทำการวัดแสงแบบจุดที่ตำแหน่ง A หรือ B โดยขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการให้ส่วนใดได้รับแสงอย่างเหมาะสม

 

ตำแหน่ง A: สำหรับระดับแสงที่เหมาะสมในส่วนที่สว่าง ให้ใช้ล็อค AE สำหรับฉากกลางแจ้ง
เนื่องจากการวัดแสงแบบจุดจะดำเนินการวัดแสงในฉากที่สว่างภายนอกหน้าต่าง ดังนั้น พัดลมที่อยู่ด้านหน้าภาพจึงกลายเป็นสีดำ

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 105 มม./ Aperture-priority AE (f/6.3, 1/125 วินาที, EV+0.3)/ ISO 250/ WB: แสงแดด

 

ตำแหน่ง B: สำหรับระดับแสงที่เหมาะสมในส่วนที่มืด ให้ใช้ล็อค AE กับตัวแบบที่เป็นพัดลม
เนื่องจากการวัดแสงแบบจุดจะดำเนินการวัดแสงโดยใช้ตัวแบบพัดลม ดังนั้น ฉากกลางแจ้งจึงได้รับแสงมากเกินไปและสว่างจ้ามาก

EOS 5D Mark III/ EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 105 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/125 วินาที, EV+0.3)/ ISO 2500/ WB: แสงแดด

 

วิธีใช้ล็อค AE

หลังจากที่คุณกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งและจับโฟกัสแล้ว ให้กดปุ่มล็อค AE (ที่วงกลมสีแดงไว้) หากคุณต้องการวัดแสงต่อไป ให้กดปุ่มล็อค AE อีกครั้ง

 

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับล็อค AE ได้ที่:
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #9: ฉากแบบไหนที่ควรใช้ล็อค AE

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา