ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

นกโผบิน: การตั้งค่ากล้องเพื่อเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการถ่ายภาพ

2021-01-20
5
7.17 k
ในบทความนี้:

เมื่อต้องถ่ายภาพนกที่กำลังเคลื่อนไหว การทำให้นกอยู่ในโฟกัสนั้นเป็นเรื่องที่พูดง่ายแต่ทำยาก ระบบ EOS iTR AF X ใหม่ของกล้อง EOS R5 และ EOS R6 จะตรวจจับตัว หัว และแม้กระทั่งดวงตาของนกได้อย่างง่ายดาย แต่สำหรับฉากยากๆ บางฉาก การปรับแต่งค่าในเมนูอาจช่วยให้ระบบนี้ทำงานได้ดียิ่งขึ้นไปอีก ช่างภาพมืออาชีพอย่าง Neo Ng ซึ่งความรักในการถ่ายภาพการเคลื่อนไหวทำให้เขาไปที่ที่มีนกบินโฉบและล่าเหยื่อในวันที่เขาหยุดพักจากการถ่ายภาพกีฬา จะมาแบ่งปันเคล็ดลับบางส่วนในบทความนี้ (เรื่องโดย: Neo Ng)

 

ก่อนการถ่ายภาพ: การตั้งค่าเบื้องต้นเพื่อการตอบสนองที่เหมาะที่สุด

การถ่ายภาพประเภทต่างๆ มีการตั้งค่าที่เหมาะที่สุดไม่เหมือนกัน และข้อได้เปรียบของกล้องระดับสูงอย่าง EOS R5 และ EOS R6 คือ ระดับที่คุณสามารถปรับแต่งกล้องให้เหมาะกับฉากและความชอบของคุณ

การถ่ายภาพตัวแบบที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงแต่คาดเดาไม่ได้อย่างนกที่กำลังบินและพุ่งโฉบลงมานั้น ทุกเสี้ยววินาทีมีความสำคัญ กล้องรุ่นต่างๆ เช่น EOS R5, EOS R6 และ EOS-1D X Mark III สร้างมาเพื่อความเร็วและมีประสิทธิภาพของ AF ที่ดีเยี่ยมอยู่แล้ว แต่ยังมีสิ่งที่คุณสามารถทำได้เพื่อลดโอกาสในการเกิดปัญหากล้องหน่วงด้วย! ลองมาดูเคล็ดลับบางอย่างต่อไปนี้กัน

- ถ่ายภาพในโหมดแมนนวลหรือ Shutter-priority AE (Tv) ด้วยความไวแสง ISO คงที่

เมื่อคุณใช้โหมดการเปิดรับแสงอัตโนมัติ กล้องต้องทำการวัดและคำนวณระดับแสงที่ดีที่สุดอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทำให้กล้องมีการตอบสนองช้าลงกว่าเดิมถึงเสี้ยววินาที สำหรับกล้องมิเรอร์เลส อาจทำให้เกิดการหน่วงของ EVF ด้วยเช่นกัน เนื่องจากกล้องจะอัพเดตการแสดงผลในแบบเรียลไทม์ วิธีที่ดีที่สุดในการลดการประมวลผลที่จำเป็นคือ การใช้โหมดแมนนวลเต็มรูปแบบ

แต่โหมดการเปิดรับแสงอัตโนมัติอาจมีประโยชน์สำหรับบางฉาก เช่น เมื่อนกบินจากพื้นที่สว่างเข้าไปในพื้นที่มืด ในสถานการณ์เช่นนี้ ให้ใช้โหมด Tv เพื่อคงความเร็วชัตเตอร์สูงไว้ แต่ตั้งความไวแสง ISO แบบแมนนวลแทนการใช้ ISO อัตโนมัติ กล้องจะยังคงต้องอัพเดตการแสดงผลของ EVF แต่อย่างน้อยก็ไม่ต้องคำนวณความไวแสง ISO ที่ดีที่สุดซ้ำอย่างต่อเนื่อง 


- ปิดการลดจุดรบกวนจากความไวแสง ISO สูง

คุณจะต้องใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่สูงมาก จึงควรเตรียมพร้อมที่จะใช้ความไวแสง ISO สูงด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การเปิดการลดจุดรบกวนจากความไวแสง ISO สูงอาจทำให้ความเร็วในการถ่ายภาพต่อเนื่องลดลงและส่งผลให้พลาดโอกาสในการถ่ายภาพ ด้วยเหตุนี้ กล้องที่มีประสิทธิภาพดีเยี่ยมในด้านความไวแสง ISO สูง จึงมีประโยชน์!


- ปิด AF ต่อเนื่อง

ในโหมด AF ต่อเนื่อง (ต่างจากโหมด Servo AF) กล้องจะทำการตรวจจับโฟกัสแม้แต่ก่อนที่คุณจะกดปุ่มเพื่อเริ่ม AF ลดการใช้พลังงานโดยการปิดโหมดดังกล่าวในเมนู AF ของกล้อง


- สำหรับกล้องมิเรอร์เลส: ปิด ‘ดูภาพ’ แล้วตั้งค่าประสิทธิภาพการแสดงผลของ EVF เป็น ‘นุ่มนวล’

วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถติดตามการเคลื่อนไหวได้ดียิ่งขึ้นผ่าน EVF

 

อย่าลืมตรวจสอบค่าต่อไปนี้ด้วย!

การตั้งค่าต่อไปนี้ถือเป็นพื้นฐานสำหรับการถ่ายภาพนกและสัตว์ป่าชนิดอื่นๆ แต่มักถูกหลงลืมได้ง่าย


- เป้าหมายที่ตรวจจับ: สัตว์

เมื่อถ่ายภาพนก แมว หรือสุนัข ต้องไม่ลืมที่จะเปลี่ยนเป็น ‘สัตว์’ เพื่อจดจำตัวแบบได้ดีขึ้น


- ตรวจจับดวงตา: เปิดใช้งาน

โหมดนี้ถูกปิดใช้งานตามค่าเริ่มต้น ดังนั้น ให้ตรวจดูว่ามีการเปิดใช้งานแล้ว!


- การโฟกัสอัตโนมัติ: Servo AF

ในโหมดนี้ กล้องจะจับโฟกัสที่ตัวแบบที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่เสมอตราบเท่าที่คุณกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งหรือกดปุ่ม AF ON ค้างไว้ จุด AF จะเป็นสีน้ำเงินแทนที่จะเป็นสีเขียว


- เลนส์ IS – ปิด (เพื่อถ่ายภาพที่คมชัดขึ้นเมื่อใช้ขาตั้งกล้อง)

เมื่อคุณตั้งค่าเหล่านี้ครบแล้ว การตั้งค่าอื่นๆ จะขึ้นอยู่กับฉากนั้นๆ ในลำดับต่อไป ผมจะเล่าวิธีการตั้งค่าต่างๆ ที่ผมแนะนำสำหรับฉากนกบิน 3 ฉาก

 

ฉากที่ 1: นกน้ำที่กำลังบินขึ้นจากน้ำ

EOS R5 + EF600mm f/4L IS III USM @ f/4, 1/4000 วินาที, ISO 1000
นกเป็ดผีเล็ก

หากคุณเป็นมือใหม่ในการถ่ายภาพนกบิน การถ่ายภาพนกว่ายน้ำน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ง่ายที่สุด เราจะสังเกตุเห็นนกลักษณะนี้ได้ง่าย และทิศทางการเคลื่อนไหวที่คาดเดาได้ทำให้จับโฟกัสพวกมันอย่างต่อเนื่องได้ง่ายกว่า แต่ส่วนที่ยากคือ การเร่งความเร็วกะทันหันเมื่อพวกมันเริ่มบิน


การตั้งค่า AF ที่สำคัญ

- วิธีโฟกัสอัตโนมัติ: ตรวจจับใบหน้า + ติดตามตัวแบบ
- ลักษณะเฉพาะของ Servo AF: “เพิ่ม/ลดความไว ติดตาม” เป็น +1 หรือ +2


เทคนิค

ใช้จุด Servo AF เริ่มต้นเพื่อจับโฟกัสที่นกขณะกำลังว่ายน้ำ แล้วติดตามนกตัวนั้นไปจนกว่าจะบิน


การตั้งค่าที่มีประโยชน์ 1: จุด Servo AF เริ่มต้น

ตามค่าเริ่มต้น (‘อัตโนมัติ’) กล้องจะค้นหาจุด AF ที่ดีที่สุดทั่วทั้งพื้นที่ AF การตั้งค่าจุด Servo AF เริ่มต้นเป็นการ “บอก” กล้องว่าจะให้เริ่มค้นหาจากจุดไหน ซึ่งเป็นการเร่งกระบวนการนี้ให้เร็วขึ้น


ขั้นตอนที่ 1: ในเมนู AF ให้มองหารายการนี้:


ขั้นตอนที่ 2: เลือกรายการที่สองในเมนู

ตัวเลือกนี้ยังทำให้คุณสามารถคงจุด AF เดิมไว้เสมอได้แม้เมื่อคุณจะเปลี่ยนจากโหมดการตรวจจับใบหน้า + ติดตามตัวแบบเป็นโหมด AF อื่น


ขั้นตอนที่ 3: วางจุด AF บนตัวแบบ

กรอบเล็กๆ ตรงกลางคือจุด Servo AF เริ่มต้น ให้วางกรอบบนตัวนก แล้วกดปุ่มชัตเตอร์ลงครึ่งหนึ่งหรือกดปุ่ม AF ON ซึ่งน่าจะทำให้กล้องค้นหาตัวแบบได้ค่อนข้างง่าย และเมื่ออยู่ในโฟกัสแล้ว กรอบนั้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน กรอบอาจมีขนาดเปลี่ยนไปเช่นกัน ขึ้นอยู่กับตัวแบบ สิ่งเดียวที่คุณต้องทำเป็นลำดับถัดไปคือ จัดให้ตัวนกอยู่ในเฟรม

 

เคล็ดลับ: รีเซ็ตจุด AF ให้อยู่ตรงกลาง

จุด Servo AF เริ่มต้นอาจไม่ได้อยู่ตรงกลางเมื่อคุณเริ่มถ่ายภาพอีกครั้ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับภาพก่อนหน้า สำหรับกล้อง EOS R5 และ EOS R6 โดยค่าเริ่มต้นแล้วการกดปุ่ม Multi-controller จะรีเซ็ตจุด AF ให้อยู่ตรงกลาง นอกจากนี้ คุณสามารถกำหนดปุ่มอื่นๆ ให้เป็นปุ่มลัดได้


การตั้งค่าที่มีประโยชน์ 2: ลักษณะเฉพาะของ Servo AF – ‘เพิ่ม/ลดความไว ติดตาม’ เป็น +1 หรือ +2

เมื่อมีการเคลื่อนไหวตอนบินขึ้นกะทันหัน จำเป็นต้องเพิ่มความไวในการติดตาม ผมใช้ Servo AF Case 3 แต่คุณอาจต้องลดค่าความไวในการติดตามเริ่มต้นหากมีสิ่งรบกวนความสนใจอยู่ในบริเวณใกล้เคียง หรือใช้ Case 4 แทน

EOS R5 + EF600mm f/4L IS III USM @ f/4, 1/1000 วินาที, ISO 1000

 

2.  นกตัวเล็กที่เคลื่อนที่รวดเร็วมากก่อนร่อนลงพื้น

EOS R5 + EF600mm f/4L IS III USM @ f/4, 1/3200 วินาที, ISO 1600, EV -1
นกกระเต็นน้อยธรรมดา 

การเคลื่อนไหวที่รวดเร็วของนกตัวเล็กๆ เช่น นกกระเต็น ทำให้ยากที่จะคาดเดาการเคลื่อนไหวของพวกมัน แต่หากสังเกตตัวนกอย่างใกล้ชิดไปเรื่อยๆ คุณจะพอเดาได้ว่ามันจะบินลงตรงจุดไหน นอกจากนี้ ช่วงเวลาก่อนที่นกจะร่อนลงสู่พื้นอาจทำให้ได้ภาพถ่ายที่ไม่ซ้ำใครอีกด้วย!


การตั้งค่า AF ที่สำคัญ

- วิธีโฟกัสอัตโนมัติ: ตรวจจับใบหน้า + ติดตามตัวแบบ หรือ Zone AF
- ลักษณะเฉพาะของ Servo AF: Case 3


เทคนิค

ใช้จุด Servo AF เริ่มต้นเพื่อจับโฟกัสล่วงหน้าตรงพื้นที่ที่คุณคาดว่านกจะร่อนลงมา


การตั้งค่าที่มีประโยชน์ 1: AF Case 3

การตั้งค่าที่ดีที่ควรใช้คู่กับการโฟกัสล่วงหน้าด้วยจุด Servo AF เริ่มต้นคือ Servo AF Case 3 ซึ่งจะทำให้ AF สามารถค้นหาและล็อคที่ตัวนกได้ง่ายยิ่งขึ้นเมื่อมันเข้ามาในตำแหน่งของจุด AF


การตั้งค่าที่มีประโยชน์ 2: Zone AF/Large Zone AF

หากมีสิ่งรบกวนความสนใจในแบ็คกราวด์และคุณต้องการลดโอกาสที่จะเกิดปัญหาการไล่หาโฟกัส ลองเปลี่ยนเป็นวิธี Zone AF ซึ่งจะจำกัดพื้นที่ AF โปรดทราบว่า Animal Eye Detection ไม่สามารถใช้งานได้ในโหมดนี้

ในโหมด Zone AF กล้องจะทำการตรวจจับ AF ภายในพื้นที่ในกรอบสีขาวเท่านั้น จุด AF ที่ทำงานอยู่จะปรากฏเป็นกรอบสีน้ำเงิน โหมด Large Zone AF มีกรอบ AF ที่ใหญ่กว่า


EOS R5 + EF600mm f/4L IS III USM @ f/4, 1/3200 วินาที, ISO 1600, EV -1

ลองใช้การตั้งค่าข้างต้นเพื่อถ่ายภาพชิ้นเอกนี้ให้ดียิ่งขึ้นในแบบของคุณเอง

 

ฉากที่ 3: เมื่อนกอีกตัวบินเข้ามาขวาง

EOS R5 + EF300mm f/2.8L IS II USM @ f/3.5, 1/5000 วินาที, ISO 400
นกนางนวลแกลบท้ายทอยดำ 

นกนางนวลมักหาปลากันเป็นฝูง และเมื่อออกล่าอาหาร เส้นทางการบินของพวกมันก็แทบจะคาดเดาไม่ได้ ดังนั้น จึงมีโอกาสสูงที่จะมีนกตัวอื่นๆ บินเข้ามาขวางทางแม้ว่าคุณต้องการถ่ายภาพนกเพียงตัวเดียวเท่านั้น


การตั้งค่า AF ที่สำคัญ

- AF ตรวจจับใบหน้า + ติดตามตัวแบบ
- เปลี่ยนเป้าหมายที่ติดตาม: ที่เป้าหมาย


เทคนิค

ใช้จุด Servo AF เริ่มต้นเพื่อจับโฟกัสนกที่คุณต้องการให้เป็นตัวแบบ แล้วจัดให้ตัวนกอยู่ภายในเฟรม


การตั้งค่าที่มีประโยชน์: “เปลี่ยนเป้าหมายที่ติดตาม”

คุณสมบัตินี้ของเมนูช่วยให้คุณตั้งค่าได้ว่ากล้องจะเปลี่ยนจุด AF ได้ง่ายมากน้อยแค่ไหนถ้ากล้องตรวจจับตัวแบบเดิมไม่ได้ ผมตั้งค่าเป็น ‘ที่เป้าหมาย’ ซึ่งทำให้โฟกัสยังคง “เหนียวแน่น” มากพอที่จะล็อคไว้บนตัวแบบของผมแม้ว่าจะมีนกอีกตัวบินเข้ามาขวางด้านหน้า


EOS R5 + EF300mm f/2.8L IS II USM @ f/5, 1/4000 วินาที, ISO 640

 

เคล็ดลับ: การได้ระดับแสงและรายละเอียดที่ดีที่สุดเมื่อถ่ายภาพนกสีขาว

EOS R5 + EF300mm f/2.8L IS II USM @ f/2.8, 1/6400 วินาที, ISO 640

หากคุณใช้การวัดแสงประเมินทั้งภาพ รายละเอียดขนของนกสีขาวอาจดูสว่างเกินไป โดยเฉพาะหากเป็นฉากที่มีความเปรียบต่างสูงและคุณกำลังใช้โหมดการเปิดรับแสงอัตโนมัติ ใช้การวัดแสงแบบจุดและล็อค AE เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหานี้ คุณอาจต้องเปิดรับแสงน้อยกว่าปกติเล็กน้อยเพื่อให้สามารถฟื้นฟูรายละเอียดได้มากขึ้นในกระบวนการปรับแต่งภาพ

 

การตั้งค่าที่มีประโยชน์: เน้นโทนภาพบริเวณสว่าง

เปิดใช้งาน ‘เน้นโทนภาพบริเวณสว่าง’ เพื่อจับภาพรายละเอียดบริเวณสว่างในขนนกสีขาวได้ดียิ่งขึ้น โดยปกติผมจะใช้การตั้งค่า ‘เพิ่มขึ้น’ (D+2)

 

หากคุณต้องการความท้าทายยิ่งกว่านี้ ลองใช้วิธีนี้:
เคล็ดลับการแพนกล้องสำหรับการถ่ายภาพที่สื่อถึงการเคลื่อนไหวของนกป่าที่กำลังโผบิน

ทบทวนพื้นฐานการถ่ายภาพนกของคุณได้ที่:
คำแนะนำการถ่ายภาพนกสำหรับมือใหม่
ภาพพอร์ตเทรตนก: 4 เคล็ดลับง่ายๆ ในการหามุมที่ดีขึ้น

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Neo Ng

Neo Ng เป็นอดีตโค้ชบาสเก็ตบอลและอาศัยอยู่ในฮ่องกง ปัจจุบันเขาเป็นช่างภาพอิสระด้านกีฬา สัตว์เลี้ยง และสัตว์ป่าผู้มุ่งมั่นที่จะจับภาพเสี้ยววินาทีสำคัญที่มีการเคลื่อนไหว ในฐานะช่างภาพอย่างเป็นทางการสำหรับทีมกีฬาฮ่องกงหลายทีม เขาได้ร่วมงานกับ Nike Hong Kong Sports Marketing ในยามว่าง อาจพบเห็นเขาทำสิ่งที่รักอย่างการถ่ายภาพนกป่า นอกจากจะเขียนบทความให้กับเว็บไซต์การถ่ายภาพที่ใหญ่ที่สุดในฮ่องกงอย่าง DC Fever เป็นประจำแล้ว Neo ยังจัดเวิร์กช็อปการถ่ายภาพและทัวร์ถ่ายภาพนกอีกด้วย

https://500px.com/neong
https://www.facebook.com/neongphotography/

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา