ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด พื้นฐานของการถ่ายภาพ- Part6

พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #6: สมดุลแสงขาว

2017-02-09
14
11.59 k
ในบทความนี้:

สมดุลแสงขาว คือ คุณสมบัติที่ช่วยให้มั่นใจว่าสีขาวในภาพถ่ายจะได้รับการถ่ายทอดอย่างแม่นยำ ไม่ว่าจะถ่ายภาพภายใต้สภาพแสงแบบใดก็ตาม ในการถ่ายภาพขั้นพื้นฐานมากๆ เรามักเลือกใช้การตั้งค่าสมดุลแสงขาวอัตโนมัติ อย่างไรก็ดี การตั้งค่านี้ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับทุกสถานการณ์ หากต้องการตั้งค่าสมดุลแสงขาวให้เหมาะสมกับแหล่งกำเนิดแสงมากที่สุด ควรเลือกการตั้งค่าสมดุลแสงขาวล่วงหน้าจากกล้องของคุณ (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

 

สมดุลแสงขาวช่วยให้มั่นใจว่าภาพของคุณจะมีโทนสีที่เหมาะสมสำหรับการจัดแสง

สิ่งที่พึงจดจำ

- ฟังก์ชั่นดั้งเดิมของสมดุลแสงขาวช่วยให้โทนสีขาวในภาพของคุณดูขาวมากยิ่งขึ้น
- คุณยังสามารถใช้ฟังก์ชั่นนี้เพื่อเพิ่มความเพี้ยนของสีในภาพได้
 

ภาพวัตถุสีขาวที่คุณถ่ายอาจมีปัญหาสีเพี้ยน เช่น มีโทนสีแดงหรือสีฟ้าเกิดขึ้นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแหล่งกำเนิดแสงด้วยเช่นกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เนื่องจากสมองของเราจะแก้ไขปัญหาความเพี้ยนของสีโดยอัตโนมัติ เพื่อที่วัตถุสีขาวจะยังคงเป็นสีขาวอยู่ไม่ว่าจะอยู่ในแหล่งกำเนิดแสงใด อย่างไรก็ดี กล้องถ่ายภาพไม่มีความสามารถเช่นนั้น หน้าที่นี้จึงตกเป็นของฟังก์ชั่นสมดุลแสงขาว (WB) ที่จะทำให้วัตถุสีขาวในภาพได้รับการถ่ายทอดออกมาเป็นสีขาวจริงๆ ไม่ว่าจะอยู่ในแหล่งกำเนิดแสงใด

โดยมากแล้ว หากคุณต้องถ่ายภาพโดยมีการตั้งค่าสมดุลแสงขาวไปที่โหมด "อัตโนมัติ" ซึ่งเรียกกันโดยทั่วไปว่า สมดุลแสงขาวอัตโนมัติ (AWB) โทนสีต่างๆ ในภาพจะค่อนข้างใกล้เคียงกับโทนสีที่คุณมองเห็นด้วยตาเปล่า อย่างไรก็ดี สำหรับฉากบางฉาก "อัตโนมัติ" จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม จึงทำให้สีที่ได้ดูแตกต่างจากสีที่คุณมองเห็น เมื่อเกิดกรณีเช่นนี้ ให้เลือกการตั้งค่าสมดุลแสงขาวจากค่าต่างๆ ที่ตั้งไว้ล่วงหน้า โดยคุณสามารถเลือกจากตัวเลือกต่างๆ ได้แก่ "แสงแดด" "แสงในร่ม" "เมฆครึ้ม" "หลอดไฟทังสเตน" "แสงหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว" และอื่นๆ ได้

และคุณยังสามารถใช้ฟังก์ชั่น WB เพื่อจงใจเพิ่มความเพี้ยนของสีในภาพได้อีกด้วย ลองใช้งานด้วยตัวเอง: ก่อนอื่น ให้ถ่ายภาพโดยตั้งค่าล่วงหน้าไว้ที่ "แสงแดด" เปรียบเทียบกับภาพที่ถ่ายด้วย "แสงหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว" หรือ "หลอดไฟทังสเตน" ตรวจดูว่าภาพมีโทนสีออกไปทางสีฟ้ามากกว่าภาพที่ถ่ายด้วยตัวเลือก "แสงแดด" หรือไม่ จากนั้น ทดลองใช้ตัวเลือก "เมฆครึ้ม" และ "แสงในร่ม" คุณจะได้ภาพที่มีโทนสีที่อบอุ่นขึ้น

ข้อควรทราบเกี่ยวกับเอฟเฟ็กต์ - คุณสามารถใช้เอฟเฟ็กต์เหล่านี้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อภาพถ่ายที่ได้

 

ความแตกต่างระหว่างค่าที่ตั้งไว้ล่วงหน้าสำหรับสมดุลแสงขาว

 

อัตโนมัติ

แสงแดด

แสงในร่ม

เมฆครึ้ม

หลอดไฟทังสเตน

แสงหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว

ภาพตัวอย่างทั้งหมดถ่ายด้วย: EOS 5D Mark III/ EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Aperture-priority AE (f/1.4, 1/6400 วินาที, EV+1)/ ISO 100

ภาพเหล่านี้ถ่ายที่กลางแจ้งในวันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่ง เมื่อเปรียบเทียบกับภาพที่ถ่ายโดยตั้งค่าล่วงหน้าไว้ที่ "แสงแดด" บ้านสีขาวหลังนี้จะดูอบอุ่นขึ้นในภาพตัวอย่างที่ถ่ายโดยใช้ "แสงในร่ม" และ "เมฆครึ้ม" และดูเย็นขึ้นในภาพตัวอย่างที่ถ่ายโดยใช้ "หลอดไฟทังสเตน" และ "แสงหลอดฟลูออเรสเซนต์ขาว" ในสถานการณ์ปกติ เราขอแนะนำให้ใช้ "อัตโนมัติ" เมื่อถ่ายภาพกลางแจ้ง เนื่องจากภาพที่ได้จะดูเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น

 

เชื่อมโยงคำสำคัญเหล่านี้กับแนวคิดเกี่ยวกับ "สมดุลแสงขาว"

คำสำคัญที่ 1: สมดุลแสงขาวอัตโนมัติ (AWB)

อัตโนมัติ

แสงแดด

ภาพตัวอย่างทั้งหมดถ่ายด้วย: EOS 5D Mark II/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 70 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 1/250 วินาที, EV-1)/ ISO 100

ท้องฟ้าในช่วงพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกจะมีโทนสีแดง หากเราถ่ายภาพท้องฟ้าเหล่านั้นโดยตั้งค่าสมดุลแสงขาวไปที่ "อัตโนมัติ" ฟังก์ชั่นจะพยายามแก้ไขก้อนเมฆต่างๆ ที่มีความเพี้ยนสีแดงจนกระทั่งกลายเป็นสีขาว และจะเป็นการลดโทนสีแดงของท้องฟ้าลง แต่หากคุณต้องการเน้นโทนสีแดงแทน ให้ลองตั้งค่าล่วงหน้าต่อไปนี้เพื่อเพิ่มระดับของเอฟเฟ็กต์: อัตโนมัติ→แสงแดดเมฆครึ้มแสงในร่ม

 

อัตโนมัติ

เมฆครึ้ม

ภาพตัวอย่างทั้งหมดถ่ายด้วย: EOS 80D/ EF-S18-135mm f/3.5-5.6 IS USM/ FL: 135 มม. (เทียบเท่า 216 มม.)/ Aperture-priority AE (f/5.6, 1/200 วินาที, EV+1.7)/ ISO 200

หากคุณต้องการถ่ายภาพแสงสว่างจากหลอดไฟทังสเตนโดยใช้ AWB แสงจะดูเป็นสีขาวในภาพ แม้ว่าจริงๆ แล้วโทนสีในภาพจะดูอบอุ่นขึ้นก็ตาม หากต้องการถ่ายทอดสีขาวได้อย่างสมจริงมากขึ้น ให้เลือกการตั้งค่าล่วงหน้าแบบ "หลอดไฟทังสเตน" หากต้องการโทนสีที่ดูอบอุ่นยิ่งขึ้น ให้เลือกระหว่าง "แสงในร่ม" หรือ "เมฆครึ้ม" การตั้งค่าเหล่านี้จะสร้างโทนสีแดงให้กับภาพถ่ายโดยรวม ทั่วทั้งภาพจึงให้ความรู้สึกที่อบอุ่น

 

คำสำคัญที่ 2: ฟังก์ชั่นการแก้ไขสมดุลแสงขาว

หากเราต้องการโทนสีที่ถูกต้องแม่นยำ ค่าที่ตั้งไว้ล่วงหน้าสำหรับสมดุลแสงขาวจะสามารถปรับโทนสีได้ตามแกนสีแดง/สีน้ำเงินได้เท่านั้น หากต้องการปรับตามแกนสีม่วงแดง/สีเขียว ควรใช้ฟังก์ชั่นการแก้ไขสมดุลแสงขาว ซึ่งจะเน้นโทนสีม่วง/สีเขียว เพื่อให้ตัวแบบดูน่าสนใจมากขึ้น

ในการตั้งค่าฟังก์ชั่นการแก้ไขสมดุลแสงขาว ก่อนอื่น ให้แก้ไขโทนสีของภาพทั้งภาพโดยเลือกค่าที่ตั้งไว้ล่วงหน้าสำหรับสมดุลแสงขาวอย่างใดอย่างหนึ่ง จากนั้น ในเมนูการแก้ไขสมดุลแสงขาว ให้ปรับค่าไปตามแกนสีม่วงแดง/สีเขียว หากคุณต้องการปรับค่าตามแกนสีน้ำเงิน/สีแดงก็สามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งในที่สุดคุณก็จะได้ภาพที่มีโทนสีตามต้องการ

จากเมนู SHOOT ให้เลือก [ปรับเลื่อน/ถ่ายคร่อม] เพื่อให้หน้าจอแสดงขึ้นดังด้านบน เลื่อนเครื่องหมายสี่เหลี่ยมไปยังตำแหน่งที่ต้องการบนเส้นตาราง

 

ตัวอักษรบนเส้นตาราง [ปรับเลื่อน/ถ่ายคร่อม] แต่ละตัวจะแสดงสีแต่ละสี เลื่อนเครื่องหมายสี่เหลี่ยมไปในทิศทางของสีที่คุณต้องการจะเน้นเป็นพิเศษ

 

ตัวอย่างของการแก้ไขสมดุลแสงขาว

ปกติ

 

A:9

 

B:9

 

G:9

 

M:9

ภาพตัวอย่างทั้งหมดถ่ายด้วย: EOS 6D/ EF24-105mm f/3.5-5.6 IS STM/ FL: 24 มม./ Aperture-priority AE (f/3.5, 1/500 วินาที, EV+1)/ ISO 100

ในตัวอย่างด้านบน ผมเลื่อนเครื่องหมายสี่เหลี่ยมตามจำนวนหน่วยที่ระบุไว้ใต้ภาพสำหรับ A(สีแดง), B(สีน้ำเงิน), G(สีเขียว) และ M(สีม่วงแดง) ตามลำดับ เอฟเฟ็กต์ที่ได้จากการปรับแต่งจะดูคมชัดในผลภาพขั้นสุดท้าย

 

สำหรับเคล็ดลับและบทช่วยสอนเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเลือกค่าที่ตั้งไว้ล่วงหน้าสำหรับสมดุลแสงขาว โปรดดูที่:
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสมดุลแสงขาวช่วยสร้างโทนสีได้ดังใจนึก
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตั้งค่ากล้อง #11: ควรใช้การตั้งค่าสมดุลแสงขาว (WB) แบบใด อัตโนมัติหรือแสงแดด
สร้างโลกแห่งความสงบเยือกเย็นด้วยภาพเงาสะท้อนบนผิวน้ำและค่าสมดุลแสงขาว

สำหรับเคล็ดลับและบทช่วยสอนเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีใช้การแก้ไขสมดุลแสงขาว โปรดดูที่:
วิธีการแสดงสีด้วยฟังก์ชั่นการแก้ไขสมดุลแสงขาว

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดย ลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา