ค้นหาสิ่งที่คุณต้องการ

หรือค้นหาโดย

หัวข้อ

Article
Article

Article

e-Book
e-Book

e-Book

Video
Video

Video

Campaigns
Campaigns

Campaigns

Architecture
กล้องคอมแพค

กล้องคอมแพค

Architecture
DSLRs

DSLRs

Architecture
การถ่ายวีดิโอ

การถ่ายวีดิโอ

Architecture
ภาพดาราศาสตร์

ภาพดาราศาสตร์

Architecture
กล้องมิลเลอร์เลส

กล้องมิลเลอร์เลส

Architecture
ภาพสถาปัตยกรรม

ภาพสถาปัตยกรรม

Architecture
เทคโนโลยีของแคนนอน

เทคโนโลยีของแคนนอน

Architecture
การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

การถ่ายภาพในขณะที่มีแสงน้อย

Architecture
การสัมภาษณ์ช่างภาพ

การสัมภาษณ์ช่างภาพ

Architecture
ภาพวิวทิวทัศน์

ภาพวิวทิวทัศน์

Architecture
การถ่ายภาพมาโคร

การถ่ายภาพมาโคร

Architecture
การถ่ายภาพกีฬา

การถ่ายภาพกีฬา

Architecture
การถ่ายภาพท่องเที่ยว

การถ่ายภาพท่องเที่ยว

Architecture
การถ่ายภาพใต้น้ำ

การถ่ายภาพใต้น้ำ

Architecture
แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

แนวคิดการถ่ายภาพและการประยุกต์ใช้

Architecture
การถ่ายภาพสตรีท

การถ่ายภาพสตรีท

Architecture
กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

กล้องมิเรอร์เลสแบบฟูลเฟรม

Architecture
เลนส์และอุปกรณ์เสริม

เลนส์และอุปกรณ์เสริม

Architecture
Nature & Wildlife Photography

Nature & Wildlife Photography

Architecture
การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

การถ่ายภาพพอร์ตเทรต

Architecture
การถ่ายภาพกลางคืน

การถ่ายภาพกลางคืน

Architecture
การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

การถ่ายภาพสัตว์เลี้ยง

Architecture
โซลูชั่นการพิมพ์

โซลูชั่นการพิมพ์

Architecture
รีวิวผลิตภัณฑ์

รีวิวผลิตภัณฑ์

Architecture
การถ่ายภาพงานแต่งงาน

การถ่ายภาพงานแต่งงาน

เคล็ดลับและบทเรียน >> เคล็ดลับและบทเรียนทั้งหมด

การจัดแสงธรรมชาติ: เพิ่มเงาเพื่อเน้นทางกลับบ้านให้ดูโดดเด่น

2020-07-06
1
609
ในบทความนี้:

การชดเชยแสงสามารถใช้ในการสื่ออารมณ์ภาพอย่างมีศิลปะได้ ในบทความนี้ มาดูกันว่าช่างภาพคนหนึ่งใช้การชดเชยแสงเพื่อเพิ่มเงารอบๆ ตัวแบบของเธอและสร้างเอฟเฟ็กต์ “สปอตไลต์” ให้ตัวแบบดูโดดเด่นได้อย่างไร (เรื่องโดย: Ikuko Tsurumaki, Digital Camera Magazine)

ภาพมืดแบบโลว์คีย์และบันไดหินที่มีแสงสว่างตรงกลางภาพ

EOS M50/ EF-M18-150mm f/3.5-6.3 IS STM/ FL: 28 มม. (เทียบเท่า 45 มม.)/ Aperture-priority AE (f/7.1, 1/160 วินาที, EV-1.7)/ ISO 100/ WB: เมฆครึ้ม

 

เรื่องราวเบื้องหลังภาพนี้: 

ขณะนั้นเป็นเวลาหลัง 5 โมงเย็น แสงยามเย็นสว่างจ้าส่องมาทางด้านหน้าจากตำแหน่งที่ต่ำลงไปบนทางเดินหินเล็กๆ ที่อยู่ระหว่างราวบันไดบนเนิน

การจัดองค์ประกอบภาพ

ฉันต้องการดึงความสนใจไปยังทางลาดที่แคบชันให้ได้มากที่สุด จึงถ่ายภาพจากมุมที่แทบจะเป็นการมองจากบนลงล่างโดยตรง การถ่ายภาพในแนวนอนช่วยให้ฉันถ่ายต้นไม้และโครงสร้างที่อยู่ด้านข้างให้เป็นกรอบของทางเดินได้

ฉันเลือกมุมรับภาพที่ใกล้เคียงกับมาตรฐาน จากนั้นจึงค่อยๆ ปรับแต่งทีละน้อย พร้อมกับคอยดูตำแหน่งของราวจับและต้นไม้ไปด้วย ตลอดเวลาที่ถ่าย ฉันจะคอยตรวจดูให้แน่ใจว่าองค์ประกอบภาพรักษาบรรยากาศของฉากเอาไว้อย่างที่ฉันเห็น 

จุดโฟกัสอยู่ที่ฝาท่อระบายน้ำบนทางเดิน 


การใช้เงาเพื่อให้ภาพดูเรียบง่ายขึ้น

ระดับแสงที่เหมาะสมซึ่งกล้องกำหนดให้จะบันทึกรายละเอียดทั้งหมดในฉาก แต่เนื่องจากมีรายละเอียดที่รบกวนสายตาเหล่านั้น ทางเดินเล็กๆ ที่มีแสงอาทิตย์ส่องจึงไม่โดดเด่นพอ
ฉันตัดสินใจทำให้ภาพเรียบง่ายขึ้นโดยใช้การชดเชยแสงเป็นลบ ซึ่งเปลี่ยนวัตถุรอบๆ ทางเดินให้กลายเป็นเงาและทำให้ทางเดินโดดเด่นขึ้นมา

 

การวิเคราะห์แสงและการเปิดรับแสง

แผนภาพแสดงทิศทางของแสง

ทิศทางของแสง: แสงจากด้านหลังในมุมเฉียงซึ่งเกิดจากตำแหน่งที่ต่ำและส่องลงมาโดยตรงบนทางเดินเล็กๆ ที่ปูด้วยหินในจุด (A)
(A) ตัวแบบหลักในภาพ: ทางเดินหินที่มีแสงอาทิตย์สีทองยามเย็นส่องโดยตรง
(B) และ (C): กำแพงอิฐและต้นไม้ที่ขนาบข้างบันได ทั้งสองอย่างนี้อยู่ในเงามืด และฉันรวมเข้ามาในภาพด้วยเพื่อให้จุด (A) ดูโดดเด่นมากยิ่งขึ้น


การอ่านฮิสโตแกรม: ภาพโลว์คีย์

ฮิสโตแกรมแสดงภาพโลว์คีย์ที่มีส่วนที่มืดเกินไป

ฉันตัดสินใจแล้วว่าจะทำให้องค์ประกอบที่อยู่รอบจุดสนใจหลักในจุด (A) มืดลงเพื่อเพิ่มความโดดเด่น แต่คำถามคือ ต้องมืดลงแค่ไหน
การชดเชยแสงเพื่อให้ได้เอฟเฟ็กต์ที่ฉันต้องการในจุด (A) ทำให้เกิดส่วนที่มืดและการสูญเสียรายละเอียดในจุด (B) และ (C)

 

วิธีจัดการกับจุด (A), (B) และ (C)


สำหรับจุด (A): สร้างเงาเพื่อให้ทางเดินดูโดดเด่น

ระดับแสง “ที่เหมาะสม”: ทางเดินไม่โดดเด่น

บันไดระหว่างอาคารที่ได้รับแสงอย่างทั่วถึงเมื่ือใช้ระดับแสงที่เหมาะสม

เมื่อทั้งภาพได้รับแสงในระดับที่เหมาะสม (การชดเชยแสง: 0) ทุกอย่างดูสว่าง และแสงอาทิตย์ที่ส่องลงบนทางเดินดูไม่โดดเด่น

ตัวแบบหลักในภาพนี้คือจุด (A) ซึ่งเป็นทางเดินสั้นๆ ตรงเชิงบันไดที่อาบไล้ด้วยแสงยามเย็น ฉันใช้จุดนี้เป็นเกณฑ์ในการเปิดรับแสง และใช้การชดเชยแสงเป็นลบขณะที่มองผ่านช่องมองภาพ ฉันหยุดปรับที่ค่า EV-1.7 เมื่อเงาที่ทอดยาวของรั้วลวดสีเขียวซึ่งทาบทับลงไปบนทางเดินหินดูมืดพอแล้ว


สำหรับจุด (B) และ (C): ปรับแต่งเงาในกระบวนการปรับแต่งภาพ

หลังจากใช้การชดเชยแสงแล้ว จุด B และ C กลับมืดเกินไปจนสูญเสียรายละเอียดไปมาก เพื่อให้ความเปรียบต่างโดยรวมมีความสมดุล ฉันจึงตัดสินใจทำให้สองจุดนั้นสว่างขึ้นเล็กน้อย

ในกระบวนการปรับแต่งภาพ ฉันไม่เห็นความแตกต่างมากนักเมื่อเพิ่มพารามิเตอร์ “เงา” ฉันจึงเพิ่มค่า “สีดำ” แทน ฉันได้ผลลัพธ์ที่ต้องการเมื่อใช้ค่า “สีดำ: +34”

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้เงาและความเปรียบต่างเพื่อการถ่ายทอดภาพอย่างสร้างสรรค์ได้ที่:
พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก: ถ่ายภาพสตรีทให้ได้ความเปรียบต่างที่น่าทึ่ง
การจัดแสงธรรมชาติ: เพิ่มความพิเศษให้กับภาพพอร์ตเทรตในสภาพแวดล้อม
3 วิธีในการถ่ายภาพฉากฤดูหนาวสีเดียวให้ดูน่าสนใจ

 


รับข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับการถ่ายภาพ รวมถึงเคล็ดลับและกลเม็ดต่างๆ

ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนชาว SNAPSHOT

ลงทะเบียนตอนนี้!

เกี่ยวกับผู้เขียน

Digital Camera Magazine

นิตยสารรายเดือนที่เชื่อว่าความสุขของการถ่ายภาพจะยิ่งเพิ่มขึ้น เมื่อผู้ถ่ายภาพได้เรียนรู้เกี่ยวกับฟังก์ชั่นต่างๆ ของกล้องมากยิ่งขึ้น นิตยสารเล่มนี้เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับกล้องรุ่นใหม่ๆ รวมถึงคุณสมบัติของกล้องและนำเสนอเทคนิคการถ่ายภาพอย่างหลากหลาย
จัดพิมพ์โดย Impress Corporation

Ikuko Tsurumaki

เกิดที่โตเกียวในปี 1972 Tsurumaki เริ่มเรียนรู้การถ่ายภาพในระหว่างที่ทำงานในบริษัทโฆษณา และผันตัวมาเป็นช่างภาพหลังจากผ่านการเป็นผู้ช่วยช่างภาพระยะหนึ่ง ปัจจุบัน เธอมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การถ่ายภาพนิตยสาร การเขียนบทความ และกำกับการถ่ายภาพการบรรยายและสัมมนาต่างๆ

http://www.ikukotsurumaki.com/

แบ่งปันภาพถ่ายของคุณใน My Canon Story แล้วร่วมลุ้นโอกาสเผยแพร่ผลงานบนโซเชียลมีเดียของเรา