ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด พื้นฐานของการถ่ายภาพ- Part18

พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #18: การตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง (โหมด M)

2017-07-06
16
37.31 k
ในบทความนี้:

หากคุณต้องการควบคุมทั้งค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเองนับเป็นวิธีที่เหมาะสม แม้ว่าโหมดนี้อาจใช้งานยากสำหรับผู้ใช้มือใหม่ แต่นับว่าสะดวกอย่างยิ่งสำหรับใช้ในการถ่ายภาพบางประเภท ในบทความชิ้นสุดท้ายในบทความต่อเนื่องชุดพื้นฐานเกี่ยวกับกล้องของเรานี้ เราจะลองมาทำความรู้จักกับโหมดนี้และวิธีใช้งานกัน (เรื่องโดย Tomoko Suzuki)

ภาพการตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง

 

โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง: ให้คุณตั้งค่าและล็อคความสว่างของภาพตามที่ต้องการ

สิ่งที่ควรจดจำ

- คุณกำหนดค่าความเร็วชัตเตอร์และค่ารูรับแสง
- การตั้งค่าความสว่างยังคงเหมือนเดิมหลังจากที่คุณตั้งค่าแล้ว
- โหมดนี้ช่วยให้ได้ระดับแสงที่เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายในการถ่ายภาพของคุณได้ง่ายขึ้น
 

ดังที่เราได้เรียนรู้ใน 2 บทความก่อนหน้านี้ ในโหมดการตั้งค่าตามขนาดรูัรับแสง และโหมดการระบุค่าความเร็วชัตเตอร์ ผู้ใช้สามารถตั้งค่ารูรับแสง/ความเร็วชัตเตอร์ด้วยตนเอง และกล้องจะคำนวณและตั้งค่าการตั้งค่าที่เหลือโดยอัตโนมัติ เพื่อให้ได้ระดับการเปิดรับแสงที่ดีที่สุด แต่ในโหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง ผู้ใช้สามารถกำหนดทั้งค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ได้เองและมีผลต่อภาพถ่าย ส่วนกล้องไม่ได้ตั้งค่าการเปิดรับแสงอัตโนมัติแต่อย่างใด

ในแง่นี้ โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเองจะไม่ได้รับผลจากความสว่างโดยรวมของสภาวะการถ่ายภาพ แน่นอนว่าเว้นแต่คุณจะปรับตั้งค่าด้วยเอง ข้อดีที่สำคัญที่สุดของคุณสมบัตินี้ก็คือ หากคุณตัดสินใจที่จะเปลี่ยนการจัดองค์ประกอบภาพ ซึ่งทำให้ความสมดุลของความสว่างระหว่างตัวแบบหลักกับแบ็คกราวด์จะเปลี่ยนไป คุณจะยังคงถ่ายตัวแบบหลักให้มีความสว่างเท่ากับก่อนที่คุณจะเปลี่ยนการจัดองค์ประกอบภาพได้ คุณสมบัตินี้ทำให้โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเองเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับฉากที่มีความเปรียบต่างด้านความสว่างมาก ภาพพอร์ตเทรตในสภาวะย้อนแสง และเมื่อต้องการทำให้ภาพดูสว่างขึ้น (หรือมืดลง) อย่างจงใจ

อ่าน: ฟังก์ชั่นการเปิดรับแสงแบบแมลนวลจะมีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อใช้กับภาพแบบไหน

สิ่งสำคัญในการกำหนดการตั้งค่าต่างๆ ในโหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเองคือ คุณต้องมีแนวคิดที่ชัดเจนเกี่ยวกับจุดมุ่งหมายในการถ่ายภาพ หากคุณต้องการสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ อันดับแรกต้องกำหนดการตั้งค่ารูรับแสงก่อน หรือหากคุณต้องการภาพที่ถ่ายทอดการเคลื่อนไหวในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง คุณต้องกำหนดความเร็วชัตเตอร์ก่อน หลังจากนั้น ให้ใช้สเกลแสดงระดับแสงในช่องมองภาพ เพื่อช่วยกำหนดค่าที่จะตั้งสำหรับการตั้งค่าอื่นๆ หากคุณกำลังใช้กล้องซีรีย์ EOS M ที่ไม่มีช่องมองภาพแบบออพติคอล คุณสามารถแสดงสเกลแสดงระดับแสงบนจอ LCD และใช้สเกลดังกล่าวเพื่อช่วยกำหนดระดับแสงที่จะใช้ได้

สำหรับผู้ใช้มือใหม่ เป็นธรรมดาที่จะรู้สึกอึ้งหรือสับสนกับการตั้งค่าแบบแมนนวลทั้งหมด แต่โหมดนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่า ค่ารูรับแสงและค่าความเร็วชัตเตอร์เกี่ยวข้องกับการเปิดรับแสงอย่างไร และเมื่อคุณใช้งานได้อย่างชำนาญแล้ว ก็จะสามารถถ่ายภาพได้อย่างรวดเร็ว เพราะไม่จำเป็นต้องใช้ค่าชดเชยแสง เพื่อปรับความสว่างทุกครั้งที่ถ่ายภาพ

 

วงแหวนเลือกโหมดในกล้อง

วงแหวนเลือกโหมดในกล้องของคุณ
หากต้องการใช้โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง ให้หมุนวงแหวนเลือกโหมดในกล้องไปที่ [M]

 

วงแหวนเลือกโหมดในกล้อง

หน้าจอ Quick Control
A: ความเร็วชัตเตอร์
B: การตั้งค่ารูรับแสง (ค่า f)

ช่างภาพตั้งค่าทั้งค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์
ช่างภาพสามารถตั้งค่าได้ทั้งค่ารูรับแสงและค่าความเร็วชัตเตอร์ โดยเลือกตั้งค่าใดค่าหนึ่งก่อน จากนั้น ใช้สเกลแสดงระดับแสงในช่องมองภาพเพื่อช่วยตั้งค่าส่วนที่เหลือ

 

ตรวจสอบสเกลแสดงระดับแสงเพื่อให้ได้ระดับแสงที่เหมาะสม
ให้ใช้สเกลแสดงระดับแสงในช่องมองภาพ (หรือแสดงสเกลบนจอ LCD) เพื่อตรวจสอบระดับแสงที่เหมาะสม คุณสามารถปรับไปที่ฝั่งบวก (+) เพื่อเปิดรับแสงให้สว่างขึ้น และไปทางฝั่งลบ (-) เพื่อปรับการเปิดรับแสงให้มืดลง และหากตั้งค่าระดับไว้ที่ ‘0’ คุณจะได้ระดับแสงที่เหมาะสม

เคล็ดลับ: ใช้ความไวแสง ISO แบบคงที่ 
เมื่อตั้งค่าในโหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง ฉันขอแนะนำให้คุณใช้ความไวแสง ISO แบบคงที ปัจจุบัน กล้องรุ่นใหม่มักมี "ISO อัตโนมัติ" เป็นค่า ISO เริ่มต้น แต่หากคุณใช้ฟังก์ชั่นดังกล่าวเพื่อตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง อาจส่งผลเสียต่อเอฟเฟ็กต์ที่คุณต้องการสร้างด้วยการตั้งค่ารูรับแสงและค่าความเร็วชัตเตอร์ด้วยตนเอง ก่อนอื่น ให้ตั้งค่า ISO 100 ไว้ก่อน และหากค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ที่คุณตั้งไว้ทำงานได้ไม่ดีนัก ค่อยปรับความไวแสง ISO เพิ่มขึ้นจนกว่าจะพบค่าที่ทำงานได้ดีตามต้องการ

หน้าจอ ISO 100

 

ตัวอย่างการใช้งาน 1: เมื่อฉากของคุณมีทั้งในที่ร่มและกลางแจ้ง และคุณต้องการปรับสมดุลความสว่าง

ภาพที่ถ่ายโดยใช้โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเองในกล้อง EOS 5D Mark III

EOS 5D Mark III / EF50mm f/1.4 USM/ FL: 50 มม./ Manual exposure (f/3.5, 1/60 วินาที)/ ISO 640/ WB: แสงแดด

เมื่อคุณต้องการรวมฉากในที่ร่มซึ่งมืดและฉากกลางแจ้งที่สว่างกว่ามากไว้ในเฟรมเดียวกัน จะมีความเปรียบต่างของความสว่างมาก ซึ่งโหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเองจะช่วยคุณได้ คุณสามารถปรับการตั้งค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ร่วมกันเพื่อให้ได้ความสว่างที่สมดุล ทั้งในส่วนที่ร่มและกลางแจ้งของฉาก

นอกจากนี้ โหมดนี้ยังใช้งานได้ดีในภาพติดโอเวอร์-อันเดอร์อีกด้วย อ่านบทช่วยสอนต่อไปนี้:
การถ่ายภาพทั้งโลกใต้น้ำและบนพื้นโลกด้วยการถ่ายภาพครั้งเดียว
 

 

ตัวอย่างการใช้งาน 2: เพื่อให้แน่ใจว่าใบหน้าของตัวแบบสว่างเพียงพอเมื่อถ่ายภาพพอร์ตเทรตในสภาวะย้อนแสง

ภาพที่ถ่ายโดยใช้โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเองในกล้อง EOS 6D

EOS 6D/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม./ Manual exposure (f/4, 1/125 วินาที)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

การถ่ายภาพในสภาวะย้อนแสงทำให้ใบหน้าของตัวแบบบุคคลดูมืด ใช้โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเองเพื่อให้แน่ใจว่าจะมีการวัดระดับแสงอย่างเหมาะสมโดยอ้างอิงจากใบหน้าของตัวแบบ และคุณสามารถถ่ายภาพที่ระดับแสงเดียวกันได้ไม่ว่าแบ็คกราวด์จะสว่าง/มืดมากน้อยเพียงใด

อ่านบทช่วยสอนตามขั้นตอนเกี่ยวกับวิธีถ่ายภาพพอร์ตเทรตให้ตัวแบบดูโดดเด่นโดยใช้แสงย้อนจากหน้าต่าง

 

ตัวอย่างการใช้งาน 3: เพื่อถ่ายภาพให้ดูสว่างขึ้น (หรือมืดลง) อย่างจงใจ

ภาพที่ถ่ายโดยใช้โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเองในกล้อง EOS 6D

EOS 6D/ EF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม./ Manual exposure (f/4, 1/20 วินาที)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

เมื่อถ่ายภาพในโหมดโปรแกรมระดับแสงอัตโนมัติ โหมดระบุค่าความเร็วชัตเตอร์ และโหมดระบุค่ารูรับแสง คุณมักใช้การชดเชยแสงเพื่อควบคุมความสว่าง แต่วิธีนี้จะมีข้อจำกัดในเรื่องปริมาณการชดเชยแสงที่คุณสามารถใช้ได้ แม้ว่าระยะจริงจะแตกต่างกันในกล้องแต่ละรุ่นก็ตาม เพื่อช่วยควบคุมความสว่างได้ดียิ่งขึ้นเมื่อคุณต้องการถ่ายภาพให้ดูสว่างขึ้น/มืดลงอย่างจงใจ วิธีที่ดีที่สุดคือใช้โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้คุณได้ภาพตามต้องการได้อย่างง่ายดาย

 

ต่อไปนี้คือฉากอื่นๆ ที่โหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเองจะเป็นประโยชน์มาก:
การถ่ายภาพท้องฟ้ายามค่ำคืน: ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: การใช้ระเบิดซูมเพื่อเปลี่ยนดวงดาวบนท้องฟ้าให้เป็นฝนดาวตก
เมื่อใช้งานชุดแฟลชภายนอก: การถ่ายภาพรถให้สวยงามอย่างในนิตยสาร


หากคุณยังไม่ได้อ่านบทความต่อเนื่องชุดพื้นฐานเกี่ยวกับกล้องของเราหรือหากต้องการอ่านสรุป สามารถอ่านบทความทั้งหมดได้ที่:
จุดโฟกัส: พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง

 

รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ ได้โดยลงทะเบียนกับเรา!

 

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา