ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

ผลิตภัณฑ์ >> ผลิตภัณฑ์ทั้งหมด

[ตอนที่ 2] เทคโนโลยีการซูมมุมกว้างล่าสุดที่ Canon ภูมิใจในเลนส์ EF16-35mm f/4L IS USM  และ EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM

2014-11-06
1
2.15 k
ในบทความนี้:

ในปี 2014 Canon ทุ่มเทอย่างมากกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเลนส์แบบถอดเปลี่ยนได้ ความพยายามครั้งนี้รวมไปถึงการเปิดตัวเลนส์มุมกว้างสองรุ่นต่อเนื่องกัน คือ EF16-35mm f/4L IS USM และ EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM ในบทความนี้ ผมจะมุ่งเน้นที่สาระสำคัญเกี่ยวกับเทคโนโลยีในเลนส์ตัวใหม่ล่าสุดทั้งสองรุ่นนี้ ซึ่งมีทางยาวโฟกัสและค่ารูรับแสงกว้างสุดแตกต่างจากเลนส์รุ่นอื่นๆ (เรื่องโดย: Junichi Date)

หน้า: 1 2

 

ภาพถ่าย (จากซ้ายไปขวา)
Shota Shimada: ICP กลุ่มที่ 1, ปฏิบัติการแผนก Image Communications Product, CANON INC./ Kunihiko Sasaki: ศูนย์พัฒนา ICP 1, ปฏิบัติการแผนก Image Communications Product, CANON INC./ Shunji Iwamoto: ศูนย์พัฒนา ICP 1, ปฏิบัติการแผนก Image Communications Product, CANON INC./ Makoto Nakahara: ศูนย์พัฒนา ICP 1, ปฏิบัติการแผนก Image Communications Product, CANON INC./ Masayasu Mizushima: ศูนย์พัฒนากล้อง/ Masami Sugimori, ศูนย์พัฒนา ICP 1, ปฏิบัติการแผนก Image Communications Product, CANON INC.

EF-S10-18mm สร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีการผลิตเลนส์แก้ความคลาดทรงกลมหล่อพลาสติก

― เอาล่ะ ต่อไป ผมอยากจะรู้จักเลนส์ EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM ให้มากขึ้น ราคาของเลนส์รุ่นนี้นับว่าเป็นราคาที่คุ้มค่าน่าซื้อใช้มาก ความตั้งใจของการออกเลนส์รุ่นนี้คืออะไรครับ?

Shimada เราวางแผนมาตลอดที่จะให้ผู้ใช้มีเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์สำรองไว้เป็นเลนส์คิทอีกหนึ่งตัวหลังจากซื้อเลนส์ซูมมาตรฐานหรือชุดเลนส์ซูมคู่แล้ว จากการสำรวจที่เราจัดทำขึ้นพบว่า ลูกค้าประมาณ 40-50% ที่ซื้อเลนส์คิทดังกล่าวแล้วสุดท้ายมักจะใช้เลนส์เพียงแค่เลนส์เดียว แม้ว่าพวกเขาจะใช้กล้อง DSLR แต่ก็สูญเปล่าถ้าไม่สามารถสนุกกับการใช้เลนส์แบบถอดเปลี่ยนได้ให้หลากหลาย ดังนั้น เลนส์นี้จึงทำขึ้นเพื่อขยายขอบเขตการถ่ายทอดอารมณ์ผ่านภาพถ่ายให้กับผู้ใช้ของเรา ในการสำรวจนี้ เรายังพบอีกว่าผู้ใช้ไม่ได้ใช้อะไรมากไปกว่าชุดเลนส์ที่มีอยู่ เพราะหลายคนมองไม่ค่อยเห็นความแตกต่างของภาพที่ได้จากเลนส์คิทและเลนส์อื่นๆ อีกเหตุผลหนึ่งคือเลนส์ถอดเปลี่ยนได้มีราคาแพง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เราตัดสินใจทำเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ที่มีทางยาวโฟกัสเทียบเท่ากับ 16 มม. ในฟอร์แมตฟิล์ม 35 มม. ในราคาที่ย่อมเยากว่าเมื่อเทียบกับเลนส์ทั่วๆ ไป ขณะเดียวกัน ขนาดที่ค่อนข้างเล็กและน้ำหนักเบาทำให้มีสมดุลเหมาะพอดีเมื่อใช้งานกับกล้อง DSLR รุ่นเริ่มต้นใช้งาน ไม่เพียงเท่านั้น ยังให้ผู้ใช้ได้เพลิดเพลินกับสไตล์การถ่ายภาพใหม่ๆ ที่แตกต่างจากเลนส์คิทอย่างชัดเจน

― อย่างนี้จะซ้ำกับกับเลนส์ EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM ที่มีอยู่หรือเปล่าครับ?

Shimada เลนส์ EF-S10-22mm f/3.5-4.5 USM มีทางยาวโฟกัส 22 มม. ที่ฝั่งเทเลโฟโต้ ซึ่งค่อนข้างจะซ้อนกับเลนส์ซูมมาตรฐาน นอกจากนี้ ยังมีวงแหวนสเกลโฟกัสและรูปลักษณ์ที่สวยสง่า แม้จะไม่มีคุณสมบัติ IS ในตัว แต่ด้วยรูรับแสงกว้างสุดที่ f/3.5-4.5 จึงสว่างกว่าถึงประมาณ 1/3 ถึง 2/3 สต็อป ผู้ใช้ที่มีประสบการณ์มากขึ้นจะให้ความสำคัญกับเรื่องเหล่านี้ครับ

― เลนส์ไหนให้คุณภาพของภาพถ่ายที่ดีกว่ากันครับ?

Nakahara อย่างที่คุณเห็นจากลักษณะเส้นกราฟ MTF เลนส์ EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM นั้นให้ประสิทธิภาพสูงกว่าแม้ว่าจะมีราคาประหยัด ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นเพราะมีค่ารูรับแสงกว้างสุดที่น้อยลงนั่นเอง ชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมวางอยู่ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของระบบออพติคอล เพื่อลดความโค้ง ความบิดเบี้ยว และความคลาดทรงกลม ในขณะเดียวกัน ชิ้นเลนส์ UD ยังใช้งานได้อย่างมีประสิทธิผลในการออกแบบเพื่อลดความคลาดสีอีกด้วย

― ข้อกังวลอย่างหนึ่งของผม คือเมาท์เลนส์พลาสติก จะมีความทนทานเพียงพอหรือครับ?

Mizushima เราถูกถามด้วยคำถามนี้บ่อยมากครับ เลนส์นี้ใช้วัสดุ (พลาสติกสำหรับงานวิศวกรรมที่มีความสามารถในการใช้งานสูง) ซึ่งมีความทนทานดีเยี่ยมในแง่ของการทนต่อแรงกระแทกและการสึกหรอ ผ่านการทดสอบต่างๆ ที่เราจัดทำขึ้นภายใน และพิสูจน์แล้วว่าปลอดภัยต่อการใช้งาน

― ถ้าเป็นอย่างนั้น ทำไมยังมีการใช้เมาท์เลนส์โลหะกับเลนส์รุ่นอื่นๆ อีกล่ะครับ?

Mizushima ความแข็งแรงที่จำเป็นของเมาท์แตกต่างกันไปตามขนาดและน้ำหนักที่เลนส์ต้องการในการช่วยให้ใช้งานสะดวก สำหรับเลนส์น้ำหนักมาก เช่น เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ หรือเลนส์เส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ เมาท์โลหะอาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่าในแง่ของความแข็งแรงทนทาน แต่เลนส์ EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM มีน้ำหนักเบามาก ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมเราจึงตัดสินใจว่า เมาท์พลาสติกสามารถให้ความแข็งแรงได้มากเพียงพอ

ขนาดและน้ำหนักของเลนส์ EF-S มุมกว้างทั้งสองรุ่น

ด้วยการออกแบบที่ประกอบด้วยมุมรับภาพที่แคบลง ค่ารูรับแสงกว้างสุดในระยะเทเลโฟโต้ที่ต่ำลง และการใช้ชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมหล่อพลาสติกและเมาท์พลาสติก ทำให้เลนส์รุ่นนี้มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และราคาไม่แพง เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ตัวนี้มีราคาไม่สูง ทำให้ตัดสินใจซื้อได้ง่ายแม้จะเป็นผู้ใช้ที่ไม่ได้ถ่ายภาพบ่อยนัก

― ประเด็นสำคัญด้านเทคโนโลยีเพื่อให้ได้การออกแบบออพติคอลสำหรับเลนส์ EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM คืออะไรครับ?

Nakahara คุณลักษณะพิเศษของเลนส์นี้คือ การใช้เลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่เป็นชิ้นเลนส์ที่สองจากชิ้นหน้าสุด ซึ่งทำให้มีน้ำหนักเบาและราคาประหยัด ทั้งยังให้คุณภาพภาพถ่ายที่ดียิ่งขึ้นอย่างชัดเจน เราเคยใช้ชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมหล่อพลาสติกที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดเล็ก แต่สำหรับเลนส์ EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM นั้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่มาก เพื่อให้การออกแบบสำเร็จ เราจำเป็นต้องทำให้ได้ตามมาตรฐานคุณภาพที่เคร่งครัด อันเป็นความท้าทายที่เราไม่สามารถก้าวผ่านได้ในอดีต ดังนั้น จึงไม่เกินความจริงหากจะกล่าวว่า การเพิ่มมูลค่าของเลนส์ EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM เกิดขึ้นได้ด้วยการสร้างเทคโนโลยีเพื่อผลิตเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมหล่อพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ นอกจากนี้ เมื่อคำนึงถึงการนำไปใช้บันทึกภาพเคลื่อนไหว เรายังนำระบบ STM มาใช้เพื่อให้มั่นใจได้ถึงระบบโฟกัสอัตโนมัติที่เงียบและราบรื่น และใช้การออกแบบที่ลดความผันผวนในการขยายภาพระหว่างการโฟกัส

― เข้าใจแล้วครับ เรียกได้ว่า การพัฒนาในด้านเทคโนโลยีการผลิตสำหรับเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลม เป็นกุญแจสำคัญในการเพิ่มมูลค่าให้กับเลนส์ทั้ง EF16-35mm f/4L IS USM และ EF-S10-18mm f/4.5-5.6 IS STM

 

บทสรุปการสังเกต

ชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมสองด้านสร้างรากฐานเทคโนโลยีออพติคอลสำหรับเลนส์มุมกว้างแห่งอนาคต

หากเทียบกัน ผมชอบกล้องขนาด APS-C มากกว่ากล้องฟูลเฟรม แต่ผมยังไม่เจอกล้อง APS-C ระดับมืออาชีพตัวจริง ปัจจุบันนี้ ผมใช้กล้อง EOS 5D Mark III เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งถ่ายภาพด้วยความไวแสง ISO สูงได้อย่างดีเยี่ยมและมอบประสิทธิภาพของระบบ AF และการถ่ายภาพต่อเนื่องที่ดีขึ้น

อย่างไรก็ดี ผมก็ยังสับสนทุกครั้งที่ต้องเลือกเลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์ น่าเสียดายที่ผมยังไม่เจอเลนส์ที่มีคุณภาพบริเวณขอบภาพในระดับที่น่าพอใจในกลุ่มเลนส์ EF ที่มีอยู่แล้ว ผมจึงถ่ายภาพมุมกว้างอัลตร้าไวด์ด้วยกล้อง APS-C แบบมิเรอร์เลสเป็นหลัก ในความเป็นจริงแล้ว เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์สำหรับกล้องมิเรอร์เลสในปัจจุบันให้คุณภาพบริเวณขอบภาพที่สูงมาก ยิ่งกว่านั้น ยังมาพร้อมกับคุณสมบัติ IS และราคาที่เหมาะสม แม้ว่าจะใช้การแก้ไขแบบดิจิตอล แต่การแก้ไขความบิดเบี้ยวก็ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อพิจารณาถึงองค์ประกอบต่างๆ แล้ว จึงปฏิเสธไม่ได้ว่าผมประเมินเลนส์ EF16-35mm f/4L IS USM ไว้ครั้งแรกอาจจะร้ายแรงไปหน่อย แต่หลังจากได้ลองใช้งาน ผมพบว่าคุณภาพบริเวณขอบภาพนั้นมีความเสถียรสูงมาก อย่างที่ระบุในแค็ตตาล็อก และให้ความมั่นใจในการถ่ายภาพเมื่อเปิดรูรับแสงกว้างเต็มที่ หากจะเปรียบเทียบกับโครงสร้างเลนส์ EF16-35mm f/2.8L II USM ซึ่งเป็นรุ่นก่อนหน้า อาจบอกได้ว่า ไม่มีความแตกต่างมากนัก ยกเว้นเรื่องชุดระบบ IS ที่เพิ่มเข้ามา

นี่คือเหตุผลที่ผมต้องค้นหาปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้คุณภาพของภาพถ่ายในบริเวณขอบภาพพัฒนาดีขึ้นในการพูดคุยครั้งนี้ ดูเหมือนว่า การนำชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมสองด้านมาใช้ทำให้เกิดสมดุลระหว่างลักษณะที่ข้ดแย้งกันของเส้นโค้งและความบิดเบี้ยวของภาพในระดับสูงได้อย่างยอดเยี่ยม สาเหตุที่ทำให้เลนส์มุมกว้างอัลตร้าไวด์เหล่านี้มีคุณภาพบริเวณขอบภาพสูงสำหรับใช้กับกล้องมิเรอร์เลสอาจไม่ใช่แค่ประโยชน์จากแบ็คโฟกัสที่สั้นสำหรับเลนส์มุมกว้าง แต่เป็นเพราะการทุ่มเทความพยายามที่จะแก้ไขเส้นโค้งที่มีความบิดเบี้ยวซึ่งผ่านการแก้ไขแบบดิจิตอลแล้ว ในทางกลับกัน การแก้ไขภาพแบบดิจิตอลจะไม่ปรากฏให้เห็นในช่องมองภาพเมื่อใช้เลนส์ SLR จึงต้องแก้ไขความบิดเบี้ยวด้วยระบบออพติคอล กุญแจสำคัญในการแก้ไขอยู่ที่การใช้ชิ้นเลนส์แก้ไขความคลาดทรงกลมสองด้านและการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตของ Canon

 
Junichi Date

 

เกิดที่เมืองฮิโรชิมาเมื่อปี 1962 จบการศึกษาจากแผนกวิทยาศาสตร์ภาพถ่าย คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิบา นอกจากงานด้านช่างภาพ เช่น ถ่ายภาพให้นิตยสาร Date ยังมีส่วนในงานเขียนโดยใช้สิ่งที่เขาถนัดอย่างขะมักเขม้น

 
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา