ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด พื้นฐานของการถ่ายภาพ- Part3

พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #3: การเปิดรับแสง

2017-01-19
17
16.33 k
ในบทความนี้:

การเปิดรับแสงคือหนึ่งในปัจจัยหลักที่จะกำหนดว่าภาพถ่ายของคุณจะออกมาเป็นอย่างไร เราลองมาพูดคุยถึงวิธีเริ่มใช้ประโยชน์จากการเปิดรับแสงเพื่อให้ได้ผลภาพที่ดีที่สุดกัน (เรื่องโดย: Tomoko Suzuki)

 

"การเปิดรับแสง" หมายถึงความสว่างในภาพที่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์

สิ่งที่พึงจดจำ

- กล้องจะมีฟังก์ชัน Auto exposure (AE)
- เราเรียกความสว่างที่เกิดจากการคำนวณและตั้งค่าของกล้องว่า "ระดับแสงที่เหมาะสม"
- หากระดับแสงที่เหมาะสมยังไม่น่าพอใจ คุณสามารถใช้การชดเชยแสงเพื่อปรับค่าได้
 

คำว่า "การเปิดรับแสง" หมายถึงปริมาณแสงที่ได้รับในขณะที่ถ่ายภาพซึ่งส่งผลต่อความสว่างของผลภาพที่ได้ โดยปริมาณแสงนี้เกิดขึ้นจากการตั้งค่ารูรับแสงและค่าความเร็วชัตเตอร์

ในกล้อง DSLR จะมีฟังก์ชันการปรับระดับแสงอัตโนมัติ (AE) ดังนั้น หากถ่ายภาพในสภาวะปกติซึ่งมีความไวแสง ISO คงที่ คุณไม่จำเป็นต้องคิดว่าค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์เท่าใดจึงจะให้การเปิดรับแสงที่เพียงพอ เนื่องจากกล้องจะตั้งค่าดังกล่าวให้โดยอัตโนมัติ เราจะได้ผลลัพธ์ภาพที่สวยสดงดงามในทุกๆ ฉากและตัวแบบทุกประเภทจากการเปิดรับแสงที่กำหนดโดยอัตโนมัตินี้ ซึ่งเราเรียกว่า "ระดับแสงที่เหมาะสม"

อย่างไรก็ดี ระดับแสงที่เหมาะสมอาจไม่ใช่การเปิดรับแสงที่เหมาะสมสำหรับฉากนั้นๆ ก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะของฉากและตัวแบบที่ใช้ด้วย หลายครั้งหลายคราความสว่างในฉากอาจไม่ให้ผลภาพอย่างที่คาดหวังไว้ เมื่อเกิดกรณีเช่นนี้ เราสามารถ ใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติการชดเชยแสง เพื่อปรับระดับความสว่างได้เสมอ โดยหากเราต้องการให้ภาพดูมืดลง เราสามารถตั้งค่าการชดเชยแสงเป็นลบ (“-“) และหากเราต้องการให้ภาพสว่างขึ้น เราสามารถตั้งค่าการชดเชยแสงเป็นบวก (“+”) ได้

แม้แต่ในขณะที่ถ่ายภาพในสถานการณ์เดียวกันหรือตัวแบบเดียวกัน การปรับค่าการชดเชยแสงอย่างง่ายๆ ยังช่วยให้คุณได้ผลลัพธ์ที่ต่างออกไปอย่างมาก อีกนัยหนึ่งคือ ศิลปะของการชดเชยแสงเป็นสิ่งที่เราทุกคนต้องเรียนรู้เพื่อที่จะถ่ายภาพได้อย่างสวยงามนั่นเอง

 

เมื่อเราเปิดก๊อกน้ำ (ค่ารูรับแสง) เวลาที่ใช้รองรับน้ำ (ความเร็วชัตเตอร์) จะสั้นลง

เมื่อเปิดก๊อกน้ำ (=ค่ารูรับแสง) น้ำ (=แสง) จะไหลมากขึ้น และเวลาที่ใช้รองรับน้ำ (=ความเร็วชัตเตอร์) จะสั้นลง (=จะเร็วขึ้น) และเพียงพอที่จะได้ระดับการเปิดรับแสงที่เหมาะสม ในอีกทางหนึ่ง เมื่อหรี่ก๊อกน้ำ (=ค่ารูรับแสง) ลง น้ำ (=แสง) จะไหลน้อยลง และเวลาที่ใช้รองรับน้ำ (=ความเร็วชัตเตอร์) จะนานขึ้น

 

 

แนวคิดที่ 1: ผลลัพธ์จากการเปิดรับแสงที่ได้จากการทำงานร่วมกันระหว่างค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์

การใช้วิธีการใดวิธีการหนึ่งต่อไปนี้อาจทำให้ได้ระดับความสว่างที่เท่ากัน:

1. ค่ารูรับแสงที่กว้างขึ้น (ค่า f ต่ำลง) + ความเร็วชัตเตอร์เร็วขึ้น
2. ค่ารูรับแสงที่แคบลง (ค่า f สูงขึ้น) + ความเร็วชัตเตอร์ต่ำลง

ลองดูตัวอย่าง (3), (5) และ (7) ด้านล่าง ซึ่งเป็นผลจากการใช้ความเร็วชัตเตอร์และค่ารูรับแสงที่แตกต่างกัน แต่คุณจะเห็นว่าภาพแต่ละภาพมีความสว่าง (การเปิดรับแสง) เท่ากัน

ตัวอย่าง (3), (5) และ (7) มีความสว่างเท่ากันหมด (ระดับแสงที่เหมาะสม)
ตัวอย่าง (1) ได้รับแสงมากเกินไป
ตัวอย่าง (9) ได้รับแสงน้อยเกินไป

 

 

แนวคิดที่ 2: ฟังก์ชันการปรับระดับแสงอัตโนมัติ (AE)

เราลองมาดูภาพประกอบด้านล่าง ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงรูปแบบบางประการในการใช้ค่ารูรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ คุณอาจพบว่าการตัดสินใจใช้วิธีการใดเป็นเรื่องยาก แต่กล้องดิจิตอลที่มาพร้อมกับฟังก์ชันการปรับระดับแสงอัตโนมัติ (AE) ที่สะดวกอย่างยิ่งจะทำให้กระบวนการง่ายดายขึ้น

กล้องมี “โหมด Program AE” [ P ] ที่สามารถตั้งค่าทั้งรูัรับแสงและความเร็วชัตเตอร์ได้โดยอัตโนมัติ โหมด “Shutter-priority AE” [ Tv ] เป็นโหมดที่คุณสามารถตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ได้เอง จากนั้นกล้องจะทำหน้าที่กำหนดค่ารูรับแสง ส่วนโหมด “Aperture-priority AE” [ Av ] เป็นโหมดที่ให้คุณตั้งค่ารูรับแสง จากนั้นกล้องจะกำหนดความเร็วชัตเตอร์เอง เราจะอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับโหมดต่างๆ เหล่านี้ในบทความต่อๆ ไป ดังนั้นอย่าพลาดนะครับ!

เมื่อคุณตั้งค่ากล้องในโหมดใดโหมดหนึ่งนี้แล้ว ก็เหลือเพียงแค่ลั่นชัตเตอร์แล้วรอรับภาพที่มีปริมาณแสงที่เหมาะสมเท่านั้น สะดวกสบายและไม่ยุ่งยากเลยใช่ไหมล่ะครับ!

 

 

รับข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับข่าวสาร เคล็ดลับและลูกเล่นในการถ่ายภาพได้โดย ลงทะเบียนเป็นสมาชิกกับเรา!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Tomoko Suzuki

หลังเรียนจบจากวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยโตเกียวโพลีเทคนิคแล้ว Suzuki ก็เข้าทำงานกับบริษัทโปรดักชั่นโฆษณาแห่งหนึ่ง เธอได้ทำงานเป็นผู้ช่วยให้กับช่างภาพหลายคน รวมถึง Kirito Yanase และมีความเชี่ยวชาญการถ่ายภาพโฆษณาผลิตภัณฑ์จำพวกเครื่องแต่งกายและเครื่องสำอางอีกด้วย ตอนนี้เธอทำงานเป็นช่างภาพสตูดิโอให้กับบริษัทผลิตเสื้อผ้าแห่งหนึ่ง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา