ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ใช้เลนส์ซูม f/2.8 อย่างมืออาชีพ (3): ลองถ่ายภาพดวงดาว

2025-05-20
0
153

เลนส์ซูม f/2.8 สว่างเพียงพอที่จะถ่ายภาพดวงดาว และมีประโยชน์อีกประการหนึ่งคือ มีความยืดหยุ่นในการจัดเฟรมภาพ

ในชุดบทความต่อเนื่อง 4 ตอนนี้ เราจะมาแบ่งปันไอเดียในการนำความสามารถของเลนส์ซูมรูรับแสงคงที่ f/2.8 มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงเคล็ดลับในการตั้งค่าอย่างละเอียดเพื่อให้ได้ภาพที่ดียิ่งขึ้น เพราะเราจะทำสิ่งที่เลนส์ซูมแบบปรับรูรับแสงทำได้ไปทำไม ในเมื่อเลนส์ซูม f/2.8 ทำได้มากกว่านั้น

ในตอนที่ 3 นี้ เราจะมาเรียนรู้เกี่ยวกับประโยชน์ของการใช้เลนส์ซูม f/2.8 สำหรับการถ่ายภาพดวงดาว รวมถึงเคล็ดลับการถ่ายภาพบางประการ (เรื่องโดย: Chikako Yagi, Digital Camera Magazine)

บทความนี้คือตอนที่ 3 จากซีรีย์ที่มีทั้งหมด 4 ตอน คลิกที่ลิงก์เพื่ออ่านตอนอื่นๆ!
- ตอนที่ 1: การทำให้ตัวแบบของคุณโดดเด่น
- ตอนที่ 2: การสร้างความลึกและความมีมิติ
- ตอนที่ 4: ยกระดับการถ่ายภาพทิวทัศน์ในสภาวะแสงน้อย (ฉบับภาษาอังกฤษ)

 

ในบทความนี้:

เหตุใดจึงเลือกใช้เลนส์ซูม f/2.8 สำหรับการถ่ายภาพดวงดาว

เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุดขนาดใหญ่ (เรียกอีกอย่างว่าเลนส์ "ความเร็วสูง" หรือ เลนส์ "ให้ความสว่าง") จะช่วยได้เสมอเมื่อคุณถ่ายภาพในเวลากลางคืน เลนส์ดังกล่าวช่วยให้แสงเข้าและไปยังเซนเซอร์ได้มากขึ้นระหว่างช่วงเวลานั้น ซึ่งมีประโยชน์หลักสองประการสำหรับการถ่ายภาพดวงดาว:

1. คุณสามารถถ่ายภาพดวงดาวให้ออกมาเป็นจุดแสง
ดวงดาวจะเกิดเป็นเส้นแสง หากใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำเกินไป ซึ่งเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างช่วยให้คุณตั้งค่าความเร็วชัตเตอร์ให้เร็วขึ้นได้

2. ภาพคมชัดยิ่งขึ้น
คุณสามารถตั้งค่าความไวแสง ISO ให้ต่ำลงเพื่อหลีกเลี่ยงจุดรบกวนในภาพโดยไม่ต้องลดการเปิดรับแสง

แม้ว่าจะมีเลนส์เดี่ยวมุมกว้าง f/1.4 หรือ f/1.8 ให้ใช้งานก็ตาม แต่เลนส์นี้มีความยืดหยุ่นในการเปลี่ยนการจัดเฟรมภาพเมื่อคุณต้องถ่ายภาพในสถานที่ที่ไม่คุ้นเคยและไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้น

เลนส์ซูม f/2.8 ช่วยให้คุณซูมออกเพื่อถ่ายภาพทิวทัศน์บนพื้นดินพร้อมกับท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว หรือซูมเข้าไปที่ดวงดาวหรือกลุ่มดาวเฉพาะ ซึ่งนับว่าเพียงพอสำหรับการจัดการกับจุดรบกวนให้อยู่ในระดับที่มองไม่เห็น ดังนั้น อย่าลังเลที่จะนำเลนส์มุมกว้าง f/2.8 หรือเลนส์ซูมมาตรฐานมาด้วยเวลาที่คุณไปดูดาวครั้งหน้า!


ข้อควรรู้: f/2.8 เพียงพอสำหรับการลดจุดรบกวนให้เหลือน้อยที่สุด

เลนส์ซูม f/2.8 ช่วยให้แสงเข้าถึงเซนเซอร์ภาพของกล้องได้อย่างเพียงพอ คุณจึงสามารถใช้ความไวแสง ISO 3200 แทน ISO 6400 หรือมากกว่า ซึ่งปกติจะต้องใช้ร่วมกับเลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างสุด f/4 ขึ้นไปได้ และระดับของจุดรบกวนที่ได้จะแตกต่างกันอย่างมาก ดังที่แสดงในตัวอย่างภาพโคลสอัพด้านบน!

อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
พื้นฐานเกี่ยวกับกล้อง #5: ความไวแสง ISO

 

เทคนิคระดับมือโปร 1: ปรับทางยาวโฟกัสเพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์แบบต่างๆ

ทางยาวโฟกัสประมาณ 24 มม. เพียงพอสำหรับการถ่ายภาพทิวทัศน์ดวงดาว (ทิวทัศน์ที่มีท้องฟ้าเต็มไปด้วยดวงดาว) แต่คุณจะได้ผลลัพธ์ที่ต่างกันหากใช้มุมที่กว้างขึ้น


24 มม.: เน้นทิวทัศน์บนพื้นดินและดวงดาวโดยเฉพาะ

EOS R5 Mark II/ RF24-70mm f/2.8L IS USM/ FL: 24 มม./ Manual exposure (f/2.8, 8 วินาที)/ ISO 800/ WB: อัตโนมัติ

ทางยาวโฟกัส 24 มม. ให้มุมกว้างมากพอที่จะถ่ายภาพท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาล รวมถึงทิวทัศน์บนพื้นดิน เมื่อใช้เลนส์ซูม คุณจึงสามารถปรับเฟรมภาพได้อย่างยืดหยุ่น ดังนั้นอย่ากลัวที่จะทดลองจนกว่าคุณจะค้นพบสมดุลที่ใช่ระหว่างท้องฟ้าและพื้นดิน!


15 มม.: สร้างความรู้สึกที่มีพลังด้วยท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไพศาล

EOS R5 Mark II/ RF15-35mm f/2.8L IS USM/ FL: 15 มม./ Aperture-priority AE (f/2.8, 15 วินาที)/ ISO 1250/ WB: อัตโนมัติ

ทางยาวโฟกัสมุมกว้างพิเศษ 15 มม. ช่วยให้คุณเก็บภาพท้องฟ้าได้กว้างขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้องค์ประกอบภาพมีพลังมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังเน้นถึงขนาดอันกว้างใหญ่อีกด้วย วัตถุบนพื้นโลกจะดูเล็กลงมาก ซึ่งทำให้ท้องฟ้าดูกว้างใหญ่ขึ้นไปอีกเมื่อเปรียบเทียบกัน

 

เทคนิคระดับมือโปร 2: ใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่หลีกเลี่ยงการเกิดเส้นแสงดาว

เนื่องจากสถานที่สำหรับการถ่ายภาพดวงดาวนั้นมักจะมืดกว่าสถานที่สำหรับการถ่ายภาพกลางคืนประเภทอื่นๆ โดยส่วนใหญ่ คุณจึงไม่อาจหลีกเลี่ยงที่จะเปิดรับแสงเป็นระยะเวลานานขึ้น แม้ว่าจะใช้เลนส์ที่มีรูรับแสงกว้างก็ตาม และเนื่องจากการหมุนของโลก การเปิดรับแสงนานเช่นนี้จึงอาจทำให้เส้นแสงดาวเบลอได้

เกือบทุกวิธีที่ใช้ในการคำนวณระยะเวลาเปิดรับแสงนานที่สุดซึ่งสามารถเลือกใช้ก่อนดวงดาวจะเริ่มสร้างเส้นแสงนั้นจะขึ้นอยู่กับทางยาวโฟกัส ยิ่งคุณใช้ทางยาวโฟกัสยาวขึ้น จะต้องใช้เวลาการเปิดรับแสงที่สั้นลง ขณะที่คุณจะมีเวลาเพิ่มขึ้นหากใช้ทางยาวโฟกัสที่สั้นลง ฉันจึงขอแนะนำให้ใช้กฎ 200:

200 ÷ ทางยาวโฟกัส = เวลาเปิดรับแสงสูงสุด

ทางยาวโฟกัส ความเร็วชัตเตอร์
15 มม. 200 ÷ 15 = 13 วินาที
16 มม. 200 ÷ 16 = 13 วินาที
20 มม. 200 ÷ 20 = 10 วินาที
24 มม. 200 ÷ 24 = 8 วินาที

หากคุณใช้กล้อง APS-C การคำนวณของคุณควรคำนึงถึงคุณสมบัติการครอป 1.6 เท่า เช่น 200 ÷ (ทางยาวโฟกัส x 1.6) = เวลาเปิดรับแสงสูงสุด

ข้อควรรู้: แตกต่างจากกฎอื่นๆ อย่างไร
กฎ 200 เป็นแนวปฏิบัติดั้งเดิมกว่ากฎอื่นที่คล้ายกัน เช่น กฎ 500 หรือกฎ 600 ซึ่งกฎนี้เหมาะอย่างยิ่งเมื่อคุณมีค่าความคลาดเคลื่อนต่ำสำหรับเส้นแสง ใช้กล้องที่มีจำนวนพิกเซลสูง หรือต้องการภาพที่มีความละเอียดสูงเพื่อนำมาใช้งานในด้านต่างๆ เช่น ภาพพิมพ์แกลเลอรี่ขนาดใหญ่ สำหรับการใช้งานอื่นๆ คุณสามารถใช้กฎ 500 เพื่อให้ได้เวลาเปิดรับแสงสูงสุดที่นานขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม "กฎ" เหล่านี้จะใช้เป็นแนวทางเท่านั้น แต่คุณจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าอะไรเหมาะกับคุณที่สุด!

 

อ่านเคล็ดลับและไอเดียเพิ่มเติมเกี่ยวกับการถ่ายภาพทิวทัศน์ดวงดาว/การถ่ายภาพดวงดาวได้ที่:
- เทคนิคการถ่ายภาพดวงดาวที่ควรลองใช้กับ EOS R 
(เหมาะสำหรับกล้องซีรีย์ EOS R รุ่นอื่นๆ ด้วยเช่นกัน!)
- ถ่ายภาพให้สีมีความสมดุล: ทางช้างเผือกส่องประกายระยิบระยับเหนือทุ่งหญ้าเขียวขจี
- ถ่ายภาพสวยดั่งใจ: พระจันทร์และดวงดาวในทางช้างเผือกเหนือท้องทะเล
- การถ่ายภาพดวงดาว: สิ่งที่ต้องหลีกเลี่ยงเมื่อถ่ายภาพดวงดาว
- หนึ่งสถานที่กับภาพสองแบบ: การถ่ายภาพประภาคารท่ามกลางแสงจันทร์และใต้ดวงดาว

 

เลนส์ซูม f/2.8 ที่แนะนำ

เลนส์ซูม f/2.8 มุมกว้าง

24 มม. คือระยะมุมกว้างของเลนส์ซูมมาตรฐาน เช่น RF24-70mm f/2.8L IS USM และ RF24-105mm f/2.8L IS USM Z และเป็นระยะที่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ดังที่เห็นในภาพด้านบน คุณสามารถสร้างภาพที่มีพลังมากขึ้นได้ด้วยเลนส์ซูมมุมกว้างพิเศษ เช่น เลนส์ RF15-35mm f/2.8L IS USM หรือ RF16-28mm f/2.8 IS STM

ซ้าย: RF15-35mm f/2.8L IS USM
ขวา: RF16-28mm f/2.8 IS STM

RF15-35mm f/2.8L IS USM เป็นเลนส์ระดับมืออาชีพที่ออกแบบมาเพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุดในสภาวะที่สมบุกสมบันที่สุด เลนส์มีโครงสร้างที่สามารถป้องกันฝุ่นละอองและหยดน้ำได้ ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพกลางแจ้ง อีกทั้งยังมีการเคลือบแบบพิเศษ คุณจึงได้ภาพที่หมดจดและคมชัดแม้จะถ่ายภาพแบบย้อนแสงก็ตาม เลนส์นี้รองรับฟิลเตอร์แบบสวมเข้าขนาด 82 มม.

RF16-28mm f/2.8 IS STM เป็นเลนส์ซูมมุมกว้าง f/2.8 ที่มีขนาดเล็กกว่าและน้ำหนักเบากว่า เหมาะสำหรับผู้ใช้ที่ให้ความสำคัญกับความสะดวกในการพกพา นอกจากคุณภาพทางออพติคอลที่ยอดเยี่ยมแล้ว เลนส์นี้ยังได้รับการซีลป้องกันสภาพอากาศ แม้ว่าจะไม่เทียบเท่ากับเลนส์ซีรีย์ L ก็ตาม เลนส์นี้รองรับฟิลเตอร์แบบสวมเข้าขนาด 67 มม.

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Chikako Yagi

Chikako Yagi มีอายุเพียง 20 ปีตอนที่เธอเริ่มเรียนรู้การถ่ายภาพด้วยตัวเองโดยใช้กล้องฟิล์ม SLR เธอออกจากงานประจำมาเป็นช่างภาพทิวทัศน์เต็มตัวในปี 2016 เธอเคยฝึกงานกับช่างภาพชื่อดังหลายราย เช่น Kiyoshi Tatsuno และ Tomotaro Ema และยังเป็นสมาชิกของชมรม Shizensou Club ซึ่งก่อตั้งโดย Kiyoshi Tatsuno และเป็นหนึ่งในชมรมช่างถ่ายภาพทิวทัศน์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ในปี 2013 เธอได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 10 อันดับช่างภาพฝีมือดีของชมรม Tokyo Camera Club

www.chikakoyagi.com
Instagram: @chikako_yagi

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา