พื้นฐานของการถ่ายภาพ
เคยรู้สึกสับสนเกี่ยวกับความหมายของคำว่า "ความเร็วชัตเตอร์", "รูรับแสง", "ความไวแสง ISO", "การชดเชยแสง", "สมดุลแสงขาว" บ้างหรือไม่ ไม่ต้องกังวลอีกต่อไป เพราะบทความต่อเนื่องชุดพื้นฐานเกี่ยวกับกล้องของเราจะพาคุณไปรู้จักแนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของการถ่ายภาพเหล่านี้ ซึ่งไม่เพียงคุณจะรู้จักกล้องของคุณดีขึ้น แต่ยังมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับการปรับโหมดและการตั้งค่ากล้องต่างๆ เพื่อให้ได้ภาพถ่ายที่ยอดเยี่ยมอีกด้วย!
บทความ
-
1
-
2
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง: ความสูงของจุดมองภาพในช่องมองภาพสำคัญหรือไม่
จุดมองภาพในช่องมองภาพคืออะไร และเพราะเหตุใดจึงมีความสำคัญเป็นพิเศษหากคุณสวมแว่นตา มาหาคำตอบได้จากบทความนี้
-
3
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #1: รูรับแสง
สิ่งแรกที่ต้องพิจารณาเมื่อถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลคือ ผลกระทบของรูรับแสงที่มีต่อภาพถ่ายของคุณ การเปิดรูรับแสงให้กว้างขึ้นหรือแคบลงจะทำให้ภาพถ่ายที่ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ในบทความนี้ เราจะมาศึกษาถึงผลกระทบของค่ารูรับแสงต่างๆ ที่มีต่อระยะชัดโดยการเปรียบเทียบตัวอย่างและเรียนรู้แนวคิดเกี่ยวกับ f-stop กัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)
-
4
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #2: ความเร็วชัตเตอร์
ในการถ่ายภาพ คุณจะต้องการทำความเข้าใจเกี่ยวกับความเร็วชัตเตอร์และเอฟเฟ็กต์ที่จะเกิดขึ้นกับภาพถ่ายของคุณ แล้วคุณสามารถใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงขึ้นหรือต่ำลงเพื่อสร้างเอฟเฟ็กต์ชนิดใดได้บ้าง เราลองมาดูเอฟเฟ็กต์ที่เกิดจากการใช้ความเร็วชัตเตอร์ในระดับต่างๆ โดยอาศัยตัวอย่างดังต่อไปนี้กัน (เรื่องโดย: Tomoko Suzuki)
-
5
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #3: การเปิดรับแสง
การเปิดรับแสงคือหนึ่งในปัจจัยหลักที่จะกำหนดว่าภาพถ่ายของคุณจะออกมาเป็นอย่างไร เราลองมาพูดคุยถึงวิธีเริ่มใช้ประโยชน์จากการเปิดรับแสงเพื่อให้ได้ผลภาพที่ดีที่สุดกัน (เรื่องโดย: Tomoko Suzuki)
-
6
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #4: การชดเชยแสง
การชดเชยแสงเป็นฟังก์ชันที่คุณสามารถใช้เพื่อเปลี่ยนการตั้งค่าการเปิดรับแสงของกล้อง (ระดับแสงที่เหมาะสมซึ่งกำหนดโดยกล้อง) ให้เป็นค่าที่คุณต้องการได้ ต่อไปนี้เราจะมาทำความรู้จักกับฟังก์ชันนี้กันให้มากขึ้น พร้อมกับเรียนรู้วิธีที่จะทราบว่าตัวแบบต่างๆ ควรมีการชดเชยแสงเป็นบวกหรือเป็นลบ (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)
-
7
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #5: ความไวแสง ISO
ความไวแสง ISO เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการเปิดรับแสงพอๆ กับรูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ ตอนนี้เราจะมาทำความรู้จักถึงข้อดีและข้อเสียของการเพิ่มความไวแสง ISO กัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)
-
8
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #6: สมดุลแสงขาว
สมดุลแสงขาว คือ คุณสมบัติที่ช่วยให้มั่นใจว่าสีขาวในภาพถ่ายจะได้รับการถ่ายทอดอย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะถ่ายภาพภายใต้สภาพแสงแบบใดก็ตาม ในการถ่ายภาพขั้นพื้นฐานมากๆ เรามักเลือกใช้การตั้งค่าสมดุลแสงขาวอัตโนมัติ อย่างไรก็ดี การตั้งค่านี้ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับทุกสถานการณ์ หากต้องการตั้งค่าสมดุลแสงขาวให้เหมาะสมกับแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด ควรเลือกการตั้งค่าสมดุลแสงขาวล่วงหน้าจากกล้องของคุณ (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)
-
9
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #7: การวัดแสง
ฟังก์ชั่นการวัดแสงเป็นฟังก์ชั่นที่ใช้วัดความสว่างของตัวแบบ และนำมากำหนดค่าการเปิดรับแสงที่เหมาะสมที่สุดสำหรับภาพถ่าย เราลองมาทำความรู้จักเกี่ยวกับโหมดการวัดแสงแต่ละโหมด และไอเดียดีๆ เกี่ยวกับวิธีใช้งานที่เหมาะที่สุดสำหรับสภาวะ/ฉากต่างๆ กัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)
-
10
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #8: การจับโฟกัส
สิ่งหนึ่งที่ช่วยสื่อจุดมุ่งหมายในการถ่ายภาพของช่างภาพไปสู่ผู้ชมคือการจับโฟกัส แล้วเคล็ดลับในการจับโฟกัสที่ดีที่สุดมีอะไรบ้าง เราจะมาเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณสมบัติพิเศษของโฟกัสอัตโนมัติ (AF) และโฟกัสแบบแมนนวล (MF) กัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)
-
11
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #9: โหมด AF
เมื่อจับโฟกัสที่ตัวแบบ สิ่งสำคัญคือการคาดการณ์การเคลื่อนไหวของตัวแบบ และไม่พลาดการถ่ายภาพในจังหวะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งนั่นหมายความว่าเราต้องรู้จักโหมดโฟกัสอัตโนมัติ (AF) ที่เหมาะสมสำหรับใช้กับตัวแบบที่อยู่นิ่งกับที่ และโหมดที่ใช้กับตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหว เราลองมาทำความรู้จักกับโหมด AF ทั้งสามแบบกัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)
-
12
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #10: รูปแบบภาพ
ฟังก์ชั่นรูปแบบภาพช่วยให้คุณปรับโทนสีและความเปรียบต่างเพื่อเพิ่มเสน่ห์และความน่าดึงดูดใจให้กับตัวแบบ เมื่อคุณเลือกการตั้งค่ารูปแบบภาพที่เหมาะสมที่สุด คุณจะได้ผลลัพธ์อันสมบูรณ์แบบที่สื่อถึงจุดมุ่งหมายในการถ่ายภาพผ่านทางภาพที่มีชีวิตชีวา (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)
-
13
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #11: Phase Detection AF
Phase Detection AF (หรือที่เรียกว่า AF ตรวจจับแบบ Phase-Difference) คือระบบโฟกัสอัตโนมัติที่ใช้ขณะถ่ายภาพผ่านช่องมองภาพด้วยกล้อง DSLR คุณสมบัติหลักของระบบนี้อยู่ที่การโฟกัสอัตโนมัติที่รวดเร็ว ในส่วนต่อไปนี้ เราจะอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Phase Detection AF และวิธีที่ Dual Pixel CMOS AF ของ Canon ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี AF ใหม่ล่าสุด เพื่อใช้ AF ในการตรวจจับระยะแม้ในขณะถ่ายภาพแบบ Live View (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)
-
14
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #12: ช่องมองภาพ
เมื่อพูดถึงการถ่ายภาพ องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของกล้องคือช่องมองภาพ ในปัจจุบัน มีกล้องหลายรุ่นที่ไม่มีช่องมองภาพ มีแต่เพียงการถ่ายภาพแบบ Live View เท่านั้น อย่างไรก็ดี เมื่อคุณมีประสบการณ์การถ่ายภาพมากขึ้น คุณจะตระหนักได้ว่าการถ่ายภาพด้วยช่องมองภาพมีผลต่อภาพถ่ายของคุณอย่างมาก ในบทความนี้ เราลองมาทำความรู้จักกับช่องมองภาพกัน (เรื่องโดย: Tomoko Suzuki)
-
15
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #13: Live View
การนำ Dual Pixel CMOS AF มาใช้ในกล้อง Canon รุ่นล่าสุดช่วยพัฒนาสภาวะการถ่ายภาพในโหมด Live View ได้อย่างมาก Live View ซึ่งมีความเร็วของ AF ในระดับสูงเทียบเท่ากับระบบ AF ของช่องมองภาพ กำลังกลายเป็นวิธีถ่ายภาพที่เป็นตัวเลือกใหม่สำหรับช่างภาพจำนวนมาก ในส่วนต่อไปนี้ เราจะอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับคุณลักษณะพิเศษของ Live View (เรื่องโดย: Tomoko Suzuki)
-
16
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #14: ตำแหน่งกล้องและมุมกล้อง
ตำแหน่งกล้องและมุมกล้องคือองค์ประกอบสองประการที่มีผลอย่างมากต่อภาพถ่าย เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อภาพอย่างเห็นได้ชัด การใช้ตำแหน่งกล้องและมุมกล้องที่หลากหลายจะทำให้คุณได้เอฟเฟ็กต์ที่แตกต่างกันในภาพถ่ายของคุณ ในส่วนถัดไป เราจะไปดูตำแหน่งกล้องและมุมกล้อง ซึ่งแต่ละส่วนจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเด็นด้วยกัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)
-
17
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #15: Program AE
โหมด Program AE คือโหมดการถ่ายภาพแบบกึ่งอัตโนมัติ ซึ่งกล้องจะตั้งค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์เองโดยอัตโนมัติ ช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพได้อย่างรวดเร็วเพื่อไม่พลาดทุกโอกาสในการถ่ายภาพแบบฉับพลัน อีกทั้งยังสามารถควบคุมการตั้งค่าอื่นๆ เช่น ค่าสมดุลแสงขาว ได้อย่างสร้างสรรค์อีกด้วย
-
18
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #16: Aperture-priority AE
อยากสร้างสรรค์ภาพถ่ายที่มีแบ็คกราวน์เบลอน่ารักๆ (เอฟเฟ็กต์โบเก้) หรืออาจอยากแน่ใจว่าทุกรายละเอียดในภาพยังคงอยู่ในโฟกัสใช่ไหม Aperture-priority AE เป็นโหมดที่ใช้งานสะดวกเพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์ดังกล่าวนี้ เราจะลองมาศึกษารายละเอียดต่างๆ ของโหมดนี้กัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)
-
19
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #17: การระบุค่าความเร็วชัตเตอร์ (โหมด TV)
โหมดระบุค่าความเร็วชัตเตอร์ คือโหมดการถ่ายภาพที่มีประโยชน์เมื่อคุณต้องการ "หยุด" ตัวแบบที่เคลื่อนไหว หรือในทางกลับกัน หากคุณต้องการถ่ายภาพตัวแบบที่เคลื่อนไหวให้เป็นภาพเบลอ อ่านต่อเพื่อเรียนรู้วิธีการใช้งานได้ในบทความนี้! (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)
-
20
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #18: การตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง (โหมด M)
หากคุณต้องการควบคุมทั้งค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเองนับเป็นวิธีที่เหมาะสม แม้ว่าโหมดนี้อาจใช้งานยากสำหรับผู้ใช้มือใหม่ แต่นับว่าสะดวกอย่างยิ่งสำหรับใช้ในการถ่ายภาพบางประเภท ในบทความชิ้นสุดท้ายในบทความต่อเนื่องชุดพื้นฐานเกี่ยวกับกล้องของเรานี้ เราจะลองมาทำความรู้จักกับโหมดนี้และวิธีใช้งานกัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)