ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ฉาก 3 ประเภทที่ใช้ประโยชน์จาก IS ในตัวกล้องได้เต็มที่

2021-02-08
1
1.63 k
ในบทความนี้:

IS ในตัวกล้องช่วยยกระดับการถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องขึ้นไปอีกขั้น ระบบนี้ไม่เพียงช่วยให้คุณใช้เลนส์ที่ไม่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหวในตัวได้ในแบบที่คุณไม่เคยทำได้มาก่อนเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ถ่ายภาพบางฉากได้ง่ายขึ้นแม้ไม่มีขาตั้งกล้อง! มาดูฉาก 3 ประเภทต่อไปนี้ที่สามารถถ่ายภาพด้วยกล้องใหม่ของคุณที่มี IS ในตัว (เรื่องโดย: Kazuo Nakahara, Digital Camera Magazine)

ความเร็วชัตเตอร์: 5 วินาที
EOS R5/ RF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 24 มม./ Shutter-priority AE (f/10, 5 วินาที, EV -0.3)/ ISO 100/ WB: หลอดไฟทังสเตน

 

ฉากที่ 1: การเปิดรับแสงนานในตอนกลางคืน

เส้นแสงเช่นในภาพด้านบนที่ถ่ายด้วยการเปิดรับแสง 5 วินาทีนี้ มักจะต้องใช้ขาตั้งเพื่อให้กล้องมั่นคง แต่ผมสามารถถ่ายภาพนี้ได้ด้วยมือ โดยที่เอฟเฟ็กต์การป้องกันภาพสั่นไหวอยู่ที่ระดับเทียบเท่าความเร็วชัตเตอร์ 7 สต็อปโดยประมาณ หากมองใกล้ๆ คุณอาจยังคงเห็นการสั่นไหวของกล้องเล็กน้อย แต่ภาพก็มีความคมชัดพอที่จะใช้งาน


ระบบป้องกันภาพสั่นไหวสูงสุด 8 สต็อปนั้นช่วยให้คุณใช้ความเร็วชัตเตอร์ช้าลงได้ประมาณ 256 เท่า!

คิดง่ายๆ ก็คือ การที่สามารถถ่ายภาพได้ช้าลง 8 สต็อปนั้น หมายถึง ความเร็วชัตเตอร์ที่ช้ากว่าความเร็วปกติที่คุณใช้อยู่ประมาณ 2^8 = 256 เท่า หากคุณไม่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว

ตามกฎการกำหนดความเร็วชัตเตอร์แบบ “Reciprocal Rule” นั้น หากไม่มีระบบป้องกันภาพสั่นไหว ความเร็วชัตเตอร์ของคุณควรอยู่ที่อย่างน้อย 1/x วินาที (โดยที่ x = ทางยาวโฟกัสที่คุณใช้) เพื่อให้ได้ภาพคมชัด ดังนั้น เมื่อใช้เลนส์มุมกว้าง (35 มม. หรือสั้นกว่า) ร่วมกับ IS ในตัวกล้องหรือ IS แบบประสานการควบคุม คุณจะสามารถถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องให้ออกมาคมชัดได้แม้จะใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงสุดไม่กี่วินาที!

 

ฉากที่ 2: แสงสลัวๆ ในร่ม

ISO 250
EOS R5/ RF24-105mm f/4L IS USM/ FL: 105 มม./ Aperture-priority AE (f/4, 0.5 วินาที, EV -0.3)/ ISO 250/ WB: แสงแดด

เมื่อใช้ทางยาวโฟกัสยาวๆ มีโอกาสที่จะเกิดปัญหากล้องสั่นสูงขึ้น ฉากในลักษณะนี้มักต้องใช้ความไวแสง ISO อย่างน้อย 6400 เพื่อรักษาความเร็วชัตเตอร์ให้สูงพอ แต่ด้วย IS ในตัวกล้อง ทำให้ภาพดูคมชัดแม้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ 0.5 วินาที ซึ่งทำให้ผมสามารถรักษาความไวแสง ISO ต่ำที่ 250 เพื่อให้คุณภาพของภาพดีที่สุด


คุณไม่จำเป็นต้องสละคุณภาพของภาพเพื่อแลกกับความคมชัดสูงขึ้นอีกต่อไป

มีฉากหลายแบบที่มีแสงน้อยซึ่งคุณอาจใช้ขาตั้งกล้องไม่ได้ เช่น คาเฟ่ บาร์ และพิพิธภัณฑ์ โดยปกติแล้ว หากต้องการความคมชัด คุณจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงๆ และความไวแสง ISO สูง ซึ่งจะทำให้ภาพมีจุดรบกวนมากขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ด้วยระบบป้องกันภาพสั่นไหวในกล้อง (IS ในตัวกล้อง) คุณจะสามารถให้ความสำคัญกับคุณภาพของภาพได้โดยใช้ค่าความไวแสง ISO ที่ต่ำลงและความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าลงกว่าเดิม

เคล็ดลับ: ใช้ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหากล้องสั่นจากการสั่นสะเทือนของชัตเตอร์ วิธีนี้จะทำให้การถ่ายภาพเงียบและอาจยิ่งเหมาะสำหรับสถานการณ์นั้นๆ!

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
โหมดชัตเตอร์และโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง: ควรใช้แต่ละโหมดเมื่อใด

 

ฉากที่ 3: การถ่ายภาพด้วยเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้

FL: 800 มม.
EOS R6/ RF800mm f/11 IS STM/ Shutter-priority AE (f/11, 1/400 วินาที, EV -0.3)/ ISO 200/ WB: อัตโนมัติ
ภาพโดย: Charlie Furusho

เลนส์ RF800mm f/11 IS STM และ RF600mm f/11 IS STM มีจุดเด่นในด้านน้ำหนักเบาและความกะทัดรัด และวิธีที่ดีที่สุดในการใช้จุดเด่นดังกล่าวให้เป็นประโยชน์ก็คือ การถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้อง! ภาพนี้ถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ 1/400 วินาทีเพื่อคงภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวที่ใบพัดเอาไว้ ซึ่งคงจะทำได้ยากกว่านี้หากใช้ IS แบบออพติคอลในเลนส์อย่างเดียว


เปลี่ยนสิ่งที่เคยไปไม่ได้ให้เป็นไปได้

เมื่อถ่ายภาพด้วยเลนส์ยาว ไม่เพียงแต่การสั่นไหวของกล้องจะเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ยังทำให้ภาพในช่องมองภาพดูกระตุกเล็กน้อยด้วย ด้วยเหตุนี้ การมีระบบป้องกันภาพสั่นไหวที่ทรงพลังอยู่ในมือจึงมีความสำคัญเป็นพิเศษเมื่อถ่ายภาพด้วยเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ ซึ่งจะช่วยให้การจับภาพฉากที่คุณไม่ต้องการใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเกินไปนั้นเป็นเรื่องง่ายขึ้น เช่น เมื่อคุณต้องการคงการเคลื่อนไหวไว้เล็กน้อยเพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์ที่มีพลัง และยังทำให้ภาพในช่องมองภาพไม่สั่นไหวอีกด้วย

เลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้รุ่นล่าสุดทุกรุ่นของ Canon ต่างมี IS แบบออพติคอล เมื่อคุณใช้ร่วมกับกล้องที่มี IS ในตัวกล้อง เช่น EOS R5 และ EOS R6 ระบบ IS ทั้งสองจะทำงานร่วมกันเพื่อป้องกันภาพสั่นไหวอย่างได้ผลยิ่งขึ้น


มาดูว่า IS ในตัวกล้องพลิกโฉมวิธีการถ่ายภาพของช่างภาพทิวทัศน์ได้อย่างไรใน:
ทำไมกล้อง EOS R5 ถึงเป็นกล้องในอุดมคติสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ของผม

อ่านไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องได้ที่:
ถ่ายภาพพอร์ตเทรตยามค่ำคืนให้สวยงามโดยไม่ใช้ขาตั้งกล้องและแฟลช
ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: 2 ไอเดียสำหรับเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพถ่ายแบบแพนกล้อง

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kazuo Nakahara

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา