ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: เปลี่ยนภาพถ่ายให้เป็นภาพเขียนสีน้ำแนวแอ็บสแตรกต์

2020-02-10
0
1.51 k
ในบทความนี้:

การหาวิธีใหม่ๆ ในการถ่ายภาพสถานที่ที่คุ้นเคยอาจเป็นเรื่องยาก แต่หากลองคิดนอกกรอบสักเล็กน้อย คุณอาจพบว่าคำตอบนั้นง่ายดายกว่าที่คาดไว้ Toshiki Nakanishi ช่างภาพทิวทัศน์จะมาอธิบายรายละเอียดให้เราฟังว่าเขาสร้างเอฟเฟ็กต์ที่ดูเหมือนพู่กันระบายสีน้ำในภาพนี้ได้อย่างไรโดยยังคงความสวยงามของสีฟ้าและเขียวของบ่อน้ำสีฟ้าอันมีชื่อเสียงของฮอกไกโดเอาไว้ (เรื่องโดย: Toshiki Nakanishi, Digital Camera Magazine)

ภาพถ่ายแนวแอ็บสแตรกต์ของบ่อน้ำสีฟ้าในฮอกไกโด ถ่ายด้วยชัตเตอร์ความเร็วต่ำ

EOS 5D Mark IV/ EF100-400mm f/4.5-5.6L IS II USM/ FL: 400 มม./ Aperture-priority AE (f/16, 1.3 วินาที, EV±0)/ ISO 100/ WB: แสงแดด

บ่อน้ำสีฟ้า (ฉบับภาษาอังกฤษ) ในบิเอะ ฮอกไกโดได้กลายเป็นสถานที่ยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เมื่อเราถ่ายภาพสถานที่เช่นนี้ เรามักจะถ่ายภาพเพื่อรักษาและแสดงให้เห็นถึงรายละเอียดอันเป็นเสน่ห์ของสถานที่เหล่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อคุณได้ถ่ายภาพในสถานที่แห่งเดิมหลายๆ ครั้ง คุณจะรู้สึกว่าอยากให้ภาพต่อไปมีความพิเศษมากกว่าเดิมสักเล็กน้อย 

นี่คือวิธีที่ช่างภาพอีกท่านหนึ่งใช้ในการถ่ายภาพบ่อน้ำสีฟ้าในฤดูหนาว:
2 ภาพฤดูหนาวอันงดงามในบิเอะ ฮอกไกโด (พร้อมเคล็ดลับการจัดองค์ประกอบภาพ)


ขั้นแรก - โยนความคิดเดิมๆ ทิ้งไปก่อน

ผมต้องการถ่ายภาพบ่อน้ำสีฟ้าที่มีลักษณะเฉพาะตัวและสามารถถ่ายทอดสีฟ้าสดใสออกมาได้ 

ด้วยความเป็นช่างภาพทิวทัศน์ เรามักจะถ่ายภาพโดยตั้งใจให้เห็นรายละเอียดของฉากได้ชัดเจน กฎอัน “เป็นที่รู้กัน” นี้คือสิ่งแรกที่ผมต้องการจะฝ่าฝืน ผมจึงตัดสินใจว่าจะถ่ายภาพให้มีสีสันเต็มทั้งเฟรมแทน

ผมยังคงต้องการให้ภาพแสดงรายละเอียดของทิวทัศน์อยู่ แต่เพียงแค่ให้ผู้ชมรับรู้ได้ถึงสถานที่เท่านั้น

เมื่อได้แนวคิดดังนี้ ผมจึงขยับกล้องไปด้วยในขณะที่ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ผลลัพธ์คือภาพนี้ซึ่งผสมผสานสีฟ้าของบ่อน้ำเข้ากับสีสันของต้นไม้จนเกิดเป็นเอฟเฟ็กต์เหมือนภาพเขียนสีน้ำแนวแอ็บสแตรกต์

เคล็ดลับ: ผมต้องลองใช้ความเร็วชัตเตอร์และทิศทางการเคลื่อนไหวเพื่อสร้างภาพเบลอที่แตกต่างกันอยู่หลายครั้งจึงจะได้เอฟเฟ็กต์ที่ต้องการ

 

จุดสำคัญในรายละเอียด

อุปกรณ์และการตั้งค่า

ภาพตัวอย่างที่แสดงตำแหน่งและเทคนิคในการถ่ายภาพ

เลนส์: เลนส์ซูมเทเลโฟโต้ เนื่องจากผมต้องการให้ทั้งเฟรมเต็มไปด้วยสีสันของบ่อน้ำ

ตำแหน่งและมุมการถ่ายภาพ: ผมติดตั้งอุปกรณ์ไว้ที่ริมบ่อน้ำเพื่อให้เลนส์ชี้ลงไปยังผิวน้ำ ภาพหลักนี้ถ่ายโดยขยับกล้องขึ้นลง

ทำไมต้องใช้ขาตั้งกล้อง: ผมต้องการสร้างภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวในทิศทางเดียว และขาตั้งกล้องจะช่วยให้ขยับกล้องในแนวตรงได้อย่างมั่นคง

เคล็ดลับ: หัวขาตั้งกล้องแบบสามทิศทางหรือแบบหัวบอลจะช่วยให้คุณขยับกล้องไปมาได้ง่าย หากคุณใช้ขาตั้งกล้องแบบหัวบอล อาจขยับกล้องเป็นแนวเส้นตรงได้ยากกว่า แต่นั่นก็อาจทำให้คุณได้ผลลัพธ์ที่น่าสนใจเช่นกัน 

คุณอาจสนใจอ่านบทความนี้เช่นกัน:
การเริ่มต้นถ่ายภาพทิวทัศน์: 5 สิ่งที่ควรทราบ

 

เทคนิค: ทดลองใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่างๆ กัน โดยเน้นให้เห็นสีสันแต่ยังคงรายละเอียดไว้เล็กน้อย

นอกจากสีสันต่างๆ แล้ว ผมยังต้องการให้ภาพสื่อถึงการเคลื่อนไหวด้วย นี่เป็นสาเหตุว่าทำไมจึงต้องขยับกล้องและสร้างภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวในระหว่างเปิดรับแสง

ผมลองถ่ายภาพโดยใช้ความเร็วชัตเตอร์ที่แตกต่างกัน และพบว่าภาพที่ถ่ายด้วยความเร็วประมาณ 1 วินาทีนั้นใกล้เคียงกับภาพที่ผมต้องการสร้างสรรค์มากที่สุด เพราะมีความสมดุลระหว่างความเป็นจริงกับจินตนาการที่ผมต้องการถ่ายทอดออกมาในภาพ ความเร็วชัตเตอร์ที่ต่ำกว่านี้ทำให้สีกลมกลืนกันมากเกินไปจนผู้ชมไม่อาจทราบได้ว่าฉากจริงๆ คืออะไร

อย่างไรก็ตาม ความเร็วชัตเตอร์แต่ละแบบอาจเหมาะกับฉากที่แตกต่างกัน สิ่งสำคัญคือให้ทดลองใช้ความเร็วและทิศทางการเคลื่อนไหวในแบบต่างๆ

 

ข้อควรรู้: ความแตกต่างของความเร็วชัตเตอร์เพียงไม่กี่มิลลิวินาทีก็มีความหมาย!

ภาพถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำในระยะใกล้

ภาพถ่ายด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำที่ 1.6 วินาที และ 1.3 วินาที

ความแตกต่างของความเร็วชัตเตอร์เพียงไม่กี่มิลลิวินาทีและการเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนไหวของกล้องสามารถทำให้เกิดความแตกต่างอย่างมากในภาพที่ได้ ในภาพที่ถ่ายด้วยความเร็ว 1.6 วินาทีด้านบน ภาพเบลอจากการเคลื่อนไหวที่เด่นชัดกว่าทำให้สีฟ้าและเขียวอันสดใสเปื้อนไปด้วยสีน้ำตาลของต้นไม้

 

เคล็ดลับ: หากมีความสว่างมากเกินไป ให้ใช้ฟิลเตอร์ ND

การใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำในวันที่มีแดดจ้าอาจทำให้ภาพของคุณดูสว่างเกินไป คุณควรพกฟิลเตอร์ ND ติดตัวไว้สำหรับสถานการณ์เช่นนี้ ฟิลเตอร์ ND 3 สต็อป (ฟิลเตอร์ ND8) นับว่าเพียงพอสำหรับการถ่ายภาพในฉากทั่วไปส่วนมาก หากฟิลเตอร์ทำให้ความเร็วชัตเตอร์ของคุณต่ำเกินไป ให้เพิ่มความไวแสง ISO เพื่อเป็นการชดเชย

 

หากคุณเป็นมือใหม่ในการถ่ายภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์ต่ำ ลองอ่านบทความพื้นฐานต่อไปนี้
การตั้งค่ากล้องเพื่อใช้ถ่ายภาพความเร็วชัตเตอร์ต่ำที่ยอดเยี่ยม

เรียนรู้เทคนิคอื่นๆ ในการใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำอย่างสร้างสรรค์ได้ที่:
ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: การใช้ระเบิดซูมเพื่อเปลี่ยนดวงดาวบนท้องฟ้าให้เป็นฝนดาวตก
ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: การสร้างภาพเบลอแบบหมุนที่เหนือจริง
ศิลปะของการใช้ชัตเตอร์ต่ำ: 3 เคล็ดลับอันยอดเยี่ยมในการถ่ายภาพโดยใช้เทคนิคการวาดภาพด้วยแสง

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Toshiki Nakanishi

เกิดปี 1971 ในโอซาก้า หลังจากศึกษาการถ่ายภาพด้วยตัวเอง Nakanishi ย้ายสถานที่ดำเนินกิจกรรมถ่ายภาพของตนไปยังเมือง Biei ที่อำเภอ Kamikawa-gun ในฮอกไกโด นอกจากถ่ายภาพทิวทัศน์ที่โฟกัสที่แสงเป็นหลักแล้ว เขายังสร้างสรรค์ผลงานที่เน้นถึงความงามของธรรมชาติในจินตนาการอีกด้วย เขามีตำแหน่งเป็นหัวหน้า PHOTO OFFICE ของ atelier nipek

http://www.nipek.net/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา