ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ภาพพอร์ตเทรตนก: 4 เคล็ดลับง่ายๆ ในการหามุมที่ดีขึ้น

2020-11-27
0
2.53 k
ในบทความนี้:

สมมติว่าคุณกำลังมองหานกด้วยกล้องส่องทางไกลพร้อมด้วยเลนส์ซูเปอร์เทเลโฟโต้ คุณเห็นนกสปีชีส์ใหม่เกาะอยู่บนกิ่งไม้จึงรีบวิ่งเข้าไปหา…แต่เดี๋ยวก่อน! ความตื่นเต้นอาจทำให้คุณได้มุมที่ทำให้ถ่ายภาพได้ไม่สวยงามนัก ในบทความนี้ เราจะมาแบ่งปันเคล็ดลับเพื่อให้ได้มุมกล้องที่ดีขึ้นในการถ่ายภาพพอร์ตเทรตนก (เอื้อเฟื้อภาพถ่ายและเคล็ดลับโดย Adrian Silas Tay)

 

1. นกที่เกาะอยู่บนกิ่งไม้ ระยะที่ใกล้กว่าอาจไม่ได้ดีกว่าเสมอไป

ในภาพทั้งสองเป็นนกตัวเดียวกัน และถ่ายด้วยกล้องและเลนส์ชนิดเดียวกัน คุณเห็นความแตกต่างของมุมกล้องหรือไม่


จากระยะที่ไกลกว่า


นกกินเปี้ยว


จากใต้ต้นไม้

ทั้งสองภาพ: EOS R6/ EF400mm f/4 DO IS II USM + Extender EF2x III/ FL: 800 มม. ที่ f/8 

 

การเอียงกล้องทำให้เกิดความบิดเบี้ยว

ในภาพแรก ความสนใจของเราจะตกไปอยู่ที่ส่วนหัวและดวงตาของนกเป็นอันดับแรก ส่วนภาพที่สอง ความสนใจของเราจะอยู่ที่ด้านล่างของตัวนก ลำตัวของนกดูมีขนาดใหญ่กว่าอย่างไม่สมส่วนในภาพที่สอง

แผนภาพแสดงมุมของระดับความสูง

ตำแหน่งใต้ต้นไม้ทำให้มุมของระดับความสูงมีความชันมากกว่าและทำให้ระนาบโฟกัสเอียงมากกว่าด้วย ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้รูปร่างของนกบิดเบี้ยวอย่างเห็นได้ชัดเท่านั้น แต่ยังทำให้ยากต่อการจับโฟกัสนกทั้งตัวด้วย

ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ เลนส์ทิลต์-ชิฟต์จึงถูกนำมาใช้ในการถ่ายภาพอาคารสูง อ่านต่อได้ที่นี่

 

2. สำหรับนกลุยน้ำและนกหากินบนพื้นดิน ให้อยู่ต่ำเข้าไว้

ไม่ใช่นกทุกชนิดที่อยู่บนต้นไม้ แต่มีนกอีกมากมายที่อยู่ตามชายฝั่งและบนพื้นดิน! การถ่ายภาพโดยเพียงแค่ชี้เลนส์ไปยังตัวนกจากจุดที่คุณยืนอยู่อาจดูเหมือนง่ายกว่า แต่ในภาพนี้ ตำแหน่งการถ่ายภาพของคุณจะทำให้เกิดความแตกต่าง

ลองดูภาพด้านล่าง คุณสังเกตหรือไม่ว่าจะเห็นเอฟเฟ็กต์โบเก้ในโฟร์กราวด์และแบ็คกราวด์ได้ชัดเจนกว่าในภาพที่ถ่ายจากตำแหน่งต่ำ


ตำแหน่งต่ำ

เป็ดแดง


จากตำแหน่งยืน

ทั้งสองภาพ: EOS R5/ EF600mm f/4L IS III USM + Extender EF1.4x III/ FL: 840 มม. ที่ f/8

 

เลนส์อยู่ในระดับเดียวกับตัวแบบ = ระดับสายตา โบเก้สวยงามกว่า

แผนภาพแสดงว่ามุมกล้องส่งผลอย่างไรต่อระยะจากแบ็คกราวด์

เมื่อคุณถ่ายภาพจากตำแหน่งต่ำกว่าโดยให้เลนส์อยู่ในระดับเดียวกับดวงตาของตัวแบบ จะทำให้มีพื้นที่ระหว่างแบ็คกราวด์กับตัวแบบมากขึ้น ซึ่งทำให้เกิดโบเก้ในแบ็คกราวด์ที่ชัดเจนขึ้น และระนาบโฟกัสยังทำให้เห็นโบเก้ในโฟร์กราวด์ได้ชัดขึ้นด้วย


เคล็ดลับ: หมุนจอสัมผัสชนิดปรับหมุนได้เพื่อให้ถ่ายภาพจากตำแหน่งหรือมุมต่ำได้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น

หน้าจอ LCD แบบปรับหมุนได้

 

3. ดูทิศทางของแสงให้ดี

คุณไม่สามารถควบคุมสภาพอากาศหรือดวงอาทิตย์ได้ แต่คุณสามารถเลือกได้ว่าจะถ่ายภาพจากที่ใด! ลองขยับไปรอบๆ เพื่อหาแสงที่ดีที่สุดสำหรับภาพของคุณ

นกคัคคูเหยี่ยวใหญ่
EOS 7D Mark II/ EF500mm f/4L IS USM + Extender EF 1.4x/ FL: 700 มม. (เทียบเท่า 1120 มม.)

แสงจากด้านหน้า นับว่าเหมาะสมที่สุดเนื่องจากสามารถคงรายละเอียดและสีสันที่สดใสเอาไว้ได้มากที่สุด


EOS 7D Mark II/ EF500mm f/4L IS USM + Extender EF 1.4x/ FL: 700 มม. (เทียบเท่า 1120 มม.)/ Aperture-priority AE (f/8, 1/50 วินาที)/ ISO 400

แสงแบบกระจายตัว ให้ความรู้สึกที่นุ่มนวลกว่าเล็กน้อย


EOS 7D Mark II/ EF500mm f/4L IS USM + Extender EF 1.4x/ FL: 700 มม. (เทียบเท่า 1120 มม.)/ Aperture-priority AE (f/6.3, 1/320 วินาที, EV -0.3)/ ISO 1000

แสงจากด้านหลังและด้านข้าง สามารถทำให้ภาพดูมีมิติที่สวยงาม แต่ควรใช้ความระมัดระวังเมื่อถ่ายภาพย้อนแสงเนื่องจากอาจสูญเสียรายละเอียดไปในส่วนที่เป็นเงา

 

แสงจากด้านหลัง

ส่วนหัวของนกตะกรุมตัวนี้ดูมืดเกินไป ทำให้มองไม่เห็นรายละเอียด

แสงจากด้านหน้า

แสงจากด้านหน้าทำให้เห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจน และยังมีสีสันที่สดใสกว่าด้วย

 

เคล็ดลับ: Animal Detection AF ในกล้องรุ่นใหม่ล่าสุดของ Canon อย่าง EOS R5 และ EOS R6 จะตรวจจับและติดตามตัวนก เพื่อให้คุณสามารถจดจ่อกับการหามุมที่ดีที่สุดได้!


อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
วิธีเมทริกซ์: เพิ่มความหลากหลายให้ภาพถ่ายของคุณด้วยวิธีการที่เป็นระบบ

 

4. รวดเร็ว เรียบง่าย และสวยงาม: แบ็คกราวด์สีเขียวหรือฟ้า

หากต้องการองค์ประกอบภาพที่เรียบง่ายแต่ดูสวยงาม ให้จัดเฟรมภาพโดยให้นกอยู่ด้านหน้าแบ็คกราวด์สีฟ้าหรือสีเขียว เนื่องจากสีเหล่านี้จะทำให้รู้สึกถึงธรรมชาติได้ดียิ่งขึ้น

นกกระเต็นอกขาว
EOS R6/ EF300mm f/2.8L IS USM + Extender EF2x III/ FL: 600 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/1600 วินาที, EV +0.3)/ ISO 1600


นกนางนวลแกลบเล็ก
EOS 7D Mark II/ EF300mm f/2.8L IS USM + Extender EF2x III/ FL: 600 มม. (เทียบเท่า 960 มม.)/ Shutter-priority AE (f/5.6, 1/1600 วินาที, EV +1.7)/ ISO 800
สปีชีส์


เคล็ดลับ: “สีเขียว” อาจมาจากเงาสะท้อนบนผิวน้ำได้เช่นกัน!

นก Masked Lapwing
EOS R5/ EF600mm f/4L IS III USM + Extender EF1.4x III/ FL: 840 มม./ Aperture-priority AE (f/8, 1/500 วินาที)/ ISO 250

 

เทคนิคพิเศษ: ใช้โหมดกล้องแบบกำหนดเอง (C1, C2, C3) ให้เป็นประโยชน์ในการเปลี่ยนการตั้งค่าให้รวดเร็ว

เมื่อนกที่เกาะอยู่บนกิ่งไม้เริ่มออกบิน และคุณตัดสินใจว่าจะถ่ายภาพมันต่อไป การเปลี่ยนแปลงของแบ็คกราวด์จึงหมายความว่าการตั้งค่าการเปิดรับแสงของคุณก็ควรเปลี่ยนด้วยเช่นกัน หากคุณมักจะใช้การตั้งค่าแบบใดแบบหนึ่งในบางฉาก ช่องโหมดแบบกำหนดเอง C1 ถึง C3 ในกล้องบางรุ่นจะช่วยให้คุณสลับโหมดได้ด้วยการหมุนวงแหวนหรือกดปุ่ม (แบบกำหนดเอง) เพียงครั้งเดียว

และนี่คือวิธีการตั้งค่าโหมดของผม เมื่อนกเริ่มออกบิน ผมก็เพียงแค่เปลี่ยนไปใช้ C1 หรือ C2 ตามสถานการณ์


C1: สำหรับภาพนกบินที่มีแสงจากด้านหลัง

นกตะกรุม
ผมตั้งค่าการชดเชยแสงไว้สูงกว่า C2 เพื่อชดเชยในส่วนที่มืดซึ่งเกิดจากแสงด้านหลัง


C2: ภาพการบินตามปกติ

นกอีแก
การตั้งค่าตามปกติของผมสำหรับนกที่กำลังบินคือ f/6.3 ถึง f/8, 1/1600 ถึง 1/2000 วินาที, EV0 ถึง +0.3 และ ISO อัตโนมัติ


C3: โหมด Aperture-priority AE ในโหมดครอป 1.6 เท่า (กล้องในซีรีย์ EOS R)

นกจับแมลงพันธุ์จีน
โหมดนี้ทำให้ผมสามารถถ่ายภาพครอปของนกที่อยู่ไกลให้ดูใกล้ขึ้นได้อย่างรวดเร็ว ภาพด้านบนถ่ายด้วยเลนส์ EF300mm f/2.8L IS II USM และท่อต่อเลนส์ EF2x III และโหมดครอป 1.6 เท่า ทำให้ได้ทางยาวโฟกัสเหมาะสมที่ 960 มม.


อ่านเคล็ดลับเกี่ยวกับการถ่ายภาพนกเพิ่มเติมที่:
คำแนะนำการถ่ายภาพนกสำหรับมือใหม่
ฉันถ่ายภาพอย่างไรให้เฉียบ: นกสีเขียวตัวน้อยท่ามกลางโบเก้สีชมพูสวยงาม

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Adrian Silas Tay

ในเวลางาน Adrian เป็นผู้ให้คำแนะนำด้านการทำงานสำหรับผู้มีภาวะออทิสติก และในเวลาว่าง เขาเป็นนักดูนกและช่างภาพสัตว์ป่าตัวยงซึ่งมีส่วนร่วมในโครงการอนุรักษ์นกมากมายกับองค์กรหลายแห่ง เขาตั้งเป้าที่จะถ่ายภาพนกทุกสปีชีส์ในสิงคโปร์ สามารถดูภาพนก (330 สปีชีส์และยังคงเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ) ของเขาได้ที่เว็บไซต์และสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น Singapore Birds Project และ eBird โดย The Cornell Lab of Ornithology

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา