การถ่ายภาพในชีวิตประจำวัน: สีสันในฉากวันหน้าร้อนสไตล์มินิมัล
เสน่ห์ของการถ่ายภาพคือ ไม่จำเป็นต้องสื่อถึงช่วงเวลาหรือโอกาสพิเศษเสมอไป หากมีความคิดสร้างสรรค์พร้อมเสริมด้วยเทคนิคที่เหมาะสม คุณก็สามารถทำให้แม้แต่ฉากเรียบง่ายในทุกๆ วันสามารถสื่อถึงอารมณ์หรือความทรงจำได้ ในบทความนี้ Taishi Arashida จะมาบอกเล่าวิธีใช้สีสันและองค์ประกอบเพื่อสร้างภาพยามบ่ายช่วงฤดูร้อนอันงดงามในสไตล์มินิมัลและเปี่ยมไปด้วยความหมาย (เรื่องโดย: Taishi Arashida, Digital Camera Magazine)
EOS 5D Mark III/ EF85mm f/1.8 USM/ Aperture-priority AE (f/1.8, 1/8,000 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
EOS 5D Mark III/ EF85mm f/1.8 USM/ Aperture-priority AE (f/1.8, 1/8,000 วินาที)/ ISO 100/ WB: อัตโนมัติ
จินตนาการเบื้องหลังภาพนี้
ตอนที่ผมวางคอนเซ็ปต์ภาพนี้ ผมต้องการสร้างภาพที่จะไม่ขัดกับของตกแต่งภายในถ้านำภาพไปแขวนบนผนัง ถ้าจะให้ดี ผมอยากให้ดูเหมือนบานหน้าต่าง แบบที่คุณจ้องมองออกไปข้างนอก
การสร้างผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้ให้สำเร็จจะต้องมีองค์ประกอบสไตล์มินิมัลพร้อมกับพื้นที่ว่างจำนวนมาก แต่ในที่สุด ภาพแบบนั้นก็อาจดูโล่งเตียนและขาดชีวิตชีวาไปได้ง่ายๆ ดังนั้น ผมเลยตัดสินใจรวมสีสันสะดุดตาไว้ในภาพเพื่อชดเชยความเรียบง่ายในองค์ประกอบภาพ
ขั้นตอนที่ 1: รวมท้องฟ้าสีฟ้าไว้มากๆ ในองค์ประกอบภาพ
พื้นที่ว่างไม่จำเป็นต้องเป็นสีขาว แต่สิ่งที่คุณเติมเต็มเข้าไปนั้นจะกำหนดอารมณ์ของภาพ
การให้ความสำคัญกับสีของพื้นที่ว่างถือเป็นเรื่องที่ดี โดยเฉพาะหากพื้นที่ว่างกินพื้นที่ในเฟรมมากที่สุด สีนั้นๆ จะกำหนดความรู้สึกที่เกิดจากภาพของคุณ
สำหรับภาพนี้ ผมใช้ท้องฟ้า การรวมท้องฟ้าไว้ให้มากคือหนึ่งในวิธีที่ง่ายที่สุดในการสร้างพื้นที่ว่าง ผมดูให้แน่ใจว่าถ่ายภาพในวันที่มีอากาศดี โดยที่พระอาทิตย์ส่องแสงจากด้านหลังผม หากมีปุยเมฆเหมือนช่วงฤดูร้อน ผมก็จะรวมไว้ในภาพด้วย เนื่องจากปุยเมฆจะกินพื้นที่เป็นส่วนมาก ซึ่งท้องฟ้าสีเทาที่มีเมฆครึ้มนั้นคงอาจดูผิดที่ผิดทาง
ท้องฟ้าสีฟ้าช่วงฤดูร้อนกินพื้นที่ในเฟรมประมาณสองในสาม ซึ่งสร้างพื้นที่ว่างที่ดูเหมาะสม
อ่านเพิ่มเติมได้ที่:
ภาพทิวทัศน์ที่มีท้องฟ้าสไตล์มินิมัลลิสต์
ขั้นตอนที่ 2: เพิ่มจุดเด่นให้กับสีคู่ตรงข้าม
ชุดสีเดียวใช้ไม่ได้ผลกับบางฉาก
ว่ากันว่าสีต่างๆ จะมีผลทางจิตวิทยาที่แตกต่างกัน อย่างสีฟ้าจะสื่อถึงความสงบ สีนี้จึงเป็นสีโปรดของผม ภาพถ่ายของผมหลายภาพจะมีท้องฟ้าสีฟ้าหรือทะเลอยู่!
ซึ่งเหมาะที่จะเติมเต็มเฟรมเกือบทั้งหมดด้วยสีเดียว และภาพสไตล์สีเดี่ยวก็มีเสน่ห์ในแบบของตัวเอง อย่างไรก็ตาม ภาพนั้นอาจออกมาดูไร้ชีวิตชีวาและน่าเบื่อได้ง่ายๆ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับตัวแบบและองค์ประกอบภาพ ดังนั้น ควรรวมสีสันโดดเด่นไว้ในภาพเพื่อสร้างจุดเด่นและทำให้ภาพถ่ายดูน่าสนใจยิ่งขึ้น
ภาพที่ไม่มีสีตัดกันอาจดูจืดชืดได้
ในภาพถ่ายหลัก ผมได้รวมแป้นและลูกบาสเกตบอลที่เป็นเฉดสีส้มเอาไว้ ซึ่งเป็นสีที่ตัดกับท้องฟ้าสีฟ้า วัตถุเหล่านี้ยังเพิ่มจังหวะให้กับภาพอีกด้วย
เคล็ดลับ: ทำความเข้าใจวงล้อสี
วงล้อสีคือแผนภาพที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างสีต่างๆ สีที่ตรงข้ามกันบนวงล้อจะเรียกว่า “สีคู่ตรงข้าม” เมื่อสีเหล่านี้ปรากฏอยู่ด้วยกัน จะทำให้แต่ละสีดูสะดุดตายิ่งขึ้น
เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีใช้สีคู่ตรงข้ามเพื่อดึงดูดความสนใจไปยังตัวแบบได้ใน
ควรใช้สีสันอย่างไรเพื่อดึงความสนใจไปที่ตัวแบบ
ผมใช้ความสัมพันธ์แบบตรงกันข้ามระหว่างสีฟ้ากับสีส้มในภาพถ่ายนี้เพื่อสร้างภาพสไตล์มินิมัลที่ได้สมดุล คุณจะทำแบบเดียวกันนี้กับสีคู่ตรงข้ามสีอื่นๆ ได้อย่างไร คุณอาจลองถ่ายภาพโดยใช้สีเขียวกับสีแดงดูก็ได้!
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสีประเภทอื่นๆ ได้ใน
ทำความเข้าใจทฤษฎีสี: คู่มือที่เป็นมิตรกับช่างภาพ
ดูเคล็ดลับเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ภาพฉากธรรมดาของคุณให้สื่อเรื่องราวออกมาได้ที่
วิธีการถ่ายภาพภาพสิ่งของธรรมดาให้ดูน่าทึ่ง
การจัดองค์ประกอบเฟรมภาพซิลูเอตต์: วิธีสร้างความโดดเด่นให้กับแสง เงา ความเปรียบต่าง ความลึก และเฟรมธรรมดาๆ
เคล็ดลับการถ่ายภาพสตรีท: การจัดเฟรมภาพเพื่อถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของตัวแบบ
เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
Taishi Arashida อาศัยอยู่ในกรุงโตเกียว เขาถ่ายภาพครอบครัวและทิวทัศน์ในเมืองเป็นหลักให้กับสื่อมวลชนภายในประเทศและต่างประเทศ และยังเป็นครูสอนถ่ายภาพอีกด้วย นอกจากนี้ เขาได้เขียนหนังสือสองเล่มคือ Dejitaaru de Firumu o Saigenshitai [การจำลองลุคแบบฟิล์มในสื่อดิจิทัล] และ Kamera ja naku, Shashin no Hanashi o Shiyou [มาคุยกันเรื่องการถ่ายภาพดีกว่าเรื่องกล้อง] ซึ่งทั้งสองเล่มตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Genkosha