เราทราบกันดีว่าฟิลเตอร์โพลาไรซ์ (ฟิลเตอร์ PL) ช่วยทำให้สีเข้มขึ้นและลดแสงสะท้อน แต่รู้หรือไม่ว่าฟิลเตอร์ PL สามารถสร้างงานศิลปะในรูปแบบอื่นได้อีกด้วย และต่อไปนี้คือวิธีที่ช่างภาพรายหนึ่งใช้ฟิลเตอร์นี้เพื่อสร้างผลงานชิ้นน่าประทับใจที่คุณเห็นด้านล่าง (เรื่องโดย Chikako Yagi, Digital Camera Magazine)
EOS 50D/ EF70-200mm f/4L IS USM/ FL: 121 มม. (เทียบเท่า 194 มม.)/ Aperture-priority AE (f/4, 1/125 วินาที, EV -0.3)/ ISO 100/ WB: แสงแดด
ใช้ฟิลเตอร์ PL
น้ำค้างแข็งบนหน้าต่างในแบบที่คุณไม่เคยเห็นมาก่อน
น้ำค้างแข็งเกิดขึ้นเมื่อไอน้ำในอากาศแข็งตัวกลายเป็นผลึกน้ำแข็ง เช้าวันหนึ่งในฤดูหนาวที่เย็นยะเยือก ฉันตื่นขึ้นมาพบผลึกน้ำแข็งเหล่านี้บนด้านในของหน้าต่าง เกิดเป็นลวดลายงดงามที่ชวนให้นึกถึงชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งของผลึกน้ำแข็ง นั่นคือ “ดอกไม้น้ำแข็ง” ผลึกน้ำแข็งน่าจะเป็นภาพสวยๆ ในแบบที่มันเป็นอยู่แล้ว แต่ฉันทำเพิ่มไปอีกขั้นโดยตัดสินใจเล่นกับโพลาไรเซอร์บางชนิด ซึ่งเปลี่ยนรูปร่างและลวดลายต่างๆ ที่ธรรมชาติสร้างขึ้นให้กลายเป็นศิลปะแอ็บสแตรกต์
อุปกรณ์สำคัญ
- เลนส์เทเลโฟโต้
- โพลาไรเซอร์ 2 ชิ้น
ฉันใช้ฟิลเตอร์ CPL หนึ่งชิ้นและฟิล์มโพลาไรซ์หนึ่งแผ่น ตราบใดที่คุณมีโพลาไรเซอร์หนึ่งชิ้นที่สามารถติดเข้ากับเลนส์ได้ และอีกชิ้นหนึ่งที่สามารถวางไว้ด้านหลังตัวแบบได้โดยอิสระ ก็ถือว่าใช้ได้
การเตรียมการถ่ายภาพของฉัน
A: ฟิลเตอร์ CPL – ติดบนเลนส์
B: ฟิล์มโพลาไรซ์ – วางไว้นอกหน้าต่าง
C: น้ำค้างแข็งบนหน้าต่าง – บนหน้าต่างในที่ร่ม ระหว่างโพลาไรเซอร์
เสร็จแล้ว แค่หมุนฟิลเตอร์ PL บนเลนส์จนกว่าจะได้เอฟเฟ็กต์ตามที่ต้องการ น่าอัศจรรย์มาก!
วิธีการถ่ายภาพ
หากคุณนำโพลาไรเซอร์ไปส่องขยายด้วยกล้องจุลทรรศน์ คุณอาจจะเห็นแถบริ้วบนฟิลเตอร์ แถบเหล่านี้ทำให้แสงที่เดินทางในทิศทางใดทิศทางหนึ่งเท่านั้นสามารถผ่านโพลาไรเซอร์ได้ เทคนิคนี้เรียกว่า “การตัดแสงโพลาไรซ์” (Polarization)
เมื่อโพลาไรเซอร์ทั้งสองอยู่ในแนวเดียวกัน จะทำให้ระนาบการตัดแสงโพลาไรซ์ทำมุมฉากกัน เช่น หากจัดตำแหน่งฟิลเตอร์หนึ่งให้ตัดแสงโพลาไรซ์ในแนวตั้ง และอีกฟิลเตอร์หนึ่งตัดแสงโพลาไรซ์ในแนวนอน ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า “โพลาไรเซอร์ขวางฉาก” วิธีนี้จะส่งผลให้เกิดการตัดแสงโพลาไรซ์แบบไขว้ (Cross-polarization) ซึ่งเอฟเฟ็กต์การตัดแสงโพลาไรซ์ของโพลาไรเซอร์แต่ละชิ้นจะรบกวนซึ่งกันและกัน ทำให้เกิดสีสันที่บิดเบือนไปอย่างที่คุณเห็น
ลองใช้วิธีนี้:
ฉันเตรียมการถ่ายภาพโดยให้โพลาไรเซอร์ B ตัดแสงโพลาไรซ์ก่อนที่แสงจะมาถึงตัวแบบ คุณจะได้ภาพที่ดูต่างออกไปเล็กน้อยหากวางโพลาไรเซอร์ B ไว้ระหว่างตัวแบบกับฟิลเตอร์ PL บนเลนส์ อย่างไรก็ตาม สีสันแปลกตาจะยังคงอยู่
---
เมื่อคุณได้เรียนรู้วิธีเทคนิคนี้แล้ว ลองนำไปใช้กับตัวแบบอื่นๆ ว่าจะได้ผลเป็นอย่างไร
ต่อไปนี้คือวิธีถ่ายภาพแบบอื่นๆ ที่คุณสามารถลองได้ด้วยฟิลเตอร์ PL เวลานั่งเครื่องบินครั้งต่อไป
ภาพทิวทัศน์จากหน้าต่างเครื่องบิน: เอฟเฟ็กต์กราฟิกสีรุ้ง
ดูวิธีอื่นๆ ในการสร้างเอฟเฟ็กต์ศิลปะด้วยกล้องของคุณได้ที่:
ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: เปลี่ยนภาพถ่ายให้เป็นภาพเขียนสีน้ำแนวแอ็บสแตรกต์
ฉันจะใช้การแพนกล้องเป็นวงกลมเพื่อสร้างภาพที่โดดเด่นไม่ซ้ำใครได้อย่างไร
ถ่ายภาพการแสดงดอกไม้ไฟด้วยมืออย่างไรให้มีศิลปะ!
รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ
ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT
ลงทะเบียนตอนนี้!เกี่ยวกับผู้เขียน
นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation
Chikako Yagi มีอายุเพียง 20 ปีตอนที่เธอเริ่มเรียนรู้การถ่ายภาพด้วยตัวเองโดยใช้กล้องฟิล์ม SLR เธอออกจากงานประจำมาเป็นช่างภาพทิวทัศน์เต็มตัวในปี 2016 เธอเคยฝึกงานกับช่างภาพชื่อดังหลายราย เช่น Kiyoshi Tatsuno และ Tomotaro Ema และยังเป็นสมาชิกของชมรม Shizensou Club ซึ่งก่อตั้งโดย Kiyoshi Tatsuno และเป็นหนึ่งในชมรมช่างถ่ายภาพทิวทัศน์ที่มีชื่อเสียงที่สุดของประเทศญี่ปุ่น ในปี 2013 เธอได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 10 อันดับช่างภาพฝีมือดีของชมรม Tokyo Camera Club
www.chikakoyagi.com
Instagram: @chikako_yagi