ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การตั้งค่ากล้อง 5 แบบที่เป็นประโยชน์และน่าจดจำสำหรับการถ่ายภาพในอาคาร

2021-06-14
0
6.84 k
ในบทความนี้:

การถ่ายภาพในอาคารนั้นมีปัญหาความท้าทายเฉพาะตัว และไม่ใช่แค่เรื่องแสงเท่านั้น ตัวอย่างเช่น หากคุณถ่ายภาพในงานอีเวนท์ อาจต้องระวังไม่ให้รบกวนแขกและผู้ร่วมงาน อีกทั้งยังมีปัญหาแสงที่สั่นไหวจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์อีกด้วย…ต่อไปนี้เป็นคุณสมบัติส่วนหนึ่งของกล้องที่อาจจะช่วยให้การถ่ายภาพครั้งต่อไปของคุณราบรื่นยิ่งขึ้น (เรื่องโดย: Kazuo Nakahara, Takashi Karaki, Digital Camera Magazine)

 

1. แสงไฟช่วยปรับโฟกัส: ปิด

หาการตั้งค่านี้ได้ที่: เมนูโฟกัสอัตโนมัติ/ เมนู SHOOT

เมื่อถ่ายภาพในสภาวะแสงน้อย คุณอาจสังเกตเห็นไฟ LED สีส้มขนาดเล็กด้านหน้ากล้องของคุณสว่างขึ้นเมื่อกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่ง โดยเฉพาะในโหมด One Shot AF แสงที่ยิงออกมาคือแสงไฟช่วยปรับโฟกัส ซึ่งทำให้โฟกัสได้สะดวกขึ้นในสภาวะแสงน้อย

หากคุณไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีแสงไฟช่วยปรับโฟกัส คุณไม่ใช่คนเดียวที่เป็นเช่นนี้ เพราะแสงไฟนี้อาจยากที่จะสังเกตเห็นได้จากหลังกล้อง อย่างไรก็ตาม ยิ่งสถานที่มืดเท่าไหร่ ก็จะยิ่งเห็นแสงไฟได้ชัดขึ้นเท่านั้น

คุณอาจคิดว่าดูเท่ดี แต่คนรอบตัวคุณอาจไม่คิดแบบนั้นถ้าถูกแสงไฟส่องหน้าหรือดึงความสนใจไปจากสิ่งที่พวกเขาต้องการมอง

ดังนั้น ขอแนะนำให้ปิดแสงไฟนี้เพื่อไม่ให้รบกวนผู้อื่น กล้องในระบบ EOS R มีประสิทธิภาพการทำงานในสภาวะแสงน้อยอันยอดเยี่ยม ในกรณีส่วนใหญ่แล้วจึงไม่น่ามีปัญหากับการโฟกัสแม้จะไม่มีแสงไฟช่วย

เคล็ดลับ:
- การปิดแสงไฟช่วยปรับโฟกัสอาจจะดีกว่าในฉากกลางแจ้งบางฉากที่มีแสงน้อย เช่น เมื่อถ่ายภาพสัตว์ที่มีสายตาไวต่อแสง
- หากคุณมีปัญหาในการโฟกัสโดยไม่ใช้แสงไฟช่วยปรับโฟกัส ให้ลองโฟกัสที่ขอบของตัวแบบแทน หรือใช้ฟังก์ชัน AF แบบแตะและลากช่วย

 

2. โหมดชัตเตอร์: ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์

สำหรับฉากการถ่ายภาพในอาคารบางฉาก เช่น การแสดงสด คุณต้องทำตัวให้เงียบและไม่เป็นจุดสนใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ลองพิจารณาเปิดโหมดชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อหลีกเลี่ยงเสียงที่เกิดจากชัตเตอร์กล ประโยชน์เพิ่มเติมที่ได้คือ ชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์มักจะช่วยให้ถ่ายภาพต่อเนื่องด้วยความเร็วสูงขึ้น เช่น 20 เฟรมต่อวินาที (fps) สำหรับกล้องอย่าง EOS R5 และ EOS R6

ข้อควรรู้: สำหรับกล้องบางรุ่น โหมดชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์อาจเป็นที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่ง เช่น 'โหมดชัตเตอร์แบบเงียบ’ และสามารถพบได้ในโหมด SCN

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโหมดขับเคลื่อนชัตเตอร์ต่างๆ ได้ที่:
โหมดชัตเตอร์และโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง: ควรใช้แต่ละโหมดเมื่อใด

 

3. เสียงเตือน: ปิดใช้งาน

หาการตั้งค่านี้ได้ที่: เมนูการตั้งค่า

หากคุณต้องการถ่ายภาพแบบเงียบ ต้องไม่ลืมนึกถึงเสียงเตือนของกล้องขณะที่คุณจับโฟกัส ถ่ายภาพแบบใช้ตัวตั้งเวลา หรือใช้การสั่งงานด้วยระบบสัมผัส! คุณสามารถปิดการตั้งค่าเหล่านี้ได้ในเมนู SET UP


EOS RP/ RF24-105mm f/4L IS USM @ f/4, 1/60 วินาที, ISO 1600
เสียงเพลงฟังดูดีโดยไม่มีเสียงเตือนจากกล้องประกอบ

เคล็ดลับ: ช่างภาพบางคนอาจรู้สึกว่าเสียงเตือนเมื่อตัวแบบอยู่ในโฟกัสนั้นช่วยจับจังหวะในการถ่ายภาพ หากคุณเป็นช่างภาพลักษณะนี้และฉากไม่ต้องการความเงียบเป็นพิเศษ ลองตัวเลือกตรงกลางซึ่งจะปิดใช้งานเสียงเตือนเฉพาะสำหรับการสั่งงานด้วยระบบสัมผัส

 

4. การถ่ายภาพแบบ Anti-flicker: เปิดใช้งาน

หาการตั้งค่านี้ได้ที่: เมนู SHOOT

แหล่งกำเนิดแสงเทียมบางประเภท เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์และหลอดไฟไอปรอท มักจะมีแสงที่สั่นไหว คุณอาจมองไม่เห็นแสงไฟที่สั่นไหว แต่แสงไฟเหล่านี้สามารถทำให้ระดับแสงไม่สม่ำเสมอในภาพของคุณโดยเฉพาะเมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง หากคุณใช้การถ่ายภาพต่อเนื่อง แสงที่สั่นไหวอาจทำให้สีสันและระดับแสงไม่สม่ำเสมอกันในภาพต่างๆ ที่ถ่ายต่อเนื่องครั้งเดียวกันด้วย

ดังนั้น ควรลดเอฟเฟ็กต์เหล่านี้โดยเปิดใช้งานโหมดการถ่ายภาพแบบ Anti-flicker หากกล้องของคุณมีคุณสมบัติดังกล่าว ซึ่งจะตรวจจับและหลีกเลี่ยงปัญหาแสงไฟนี้ด้วยการหาจังหวะลั่นชัตเตอร์ที่เหมาะสม แม้ว่าอาจทำให้การตอบสนองของชัตเตอร์ช้าลงและมีผลข้างเคียง แต่ประโยชน์ที่ได้รับนั้นมีมากกว่าข้อเสีย

 

การถ่ายภาพแบบ Anti-flicker: เปิดใช้งาน

การถ่ายภาพแบบ Anti-flicker: ปิดใช้งาน

เคล็ดลับ: ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไปตามสภาวะการถ่ายภาพและแหล่งกำเนิดแสง ควรถ่ายภาพทดสอบล่วงหน้าทุกครั้ง

ข้อควรรู้:
- เมื่อเปิดใช้งานการถ่ายภาพแบบ Anti-flicker แล้ว คุณสามารถตรวจจับแสงที่สั่นไหวได้ด้วยตนเองโดยกดปุ่ม [Q]→ “การถ่ายภาพแบบ Anti-flicker” →ปุ่ม [INFO]
- สำหรับกล้อง DSLR จะไม่สามารถใช้โหมดการถ่ายภาพแบบ Anti-flicker ระหว่างการถ่ายภาพด้วย Live View, การถ่ายภาพโดยล็อคกระจกขึ้น และการถ่ายวิดีโอ
- คุณอาจไม่สามารถใช้โหมดการถ่ายภาพแบบ Anti-flicker พร้อมการถ่ายภาพแบบเงียบหรือชัตเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกล้องที่คุณใช้

หากต้องการไอเดียการจัดแสงสำหรับการถ่ายภาพในอาคาร อ่านได้ที่:
การถ่ายภาพงานแต่งงานในร่มโดยใช้แสงที่มีอยู่: เทคนิคง่ายๆ 3 ข้อ

 

5. จำลองระดับแสง: ปิดใช้งาน (เมื่อใช้แฟลชของผู้ผลิตอื่น)

หาการตั้งค่านี้ได้ที่: เมนู SHOOT

หากคุณใช้ช่องมองภาพอิเล็กทรอนิกส์หรืออยู่ใน Live View และถ่ายภาพด้วยแฟลชที่ไม่ใช่ของ Canon หรือตัวควบคุมแฟลชในโหมดตั้งค่าระดับแสงด้วยตนเอง หน้าจอของคุณอาจมืดลงหากการจำลองระดับแสงเปิดอยู่ ปัญหานี้สามารถแก้ได้ด้วยการปิดใช้งานการจำลองระดับแสง แต่อย่าลืมเปิดกลับเมื่อคุณถ่ายภาพเสร็จแล้ว!

หมายเหตุ: คุณสามารถเปิดการจำลองระดับแสงทิ้งไว้ได้หากใช้แฟลชของ Canon

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
แฟลชเสริมมีประโยชน์อะไรบ้าง
3 คุณสมบัติของแฟลช Speedlite ที่คุณอาจไม่ทราบ


---

ค้นพบคุณสมบัติและฟังก์ชั่นของกล้องที่ซ่อนอยู่ได้เพิ่มเติมที่:
5 การตั้งค่าพื้นฐานของกล้อง EOS R5/ EOS R6 ที่ปรับแต่งได้ตามต้องการตั้งแต่ต้น
การตั้งค่ากล้อง 7 แบบที่ช่วยให้ถ่ายภาพได้ราบรื่นขึ้นแต่มักถูกมองข้าม

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kazuo Nakahara

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

Takashi Karaki

หลังจากผ่านประสบการณ์การเป็นโค้ชกีฬา ต่อด้วยการทำงานในแวดวงการผลิตนิตยสารและบรรณาธิการมาเป็นเวลา 10 ปี Karaki ก็ย้ายไปยังเมืองโยนาโงะในจังหวัดท็อตโตริ ซึ่งเขาได้กลายเป็นที่รู้จักจากผลงานการถ่ายภาพทิวทัศน์ในภูมิภาคซันอินของญี่ปุ่น ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์ใน จุลสาร Amazing Village ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับหมู่บ้านสวยๆ ในญี่ปุ่นที่จัดทำขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือ CANON × Discover Japan ในปี 2017 และภาพทะเลหมอกที่ช่องเขาอาเคชิในจังหวัดท็อตโตริก็เป็นหนึ่งใน 12 ภาพที่ได้รับคัดเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (JNTO) ให้เป็นตัวแทนของญี่ปุ่น

Instagram: @karakky0918

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา