ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: 2 ไอเดียสำหรับเพิ่มความน่าสนใจให้กับภาพถ่ายแบบแพนกล้อง

2020-09-11
1
907
ในบทความนี้:

การแพนกล้องเป็นหนึ่งในเทคนิคยอดนิยมที่ใช้สื่อถึงความเร็วและความมีมิติของยวดยานที่กำลังเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว แต่คุณทราบหรือไม่ว่า ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวที่เกิดจากการแพนกล้องนั้นทำให้ภาพของคุณสวยงามขึ้นได้เช่นกัน มาดูเทคนิคสองข้อในการถ่ายภาพเช่นนี้กัน (เรื่องโดย: Yuya Yamasaki, Digital Camera Magazine)

รถไฟความเร็วสูงที่มีโบเก้ในโฟร์กราวด์ ถ่ายด้วยการแพนกล้อง

EOS 5D Mark III/EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 200 มม./ Manual exposure (f/11, 1/30 วินาที)/ ISO 50/ WB: แสงแดด (M4)
อุปกรณ์อื่นๆ: ฟิลเตอร์ PL

 

เทคนิคที่ 1: แพนกล้องในส่วนที่เป็นโบเก้ในโฟร์กราวด์

เชื่อหรือไม่ว่าภาพด้านบนเป็นภาพที่ไม่ได้ใช้ฟิลเตอร์ (หรืออย่างน้อยก็ไม่ได้ใช้ฟิลเตอร์จากซอฟต์แวร์) คุณเห็นความแตกต่างจากภาพที่ถ่ายด้วยการแพนกล้องแบบดั้งเดิมหรือไม่

ในภาพจากการแพนกล้องแบบดั้งเดิม คุณจะรู้สึกถึงความเร็วเนื่องจากมีภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวในแบ็คกราวด์ แต่หากคุณให้โฟร์กราวด์อยู่นอกโฟกัสจากนั้นจึงแพนกล้อง คุณจะได้ภาพเหมือนด้านบน ซึ่งโบเก้ในโฟร์กราวด์ดูเหมือน “ถูกปัด” จนทั่วทั้งภาพ 

ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวสีชมพูเกิดจากดอกซากุระในโฟร์กราวด์ ซึ่งผมวางไว้ให้อยู่นอกโฟกัสก่อนแพนกล้อง ผมเริ่มการแพนกล้องเมื่อรถไฟความเร็วสูงเคลื่อนตัว แม้ผมจะใช้ฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (ฟิลเตอร์ PL) เพื่อให้สีชมพูของดอกซากุระเด่นชัดขึ้น ผลที่ได้ก็ยังไม่เพียงพอ ผมจึงใช้การแก้ไขสมดุลแสงขาว โดยปรับโทนสีแดงม่วงให้เพิ่มเป็น +4


เคล็ดลับที่ 1: ยิ่งทางยาวโฟกัสยาว ยิ่งเห็นภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวได้ชัด

ด้วยความเร็วของรถไฟความเร็วสูง ผมจึงไม่สามารถถ่ายภาพได้ด้วยความเร็วชัตเตอร์ที่ช้าเกินไป เพราะรถไฟคงจะหายไปก่อน!

แต่หากมีทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้ คุณจะได้เส้นของภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวที่ชัดเจนของโบเก้ในโฟร์กราวด์และแบ็คกราวด์ได้ไม่ยากนักเมื่อคุณแพนกล้อง ยิ่งทางยาวโฟกัสยาว ยิ่งเห็นเอฟเฟ็กต์ได้ชัดขึ้น เมื่อใช้ระยะเทเลโฟโต้ 200 มม. ของเลนส์ ผมจึงได้ภาพดังที่คุณเห็นด้านบนด้วยความเร็ว 1/30 วินาที


ฉากจริง

รถไฟความเร็วสูงและดอกซากุระ

ถ่ายที่ f/5, 1/2,500 วินาที, ISO 640

นี่คือฉากเดียวกันกับภาพแรก ถ่ายโดยใช้เลนส์มาตรฐาน มุมรับภาพที่กว้างกว่าจะทำให้เห็นว่ารถไฟเคลื่อนตัวไปได้มากแค่ไหนเท่านั้น ผมจึงต้องถ่ายด้วยความเร็วถึง 1/2,500 วินาทีเพื่อหยุดการเคลื่อนไหวของรถไฟ สภาพแสงในฉากเหมือนกับภาพแรก


เคล็ดลับที่ 2: อย่าให้รูรับแสงแคบจนเกินไป!

เหตุผลอีกข้อหนึ่งที่ทำให้ผมไม่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำก็คือ เพราะจะทำให้ต้องใช้รูรับแสงที่เล็กลง ซึ่งจะทำให้โบเก้ในโฟร์กราวด์และเอฟเฟ็กต์ที่ดูเหมือนใช้ฟิลเตอร์นั้นอ่อนลง สำหรับภาพแรก ผมตั้งค่าความไวแสง ISO ไว้ที่ 50 และรูรับแสงที่ f/11 ทางยาวโฟกัสเทเลโฟโต้ทำให้ผมมั่นใจว่าจะสามารถเห็นโบเก้ได้ชัดเจนพอแม้ถ่ายด้วยค่า f/11

 

เทคนิคที่ 2: เปลี่ยนแสงไฟในเมืองให้กลายเป็นลวดลายพู่กันสีรุ้ง

รถไฟที่มีแสงไฟนีออนจากการแพนกล้อง

EOS 5DS R/EF70-200mm f/2.8L IS II USM/ FL: 200 มม./ Manual exposure (f/7.1, 1/2 วินาที)/ ISO 200/ WB: แสงแดด

ในขณะที่กำลังถ่ายภาพอยู่ ณ ใจกลางชินจุกุที่แสนคึกคักในคืนวันหนึ่ง ผมก็นึกอยากถ่ายภาพโดยใช้มือแพนกล้องเพื่อเปลี่ยนให้แสงไฟนีออนในเมืองกลายเป็นลวดลายพู่กันสีสันสดใสของแสงไฟที่ดูเหมือนคลื่น

เนื่องจากสถานีอยู่ใกล้ รถไฟจึงเคลื่อนตัวช้ามาก และผมต้องลดความเร็วชัตเตอร์ลงเป็น ½ วินาทีเพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ

สำหรับกล้อง DSLR การถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำเช่นนี้จะทำให้กระจกเคลื่อนตัวขึ้นเป็นระยะเวลานาน ซึ่งทำให้คุณเคลื่อนไหวตามตัวแบบได้ยากขึ้น วิธีเดียวที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้คือต้องฝึกฝนจนกว่าคุณจะไม่ต้องมองผ่านช่องมองภาพ!

ผมตั้งค่าสมดุลแสงขาวไปที่ “แสงแดด” เพื่อเพิ่มความเพี้ยนของสีเล็กน้อยและทำให้ภาพดูเหนือจริงมากยิ่งขึ้น


เคล็ดลับที่ 3: ความเร็วชัตเตอร์ที่ดีที่สุดสำหรับการแพนกล้องคือความเร็วที่ทำให้คุณได้ภาพที่ต้องการ

ภาพรถไฟถ่ายแบบแพนกล้องที่ 1/8 วินาที

เกิดภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวไม่เพียงพอที่ 1/8 วินาที

เนื่องจากรถไฟกำลังเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ ความเร็ว 1/8 วินาทีจึงไม่ให้ผลดังที่ต้องการ นอกจากจะมีภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวแค่เพียงเล็กน้อยแล้ว คุณยังสามารถเห็นรูปร่างของอาคารได้ด้วย ซึ่งทำให้ความน่าตื่นตาตื่นใจในภาพหายไป ไม่มีความเร็วชัตเตอร์ใด “เหมาะสมที่สุด” สำหรับการแพนกล้อง ความเร็วชัตเตอร์ที่ดีที่สุดคือความเร็วที่ให้ผลตามที่คุณจินตนาการไว้

 

ดูเทคนิคศิลปะในการใช้ชัตเตอร์ต่ำได้ที่:
ฉันจะใช้การแพนกล้องเป็นวงกลมเพื่อสร้างภาพที่โดดเด่นไม่ซ้ำใครได้อย่างไร
การตั้งค่ากล้องเพื่อใช้ถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์ต่ำที่ยอดเยี่ยม
ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: การใช้ระเบิดซูมเพื่อเปลี่ยนดวงดาวบนท้องฟ้าให้เป็นฝนดาวตก

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
3 แนวทางที่น่าสนใจมากขึ้นเล็กน้อยในการถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวเร็ว

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Yuya Yamasaki

เกิดเมื่อปี 1970 ที่เมืองฮิโรชิมา Yamasaki เป็นตัวแทนของ "Railman Photo Office" ห้องสมุดภาพถ่ายเฉพาะทางด้านภาพถ่ายรถไฟ เขาทำผลงานภาพถ่ายทางรถไฟจากมุมที่แปลกใหม่ด้วยไหวพริบพิเศษของเขา

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา