ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การตั้งค่ากล้อง 7 แบบที่ช่วยให้ถ่ายภาพได้ราบรื่นขึ้นแต่มักถูกมองข้าม

2021-04-20
1
1.59 k
ในบทความนี้:

เมื่อคุณถ่ายภาพงานแต่งงาน กีฬา หรือมีเวลาจำกัด ลองศึกษาฟังก์ชั่นและการตั้งค่าที่มีประโยชน์ต่อไปนี้ซึ่งจะเพิ่มประสิทธิภาพในการถ่ายภาพและลดโอกาสการเกิดข้อผิดพลาด (เรื่องโดย: Kazuo Nakahara, Takashi Karaki, Digital Camera Magazine)

 

1. ลั่นชัตเตอร์ขณะไม่มีการ์ด: ปิดใช้งาน

หลังจากพยายามถ่ายภาพอย่างเต็มที่แล้ว คงไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการได้รู้ว่าภาพไม่ได้ถูกบันทึกไว้เพราะไม่มีการ์ดหน่วยความจำอยู่ในกล้อง ปัญหานี้ไม่ใช่แค่เรื่องการพลาดโอกาสในการถ่ายภาพเท่านั้น แต่หากเป็นงานที่คุณได้รับมอบหมายมา ก็อาจจะทำให้ชื่อเสียงของคุณเสียหายได้ 

ก่อนที่จะมารู้ตัวทีหลังว่าไม่มีภาพส่งให้ลูกค้าแม้แต่ภาพเดียว คุณสามารถทราบได้ว่าการ์ดหายไปหรือไม่ โดยไปที่เมนู SHOOT (สีแดง) แล้วปิดใช้งานการตั้งค่า 'ลั่นชัตเตอร์ขณะไม่มีการ์ด' ซึ่งปกติจะเปิดใช้งานตามค่าเริ่มต้น วิธีนี้เป็นการ “ล็อก” ไม่ให้กล้องถ่ายภาพได้หากไม่ได้ใส่การ์ดหน่วยความจำไว้

ข้อควรรู้: กล้องบางรุ่นจะแสดงการแจ้งเตือน "ไม่มีการ์ดในกล้อง" บน EVF/จอด้านหลัง แต่ปลอดภัยไว้ก่อนก็ไม่เสียหาย

 

2. ระยะเวลาแสดงภาพ: ปิด

สำหรับกล้องส่วนใหญ่ หลังจากถ่ายภาพแล้ว กล้องจะแสดงภาพนั้นใน EVF/Live View เป็นเวลา 2 วินาทีตามค่าเริ่มต้น ซึ่งอาจทำให้คุณเสียสมาธิ หากคุณต้องการดูสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นตรงหน้าอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ให้หาตัวเลือก 'ระยะเวลาแสดงภาพ' ในเมนู SHOOT แล้วปิดใช้งาน เมื่อเสร็จแล้ว คุณจะต้องไปที่โหมดดูภาพเพื่อดูสิ่งที่คุณถ่ายไว้

ข้อควรรู้:
- สำหรับกล้องบางรุ่น เช่น EOS R5 และ EOS R6 คุณสามารถเปิด/ปิดใช้งานการแสดงภาพผ่านช่องมองภาพแยกจากจอด้านหลังได้ การแสดงภาพผ่านช่องมองภาพจะถูกปิดใช้งานตามค่าเริ่มต้น
- การปิดการแสดงภาพยังช่วยให้สิ้นเปลืองแบตเตอรี่น้อยลงด้วย!

คุณอาจสนใจอ่านบทความนี้เช่นกัน:
โหมดชัตเตอร์และโหมดถ่ายภาพต่อเนื่อง: ควรใช้แต่ละโหมดเมื่อใด

 

3. จำกัดวิธีโฟกัสอัตโนมัติ 

แทนที่จะเลื่อนดูวิธีโฟกัสอัตโนมัติมากมายในกล้อง EOS ระดับสูงของคุณ คุณสามารถเข้าถึงวิธีที่คุณใช้บ่อยที่สุดได้อย่างรวดเร็วด้วยวิธีต่อไปนี้ ไปที่ 'จำกัดวิธีโฟกัสอัตโนมัติ' ในเมนู AF แล้วเลือกเฉพาะวิธีโฟกัสอัตโนมัติที่คุณใช้บ่อยที่สุด

วิธีโฟกัสที่ไม่ได้เลือกไว้จะเป็นสีเทาและจะไม่สามารถเลือกได้เมื่อคุณเปลี่ยนวิธีโฟกัสอัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้คุณสามารถเข้าถึงวิธีโฟกัสอัตโนมัติที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีอื่นๆ ที่คุณสามารถปรับแต่งการตั้งค่า AF ได้ใน:
การปรับแต่ง AF แบบแตะและลากเพื่อการถ่ายภาพผ่าน EVF ที่ดียิ่งขึ้น
นกโผบิน: การตั้งค่ากล้องเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการถ่ายภาพ

 

4. ความไววงแหวนโฟกัส MF ของเลนส์ RF: สัมพันธ์กับองศาการหมุน

วงแหวนโฟกัสของเลนส์ RF เป็นแบบอิเล็กทรอนิกส์ ตามค่าเริ่มต้นแล้ว ตำแหน่งโฟกัสจะเปลี่ยนไปมากน้อยเพียงใดในระหว่างการโฟกัสแบบแมนนวลขึ้นอยู่กับว่าคุณหมุนวงแหวนเร็วแค่ไหน ซึ่งอาจทำความคุ้นเคยได้ยาก หากคุณคุ้นกับกลไกแบบเก่ามากกว่า

ดังนั้น เพื่อให้รู้สึกถึงความคุ้นเคยแบบเดิม ไปที่เมนูตั้งค่าระบบส่วนตัว (สีส้ม) แล้วเปลี่ยนความไววงแหวนโฟกัสเป็น 'สัมพันธ์กับองศาการหมุน' วิธีนี้จะทำให้ตำแหน่งโฟกัสเปลี่ยนตามการขยับวงแหวนโฟกัสของคุณ

 

5. สำหรับใครที่ชอบถ่ายภาพไฮบริด อย่าลืม: โหมดการถ่ายภาพเคลื่อนไหวแบบกำหนดเอง C3

หากคุณกำลังถ่ายภาพนิ่งแต่นึกอยากถ่ายวิดีโอสั้นๆ ขึ้นมา แทนที่จะใช้วงแหวนหรือปุ่มเลือกโหมด คุณสามารถกดปุ่มเริ่ม/หยุดการบันทึกภาพเคลื่อนไหว (สีแดง) เพื่อเริ่มได้ทันที และสำหรับกล้องบางรุ่นอย่าง EOS R ยังสามารถจดจำค่าที่บันทึกไว้ในโหมดถ่ายวิดีโอเอง C3 โดยอัตโนมัติอีกด้วย

คุณสามารถใช้ประโยชน์จากคุณสมบัตินี้ได้เต็มที่ โดยบันทึกการตั้งค่าวิดีโอที่ใช้บ่อยที่สุดไว้ในช่อง C3 ดังนี้
1. ตั้งค่ากล้องไปที่โหมดวิดีโอ
2. ตั้งค่ากล้องตามการตั้งค่าที่คุณต้องการจัดเก็บ
3. ไปที่เมนูการตั้งค่า (สีเหลือง)
4. เลือก 'ตั้งโหมดถ่ายภาพเอง (C1-C3)'
5. เลือก 'บันทึกการตั้งค่า'
6. เลือก 'ตั้งโหมดถ่ายภาพเอง: C3'
7. เลือก 'OK'

ครั้งต่อไปที่คุณกดปุ่มสีแดงเพื่อเริ่มการบันทึกวิดีโอ ก็จะเป็นการถ่ายด้วยการตั้งค่าที่เลือกไว้ โดยไม่ต้องปรับแต่งเพิ่มเติมอีก

หากคุณเป็นนักถ่ายวิดีโอมือใหม่ ต่อไปนี้คือเคล็ดลับและบทเรียนการผลิตวิดีโอ (ฉบับภาษาอังกฤษ) บางส่วนที่จะช่วยเป็นแนวทางให้คุณ

 

6. ความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุดระหว่างใช้ ISO อัตโนมัติ

สำหรับสถานการณ์ส่วนใหญ่ที่คุณมักจะปล่อยให้กล้องทำหน้าที่กำหนดค่าการเปิดรับแสง การใช้โหมด Aperture-priority AE (Av) หรือโหมด Program AE (P) โดยตั้งค่าความไวแสง ISO เป็น “อัตโนมัติ” ถือว่าเหมาะสม อย่างไรก็ตาม มีความเป็นไปได้ที่กล้องจะตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ต่ำเกินไป ซึ่งจะทำให้ตัวแบบเบลอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหว

ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหานี้ ให้ไปที่รายการ 'การตั้งค่าความไวแสง ISO' ในเมนู Shoot แล้วเลือก 'ค.เร็วชัตฯต่ำสุด'


เลือกความเร็วชัตเตอร์ต่ำสุดที่จำเป็นในการป้องกันไม่ให้ตัวแบบสำหรับฉากของคุณเบลอ แล้วกด SET เมื่อคุณใช้โหมด P หรือ Av กล้องจะไม่เลือกความเร็วชัตเตอร์ที่ช้ากว่าความเร็วที่คุณเคยเลือกไว้ แต่จะเพิ่มความไวแสง ISO เพื่อให้ได้ระดับแสงที่จำเป็น


เคล็ดลับ: ฟังก์ชั่นนี้จะมีประโยชน์เป็นพิเศษในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตทีเผลอของตัวแบบที่เคลื่อนไหวค่อนข้างมาก เช่น เด็กหรือสัตว์เลี้ยง

 

7. เปลี่ยนชื่อไฟล์

การถ่ายภาพไม่ได้จบลงตอนที่ถ่ายภาพเสร็จแล้ว เพราะคุณยังต้องนำไฟล์เข้าคอมพิวเตอร์เพื่อปรับแต่งต่อไป กล้องรุ่นที่ออกแบบมาสำหรับผู้ใช้งานระดับสูงและระดับมืออาชีพจะมีตัวเลือกในการปรับเปลี่ยนชื่อไฟล์มากกว่า

หลีกเลี่ยงชื่อที่ขัดกัน

สำหรับกล้องระดับสูง เช่น EOS R ขึ้นไป รูปแบบการตั้งชื่อเริ่มต้นคือ XXXX#### โดยที่ “XXXX” คืออักขระตัวอักษรและตัวเลขรวม 4 ตัวสำหรับกล้องนั้นๆ โดยเฉพาะ และ “####” คือหมายเลขภาพ หากคุณรู้สึกไม่คุ้นเคย สามารถเปลี่ยนการตั้งชื่อเป็น “IMG_####” ได้

อย่างไรก็ตาม วิธีนี้อาจทำให้มีชื่อไฟล์ที่เหมือนกันหากคุณใช้กล้องสองตัว หรือหากคุณเป็นนักถ่ายภาพตัวยงและสะสมภาพถึง 9,999 ภาพได้ง่ายๆ (ซึ่งจะทำให้ชื่อของภาพในหลัก 10,000 แต่ละภาพถูกรีเซ็ตเป็น “IMG_0001”) ดังนั้น เพื่อป้องกันปัญหาชื่อขัดกันเวลานำไฟล์เข้าคอมพิวเตอร์ คุณสามารถใช้ 'ตั้งค่าผู้ใช้ 1' เพื่อเปลี่ยนอักขระสี่ตัวหน้าหมายเลขภาพเป็นอย่างอื่น


ติดตามขนาดภาพที่ต่างกัน

หากคุณมักจะบันทึกไฟล์ JPEG (หรือ HEIF) ด้วยคุณภาพการบันทึกภาพ (ขนาดของภาพ) ต่างๆ การเลือก 'IMG + ขนาดภาพ' จะช่วยให้ง่ายต่อการระบุไฟล์ที่มีขนาดภาพแตกต่างกันได้โดยไม่ต้องเปิดดูภาพ อักขระตัวที่สี่ในชื่อภาพจะเป็น L, M, S, U หรือ T โดยอัตโนมัติขึ้นอยู่กับคุณภาพของภาพ คุณสามารถเปลี่ยน “IMG” เป็นอักขระสามตัวอื่นโดยใช้ 'ตั้งค่าผู้ใช้2'


หากคุณมีกล้อง EOS R5/R6 ลองใช้ฟังก์ชั่นและการตั้งค่าอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อไปนี้
5 การตั้งค่าพื้นฐานของกล้อง EOS R5/ EOS R6 ที่ปรับแต่งได้ตามต้องการตั้งแต่ต้น
HDR PQ HEIF: ก้าวข้ามขีดจำกัดของภาพแบบ JPEG
การปรับแสงในภาพพอร์ตเทรต: ตัวช่วยจัดแสงภายในกล้องของคุณ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Kazuo Nakahara

เกิดที่เมืองฮอกไกโดในปี 1982 Nakahara ผันเข้าสู่วงการถ่ายภาพหลังจากทำงานในบริษัทผลิตสารเคมี เขาถ่ายภาพที่ Vantan Design Institute เป็นหลักและเป็นผู้บรรยายในเวิร์คช็อปและสัมมนาด้านการถ่ายภาพ นอกเหนือจากการทำงานถ่ายภาพโฆษณา เขายังเป็นหนึ่งในผู้ดำเนินงานเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลด้านการถ่ายภาพอย่าง studio9 อีกด้วย

http://photo-studio9.com/

Takashi Karaki

หลังจากผ่านประสบการณ์การเป็นโค้ชกีฬา ต่อด้วยการทำงานในแวดวงการผลิตนิตยสารและบรรณาธิการมาเป็นเวลา 10 ปี Karaki ก็ย้ายไปยังเมืองโยนาโงะในจังหวัดท็อตโตริ ซึ่งเขาได้กลายเป็นที่รู้จักจากผลงานการถ่ายภาพทิวทัศน์ในภูมิภาคซันอินของญี่ปุ่น ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์ใน จุลสาร Amazing Village ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับหมู่บ้านสวยๆ ในญี่ปุ่นที่จัดทำขึ้นภายใต้โครงการความร่วมมือ CANON × Discover Japan ในปี 2017 และภาพทะเลหมอกที่ช่องเขาอาเคชิในจังหวัดท็อตโตริก็เป็นหนึ่งใน 12 ภาพที่ได้รับคัดเลือกจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศญี่ปุ่น (JNTO) ให้เป็นตัวแทนของญี่ปุ่น

Instagram: @karakky0918

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา